หนังสือเสริมความรู้
สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
วิชาสังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ช่วงชั้นที่ ๒ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖
ช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๓
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔
หนังสือเสริมความรู้สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
วิชาสังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
คุณธรรมพื้นฐาน
๘ ประการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ช่วงชั้นที่ ๒ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖
ช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๓
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔
คุณแม่ ประยงค์ ธัมวงศานุกูล เรื่อง
อาจารย์ กาญจนา นิชำนาญ เรื่อง
อาจารย์ สังวร หัสโรจน์ ภาพประกอบ
พ.ต.ท. พรเทพ บูชาอินทร์ เรียบเรียง
น.ส. วรรณภา พิมพ์บุญมา เรียบเรียง
หนังสือเสริมความรู้สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
เรื่อง คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ช่วงชั้นที่ ๒ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖
ช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๓
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔
จำนวน ............................ เล่ม
สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๔๖ (อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เป็นวิทยาทานให้พุทธศาสนิกชน ประชาชนทั่วไปผู้สนใจใคร่รู้ หรือเพื่อการศึกษา การเรียนการสอนตามโรงเรียนหรือสถานศึกษา แต่ห้ามนำไปเพื่อทางการค้าหรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก คณะ ป.เจริญธรรม)
คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ โรงเรียน..........................................................
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา................................เขต ............................ หน้า
๑. ขยัน.
“หนังสือคุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ เป็นหนังสือเสริมความรู้สาระการเรียนรู้เพิ่มเติมกลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน ช่วงชั้นที่ ๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ และช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ โดยคุณแม่ประยงค์ ธัมวงศานุกูล ประธานคณะ ป. เจริญธรรมและอาจารย์ กาญจนา
นิชำนาญ เป็นผู้เขียน
หนังสือเล่มนี้ให้ความรู้พื้นฐานและทางเลือกที่หลากหลาย ในการส่งเสริม ปลูกฝังให้นักเรียน
นักศึกษา มีคุณธรรม จริยธรรม ตามคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ช่วยให้การสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา มีประสิทธิภาพและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และขอขอบพระคุณ คุณแม่ประยงค์ ธัมวงศานุกูล ประธานคณะ ป. เจริญธรรมและขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการจัดทำไว้ ณ โอกาสนี้
คณะ ป. เจริญธรรม
พุทธศักราช ๒๕๕๑
สารบัญ
เรื่อง คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ หน้า
๑. บทที่ ๑ ขยัน
๒. บทที่ ๒ ประหยัด
๓. บทที่ ๓ ซื่อสัตย์
๔. บทที่ ๔ มีวินัย
๕. บทที่ ๕ สุภาพ
๖. บทที่ ๖ สะอาด
๗. บทที่ ๗ สามัคคี
๘. บทที่ ๘ มีน้ำใจ
บทที่ ๑
คุณธรรมพื้นฐาน ประการที่ ๑ ขยัน
๑.ขยัน
๑. ขยัน หมายถึง ผู้ที่มีความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในเรื่องที่ถูกที่ควร
สู้งานมีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง
ผู้ที่จะมีความขยันหมั่นเพียรได้สมบูรณ์ ต้องมีคุณธรรม คือ อิทธิบาท ๔ ซึ่งเป็นธรรม ที่ทำให้ สำเร็จตามความประสงค์ มีดังนี้
อิทธิบาท ๔ หมายถึงคุณธรรมที่ผู้ปฏิบัติตามย่อมถึงความสำเร็จได้ ตามประสงค์
๑ ) ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น ๆ
๒) วิริยะ คือ ความเพียรพยายามประกอบสิ่งนั้น ๆ
๓) จิตตะ คือ การเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ๆ ไม่วางธุระ
๔) วิมังสา คือ การหมั่นตริตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น ๆ
๑.ฉันทะ คือความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น ตัวอย่างเช่น เด็กนักเรียนที่มีความพอใจรักในการศึกษาเรียนรู้ เขาก็จะเอาใจใส่ขยันในการเรียน มีสติ คือการระลึกรู้ว่าขณะนี้เรากำลังเรียน มีสมาธิ คือตั้งใจมั่นอยู่กับบทเรียนในขณะที่ครูกำลังทำการสอน ตั้งใจฟัง และจดจำในเรื่องต่างๆที่ครูกำลังอธิบาย เอาใจจดจ่อ ไม่คุย ไม่เล่น ไม่หลับในห้องเรียน มีความอดทนขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้านในการเรียน มีความรู้สึกสุข สนุกสนานในการเรียน ไม่เบื่อหน่ายในการสอนของครู ทำให้เขามีความรู้ เป็นคนฉลาดรอบรู้ในวิชาต่างๆ เพราะเขามีฉันทะ คือความพอใจรักใคร่ในการเรียน จึงมีความจริงใจ จริงจัง และเรียนอย่างต่อเนื่อง เขาจึงเป็นเด็กดีของครูอาจารย์ ของโรงเรียน และเป็นตัวอย่างที่ดีของเพื่อนนักเรียนด้วยกัน
๒.วิริยะ คือความเพียรพยายามประกอบสิ่งนั้นๆ เช่นนักเรียนที่มีความพอใจในการเรียนแล้ว มีความอดทนขยันหมั่นเพียรในการศึกษา หาความรู้พยายามหมั่นทบทวนวิชาความรู้ต่างๆ ที่ครูสอนผ่านมาแล้วให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ การบ้านหรือกิจกรรมต่างๆที่ครูมอบหมายให้ทำ ต้องมีความอดทน ขยันหมั่นเพียรพยายาม ทำงานนั้นให้สำเร็จและถูกต้อง สะอาด เป็นระเบียบ เรียบร้อย และสมบูรณ์ แม้จะมีอุปสรรคใดๆก็จะไม่ท้อถอย ต้องขยันหมั่นเพียรพยายามเอาใจใส่ในวิชาความรู้ที่ครูสอน ทั้งในเวลาเรียน และนอกเวลาเรียน ผู้ใดที่มีคุณธรรมในข้อนี้ คือ วิริยะ หมายถึงความอดทนขยันหมั่นเพียร ก็จะมีความสำเร็จตามความประสงค์ในสิ่งนั้นๆอย่างแน่นอน
๓.จิตตะ คือเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ ตัวอย่างเช่น เมื่อเรามีความพอใจ มีความเพียรในการเรียนแล้ว เราต้องตั้งใจให้มั่นคง เอาใจฝักใฝ่ในการเรียน และวิชาการต่างๆ ที่เรียนมาแล้ว และที่ยังไม่ได้เรียน ไม่วางธุระ หมายถึงไม่ทอดทิ้งงาน ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง ว่าประเดี๋ยวค่อยทำ หรือพรุ่งนี้ค่อยทำก็ได้ ไม่ทำทิ้งทำขว้าง ทำบ้างไม่ทำบ้าง ให้เกิดความเสื่อมเสียในงานนั้นๆ เราต้องตั้งใจให้มั่นคง มีความอดทนขยันหมั่นเพียร ว่าจะต้องทำงาน ชิ้นนี้ ชิ้นนั้นให้สำเร็จไปด้วยดี ความสำเร็จเกิดขึ้นเพราะเรามีความพอใจ มีความเพียร มีใจฝักใฝ่ในงาน และสิ่งนั้นๆ ผู้ใดมีคุณธรรมในข้อนี้ คือจิตตะ หมายถึงมีใจฝักใฝ่ไม่วางธุระ ก็จะมีความสำเร็จตามความประสงค์ในสิ่งนั้นๆ
๔.วิมังสา หมายถึง หมั่นตริตรองพิจารณาหาเหตุหาผลในสิ่งที่ทำ ตัวอย่างเช่น การที่จะศึกษาเรียนรู้ วิชาต่างๆ นักเรียนต้องใช้สติปัญญา พิจารณา ไตร่ตรองให้ละเอียดถี่ถ้วนด้วยเหตุด้วยผล ว่าวิชาที่กำลังจะเรียนมีประโยชน์กับตนเอง สังคม ประเทศชาติบ้านเมืองอย่างไร ต้องรักและเอาใจใส่ในวิชาที่ครูสอนทุกวิชา และมีวิริยะ คือความอดทนขยันหมั่นเพียร ที่จะเรียนรู้วิชานั้นๆ อย่างไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ มีความเพียรพยายามจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ผ่านไปด้วยดี และมีจิตตะ คือความตั้งใจมั่นเอาใจฝักใฝ่ในวิชานั้นๆ อย่างไม่วางธุระ ไม่ทิ้งกลางคัน และต้องมีวิมังสา คือหมั่นตริตรองพิจารณาหาเหตุผล ว่าถูกต้อง เรียบร้อย สมบูรณ์หรือไม่ ด้วยเหตุด้วยผลไม่เข้าข้างตนเอง ว่าถูกแล้วดีแล้ว นักเรียนที่ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็จะมีความสำเร็จในการเรียนตามความประสงค์ทุกคน
อิทธิบาท ๔ เป็นธรรมที่หนุนเนื่องกันจึงต้องปฏิบัติให้ครบทั้ง ๔ ประการ ก็จะสำเร็จประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นงานในทางโลก หรือจะเป็นการปฏิบัติธรรม ก็สามารถสำเร็จได้ด้วยคุณธรรมทั้ง ๔ ประการ
อนึ่งนักเรียนคนใดที่ไม่มีคุณธรรมทั้ง ๔ ข้อนี้ คือ
๑.ขาดความรัก ความพอใจ
๒.ขาดความอดทน ขยันหมั่นเพียร
๓.ขาดความเอาใจฝักใฝ่
๔.ขาดสติปัญญา ตริตรองพิจารณา
เขาเหล่านั้นจะไม่สามารถประสบความสำเร็จตามประสงค์ได้เลย
เรื่อง อิทธิบาท ๔
ฉันทะคือ พอใจ ในสิ่งนั้น
จงฝ่าฟัน อุปสรรค อย่าสับสน
จงตั้งใจ ดูแล งานของตน
ต้องอดทน ให้สำเร็จ เสร็จสิ้นไป
วิริยะ คือความเพียร เรียนให้รู้
เพียรคอยดู แล้วก็จำ ทำให้ได้
เพียรศึกษา หาความรู้ มาสู่ใจ
เพียรต่อไป ก็สำเร็จ สมเจตนา
อันจิตตะ คือฝักใฝ่ ในงานนั้น
ทุกคืนวัน ตั้งใจ ใฝ่ฝันหา
จงตั้งใจ ทำให้เสร็จ งานนานา
จะมีค่า สมหวัง ดังตั้งใจ
วิมังสา คือไตร่ตรอง ประคองจิต
ทุกชนิด พิจารณา อย่าหวั่นไหว
ค่อยค่อยคิด ค่อยค่อยทำ เพียรร่ำไป
ทุกอย่างไซร้ ก็สำเร็จ เสร็จด้วยดี
ขอทุกท่าน จงหมั่น ขยันเถิด
จะบังเกิด ทุกอย่าง สว่างศรี
ทั้งฉันทะ วิริยะ ตั้งใจดี
ทุกอย่างมี ไตร่ตรอง ครองสุขเอย
กิจกรรม บทที่ ๑ ขยัน
๑. ข้อใดคือลักษณะของ ผู้ที่มีความขยัน ?
ก. ผู้ที่มีความตั้งใจ เพียรพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค ทำการงานอย่างจริงจัง
ข. ผู้ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ
ค. ผู้ที่มีความประพฤติตรงต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงใจ ไม่ทุจริตคดโกง
ง. ผู้ที่ปฏิบัติตาม กฎระเบียบ ตั้งใจยึดมั่นในระเบียบแบบแผนข้อบังคับ
๒. คุณธรรมข้อใด ที่ส่งเสริมให้เกิดความขยัน ?
ก. พรหมวิหาร ๔ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ข. อคติ ๔ ลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะเกลียด ลำเอียงเพราะกลัว ลำเอียงเพราะโง่
ค. อิทธิบาท ๔ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
ง. วจีกรรม ๔ เว้นการพูดเท็จ เว้นการพูดส่อเสียด เว้นการพูดคำหยาบ เว้นการพูดเพ้อเจ้อ
๓. คุณธรรม อิทธิบาท ๔ มีอะไรบ้าง ?
ก. เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ข. ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
ค. ลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะเกลียด ลำเอียงเพราะกลัว ลำเอียงเพราะโง่
ง. เว้นการพูดเท็จ เว้นการพูดส่อเสียด เว้นการพูดคำหยาบ เว้นการพูดเพ้อเจ้อ
๔. ฉันทะ หมายความว่าอย่างไร?
ก. ความหมั่นตริตรองหาเหตุหาผล
ข. ความเพียร พยายาม
ค. ความเอาใจฝักใฝ่ ไม่วางธุระ
ง. ความพอใจ รักใคร่
๕. วิริยะ หมายความว่าอย่างไร ?
ก. ความหมั่นตริตรองหาเหตุหาผล
ข. ความเพียร พยายาม
ค. ความเอาใจฝักใฝ่ ไม่วางธุระ
ง. ความพอใจ รักใคร่
๖. จิตตะ หมายความว่าอย่างไร ?
ก. ความหมั่นตริตรองหาเหตุหาผล
ข. ความเพียร พยายาม
ค. ความเอาใจฝักใฝ่ ไม่วางธุระ
ง. ความพอใจ รักใคร่
ก. ความหมั่นตริตรองหาเหตุหาผล
ข. ความเพียร พยายาม
ค. ความเอาใจฝักใฝ่ ไม่วางธุระ
ง. ความพอใจ รักใคร่
๘. ผู้ใดนำคุณธรรมพื้นฐาน ความขยัน มาใช้ทำกิจการงานสิ่งใด ๆ ย่อมบังเกิดผลอย่างไร ?
ก. ประสบความสำเร็จตามความประสงค์
ข. มีประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ตลอดจนครอบครัว สังคม ประเทศชาติบ้านเมือง
ค. เป็นแบบอย่างที่ดีของผู้อื่น
ง. ถูกทุกข้อ
๙. ผู้ใดขาดคุณธรรมพื้นฐาน ความขยัน ย่อมบังเกิดผลอย่างไร ?
ก. ไม่ประสบความสำเร็จตามความประสงค์
ข. ไม่เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ตลอดจนครอบครัว สังคม ประเทศชาติบ้านเมือง
ค. ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีของผู้อื่น
ง. ถูกทุกข้อ
บทที่ ๒
คุณธรรมพื้นฐาน ประการที่ ๒ ประหยัด
๒. ประหยัด
การประหยัด หมายถึงผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อเก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่าไม่ฟุ่มเฟื่อย ฟุ้งเฟ้อ รู้จักทำบัญชีรายรับ - รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ
ผู้ที่จะประหยัดได้ต้องปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นคุณธรรมประจำใจ คือรู้เหตุ รู้ผล รู้ตน
รู้ประมาณ
๑.รู้เหตุ รู้ผล หมายถึง รู้ว่าเหตุใด เมื่อคิด เมื่อพูด เมื่อทำแล้วทำให้เกิดความเดือดร้อน เหตุใด เมื่อคิด เมื่อพูด เมื่อ
ทำแล้วส่งผลให้เกิดความไม่เดือดร้อน เช่น เด็กนักเรียนบางคนคิดว่า การมีสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีราคาแพงเป็นคนที่มีรสนิยมสูงดูโก้เก๋ จึงเรียกร้องขอจากพ่อแม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับนักเรียนสร้างความเดือดร้อนให้กับพ่อแม่และสร้างนิสัย
ฟุ่มเฟือยไม่รู้จักการประหยัดอดออม หรือเด็กบางคนคบเพื่อนไม่ดี ชอบสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เสพยาเสพติด ก่อเรื่องทะเลาะวิวาททำให้เสียการเรียน เสียอนาคต สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเอง และพ่อแม่ครูอาจารย์ นี่คือตัวอย่างของเด็กที่ไม่รู้เหตุของการเกิดความเดือดร้อน ว่าคิด พูด ทำแล้วส่งผลให้เกิดความเดือดร้อน เข้าใจว่า การคิด การพูด การทำ ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ทำให้เกิดความไม่เดือดร้อน แท้ที่จริงแล้วทำให้เกิดความเดือดร้อนทั้งสิ้น
ตัวอย่างของเด็กที่รู้เหตุ รู้ผล ว่าการคิด การพูด การทำแล้ว ทำให้เกิดความเดือดร้อน หมายถึงเด็กที่คิดดี พูดดี ทำดี คือเด็กที่มีความสันโดษ พอใจในสิ่งที่มี ที่ได้ ที่เป็น จะเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม หรืออุปกรณ์การเรียนต่างๆ ที่พ่อแม่จัดหามาให้ ก็ยินดีพอใจ และดูแลรักษาทะนุถนอมใช้เป็นอย่างดี ไม่ฟุ้งเฟ้อ เห่อเหิมทะเยอทะยาน มักใหญ่ใฝ่สูงจนเกินไป คิดอยู่ตลอดเวลาว่าจะไม่ทำให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองเดือดร้อน รู้จักประหยัด อดออม คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กและเยาวชนรุ่นหลัง
อีกด้วย
๒. รู้ตน รู้ประมาณ
รู้ตน หมายถึง รู้จักตนเองว่า มีชาติตระกูล ยศถาบรรดาศักดิ์ ฐานะ บริวาร ความรู้ทางโลก ความรู้ทางธรรม เพียงใด แล้วประพฤติตนให้เหมาะสมกับฐานะ ความเป็นอยู่ในปัจจุบัน
รู้ประมาณ หมายถึง ผู้รู้จักประมาณในการทำมาหากินเลี้ยงชีวิต แต่ในทางที่ถูกที่ควร ไม่ทุจริตคดโกง และรู้จักประมาณในการใช้จ่ายแต่พอควร รู้จักประหยัดอดออม ถนอมใช้ทรัพย์สินอย่างคุ้มค่า
ตัวอย่าง ของผู้มีฐานะดี รู้จักประมาณในการใช้จ่าย สิ่งใดที่จำเป็นต้องกินต้องใช้ เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค หรือที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เรียกว่าปัจจัยสี่ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์และสัตว์ทั่วไป ถึงแม้จะมีทรัพย์สินเงินทองมากมาย ก็รู้จักประหยัดใช้อย่างคุ้มค่าไม่ฟุ่มเฟือย รู้ว่าส่วนใดควรเก็บออมไว้ ส่วนใดควรใช้ประจำวัน ส่วนใดควรนำไปบริจาค หรือให้ทาน และสร้างสาธารณประโยชน์ต่างๆ เป็นการสร้างความดีให้เกิดขึ้นกับตนเองในปัจจุบัน และเป็นการสะสมทรัพย์สมบัติให้ติดตัวตามตนไปใช้ในชาติหน้า หรือชาติต่อๆไป นี่คือตัวอย่างของผู้ที่มีฐานะดีที่รู้จักประมาณ และรู้จักประหยัดในการใช้ทรัพย์สินเงินทอง
ตัวอย่างของผู้ที่มีฐานะยากจน ต้องรู้จักการประมาณในการใช้ปัจจัยสี่ มีอาหารน้อยก็รับประทานเท่าที่มีอย่างประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ทะเยอทะยานเกินฐานะการเงินจนเกิดความเดือดร้อน เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มก็ต้องรู้จักประมาณ ประหยัด ตามฐานะการเงิน ไม่ฟุ่งเฟ้อเห่อเหิมทะเยอทะยานใช้ของดีเกินตัวตามสังคมนิยม จนทำให้เกิดความเดือดร้อน แก่ตนเอง และพ่อแม่ ที่อยู่อาศัยก็ก่อสร้างตามกำลังทรัพย์ไม่มักใหญ่ใฝ่สูงตามผู้อื่นที่เขามีฐานะดี ดังสุภาษิตที่ว่า “ นกน้อยทำรังน้อยแต่พอตัว” ยารักษาโรคก็ซื้อหาตามฐานะที่จำเป็นไม่ใช้จ่ายเกินตัว ผู้ใดประพฤติปฏิบัติได้ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จะมีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่เดือดร้อน มีความสุขตามอัตภาพของตน
อนึ่ง ผู้ใดที่ไม่มีคุณธรรมดังที่กล่าวมาแล้ว คือไม่รู้จักเหตุ ไม่รู้จักผล ไม่รู้จักตน ไม่รู้จักประมาณ เขาเหล่านั้นก็จะได้รับความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิต เพราะไม่รู้จักประหยัดอดออม ไม่คิดก่อนซื้อ ไม่เก็บออมถนอมทรัพย์สิน ไม่คำนึงถึงรายรับรายจ่าย ไม่รู้จักฐานะการเงินของตน มีหนี้สินล้นพ้นตัว ก็จะหาความสุขไม่ได้เลยตลอดชีวิต
เรื่อง รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ
รู้เหตุ รู้ผล
ผู้รู้เหตุ หมายถึง ซึ่งความจริง
ที่ใหญ่ยิ่ง ในชีวิต คิดสับสน
ต้องเข้าใจ ในเหตุเถิด เกิดกับตน
จะส่งผล ให้เป็นสุข หรือทุกข์ใจ
อะไรเป็นเหตุ ให้เกิดสุข สนุกสนาน
จงสร้างสรรค์ ไว้เถิด เลิศสดใส
จงคิดดี พูดดี ทั้งกายใจ
ความสุขไซร้ ก็ส่งผล ให้ตนสบาย
ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า เป็นผู้รู้ จริงหรือไม่
เมื่อรู้แล้ว จงปฏิบัติ สืบต่อไป
ไม่รู้ไซร้ รีบศึกษา อย่าละเลย
รู้ตน รู้ประมาณ
รู้จักตน รู้ประมาณ กาลเวลา
รู้คุณค่า ของตน เป็นไฉน
ว่าตนเอง อยู่ใน ฐานะใด
ต้องใส่ใจ ฝึกฝน เป็นคนดี
ชาติตระกูล ยศถา บรรดาศักดิ์
ก็รู้จัก รักษาไว้ ให้ผ่องศรี
ไม่ทำตัว มัวเมา เคล้าโลกีย์
รู้จักดี ว่าตน จนหรือรวย
รู้จักประมาณ ในการ ใช้ทรัพย์
จะหยิบจับ ใช้สอย ก็พอสวย
รู้ประมาณ การกิน ไม่สำรวย
แม้ความสวย ประหยัดไว้ อย่าให้เกิน
แม้นมีมาก ใช้มาก เรื่องเงินตรา
ก็จะพา หมดตัว ไม่สรรเสริญ
รู้จักเหตุ รู้จักผล ไม่ขาดเกิน
รู้ประเมิน ในตน เป็นคนดี
ขอทุกท่าน จงเพ่งพิศ จิตกุศล
ให้รู้ตน รู้ประมาณ กับทุกที่
ประพฤติตน ให้เหมาะสม เป็นการดี
ก็จะมี ความสุข ไร้ทุกข์เอย
กิจกรรม บทที่ ๒ ประหยัด
๑. ผู้ใดที่มีลักษณะของผู้ที่มี การประหยัด ?
ก. ผู้ที่รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออมถนอมทรัพย์สิ่งของ
อย่างคุ้มค่า
ข. ผู้ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ
ค. ผู้ที่มีความประพฤติตรงต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงใจ ไม่ทุจริตคดโกง
ง. ถูกทั้ง ก. และ ข.
๒. คุณธรรมข้อใด ที่ส่งเสริมให้เกิดการประหยัด ?
ก. พรหมวิหาร ๔ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ข. รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ
ค. อิทธิบาท ๔ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
ง. วจีกรรม ๔ เว้นการพูดเท็จ เว้นการพูดส่อเสียด เว้นการพูดคำหยาบ เว้นการพูดเพ้อเจ้อ
๓. คุณธรรม คำว่า รู้เหตุ รู้ผล หมายความว่าอย่างไร ?
ก. รู้ว่าเหตุใด เมื่อคิด เมื่อพูด เมื่อทำ แล้วส่งผลให้เกิดความเดือดร้อน
ข. รู้ว่าเหตุใด เมื่อคิด เมื่อพูด เมื่อทำ แล้วส่งผลให้เกิดความไม่เดือดร้อน
ค. ถูกทั้ง ก. และ ข.
ง. ผิดทั้ง ก. และ ข.
๔. คุณธรรม คำว่า รู้ตน หมายความว่าอย่างไร ?
ก. รู้จักตนเองว่าเป็นใคร อยู่ในฐานะอะไร
ข. รู้จักตนเองว่า มีชาติตระกูล ยศถาบรรดาศักดิ์ใด ประพฤติตนให้เหมาะสมกับฐานะความ
เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ค. รู้จักตนเองว่า มีความรู้ ทางโลก หรือ ทางธรรม มากน้อยเพียงใด
ง. ถูกทุกข้อ
๕. คุณธรรม คำว่า รู้ประมาณ หมายความว่าอย่างไร ?
ก. รู้จักประมาณในการทำมาหากิน เลี้ยงชีพในทางที่ถูกที่ควร ไม่ทุจริตคดโกง
ข. รู้จักประมาณการใช้จ่ายแต่พอควร รู้จักประหยัดอดออม ถนอมใช้ทรัพย์สินอย่างคุ้มค่า
ค. ผิดทั้ง ก. และ ข.
ง. ถูกทั้ง ก. และ ข.
๖. ผู้ที่ทีฐานะร่ำรวยควรปฏิบัติตนอย่างไร ให้เหมาะสมกับฐานะ ?
ก. ใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า รู้ว่าส่วนใดควรเก็บออมไว้ ส่วนใดควรใช้จ่ายประจำวัน ส่วนใดควร
นำไปบริจาคให้ทานกับผู้ด้อยโอกาส ขาดแคลน หรือนำไปสร้างสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ
ข. ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ไม่คำนึงถึงอะไร เพื่ออวดความร่ำรวย
ค. ตระหนี่ เก็บออมไว้อย่างเดียว ไม่ยอมใช้จ่ายอะไรเลย เพื่อจะได้รวยมากยิ่งขึ้น
ง. ถูกทุกข้อ
๗. ผู้ที่มีฐานะยากจนควรปฏิบัติตนอย่างไร ให้เหมาะสมกับฐานะ ?
ก. ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ทะเยอทะยานเกินฐานะ ไม่มีก็กู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่าย
ข. ต้องรู้จักประมาณในการใช้ปัจจัยสี่ รับประทานอาหารเท่าที่มีอย่างประหยัด เสื้อผ้า
เครื่องนุ่งห่ม ก็รู้จักประมาณตามฐานะการเงินของตน ไม่เห่อเหิมตามสังคมนิยม
ค. ที่อยู่อาศัยก็ก่อสร้างตามกำลังทรัพย์ ยารักษาโรคก็ซื้อหาตามฐานะเท่าที่จำเป็น
ง. ถูกทั้ง ข. และ ค.
๘. ผู้ใดนำคุณธรรมพื้นฐาน การประหยัด มาประพฤติปฏิบัติได้ ย่อมบังเกิดผลอย่างไร ?
ก. จะมีความเป็นอยู่อย่าเรียบง่าย ไม่เดือดร้อน มีความสุขตามอัตภาพ
ข. มีประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ตลอดจนครอบครัว สังคม ประเทศชาติบ้านเมือง
ค. เป็นแบบอย่างที่ดีของผู้อื่น
ง. ถูกทุกข้อ
๙. ผู้ใดขาดคุณธรรมพื้นฐาน การประหยัด ย่อมบังเกิดผลอย่างไร ?
ก. ได้รับความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิต มีหนี้สินล้นพ้นตัว หาความสุขไม่ได้เลยตลอดชีวิต
ข. ไม่เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ตลอดจนครอบครัว สังคม ประเทศชาติบ้านเมือง
ค. ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีของผู้อื่น
ง. ถูกทุกข้อ
บทที่ ๓
คุณธรรมพื้นฐาน ประการที่ ๓ ซื่อสัตย์
๓. ซื่อสัตย์
ความซื่อสัตย์ หมายถึง ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียง หรืออคติ ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกง ทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเอง ปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง
ผู้ที่จะมีความซื่อสัตย์ได้ ต้องมีคุณธรรมประจำใจ คือ
๑.มีสัจจะ หมายถึง การคิด การพูด การทำแต่ความจริง
๒.มีความเป็นธรรม หมายถึง มีใจเป็นกลาง
๓.ไม่มีอคติ หมายถึง ไม่มีความลำเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง
๑ ผู้ที่มีสัจจะ คือผู้ที่มีความจริงใจ ซื่อสัตย์ต่อตนเอง เช่น จะคิด จะพูด จะทำ สิ่งใดๆ สิ่งนั้นต้องเป็นความจริง มีประโยชน์กับตนเองผู้อื่น และส่วนรวม จะประกอบกิจการใดๆ ก็มีความจริงจัง จริงใจ ต่อเนื่อง มีความซื่อตรงต่อเวลาต่อหน้าที่ มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ทุจริตคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม มีความประพฤติดีทั้งกาย วาจา ใจ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเอง ผู้อื่น องค์กร สังคม และประเทศชาติบ้านเมือง
๒.มีความเป็นธรรม เป็นผู้ที่รู้เหตุ รู้ผล รู้ผิด รู้ถูก รู้ชั่ว รู้ดี เข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์ ย่อมทำถูกบ้าง ผิดบ้าง เพราะมีสติปัญญาแตกต่างกัน ผู้ที่มีใจเป็นกลาง ต้องส่งเสริมสนับสนุน ผู้ที่ทำถูกทำดีแล้วให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป และให้โอกาสผู้ที่ทำผิดทำชั่ว โดยช่วยอบรมสั่งสอน ให้ปรับปรุงแก้ไขตนเอง ให้ละชั่วประพฤติดี ใครผิดก็ว่าไปตามผิด ใครถูกกก็ว่าไปตามถูก นี่คือคุณสมบัติของ ผู้ที่มีคุณธรรมประจำใจ คือ “ความเป็นกลาง”
๓.ไม่มีอคติ หมายถึง ไม่มีความลำเอียง ๔ ประการดังนี้
๑.ไม่ลำเอียงเพราะรักใคร่
๒.ไม่ลำเอียงเพราะเกลียด
๓.ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๔.ไม่ลำเอียงเพราะโง่เขลา
ผู้ที่มีอคติ คือมีความลำเอียง หรือความเอนเอียง เข้าข้างใดข้างหนึ่ง ไม่เป็นกลาง ไม่มีความยุติธรรม
๑.ไม่ลำเอียงเพราะรักใคร่ หมายถึง คนที่เรารักทำความผิดเราก็ต้องตัดสินว่าผิด คนที่เรารักทำถูกเราก็ตัดสินว่าถูก เพราะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
๒.ไม่ลำเอียงเพราะเกลียด คนที่เราเกลียดทำถูก เราต้องตัดสินว่าถูก คนที่เราเกลียดทำผิดเราก็ต้องตัดสินว่าผิด เพราะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
๓.ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ผู้ที่มีอำนาจทำผิด เราก็ต้องตัดสินว่าผิด ผู้ที่มีอำนาจมีอิทธิพลทำถูกเราก็ต้องตัดสินว่าถูก เพราะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่กลัวอำนาจอิทธิพลใดๆ
๔.ไม่ลำเอียงเพราะโง่เขลา ผู้ใดที่กระทำความผิด เราต้องใช้สติปัญญาพิจารณาให้รอบคอบ ไม่หูเบาเชื่อคนง่าย ไม่ตัดสินคดีความด้วยความโง่เขลาเบาปัญญา ต้องมีความเป็นธรรม เป็นกลาง และซื่อสัตย์ต่อตนเองและหน้าที่ของตน
ผู้ที่มีคุณธรรมดังที่กล่าวมาแล้วนี้ คือ มีสัจจะ การคิด การพูด การทำแต่ความจริง มีความเป็นธรรม คือ มีใจเป็นกลาง ไม่มีอคติ คือ ไม่ลำเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง ผู้ที่มีคุณธรรมทั้ง ๓ อย่างนี้ จะเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อหน้าที่การงาน ต่อองค์กร ต่อสังคม ต่อประเทศชาติบ้านเมือง
ส่วนผู้ที่มีอคติ คือมีความลำเอียงหรือเอนเอียง เข้าข้างใดข้างหนึ่ง ไม่มีความเป็นธรรม ไม่มีความเป็นกลาง
๑.ลำเอียงเพราะรัก คือคนที่ตนรักทำผิดก็ตัดสินว่าถูก
๒.ลำเอียงเพราะเกลียด คนที่ตนเกลียด ทำถูกก็ตัดสินว่าผิด
๓.ลำเอียงเพราะกลัว ผู้ที่มีอำนาจมีอิทธิพลทำความผิดก็ตัดสินว่าถูก
๔.ลำเอียงเพราะโง่เขลา จะตัดสินปัญหาใดๆก็ผิด เพราะเป็นคนหูเบาเชื่อคนง่าย ไม่มีสติปัญญา ไม่มีคุณธรรม ตัดสินปัญหาต่างๆด้วยอารมณ์ ไม่มีเหตุผล ไม่มีความซื่อสัตย์ต่ออาชีพ หน้าที่การงาน ไม่มีความจริงใจต่อตนเอง และผู้อื่น ทำให้สังคมเสื่อมโทรม ไม่ควรเคารพนับถือ ไม่ควรคบค้าสมาคม นี่คือผู้ที่ขาดคุณธรรม
เรื่อง มีสัจจะ มีความเป็นธรรม ไม่มีอคติ
ความซื่อสัตย์ จะต้องถือ คือสัจจะ
จำต้องละ พูดปด งดพูดชั่ว
ต้องพูดจริง ทำจริง ไม่เมามัว
ไม่คิดชั่ว ไม่ทำชั่ว ไม่กลัวใคร
ความเป็นธรรม หมายถึง ใจเป็นกลาง
ไม่เข้าข้าง ออกข้าง ทางฝ่ายไหน
ต้องส่งเสริม ผู้ทำดี มีต่อไป
จงใส่ใจ เร่งกระทำ แต่ความดี
ไม่อคติ หมายถึง ไม่ลำเอียง
ไม่ลำเอียง เพราะรัก ในศักดิ์ศรี
ไม่ลำเอียง เพราะเกลียด นั้นไม่ดี
รักศักดิ์ศรี ของตน เป็นคนกลาง
มีเหตุผล ความถูกผิด คิดสะสาง
จะตัดสิน ความข้อใด ใจเป็นกลาง
ไม่ละวาง ความซื่อสัตย์ มัดใจคน
ไม่ลำเอียง เพราะโง่เขลา เบาปัญญา
พิจารณา ให้รอบคอบ ไม่สับสน
ไม่หูเบา เชื่อคนง่าย ทำลายตน
ไม่มืดมน มีปัญญา หาสุขใจ
ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า มีคุณธรรม นี้หรือไม่
ถ้ามีแล้ว จงส่งเสริม กันต่อไป
ไม่มีไซร้ แสวงหา มาใส่ตน
กิจกรรม บทที่ ๓ ซื่อสัตย์
๑. ผู้ใดที่มีลักษณะของ ความซื่อสัตย์ ?
ก. ผู้ที่มีความประพฤติทั้งตรงต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงใจ ไม่ทุจริต
คดโกง ปลอดจากความลำเอียง รับรู้หน้าที่ตนเอง ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่และถูกต้อง
ข. ผู้ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ
ค. ผู้ที่ปฏิบัติตาม กฎระเบียบ ตั้งใจยึดมั่นในระเบียบแบบแผนข้อบังคับ
ง. ผู้ที่มีความตั้งใจ เพียรพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค ทำการงานอย่างจริงจัง
๒. คุณธรรมข้อใด ที่ส่งเสริมให้เกิด ความซื่อสัตย์ ?
ก. พรหมวิหาร ๔ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ข. รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ
ค. มีสัจจะ ( การคิด การพูด การทำ แต่ความจริง ) มีความเป็นธรรม ( มีใจเป็นกลาง )
ไม่มีอคติ ( ไม่มีความลำเอียงเข้าข้างใด ข้างหนึ่ง )
ง. อิทธิบาท ๔ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
๓. ผู้ใดเป็นลักษณะของผู้ที่มี คุณธรรม “ สัจจะ ” ?
ก. ผู้ที่มีความจริงใจ การคิด การพูด การทำสิ่งใด ๆ ทำแต่ความจริง ซื่อสัตย์สุจริต ไม่ทุจริต
คดโกง ซื่อตรงต่อหน้าที่ต่อเวลา ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองหรือผู้อื่น
ข. ผู้ที่รู้ว่าเหตุใด เมื่อคิด เมื่อพูด เมื่อทำ แล้วส่งผลให้เกิดความไม่เดือดร้อน
ค. ถูกทั้ง ก. และ ข.
ง. ผู้ที่ปฏิบัติตาม กฎระเบียบ ตั้งใจยึดมั่นในระเบียบแบบแผนข้อบังคับ
๔. คุณธรรม คำว่า “ มีความเป็นธรรม ” หมายความว่าอย่างไร ?
ก. รู้จักตนเองว่าเป็นใคร อยู่ในฐานะอะไร
ข. เป็นผู้ที่มีความเป็นกลาง ไม่เข้าข้างใด ข้างหนึ่ง ผิดว่าไปตามผิด ถูกว่าไปตามถูก รู้เหตุ
รู้ผล รู้ผิดชอบ ชั่วดี ส่งเสริมคนดีให้เจริญก้าวหน้า ให้โอกาสผู้ทำผิดทำชั่วให้ปรับปรุงแก้ไข
ค. รู้จักตนเองว่า มีความรู้ ทางโลก หรือ ทางธรรม มากน้อยเพียงใด
ง. ถูกทุกข้อ
๕. คุณธรรม คำว่า “ ไม่มีอคติ ” (ไม่มีความลำเอียง เป็นกลาง เป็นธรรม) หมายความว่าอย่างไร ?
ก. ไม่รู้จักประมาณในการทำมาหากิน เลี้ยงชีพในทางที่ถูกที่ควร ไม่ทุจริตคดโกง
ข. ไม่รู้จักประมาณการใช้จ่ายแต่พอควร รู้จักประหยัดอดออม ถนอมใช้ทรัพย์สินอย่างคุ้มค่า
ค. ไม่มีความลำเอียง ๔ ประการ ไม่ลำเอียงเพราะรักใคร่ ไม่ลำเอียงเพราะเกลียด ไม่ลำเอียง
เพราะกลัว ไม่ลำเอียงเพราะโง่เขลา
ง. ถูกทั้ง ก. และ ข.
๖. ผู้ที่มีอคติ ( มีความลำเอียง ไม่เป็นกลาง ไม่เป็นธรรม ) หมายความว่าอย่างไร ?
ก. ผู้ที่มีความลำเอียง ๔ ประการ ลำเอียงเพราะรักใคร่ ลำเอียงเพราะเกลียด ลำเอียง
เพราะกลัว ลำเอียงเพราะโง่เขลา
ข. เป็นผู้ที่มีความเป็นกลาง ไม่เข้าข้างใด ข้างหนึ่ง ผิดว่าไปตามผิด ถูกว่าไปตามถูก รู้เหตุ
รู้ผล รู้ผิดชอบ ชั่วดี ส่งเสริมคนดีให้เจริญก้าวหน้า ให้โอกาสผู้ทำผิดทำชั่วให้ปรับปรุงแก้ไข
ค. ผู้ที่มีความจริงใจ การคิด การพูด การทำสิ่งใด ๆ ทำแต่ความจริง ซื่อสัตย์สุจริต ไม่ทุจริต
คดโกง ซื่อตรงต่อหน้าที่ต่อเวลา ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองหรือผู้อื่น
ง. ถูกทุกข้อ
๗. ผู้ที่มีอคติ ๔ ประการ มีลักษณะอย่างไร ?
ก. ผู้ที่มีความลำเอียง ไม่เป็นธรรม ผู้ที่รักใคร่ทำผิดก็ตัดสินว่าถูก ส่วนผู้ที่เกลียดทำถูก
ก็ตัดสินว่าผิด ผู้ที่มีอิทธิพลทำผิดก็ตัดสินว่าถูก ตัดสินปัญหาผิด เพราะขาดสติปัญญา
ข. ผู้ที่มีความเป็นกลาง ไม่เข้าข้างใด ข้างหนึ่ง ผิดว่าไปตามผิด ถูกว่าไปตามถูก รู้เหตุ
รู้ผล รู้ผิดชอบ ชั่วดี ส่งเสริมคนดีให้เจริญก้าวหน้า ให้โอกาสผู้ทำผิดทำชั่วให้ปรับปรุงแก้ไข
ค. ผิดทั้ง ก. และ ข.
ง. ถูกทั้ง ก. และ ข.
๘. ผู้ใดนำคุณธรรมพื้นฐาน “ ความซื่อสัตย์ ” มาประพฤติปฏิบัติได้ ย่อมบังเกิดผลอย่างไร ?
ก. เป็นผู้ที่มีคุณธรรม มีความเป็นธรรม ไม่ลำเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง
ข. เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น ต่อหน้าที่การงาน ต่อองค์กร ตลอดจน
ครอบครัว สังคม ประเทศชาติบ้านเมือง
ค. เป็นแบบอย่างที่ดีของผู้อื่น
ง. ถูกทุกข้อ
๙. ผู้ใดขาดคุณธรรมพื้นฐาน “ ความซื่อสัตย์ ” ย่อมบังเกิดผลอย่างไร ?
ก. เป็นผู้มีความลำเอียง เข้าข้างใดข้างหนึ่ง ไม่มีความเป็นธรรม ไม่มีความเป็นกลาง
ข. เป็นผู้ที่ไม่มีความซื่อสัตย์ต่ออาชีพ หน้าที่การงาน ไม่มีความจริงใจ
ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่มีผู้เคารพนับถือ ทำให้สังคม ประเทศชาติเสื่อมลง
ค. ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีของผู้อื่น
ง. ถูกทุกข้อ
บทที่ ๔
คุณธรรมพื้นฐาน ประการที่ ๔ มีวินัย
๔. มีวินัย
มีวินัย หมายถึงผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร สังคม และประเทศ โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจ และตั้งใจยึดมั่นในระเบียบแบบแผนข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ รวมถึงการมีวินัยทั้งต่อตนเอง และสังคม
วินัย คือ ข้อบังคับให้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน ตามที่สถาบัน และองค์กรต่างๆได้กำหนดไว้
ผู้ที่จะมีวินัยได้นั้นต้องมีคุณธรรมประจำใจ ต้องปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า คือ สุจริต ๓ได้แก่กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓
๑.ประพฤติชอบทางกาย เรียกว่า กายสุจริต
๒.ประพฤติชอบทางวาจา เรียกว่า วจีสุจริต
๓.ประพฤติชอบทางใจ เรียกว่า มโนสุจริต
๑. กายกรรม ๓ หมายถึงกายสุจริต คือ ๑.เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒.เว้นจากการลักทรัพย์ ๓.เว้นจากการประพฤติผิดในกาม (เป็นชู้กับสามีภรรยาผู้อื่น)
๒.วจีกรรม๔ หมายถึง วจีสุจริต คือเว้นจากการพูดเท็จ (โกหกหลอกลวง) ๒.เว้นจากการพูดส่อเสียด ๓.เว้นจากการพูดคำหยาบ ๔.เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๓.มโนกรรม ๓ หมายถึง มโนสุจริต (ใจ) คือ ๑.ใจไม่คิดโลภอยากได้ของผู้อื่น ๒.ใจไม่อาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น ๓.ใจมีความคิดเห็นชอบตามครรลองคลองธรรม
ผู้ที่มีคุณธรรมทั้ง ๓ อย่างนี้ เป็นคุณธรรมที่สร้างให้ผู้นั้นมีนิสัยที่ดี มีระเบียบวินัยประจำกาย วาจา และใจ เขาจะไม่ประพฤติผิด ทางกาย ทางวาจา และทางใจ เรียกว่าเป็นผู้ที่มีกาย วาจา และใจ อันบริสุทธิ์ เมื่อมีความบริสุทธิ์แล้ว เขาจะไปอยู่ ณ ที่ใด สถานศึกษา สถาบัน องค์กร สังคม และประเทศใดๆในโลกนี้ เขาสามารถปฏิบัติตามขอบเขตกฎระเบียบแบบแผน ข้อบังคับอย่างเต็มใจ และตั้งใจปฏิบัติอย่างจริงใจ จริงจัง และต่อเนื่องได้อย่างสมบูรณ์ เพราะเขามีคุณธรรมประจำใจซึ่งต่างกับผู้ที่ขาดคุณธรรมทั้ง ๓ อย่าง คือ
๑.ประพฤติผิดทางกาย คือฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ หรือทุจริตคดโกง ประพฤติผิดในกาม (เป็นชู้กับสามีภรรยาผู้อื่น)
๒.ประพฤติผิดทางวาจา คือพูดปดโกหกหลอกลวง พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ
๓.ประพฤติผิดทางใจ คือ ใจคิดโลภอยากได้ของผู้อื่น ใจคิดอาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น ใจมีความคิด เห็นผิดจากครรลองคลองธรรม ไม่มีคุณธรรมประจำใจ จึงเป็นผู้ที่ขาดระเบียบวินัย ย่อมทำผิดคิดชั่วได้ทุกอย่าง บุคคลเหล่านี้จะไปอยู่ในโรงเรียน สถาบัน องค์กร สังคม ประเทศใด ก็ไม่สามารถประพฤติตนให้อยู่ในระเบียบวินัยของสถาบันนั้นๆ ได้ ไม่เต็มใจที่จะปฎิบัติตาม และไม่ตั้งใจที่จะยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ มีการทำผิดระเบียบวินัยอยู่เสมอ ดังที่ได้ปรากฏแล้วในปัจจุบัน นี่คือผู้ที่ไม่มีคุณธรรมทั้ง ๓ อย่าง ประจำใจนั่นเอง
ตัวอย่าง เช่น นักเรียนที่ได้รับการอบรมสั่งสอน และศึกษาพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วปฏิบัติตาม จึงมีคุณธรรมประจำใจ คือ
๑. มีความประพฤติดีทางกาย คือไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต นับตั้งแต่มนุษย์ และสัตว์ทุกชนิด ไม่ลักขโมยทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือขณะอยู่ในวัยเรียน
๒. มีความประพฤติดีทางวาจา คือไม่พูดปด โกหก หลอกลวง ไม่พูดส่อเสียดให้ผู้อื่นเสียใจ ไม่พูดคำหยาบ คำไม่สุภาพ ไม่พูดเพ้อเจ้อเรื่องไร้สาระ
๓. ไม่ประพฤติผิดทางใจ คือใจไม่คิดโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน ใจไม่คิดอิจฉาริษยา อาฆาตพยาบาท ปองร้ายผู้อื่น ใจไม่มีความคิดเห็นผิดศีล ผิดธรรม ผิดกฎหมาย ผิดจารีตประเพณี ผิดวัฒนธรรมไทย
นักเรียนที่มีคุณธรรม ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ก็จะเป็นเด็กที่ดีของพ่อแม่ ครู อาจารย์ โรงเรียน สังคม และประเทศชาติบ้านเมือง จะไปอยู่ ณ ที่ใดก็ไม่สร้างความเดือดร้อน ในที่นั้นๆ กลับสร้างความเจริญรุ่งเรือง และความสงบสุข ให้แก่โรงเรียน องค์กร สังคม และประเทศชาติบ้านเมือง เพราะเขาเป็นเด็กดีมีวินัย
ตรงกันข้ามกับเด็กที่ไม่ได้รับการอบรมสั่งสอน ไม่ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่มีคุณธรรมประจำใจ คือ
๑.นักเรียนที่มีความประพฤติชั่วทางกาย ชอบฆ่าสัตว์ ชอบลักทรัพย์ ชอบมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือขณะเป็นนักเรียน
๒.นักเรียนที่ชอบพูดปด โกหก หลอกลวง ให้ผู้อื่นเดือดร้อน ชอบพูดส่อเสียดให้เพื่อนเสียใจ ชอบพูดคำหยาบคำที่ไม่สุภาพ ชอบพูดเพ้อเจ้อเรื่องไร้สาระ
๓.นักเรียนที่มีความโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน ชอบอิจฉาริษยา อาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น ชอบมีความเห็นผิดจากครรลองคลองธรรม ผิดจากกฎหมาย ผิดจากจารีตประเพณี ผิดจากวัฒนธรรมไทย
เด็กที่ขาดคุณธรรมดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นเด็กไม่ดี ไม่มีระเบียบวินัย จะอยู่ในสถานศึกษา สถาบัน องค์กร สังคม และประเทศใดๆ ก็จะผ่าฝืนทำผิดกฎระเบียบของสถาบันนั้นๆเสมอๆ สร้างความเสื่อมเสียให้กับตนเอง พ่อแม่ ครู อาจารย์ โรงเรียน สังคม ประเทศชาติบ้านเมือง ยังเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี สำหรับนักเรียนรุ่นหลังต่อไปอีกด้วย
เพราะฉะนั้น เราจะต้องสร้างวินัยให้เกิดขึ้นกับตนเองเสียก่อน คือห้ามทำผิดทางกาย วาจา และใจ โดยนำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้ง ๓ อย่าง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วมาปฏิบัติตามให้ได้ผล คือสามารถห้ามกาย วาจา และใจ สามารถควบคุมกาย วาจา และใจ ให้ประพฤติดีได้ จึงเรียกได้ว่า เป็นผู้มีระเบียบวินัยดี
เรื่อง ทุจริต ๓
ประพฤติชั่ว ทางกาย ให้น่าคิด
ประพฤติผิด ในกาม ไม่งามแน่
ทั้งฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต จิตผันแปร
ไม่งามแน่ ลักทรัพย์ อับปัญญา
ประพฤติชั่ว ทางวาจา ก็น่าเกลียด
พูดส่อเสียด ไม่ดี มีปัญหา
ทั้งพูดปด หลอกลวง ปวงประชา
ทั้งยังด่า หยาบคาย ไม่อายคน
ประพฤติชั่ว ทางใจ ใช่แล้วจิต
ความเห็นผิด ครรลอง มองสับสน
โลภอยากได้ ของผู้อื่น เป็นของตน
คิดฆ่าคน ก็ได้ ใจไม่ดี
ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า ทำผิด ทั้งสามนี้
จงกลับใจ กลับคำ ทำความดี
จะผ่องศรี เบิกบาน ท่านจงทำ
กิจกรรม บทที่ ๔ มีวินัย
๑. ผู้ใดเป็นลักษณะของผู้ที่มี คุณธรรมของการ “ มีวินัย ”
ก. ผู้ที่มีความประพฤติทั้งตรงต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงใจ ไม่ทุจริต
คดโกง ปลอดจากความลำเอียง รับรู้หน้าที่ตนเอง ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่และถูกต้อง
ข. ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร สังคมและประเทศ
ค. ผู้ที่ตั้งใจยึดมั่นใน ยึดมั่นในระเบียบแบบแผนข้อบังคับ รวมถึงวินัยต่อตนเองและสังคม
ง. ถูกทั้ง ข. และ ค.
๒. คุณธรรมข้อใด ที่ส่งเสริมให้เกิด วินัย ?
ก. พรหมวิหาร ๔ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ข. รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ
ค. อิทธิบาท ๔ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
ง. สุจริต ๓ อย่าง (๑) กายสุจริต ( ประพฤติชอบทางกาย) (๒) วจีสุจริต ( ประพฤติชอบ -
ทางวาจา ) (๓) มโนสุจริต ( ประพฤติชอบทางใจ )
๓. กายสุจริต หรือกายกรรม ๓ อย่าง หมายถึงอะไร ?
ก. หมายถึง (๑) เว้นจากการฆ่าสัตว์ (๒) เว้นจากการลักทรัพย์ หรือทุจริตคดโกง
(๓) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ( ไม่เป็นชู้กับสามีหรือภรรยาผู้อื่น)
ข. หมายถึง (๑) เว้นจากการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง (๒) เว้นจากการพูดส่อเสียด
(๓) เว้นจาการพูดคำหยาบ (๔) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
ค. หมายถึง (๑) ใจไม่คิดโลภอยากได้ของผู้อื่น (๒) ใจไม่อาฆาตพยาบาท ปองร้ายผู้อื่น
(๓) มีความเห็นชอบตามครรลองคลองธรรม
ง. ถูกทุกข้อ
๔. วจีสุจริต หรือวจีกรรม ๔ อย่าง หมายถึงอะไร ?
ก. หมายถึง (๑) เว้นจากการฆ่าสัตว์ (๒) เว้นจากการลักทรัพย์ หรือทุจริตคดโกง
(๓) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ( ไม่เป็นชู้กับสามีหรือภรรยาผู้อื่น)
ข. หมายถึง (๑) เว้นจากการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง (๒) เว้นจากการพูดส่อเสียด
(๓) เว้นจาการพูดคำหยาบ (๔) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
ค. หมายถึง (๑) ใจไม่คิดโลภอยากได้ของผู้อื่น (๒) ใจไม่อาฆาตพยาบาท ปองร้ายผู้อื่น
(๓) มีความเห็นชอบตามครรลองคลองธรรม
ง. ถูกทุกข้อ
๕. มโนสุจริต หรือ มโนกรรม ๓ อย่าง หมายถึงอะไร ?
ก. หมายถึง (๑) เว้นจากการฆ่าสัตว์ (๒) เว้นจากการลักทรัพย์ หรือทุจริตคดโกง
(๓) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ( ไม่เป็นชู้กับสามีหรือภรรยาผู้อื่น)
ข. หมายถึง (๑) เว้นจากการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง (๒) เว้นจากการพูดส่อเสียด
(๓) เว้นจาการพูดคำหยาบ (๔) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
ค. หมายถึง (๑) ใจไม่คิดโลภอยากได้ของผู้อื่น (๒) ใจไม่อาฆาตพยาบาท ปองร้ายผู้อื่น
(๓) มีความเห็นชอบตามครรลองคลองธรรม
ง. ถูกทุกข้อ
๖. ทุจริต ๓ อย่าง หมายถึงอะไร ?
ก. หมายถึง (๑) กายทุจริต ( ประพฤติชั่วทางกาย) (๒) วจีทุจริต ( ประพฤติชั่วทางวาจา )
(๓) มโนทุจริต ( ประพฤติชั่วทางใจ )
ข. หมายถึง (๑) เว้นจากการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง (๒) เว้นจากการพูดส่อเสียด
(๓) เว้นจาการพูดคำหยาบ (๔) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
ค. หมายถึง (๑) ใจไม่คิดโลภอยากได้ของผู้อื่น (๒) ใจไม่อาฆาตพยาบาท ปองร้ายผู้อื่น
(๓) มีความเห็นชอบตามครรลองคลองธรรม
ง. ถูกทุกข้อ
๗. ข้อใดที่เป็นลักษณะของผู้ที่มี ทุจริต ๓ อย่าง ?
ก. ผู้ที่ประพฤติชั่วทางกาย (๑) ฆ่าสัตว์ (๒) ลักทรัพย์ หรือทุจริตคดโกง (๓) ประพฤติผิด
ในกาม ( เป็นชู้กับสามีหรือภรรยาผู้อื่น หรือมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือในวัยเรียน )
ข. ผู้ที่ประพฤติชั่วทางวาจา (๑) พูดเท็จ โกหกหลอกลวง (๒) พูดส่อเสียด (๓) พูดคำหยาบ
(๔) พูดเพ้อเจ้อ
ค. ผู้ที่ประพฤติชั่วทางใจ (๑) ใจคิดโลภอยากได้ของผู้อื่น (๒) ใจอาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
(๓) มีความเห็นผิดจากครรลองคลองธรรม
ง. ถูกทุกข้อ
๘. ผู้ใดนำคุณธรรมพื้นฐานการ “ มีวินัย ” มาประพฤติปฏิบัติได้ ย่อมบังเกิดผลอย่างไร ?
ก. เป็นผู้ที่มีคุณธรรม ประพฤติชอบทางกาย ประพฤติชอบทางวาจา ประพฤติชอบทางใจ
ข. เป็นคนดีมีวินัย สร้างความภูมิใจให้กับพ่อ แม่ ครู อาจารย์ สร้างความเจริญรุ่งเรือง
ให้กับตนเอง ครอบครัว องค์กรตลอดจน สังคม ประเทศชาติบ้านเมือง
ค. เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นที่เคารพนับถือของผู้อื่น
ง. ถูกทุกข้อ
๙. ผู้ใดขาดคุณธรรมพื้นฐานการ “ มีวินัย ” ย่อมบังเกิดผลอย่างไร ?
ก. เป็นผู้ที่ขาดคุณธรรม ประพฤติชั่วทางกาย ประพฤติชั่วทางวาจา ประพฤติชั่วทางใจ
ข. เป็นคนไม่ดีไร้วินัย สร้างความเดือดร้อน ให้กับตนเอง ครอบครัว องค์กรตลอดจน
ทำให้สังคม ประเทศชาติบ้านเมืองเสื่อมลง
ค. ไม่เป็นแบบอย่างที่ดี ขาดความเคารพนับถือ จากผู้อื่น
ง. ถูกทุกข้อ
บทที่ ๕
คุณธรรมพื้นฐาน ประการที่ ๕ สุภาพ
๕. สุภาพ
ความสุภาพ หมายถึง ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ตามสถานภาพ และกาลเทศะ มีสัมมาคารวะ เรียบร้อย ไม่ก้าวร้าวรุนแรง หรือวางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจา และท่าทาง เป็นผู้ที่มีมารยาทดีงาม วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย
ผู้ที่จะมีความสุภาพเรียบร้อยได้ ต้องมีคุณธรรมประจำใจหลายอย่าง เช่น มี สติ สัมปชัญญะ ซึ่งเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก มี ขันติ โสรัสจะ คือธรรมที่ทำให้งาม
๑. สติ สัมปชัญญะ หมายถึง ระลึกได้และรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ว่ากำลังคิดอะไร วาจากำลังพูดอะไร กายกำลังทำอะไร เมื่อมีสติ สัมปชัญญะ ระลึกได้ และรู้ตัว ก็สามารถควบคุมกาย วาจา และใจ ให้คิดดี พูดดี และทำดี
๒. ขันติ โสรัสจะ เป็นคุณธรรมประจำใจ ขันติ โสรัสจะ คือมีความอดทน ความสงบเสงี่ยม อดกลั้นไว้ได้ เมื่อมีสิ่งมากระทบจิตใจ ให้เกิดอารมณ์ที่ไม่ปรารถนา ก็ไม่แสดงอาการโกรธ และไม่พูดตอบโต้ ทนต่อความลำบากตรากตรำ รู้จักปรับสภาพจิตใจให้เยือกเย็น ก็จะเป็นคนมีความสุภาพ เรียบร้อย มีความอ่อนน้อมถ่อมตน
ผู้ใดที่มีคุณธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ส่งเสริมกัน ให้เป็นคนสุภาพเรียบร้อย อ่อนโยนรู้จักกาละเทศะว่าเวลาใด สถานที่ใด ควรแสดงกิริยามารยาทอย่างไร ควรอ่อนน้อมถ่อมตน กับผู้ใด เพราะมีสติ สัมปชัญญะ ขันติ โสรัสจะ ควบคุมกาย วาจา ใจ อยู่ตลอดเวลา และยังประมาณตนว่าตนเป็นใคร อยู่ในสถานภาพใด ควรประพฤติตนให้เหมาะสมกับฐานะ ในตำแหน่งหน้าที่ของตนเอง จะไม่ก้าวร้าวรุนแรง หรือวางอำนาจข่มขู่ผู้อื่น ด้วยกิริยา วาจา ที่น่าเกลียด เพราะรู้จักประมาณตน
ตัวอย่าง เช่น นักเรียนที่ได้รับการอบรมสั่งสอน ได้รับการศึกษาพระธรรมคำสอน ของ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงมีคุณธรรมประจำใจ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็จะเป็นนักเรียนที่ดี มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ ไม่ก้าวร้าวรุนแรง หรือวางอำนาจข่ม
ผู้อื่น เป็นผู้มีมารยาทงาม ตามแบบอย่างขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของไทย
ตรงกันข้ามกับ นักเรียนที่ไม่ได้รับการอบรมสั่งสอน ไม่ได้ศึกษาพระธรรมคำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่มีคุณธรรมประจำใจ ก็จะเป็นนักเรียนที่ไม่ดี มีนิสัยก้าวร้าว รุนแรง ไม่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่มีสัมมาคารวะ ชอบวางอำนาจข่มผู้อื่น ไม่มีมารยามตามขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ไม่รู้ผิดชอบ ชั่วดี เห็นผิดจากครรลองคลองธรรม
ดังนั้น ขันติ โสรัสจะ จึงเป็นคุณธรรมที่ทำให้งามทั้งภายนอก และภายใน คือ งามทั้งกาย วาจา และใจ
สติ สัมปชัญญะ เป็นคุณธรรมที่มีอุปการะมาก คือมีความระลึกได้ และรู้ตัว ช่วยควบคุมกาย วาจา และใจ ให้คิดดี พูดดี และทำดี ทำแต่สิ่งที่ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม จารีตประเพณี วัฒนธรรมไทย
เพราะฉะนั้น ผู้ใดปฏิบัติตามคำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้สมบูรณ์แล้ว จะทำให้ท่านเป็นคนดี สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับตนเอง และผู้อื่น รวมทั้งครอบครัว สังคม ประเทศชาติ บ้านเมือง ทั้งยังเป็นตัวอย่างที่ดี ต่อเยาวชนรุ่นหลังอีกด้วย
เรื่อง สติ สัมปชัญญะ หิริ โอตตัปปะ ขันติ โสรัจจะ
สติสัมปชัญญะ
อันสติ คือระลึกได้ ใครเคยเห็น
เพราะมันเป็น นามธรรม ตามท่านว่า
คิดดีชั่ว ระลึกรู้ อยู่ทุกครา
ทั้งวาจา กายใจ จงไตร่ตรอง
สัมปชัญญะ คือรู้ตัว ชั่วหรือดี
เลือกทำที่ ให้กาย ไม่เศร้าหมอง
รู้เวลา รู้กาละ คอยประคอง
ให้กายต้อง รู้เทศะ จะเจริญ
หิริ โอตตัปปะ
อันหิริ คือละอาย ในความบาป
โปรดจงทราบ ทำชั่ว ตัวเราเห็น
วาจาใจ กายชั่ว ตัวเราเป็น
ใครไม่เห็น เราก็ทุกข์ สุขไม่มี
โอตตัปปะ คือเกรงกลัว ชั่วเกิดขึ้น
อย่าได้ยิน ทำความชั่ว ตัวหมองศรี
แม้ทำแล้ว ใครไม่เห็น เป็นไม่ดี
ไม่ผ่องศรี น่าอดสู รู้แก่ใจ
ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า เคยทำชั่ว ไว้บ้างไหม
ถ้าเคยแล้ว ก็ต้องจำ ไว้ใส่ใจ
ให้ละอาย ต่อความชั่ว กลัวบาปเอย
ขันติ โสรัจจะ
อันขันติ คืออดทน คนควรคิด
มิยึดติด ความทุกข์ ไม่สุขี
จงอดทน รับกรรม ทำไม่ดี
ในชาตินี้ จึงทุกข์ สุขไม่เป็น
ต้องอดทน รันทด ความอดอยาก
ทนลำบาก ทางใจ ใครไม่เห็น
ทนเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ แสนลำเค็ญ
ทั้งเจ็บเป็น ป่วยไข้ ไม่สบาย
โสรัจจะ คือเสงี่ยม เจียมตัวไว้
ระวังกาย ให้สงบ เมื่อพบเห็น
กิริยา มารยาท ทำให้เป็น
ตัวอย่างเช่น คนดี มีจรรยา
จะรู้สึก ดีใจ หรือเสียใจ
เสงี่ยมไว้ อย่าให้ออก มานอกหน้า
จะเจ็บแค้น แสนปวด ในอุรา
ต้องรักษา มารยาทไว้ จะได้งาม
ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าอดทน กับสิ่งใด ได้บ้างหนา
ถ้าทนได้ ก็ดูงาม อร่ามตา
ทั้งวาจา กายใจ ใช่คนดี
กิจกรรม บทที่ ๕ สุภาพ
๑. ผู้ใดเป็นลักษณะของผู้ที่มี คุณธรรมของความ “ สุภาพ ”
ก. ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ ตามสถานภาพและกาลเทศะ
ข. ไม่ก้าวร้าวรุนแรง หรือวางอำนาจข่มผู้อื่น ทั้งโดยวาจา และท่าทาง เป็นผู้ที่มีมารยาทงาม
ตามวัฒนธรรมไทย
ค. ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร สังคมและประเทศ
ผู้ที่ตั้งใจยึดมั่นใน ยึดมั่นในระเบียบแบบแผนข้อบังคับ รวมถึงวินัยต่อตนเองและสังคม
ง. ถูกทั้ง ก. และ ข.
๒. คุณธรรมข้อใด ที่ส่งเสริมให้มีความ “ สุภาพ ” ?
ก. พรหมวิหาร ๔ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ข. สติ สัมปชัญญะ ( ธรรมที่มีอุปการะมาก ) และ ขันติ โสรัจจะ ( ธรรมที่ทำให้งาม )
ค. อิทธิบาท ๔ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
ง. รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ
๓. สติ คืออะไร ?
ก. คือความระลึกได้
ข. คือความรู้ตัว
ค. คือความอดทน
ง. คือความสงบเสงี่ยม
๔. สัมปชัญญะ คืออะไร ?
ก. คือความระลึกได้
ข. คือความรู้ตัว
ค. คือความอดทน
ง. คือความสงบเสงี่ยม
๕. ขันติ คืออะไร ?
ก. คือความระลึกได้
ข. คือความรู้ตัว
ค. คือความอดทน
ง. คือความสงบเสงี่ยม
๖. โสรัจจะ คืออะไร ?
ก. คือความระลึกได้
ข. คือความรู้ตัว
ค. คือความอดทน
ง. คือความสงบเสงี่ยม
๗. ผู้ใดนำคุณธรรมพื้นฐานความ “ สุภาพ ” มาประพฤติปฏิบัติได้ ย่อมบังเกิดผลอย่างไร ?
ก. เป็นผู้ที่มีคุณธรรม วาจา ประพฤติชอบทางใจ
ข. เป็นคนดี มีสัมมาคารวะ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน สุภาพเรียบร้อย มีมารยาทตาม
วัฒนธรรมไทย สร้างความภูมิใจให้ กับพ่อ แม่ ครู อาจารย์ สร้างความเจริญรุ่งเรือง
ให้กับตนเอง ครอบครัว องค์กรตลอดจน สังคม ประเทศชาติบ้านเมือง
ค. เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นที่เคารพนับถือของผู้อื่น
ง. ถูกทุกข้อ
๘. ผู้ใดขาดคุณธรรมพื้นฐานความ “ สุภาพ ” ย่อมบังเกิดผลอย่างไร ?
ก. เป็นผู้ที่ขาดคุณธรรม ก้าวร้าว รุนแรง ไม่มีสัมมาคารวะ วางอำนาจข่มผู้อื่น ไม่มี
ความอ่อน น้อมถ่อมตน
ข. เป็นคนไม่ดีไร้มารยาท สร้างความเดือดร้อน ให้กับตนเอง ครอบครัว องค์กรตลอดจน
ทำให้สังคม ประเทศชาติบ้านเมืองเสื่อมลง
ค. ไม่เป็นแบบอย่างที่ดี ขาดความเคารพนับถือ จากผู้อื่น
ง. ถูกทุกข้อ
บทที่ ๖
คุณธรรมพื้นฐาน ประการที่ ๖ สะอาด
๖. สะอาด
สะอาด ผู้ที่รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม มีความผ่องใสเป็นที่เจริญตาทำให้เกิดความสบายใจแก่
ผู้พบเห็น
ผู้ที่มีร่างกายและจิตใจใสสะอาด สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ ปราศจากความมัวเมาหมองทั้งกายและใจได้
ต้องมีศีล ๕ ธรรม ๕ ประจำใจ คือ
ศีลข้อที่ ๑ ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามทรมานสัตว์ ห้ามเบียดเบียนสัตว์
ห้ามฆ่าสัตว์ การฆ่าสัตว์ เป็นการบั่นทอนชีวิตของผู้อื่นให้สั้นลง ใครที่ฆ่าสัตว์ในชาตินี้ไว้มาก เป็นคนที่มีจิตใจโหดร้ายทารุณ ขาดคุณธรรม ไม่มีความเมตตา กรุณา หรือถ้าฆ่ามนุษย์ ด้วยกัน ก็ต้องได้รับโทษทางกฎหมาย ต้องติดคุกติดตะราง หรือถูกประหารชีวิต เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนกับตนเอง และผู้อื่น เกิดไปชาติหน้าทำให้มีอายุสั้น ตรงกันข้ามหากใครฆ่าสัตว์มาน้อย และช่วยเหลือชีวิตสัตว์มามากก็จะมีชีวิตที่ยืนยาว ดังมนุษย์ที่เกิดมามีอายุสั้น อายุยืนยาวต่างกัน พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ธรรมชาติมนุษย์ จึงบัญญัติศีลข้อที่ ๑ ไว้ให้ปฏิบัติตาม เพื่อเกิดในชาติต่อ ๆ ไป จะมีอายุยืนยาว
ห้ามทรมานสัตว์ การทำร้ายสัตว์จะทำให้สัตว์ได้รับความเจ็บปวด ทุกข์ทรมานและพิการไปตลอดชีวิตผู้ที่ชอบทรมานสัตว์ เป็นผู้ที่มีจิตใจโหดร้ายทารุณ ขาดคุณธรรม ขาดความเมตตา ซึ่งจะส่งผลไปในชาติต่อไป เขาจะเจ็บไข้ได้ป่วย
ทุกข์ทรมานอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
อีกประการหนึ่งพระองค์ท่านมิให้เบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ด้วยกัน เช่น มีพี่น้องท้องเดียวกัน ๓ – ๔ คน ที่เป็นคนเกเรดื่มสุราเสพยาเสพติด เล่นการพนัน เที่ยวผู้หญิง คบคนชั่วเป็นมิตร ไม่ประกอบอาชีพใด ๆ เฝ้าเบียดเอาทรัพย์สินเงินทองของญาติพี่น้อง มาใช้จ่ายเลี้ยงชีพตนเอง สร้างความเดือดร้อนให้ญาติพี่น้องไม่มีใครนับถือ เป็นที่น่ารังเกียจของครอบครัว และสังคมเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีของชนรุ่นหลัง การเบียดเบียนสัตว์ และมนุษย์ด้วยกัน เกิดไปชาติหน้าจะถูกเบียดเบียนเช่นนี้บ้าง
ศีลข้อที่ ๑ จึงห้ามไว้ ๓ ประการ
๑. ห้ามฆ่าสัตว์
๒. ห้ามทรมานสัตว์
๓. ห้ามเบียดเบียนสัตว์
ผู้ใดนำศีลข้อที่ ๑ มารักษากาย วาจา ได้ทั้ง ๓ ประการ ชาตินี้จะเป็นคนดี มีศีล มีธรรม จิตใจ โอบอ้อมอารีย์
เป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป ชาติหน้าจะส่งผลให้มีอายุยืนยาว ไม่เจ็บป่วย ทุกข์ทรมานและไม่มีใครมาเบียดเบียนทำลาย
ความสุขของเราได้
ธรรมประกอบศีลข้อที่ ๑ มีความเมตตา คือความรัก กรุณา คือความสงสาร รักชีวิตผู้อื่นเท่ากับชีวิตของตน รักและสงสารทุกชีวิตทุกวิญญาณ มีความสุขเสมอกัน ถ้าพบผู้ใดมีความทุกข์ ก็จะช่วยเหลือเกื้อกูลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เพื่อให้พ้นจากความทุกข์ การกระทำดังกล่าวมานี้ ถือว่าเป็นผู้ที่มีศีลทั้งธรรมดังข้อที่ ๑ ประจำกาย วาจา และใจ
ศีลข้อที่ ๒ อทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ห้ามลักทรัพย์ หมายถึง ห้ามลักทรัพย์ จี้ปล้น ฉกชิง วิ่งราว ทุจริตคดโกง ทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตน ทำให้เจ้าของทรัพย์เกิดความเสียใจ และได้รับความเดือดร้อน ตนเองเมื่อลักทรัพย์สมบัติสิ่งของไปแล้วก็เกิดความทุกข์ทรมานใจ กลัวเจ้าของทรพย์จะมาเอาทรัพย์คืน หรือมาทำร้ายจนถึงแก่ชีวิต กลัวตำรวจจะมาจับติดคุกติดตะราง จึงหลบ ๆ ซ่อน ๆ ต้องพลัดพรากจากครอบครัวที่อยู่อาศัย เกิดความเดือดร้อนเป็นทุกข์ตลอดชีวิต นี่คือผลกรรมที่ทำผิดศีลข้อที่ ๒ ( ห้ามลักทรัพย์ ) ส่วนผลที่จะส่งในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป เมื่อไปเกิดเป็นมนุษย์อีก มีทรัพย์สมบัติจะถูกโจรปล้นจี้ ลักขโมย ถูกหลอกลวง ได้รับความเดือดร้อน เป็นทุกข์ เช่นเดียวกับที่เคยได้กระทำไว้ นี่คือผลที่ทำความชั่ว ดังคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสสอนไว้ว่า “ เราทำกรรมอันใดไว้จะเป็นบุญหรือเป็นบาป เราจักต้องได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป ”
ธรรมประกอบศีลข้อที่ ๒ คือมีสัมมาอาชีวะ หมายถึงต้องมีอาชีพที่สุจริต เช่น อาชีพรับราชการ ครูอาจารย์ ทหาร ตำรวจ นักการเมือง และประชาชนทั่วไป ต้องซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่การงาน ประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ ให้กับตนเอง หรือผู้อื่น ไม่ทุจริต คดโกงงบประมาณแผ่นดิน มีความซื่อสัตย์ต่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ผู้ที่เป็นข้าราชการ หรือนักการเมือง จะได้มีอาชีพสุจริต หรือเรียกว่า สัมมาอาชีวะ ส่วนผู้ที่มีอาชีพค้าขาย ต้องไม่ค้ากำไรเกินควร ไม่โกงตาชั่ง ไม่ขายของผิดกฎหมาย ไม่ขายยาเสพติด ไม่ขายชีวิตมนุษย์ ไม่ขายอาวุธทำร้าย ทำลายชีวิตกัน ไม่จี้ปล้นฉกชิงวิ่งราวกัน เอาทรัพย์ของผู้อื่นมามาเลี้ยงครอบครัว ส่วนปัจจัย ๔ มีอาหารเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ต้องได้มาด้วยความสะอาดบริสุทธิ์ โปร่งใสจากอาชีพการงานของตน จะมีชีวิตอยู่อย่างสบายใจ ไม่วิตกกังวลว่าสิ่งของต่าง ๆ ที่เรามีอยู่เป็นของผู้อื่น ซึ่งเราได้มาด้วยความบริสุทธิ์
ศีลข้อที่ ๓ กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ห้ามประพฤติผิดในกาม คือห้ามมิให้เป็นชู้สู่สมกับสามี ภรรยาผู้อื่น แต่สามารถเสพกามกับสามี ภรรยาของตนได้ เพราะการที่เราไปเสพกามกับสามีหรือภรรยาของผู้อื่น จะทำให้เกิดความเดือดเนื้อร้อนใจทั้งสองครอบครัว ครอบครัวอีกฝ่ายหนึ่งก็
หึงหวง และทะเลาะวิวาทกัน เกิดการอย่าร้าง แยกทางกัน เกิดปัญหาเกิดปัญหาลูกที่ขาดพ่อ ขาดแม่ อีกฝ่ายหนึ่งก็เช่นเดียวกัน จะต้องทะเลาะวิวาทเลิกร้างกันไป นำความเสื่อมเสียมาให้กับตนเองและครอบครัว ทำให้ขาดความเคารพนับถือจากผู้อื่น ยิ่งไปกว่านั้นก็จะเกิดการทำร้ายถึงแก่ชีวิต ต้องติดคุกติดตะรางในที่สุด ผลกรรมชั่วที่จะส่งไปในชาติต่อไป เมื่อไปเกิดเป็นมนุษย์อีก
จะทำให้มีคู่ครองที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อกัน
เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงให้มนุษย์นำศีลข้อที่ ๓ มารักษา กาย วาจา เพราะเป็นการลดกิเลส คือความหลงในกามารมณ์ลงได้
ธรรมประกอบศีลข้อที่ ๓ คือมีความสำรวมในกาม หมายถึงการมีคู่ครองต้องพอใจและซื่อสัตย์ในคู่ครองของตน ไม่เป็นชู้สู่สมกับสามีภรรยาผู้อื่น ผู้ใดคิดนอกใจในสามี ภรรยาของตน ความเดือดร้อนจะเกิดขึ้นกับตนเอง และผู้อื่น ดังที่ได้เกิดขึ้นแล้วในสังคมปัจจุบัน
ศีลข้อที่ ๔ มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ห้ามพูดปด หลอกลวง พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
การพูดปด หรือหลอกลวง เช่นหลอกลวงเอาทรัพย์สิ่งของผู้อื่น ทำให้เจ้าของทรัพย์เกิดความเดือดร้อน ตัวเราเองก็เดือดร้อนด้วย เพราะกลัวว่าเขาจะจับได้ ต้องติดคุก ติดตะรางเสียชื่อเสียง หรืออาจถึงแก่ชีวิต
การพูดส่อเสียด คือพูดให้ผู้อื่นเจ็บช้ำน้ำใจ
การพูดคำหยาบ คือกล่าวคำไม่สุภาพ
การพูดเพ้อเจ้อ คือพูดไม่มีสารประโยชน์ ทำความรำคาญใจให้แก่ผู้อื่น
ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นการทำลายตัวเอง ไม่มีใครเคารพนับถือ การที่พูดปดจะทำให้ผู้พูดขาดความน่าเชื่อถือ เช่นมีความจำเป็นจะต้องใช้เงิน ไปขอยืมเงินผู้อื่น เขาก็ไม่ให้ยืม เพราะเป็นคนไม่มีสัจจะ การนำศีลข้อนี้มารักษากาย วาจา ประโยชน์ในชาตินี้จะทำให้มีคนเคารพนับถือ เชื่อฟังและช่วยเหลือยามตกทุกข์ได้ยากผลที่จะได้รับในชาติต่อ ๆ ไป คือจะไม่ถูกใครหลอกลวงใส่ร้าย ทำให้ต้องเสียใจ จะทำให้มีปากที่สวยงาม มีเสียงไพเราะ การนำศีลข้อนี้มารักษากายวาจานั้น เป็นการลดกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลงได้ด้วย
ธรรมประกอบศีลข้อที่ ๔ คือ มีสัจจะวาจา หมายถึงพูดแต่ความจริง เรื่องที่ดีมีประโยชน์มีเหตุ มีผลผู้ฟังสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติตามแล้วเกิดประโยชน์ เช่น นักเรียนตั้งสัจจะกับตนเอง กับพ่อแม่ ครูอาจารย์ ว่าจะตั้งใจเรียน ไม่ขาดเรียน จะประพฤติตนเป็นคนดี ไม่เกเร ไม่ดื่มสุรา ไม่เสพยาเสพติด ไม่คบคนชั่วเป็นมิตร ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เมื่อประพฤติปฏิบัติตามดังที่ตั้งสัจจะไว้แล้ว จะส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการเรียน เป็นเด็กดีของพ่อแม่ ครู อาจารย์ เป็นตัวอย่างที่ดีของนักเรียน เมื่อเติบใหญ่ก็จะเป็นคนดี ของครอบครัว และประเทศชาติบ้านเมือง นี่คือผลของการมีสัจจะซึ่งเป็นคุณธรรมประกอบศีลข้อที่ ๔
ศีลข้อที่ ๕ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ห้ามดื่มสุรา เมรัย หรือเสพยาเสพติดให้โทษต่าง ๆ
การดื่มสุรา หรือเสพยาเสพติดให้โทษต่าง ๆ ทำให้เสียหายหลายอย่าง เช่น ทำให้เสียทรัพย์ เสียสุขภาพร่างกายทำให้เจ็บป่วย เสียสติปัญญา เสียบุคลิกลักษณะ เสียสัจจะ เสียชื่อเสียง ทำความเสื่อมเสียให้กับสังคม และประเทศชาติบ้านเมือง และเสียชีวิตในที่สุด ถ้าประเทศใดมีคนดื่มสุรา หรือเสพยาเสพติดมาก ประเทศนั้นจะไม่เจริญก้าวหน้า
ผู้ดื่มสุรา หรือเสพยาเสพติดสามารถทำชั่วได้ทุกอย่าง เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดปด พระองค์ท่านจึงสอนให้ เราเว้นจากการดื่มสุรา เพราะถ้าเราไม่ดื่มสุรา เราก็ไม่เสียทรัพย์ ดังที่ดังที่พระองค์ท่านตรัสสอนไว้ว่า “ สีเลนโภคสัมปทา ” คือศีลทำให้เรามีทรัพย์ ตัวอย่างเช่น มีคน ๒ คน คนหนึ่งดื่มสุราเฉลี่ยวันละ ๑๐ บาท ในหนึ่งเดือนจะเสียเงิน ๓๐๐ บาท ส่วนอีกคนไม่ดื่มสุรา เขาจะไม่เสียเงิน ๓๐๐บาท เพราะไม่ได้ซื้อสุราดื่ม เป็นต้น
ธรรมประกอบศีลข้อที่ ๕ คือ มีสติอันรอบคอบ หมายถึงจะต้องระลึกรู้อยู่ตลอดเวลาว่า การดื่มสุรา หรือเสพยาเสพติดแล้ว จะเกิดความเสียหายมากมาย เช่นเสียเงิน เสียสุขภาพ เสียสติปัญญา เสียบุคลิก เสียสัจจะ เสียชื่อเสียง และเสียชีวิตในที่สุด ผู้ดื่มสุราสามารถทำความชั่วได้ทุกอย่าง เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ประพฤติผิดในกาม พูดปด หลอกลวง พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ และทำความชั่วต่าง ๆ ได้ง่าย
ผู้ใดขาดศีล ๕ ธรรม ๕ จะเป็นคนชั่ว ทำความเดือดร้อนให้กับตนเอง และผู้อื่น ดังที่ได้เกิดขึ้นแล้วในสังคมปัจจุบัน
เมื่อนำศีล ๕ มารักษากาย วาจา ได้แล้ว ร่างกายของเราก็จะสะอาดปราศจากความชั่ว และนำธรรมทั้ง ๕ มารักษาใจ ใจก็จะไม่คิดชั่ว เป็นคนดีที่มีกาย วาจา และใจ สะอาด เพราะมีศีล มีธรรม ตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า นี่เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นเหตุให้กาย วาจา และใจสะอาด
อีกส่วนหนึ่งต้องเป็นผู้ที่รักษาร่างกาย ภายนอก ภายในให้สะอาด คือต้องอาบน้ำ แปรงฟันอย่างน้อยวันละ ๑ – ๒ ครั้ง และเปลี่ยนเสื้อผ้าที่สวมใส่ทุกวัน ก็จะช่วยให้ร่างกายสะอาด ที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านหลังเล็กหรือหลังใหญ่ก็ตาม ต้องทำความสะอาดกวาดถูทุกวัน และจัดสิ่งของต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งในบ้านนอกบ้าน ควรมีไม้ดอกไม้ประดับ
จัดตกแต่งไว้อย่างสวยงาม ให้ถูกตามสุขลักษณะ เห็นแล้วสบายตา สบายใจ ผู้ใดที่ได้มาพบเห็น ก็จะชื่นชมยินดีกับเราด้วย และเป็นตัวอย่างที่ดี ให้กับชุมชน และสังคมนั้น ๆ ทุก ๆ บ้าน มีศีล ๕ ธรรม ๕ ประจำกาย วาจา ใจ รักษากาย ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องตามสุขลักษณะแล้ว ผู้ที่อยู่อาศัยก็จะมีจิตใจ สดชื่น ไม่เศร้าหมอง เพราะมีสุขภาพจิตที่ดี และผ่องใส ทั้งกาย
วาจา ใจ เป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจ แก่ผู้พบเห็น
เรื่อง ศีล ๕ ธรรม ๕
อันว่าศีล นั้นหรือ คือข้อห้าม
เว้นจากความ ชั่วช้า น่าบัดสี
ใครเว้นได้ ในโลก ก็โชคดี
จะสุขี แน่นอน แม้ก่อนตาย
ข้อที่หนึ่ง ท่านวาง ทางไว้ชัด
ห้ามฆ่าสัตว์ เพราะมันบาป ทราบบ้างไหม
ฆ่าสัตว์แล้ว ชีวิตนั้น ต้องสั้นไป
ท่านสอนไว้ ให้งดเว้น เห็นไม่ดี
อีกทั้งห้าม เบียดเบียน สัตว์ทั้งหลาย
ที่สบาย ให้เป็นทุกข์ ไม่สุขี
ทั้งเบียดเบียน ทรัพย์สมบัติ นั้นไม่ดี
พระองค์ชี้ ทางไว้ ให้ทุกคน
อีกทั้งห้าม ทรมาน สัตว์ทั้งหลาย
เจ็บปวดกาย ให้เป็นทุกข์ ไม่สุขสม
ทั้งกักขัง หน่วงเหนี่ยว ให้ระทม
จะตรอมตรม เป็นทุกข์ คลายสุขลง
ข้อที่สอง ท่านห้าม ทางลักทรัพย์
ห้ามไปจับ สิ่งของ ต้องประสงค์
ของผู้อื่น แล้วถูกจับ จะดับลง
ตำรวจคง พาเจ้า เข้าซังเต
ข้อที่สาม ห้ามเป็นชู้ แล้วสู่สม
ไม่นิยม เปลี่ยนคู่ ดูหักเห
ใครชอบเปลี่ยน ก็จงรู้ คนเสเพล
คาดคะเน ได้ว่า คนบ้ากาม
ข้อที่สี่ ห้ามพูดปด งดทำชั่ว
เห็นแก่ตัว พูดนักเลง น่าเกรงขาม
ทั้งพูดปด หลอกลวง ดูไม่งาม
วาจาทราม พาเป็นทุกข์ สุขไม่มี
ท่านห้ามพูด เพ้อเจ้อ และส่อเสียด
คนเขาเกลียด กันทั่ว ตัวหมองศรี
ไม่มีคน คบค้า ว่าไม่ดี
ความชั่วมี ทางวาจา ช่างน่าอาย
ข้อที่ห้า ห้ามดื่มสุรา และเมรัย
ท่านว่าไว้ เป็นคนชั่ว มั่วเหลือหลาย
กินเหล้าแล้ว ทำความชั่ว ได้มากมาย
มันน่าอาย ยิ่งนัก หนักแผ่นดิน
บ้างกินเหล้า มัวเมา ไม่เข้าท่า
กินเมามา เข้าไปหา ลูกเมียเขา
ช่างน่าอาย อดสู ดูไม่เบา
ลูกเมียเขา ก็ไม่เว้น เห็นน่าชัง
บ้างกินเหล้า แล้วก็พาล สันดานเสีย
ตีลูกเมีย เสียจน ตนถูกขัง
หายเมาแล้ว ก็อับอาย ขายหน้าจัง
ลูกเมียชัง คนชั่ว ตัวอัปรีย์
บ้างเมาแล้ว พูดมาก ลำบากหู
คนที่อยู่ ใกล้เคียง ก็อยากหนี
ทั้งหญิงชาย กินเหล้า ไม่เข้าที
ทั้งชีวี วอดวาย ต้องตายลง
ขอทุกท่าน จงคิด พินิจดู
เมื่อตัวรู้ ว่าผิด อย่าใหลหลง
จงละชั่ว ประพฤติดี ให้มั่นคง
ชีวิตคง สุขสมจริง ทั้งหญิงชาย
รักษาศีล แล้วจะได้ อะไรหนอ
ข้าจะขอ บอกท่าน ที่มั่นหมาย
ในชาตินี้ จะสะอาด วาจากาย
ชาติหน้าไซร้ จะมีรูป ดูสวยงาม
เมื่อมีศีล ต้องมีธรรม ประจำใจ
ท่านสอนไว้ มีเมตตา สัตว์ทั้งหลาย
ชีวิตเขา ชีวิตเรา ต้องเข้าใจ
อย่าทำลาย ให้เขาดับ รับโทษทัณฑ์
ข้อที่สอง สัมมา อาชีวะ
เราควรจะ เลี้ยงชีพ ให้สุขสันต์
มีอาชีพ ที่ชอบ ประกอบกัน
เลี้ยงชีวัน ให้รอด จะปลอดภัย
ข้อที่สาม ควรสำรวม ในกามไว้
จงพอใจ ในคู่ครอง ตรองให้ได้
แม้นผิดคู่ สู่สม จะเสียใจ
ท่านว่าไว้ เป็นทุกข์ สุขไม่มี
ข้อที่สี่ ก็มีธรรม ประจำนะ
คือสัจจะ ความจริง ทุกสิ่งศรี
พูดไปแล้ว ก็ต้องจำ ทำให้ดี
ต้องพูดที่ มีความจริง ยิ่งเจริญ
ข้อที่ห้า ก็มีธรรม ประจำซิ
มีสติ อันรอบคอบ ไม่ขาดเขิน
ทำอะไร อย่าให้พลาด หรือขาดเขิน
อย่าหลงเพลิน มัวเมา จะเศร้าใจ
ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า มีธรรม อยู่บ้างไหม
อันว่าศีล นั้นห้าม วาจากาย
ธรรมนั้นไซร้ ห้ามถึงจิต พินิจดู
กิจกรรม บทที่ ๖ สะอาด
๑. ผู้ที่มีความ “ สะอาด ” หมายถึง อย่างไร ?
ก. ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ ตามสถานภาพและกาลเทศะ
ข. ผู้ที่รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อม ได้ถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้
ขุ่นมัว มีความจ่มใสอยู่เสมอ
ค. ผู้ที่ปราศจากความมัวหมอง ทั้งกายใจ และสภาพแวดล้อม มีความผ่องใส เป็นที่เจริญตา
ทำให้เกิดความสบายใจ แก่ผู้พบเห็น
ง. ถูกทั้งข้อ ข. และ ข้อ ค.
๒. คุณธรรมข้อใด ที่ส่งเสริมให้มีความ “ สะอาด ” ?
ก. พรหมวิหาร ๔ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ข. ศีล ๕ และ ธรรม ๕ ประการ
ค. อิทธิบาท ๔ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
ง. รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ
๓. ศีลข้อที่ ๑ ห้ามอะไร และมีธรรมข้อใดประกอบศีล ข้อที่ ๑ ?
ก. ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามทรมานสัตว์ ห้ามเบียดเบียนสัตว์ มีธรรมประกอบ คือ มีความเมตตา
คือความรัก มีความกรุณา คือความสงสาร
ข. ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามทรมานสัตว์ ห้ามเบียดเบียนสัตว์ มีธรรมประกอบ คือ มีสัมมาอาชีวะ
(ประกอบอาชีพที่สุจริต)
ค. ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามทรมานสัตว์ ห้ามเบียดเบียนสัตว์ มีธรรมประกอบ คือ มีความสำรวม
ในกาม ( ไม่เป็นชู้กับสามีหรือภรรยาผู้อื่น )
ง. ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามทรมานสัตว์ ห้ามเบียดเบียนสัตว์ มีธรรมประกอบ คือ มีสัจจะ
( พูดแต่ความจริง สิ่งที่เป็นประโยชน์ )
๔. ศีลข้อที่ ๒ ห้ามอะไร และมีธรรมข้อใดประกอบศีล ข้อที่ ๒ ?
ก. ห้ามลักทรัพย์ รวมถึงการปล้น จี้ ฉกชิงวิ่งราว เป็นต้น หรือห้ามทุจริตคดโกง มีธรรม
ประกอบคือ มีความเมตตา คือความรัก มีความกรุณา คือความสงสาร
ข. ห้ามลักทรัพย์ รวมถึงการปล้น จี้ ฉกชิงวิ่งราว เป็นต้น หรือห้ามทุจริตคดโกง มีธรรม
ประกอบคือ มีสัมมาอาชีวะ ( ประกอบอาชีพที่สุจริต )
ค. ห้ามลักทรัพย์ รวมถึงการปล้น จี้ ฉกชิงวิ่งราว เป็นต้น หรือห้ามทุจริตคดโกง มีธรรม
ประกอบคือ มีความสำรวมในกาม
ง. ห้ามลักทรัพย์ รวมถึงการปล้น จี้ ฉกชิงวิ่งราว เป็นต้น หรือห้ามทุจริตคดโกง มีธรรม
ประกอบคือ มีสติอันรอบคอบ
๕. ศีลข้อที่ ๓ ห้ามอะไร และมีธรรมข้อใดประกอบศีล ข้อที่ ๓ ?
ก. ห้ามประพฤติผิดในกาม ( ห้ามเป็นชู้กับสามีหรือภรรยาผู้อื่น ) มีธรรมประกอบคือ มีความ
เมตตา คือความรัก มีความกรุณา คือความสงสาร
ข. ห้ามประพฤติผิดในกาม ( ห้ามเป็นชู้กับสามีหรือภรรยาผู้อื่น ) มีธรรมประกอบคือ มี
สัมมาอาชีวะ ( ประกอบอาชีพที่สุจริต )
ค. ห้ามประพฤติผิดในกาม ( ห้ามเป็นชู้กับสามีหรือภรรยาผู้อื่น ) มีธรรมประกอบคือ มีความ
สำรวมในกาม
ง. ห้ามประพฤติผิดในกาม ( ห้ามเป็นชู้กับสามีหรือภรรยาผู้อื่น ) มีธรรมประกอบคือ
มีสัจจะ ( พูดแต่ความจริง สิ่งที่เป็นประโยชน์ )
๖. ศีลข้อที่ ๔ ห้ามอะไร และมีธรรมข้อใดประกอบศีล ข้อที่ ๔ ?
ก. ห้ามพูดปด โกหก หลอกลวง ห้ามพูดส่อเสียด ห้ามพูดคำหยาบ ห้ามพูดเพ้อเจ้อ
มีธรรมประกอบคือ มีความเมตตา คือความรัก มีความกรุณา คือความสงสาร
ข. ห้ามพูดปด โกหก หลอกลวง ห้ามพูดส่อเสียด ห้ามพูดคำหยาบ ห้ามพูดเพ้อเจ้อ
มีธรรมประกอบคือ มีสัมมาอาชีวะ ( ประกอบอาชีพที่สุจริต )
ค. ห้ามพูดปด โกหก หลอกลวง ห้ามพูดส่อเสียด ห้ามพูดคำหยาบ ห้ามพูดเพ้อเจ้อ
มีธรรมประกอบคือ มีสัจจะ ( พูดแต่ความจริง สิ่งที่เป็นประโยชน์ )
ง. ห้ามพูดปด โกหก หลอกลวง ห้ามพูดส่อเสียด ห้ามพูดคำหยาบ ห้ามพูดเพ้อเจ้อ
มีธรรมประกอบคือ มีสติอันรอบคอบ
๗. ศีลข้อที่ ๕ ห้ามอะไร และมีธรรมข้อใดประกอบศีล ข้อที่ ๕ ?
ก. ห้ามดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือห้ามเสพยาเสพติด มีธรรมประกอบ
คือ มีความเมตตา คือความรัก มีความกรุณา คือความสงสาร
ข. ห้ามดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือห้ามเสพยาเสพติด มีธรรมประกอบ
คือ มีสัมมาอาชีวะ ( ประกอบอาชีพที่สุจริต )
ค. ห้ามดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือห้ามเสพยาเสพติด มีธรรมประกอบ
คือ มีความสำรวมในกาม
ง. ห้ามดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือห้ามเสพยาเสพติด มีธรรมประกอบ
คือ มีสติอันรอบคอบ
๘. ผู้ใดนำคุณธรรมพื้นฐานความ “ สะอาด ” มาประพฤติปฏิบัติได้ ย่อมบังเกิดผลอย่างไร ?
ก. เป็นผู้ที่มีความสะอาดทั้ง กาย วาจา ใจ
ข. เป็นคนดี มีการรักษาที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ มีความสดชื่น แจ่มใส
มีสุขภาพจิตที่ดี
ค. เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นที่เคารพนับถือของผู้อื่น
ง. ถูกทุกข้อ
๙. ผู้ใดขาดคุณธรรมพื้นฐานความ “ สะอาด ” ย่อมบังเกิดผลอย่างไร ?
ก. เป็นผู้ที่มีร่างกาย ที่สกปรก พูดแต่คำหยาบ จิตใจไร้คุณธรรม
ข. ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมสกปรก ไม่เป็นระบียบเรียบร้อย จิตใจก็เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส
สุขภาพจิตไม่ดี
ค. ไม่เป็นแบบอย่างที่ดี ขาดความเคารพนับถือ จากผู้อื่น
ง. ถูกทุกข้อ
บทที่ ๗
คุณธรรมพื้นฐาน ประการที่ ๗ สามัคคี
๗. สามัคคี
สามัคคี ผู้ที่เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำ และผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วงสามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ และสมานฉันท์
ความสามัคคีจะเกิดขึ้นได้ ในครอบครัว ในหมู่บ้าน ในตำบล ในอำเภอ ในจังหวัด ในสถาบัน องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย และในโลกนี้ ผู้ที่อยู่ร่วมกันจะมีความสามัคคีได้ ต้องมีคุณธรรมประจำใจ ดังต่อไปนี้
๑) มีความเมตตา คือความรัก หมายถึงความรักอันบริสุทธิ์ ใจ มีความปรารถนาดีต่อทุก ๆ คน ไม่เห็นแก่ตัว
ไม่มีความลำเอียง ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือเผื่อแผ่เอื้ออาทรต่อกัน มีความเสียสละอย่างสูงเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เป็นผู้ให้ด้วยใจอันบริสุทธิ์ รักเคารพนับถือทุกคนที่อยู่ร่วมกัน เหมือนพ่อ แม่ ญาติพี่น้อง เมื่อทุกคนรักกันก็จะเกิดพลังแห่งความสามัคคีขึ้น จะคิด จะพูด จะทำกิจการใด ๆ ด้วยพลังแห่งความสามัคคี ก็จะทำให้กิจการนั้น ๆ สำเร็จลุ่ล่วงไปด้วยดี เพราะทุกคนมีเมตตา คือความรักต่อกัน
๒) สัมมาทิฏฐิ หมายความว่า มีความคิดเห็นตรงกัน คือเห็นถูกต้องตามครรลองคลองธรรม ถูกกฎหมาย ถูกวัฒนธรรม
ถูกจารีตประเพณี ถ้าทุกคนในครอบครัว ในหมู่บ้าน ในตำบล ในอำเภอ ในจังหวัด ในสถาบันองค์กรต่าง ๆ ในประเทศ และในโลก ผู้ที่อยู่ร่วมกันมีความคิดเห็นตรงกัน ก็จะเกิดพลังแห่งความสามัคคีขึ้น ตัวอย่างเช่น ทุกคนในประเทศไทย มีความเห็นตรงกันว่า เราต้องรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยิ่งกว่าชีวิต เมื่อมีใครมาคิดร้าย ทำลาย สถาบันทั้ง ๓ อย่าง ของเรานี้ ทุกคนในประเทศมีความเห็นตรงกันว่า เราต้องรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ไว้ ด้วยพลังแห่งความสามัคคี จึงร่วมแรงร่วมใจปกป้อง และต่อต้าน ไม่ให้ใครมาทำร้าย ทำลาย ทั้ง ๓ สถาบันของเราได้
แต่ถ้าคนในประเทศไทยมีความเห็นไม่ตรงกัน เกิดความแตกแยก ไม่มีความสามัคคี อิจฉาริษยา เกิดการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนอย่างเดียว ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม จึงทำให้ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เกิดความเดือดร้อน ประชาชนทั้งประเทศจะไม่มีความสงบสุข
๓) ความเป็นธรรม หมายถึง มีใจเป็นกลาง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ถึงแม้จะมีความแตกต่างทางวัฒนธรรม
ความคิด ความเชื่อ ก็พร้อมที่จะปรับตัว ปรับใจ ด้วยความเป็นธรรม ทุกคนมีสิทธิจะคิด จะพูด จะทำ สิ่งใด ๆ ก็ได้ ที่ถูกครรลองคลองธรรม มีใจเป็นกลาง จะมีปัญหาหรือความขัดแย้งเกิดขึ้น ก็จะร่วมกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ลุล่วงไปด้วยดี ด้วยเหตุ ด้วยผลที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดประโยชน์ส่วนตน และส่วนร่วม จะได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ และสมานฉันท์
ทุกคนที่ประพฤติปฏิบัติตาม พระธรรมคำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทั้ง ๓ อย่างนี้ เป็น
คุณธรรมประจำใจ คือ
๑.) เมตตา คือ ความรักเคารพนับถือ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
๒.) สัมมาทิฏฐิ คือมีความเห็นชอบตรงกัน
๓.) ความเป็นธรรม คือการวางตัว วางใจเป็นกลาง
เป็นคุณธรรมที่ส่งเสริมให้ ผู้ที่อยู่ร่วมกัน มีความสามัคคี ในครอบครัว ในหมู่บ้าน ในตำบล ในจังหวัด ในสถาบัน องค์กรต่าง ๆ ในประเทศและในโลก จะได้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
เรื่อง สัมมาทิฏฐิ
สามัคคี เกิดขึ้นได้ ใจเป็นธรรม
ต้องน้อมนำ เอาเมตตา มาส่งเสริม
มีความรัก ความปราณี เข้าเพิ่มเติม
ช่วยส่งเสริม ให้จิต คิดเมตตา
คอยช่วยเหลือ เอื้ออาทร ผ่อนหนักเบา
ช่วยเหลือเขา เฝ้าดูแล แก้ปัญหา
ปรารถนาดี ต่อทุกคน ด้วยเมตตา
เฝ้าภาวนา ให้ทุกคน พ้นทุกข์ไป
สัมมาทิฏฐิ หมายถึง ความคิดเห็น
แม้ลำเค็ญ ก็อย่าคิด ผิดกฎหมาย
คิดให้ถูก ทำให้ถูก ทั้งใจกาย
ตั้งใจไว้ ให้ถูกต้อง ครรลองธรรม
วัฒนธรรม จารีต ประเพณี
สิ่งที่ดี ควรรักษา และสร้างสรรค์
สามัคคี ในสังคม ชื่นชมกัน
ความสุขสันต์ เกิดขึ้นจริง ทั้งหญิงชาย
ความเป็นธรรม หมายถึง ใจเป็นกลาง
ยอมรับฟัง ความคิดเห็น ผู้อื่นได้
แม้มีความ แตกต่าง บางอย่างไป
ก็เข้าใจ ทุกประเด็น ด้วยเป็นธรรม
ขอทุกท่าน จงมี ไมตรีเถิด
จะได้เกิด ผลบุญ อุปถัมภ์
จะอยู่ดี มีสุข ก็เพราะกรรม
ทุกคนทำ แต่กรรมดี มีสุขเอย
กิจกรรม บทที่ ๗ สามัคคี
๑. ผู้ที่มีความ “ สามัคคี ” หมายถึง อย่างไร ?
ก. ผู้ที่เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งฐานะผู้นำ และผู้ตามที่ดี
มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้งานสำเร็จลุ่ล่วง
ข. สามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุมีผล ยอมรับความแตกต่าง ความ
หลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตังเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ
และสมานฉันท์
ค. ผู้ที่ปราศจากความมัวหมอง ทั้งกายใจ และสภาพแวดล้อม มีความผ่องใส เป็นที่เจริญตา
ทำให้เกิดความสบายใจ แก่ผู้พบเห็น
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.
๒. คุณธรรมข้อใด ที่ส่งเสริมให้มีความ “ สามัคคี ” ?
ก. พรหมวิหาร ๔ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ข. ศีล ๕ และ ธรรม ๕ ประการ
ค. อิทธิบาท ๔ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
ง. ความเมตตา สัมมาทิฎฐิ ความเป็นธรรม
๓. “ ความเมตตา ” หมายความว่า อะไร ?
ก. ความรัก ความปรารถนาดีด้วยใจอันบริสุทธิ์ อยากให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณพ้นทุกข์
ข. ความรู้ตัว
ค. ความอดทน
ง. ความสงบเสงี่ยม
๔. “ สัมมาทิฏฐิ ” หมายความว่าอะไร ?
ก. ความรัก ความปรารถนาดีด้วยใจอันบริสุทธิ์ อยากให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณพ้นทุกข์
ข. มีความคิดเห็นชอบที่ตรงกัน คือมีความเห็นถูกต้องตามครรลองคลองธรรม ตามกฎหมาย
ตามวัฒนธรรม ตามจารีตประเพณี
ค. มีความอดทน
ง. มีความสงบเสงี่ยม
๕. ความเป็นธรรม หมายความว่าอย่างไร ?
ก. ความรัก ความปรารถนาดีด้วยใจอันบริสุทธิ์ อยากให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณพ้นทุกข์
ข. มีความคิดเห็นที่ตรงกัน คือมีความเห็นถูกต้องตามครรลองคลองธรรม ตามกฎหมาย
ตามวัฒนธรรม ตามจารีตประเพณี
ค. มีใจเป็นกลาง วางตัวเป็นกลาง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ถึงแม้จะมีความแตกต่าง
ทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ ก็ตาม
ง. มีความสงบเสงี่ยม
๖. ผู้ใดนำคุณธรรมพื้นฐานความ “ สามัคคี ” มาประพฤติปฏิบัติได้ ย่อมบังเกิดผลอย่างไร ?
ก. เป็นผู้ที่มีความสามัคคี อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
ข. เป็นคนดี มีเหตุมีผล ขจัดความขัดแย้ง มีการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูล เพื่อให้งานสำเร็จ
ลุล่วงไปได้ด้วยดี
ค. เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นที่เคารพนับถือของผู้อื่น
ง. ถูกทุกข้อ
๗. ผู้ใดขาดคุณธรรมพื้นฐานความ “ สามัคคี ” ย่อมบังเกิดผลอย่างไร ?
ก. เป็นผู้ไร้เหตุ ไร้ผล มีความเห็นไม่ตรงกัน เกิดความแตกแยก ไม่มีความสามัคคี
ข. เกิดความอิจฉา ริษยา เกิดความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไม่เห็น
แก่ประโยชน์ส่วนรวม ประชาชนทั่วประเทศเกิดความเดือดร้อน ไม่มีความสงบสุข
ค. ไม่เป็นแบบอย่างที่ดี ขาดความเคารพนับถือ จากผู้อื่น
ง. ถูกทุกข้อ
บทที่ ๘
คุณธรรมพื้นฐาน ประการที่ ๘ มีน้ำใจ
๘.. มีน้ำใจ
มีน้ำใจ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น เห็นอก เห็นใจและเห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์และผู้ที่มีความเดือดร้อย มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกายและสติปัญญาลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน
ผู้ที่จะเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อช่วยเหลือสังคม และเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ต้องมีคุณธรรม
ประจำใจ คือพรหมวิหาร ๔ ซึ่งเป็นคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีดังนี้
๑) เมตตา คือ ความรัก ปรารถนาดีต้องการให้ทุกชีวิต ทุกวิญญาณพ้นทุกข์
๒) กรุณา คือ ความสงสาร คิดช่วยเหลือให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณ พ้นทุกข์
๓) มุทิตา คือ ความพลอยยินดี เมื่อทุกคนทุกชีวิต ทุกวิญญาณได้ดีมีสุข
๔) อุเบกขา คือ ความวางเฉย วางตัว วางใจเป็นกลาง ไม่มีความลำเอียง
๑. ความเมตตา หมายถึง ความรัก มีอยู่ ๒ อย่าง ดังนี้
๑.๑ เมตตา ความรักใคร่พอใจ
๑.๒ เมตตา ความรักที่ไม่มีความใคร่เจือปน
๑.๑ ความรักใคร่พอใจ หมายถึง ความรักที่มีกิเลสครอบงำจิต คือ ความโลภ ความโกรธและความหลง
เช่น พ่อแม่รักลูก ลูกรักพ่อแม่ ชายหนุ่มรักหญิงสาว พี่รักน้อง น้องรักพี่ รักวงศาคณาญาติ รักพวกพ้อง ลูกน้องบริวาร ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ และสัตว์ที่มีความรักอยู่แล้วตั้งแต่เกิด ความรักเหล่านี้เป็นของมนุษย์ปุถุชน ซึ่งมีความเห็นแก่ตัว
ความลำเอียง เป็นความรักที่มีขอบเขต คือปรารถนา จะให้คนอื่น ที่ตนรักมีความสุขเท่านั้น เราจะเห็นได้จากมนุษย์และสัตว์
ในสังคมปัจจุบัน และตัวของเราเอง ตัวอย่างเช่น เรามีน้ำหวานอยู่หนึ่งแก้วนี้ เราดื่มแล้วชื่นใจ มีความสุข อยากให้ พ่อแม่
ลูกหลาน ญาติพี่น้อง กับพวกพ้อง บริวารได้ดื่มน้ำหวานแก้วนี้ คงจะมีความสุขอย่างเรา
นี่คือความเมตตา หรือความรักเป็นคุณธรรมประจำใจ และเป็นธรรมชาติของมนุษย์ปุถุชนที่มีกิเลสครอบงำจิต ไม่ถือว่าเป็นผู้ที่มีน้ำใจอันบริสุทธิ์
๑.๒ ความรักที่ไม่มีความใคร่เจือปน หมายถึง ความรักของผู้ที่ไม่มี ความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งเป็นกิเลสครอบงำจิต เป็นความรักอันบริสุทธิ์ และกว้างขวาง มีความปรารถนาดี ที่จะทำให้ทุกคน ทุกชีวิต ทุกวิญญาณมีความสุข ความเจริญ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร หรือเป็นสัตว์ชนิดใด ก็มีความรัก ความห่วงใยเสมอกัน ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ลำเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง มีความอดทนขยันหมั่นเพียร ที่จะช่วยเหลือผู้อื่น ให้มีความสุข แม้จะเหน็ดเหนื่อย หรือต้องเสียทรัพย์สินเงินทอง เสียเวลา แม้เสียชีวิตก็ยอม และช่วยเหลือโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนแต่อย่างใด รักทุกชีวิตทุกวิญญาณ ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขถ้วนหน้ากัน ตัวอย่าง เช่น เรามีน้ำหวานหนึ่งแก้ว เราดื่มแล้วรู้สึกชื่นใจ มีความสุข อยากให้ทุกคนได้ดื่ม เช่น พ่อ แม่ ครู อาจารย์ ลูกหลาน ญาติพี่น้อง พวกพ้อง บริวาร ทุกคนในหมู่บ้าน ในตำบล ในอำเภอ ในจังหวัด ในประเทศ หรือทุกคนในโลกนี้ รวมทั้งสัตว์เดรัจฉาน สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และทุกชีวิตทุกวิญญาณในโลกนี้ ได้ดื่มน้ำหวานแก้วนี้แล้ว คงจะมีความสุขเหมือนเรา
นี่คือ ผู้ที่มีความเมตตาเป็นคุณธรรมประจำใจ ของผู้ที่ไม่มีกิเลสครอบงำ หรือกิเลสเบาบาง ผู้ใดที่มี
คุณธรรม ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ถือว่าผู้นั้นมีน้ำใจที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ พร้อมที่จะช่วยเหลือเผื่อแผ่ต่อมนุษย์และสัตว์ ทุกชีวิต ทุกวิญญาณ ให้มีความสุขถ้วนหน้า ถือว่าเป็นคนดี เป็นผู้ใหญ่ ที่ดี เป็นพรหม เป็นอริยชน
เป็นพระอรหันต์ ท่านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีน้ำใจ อันบริสุทธิ์ทั้งสิ้น
๒. กรุณา คือความสงสาร หมายถึง ความสงสาร อยากให้ทุกคน ทุกชีวิต ทุกชีวิต พ้นจาก
ความทุกข์ มี ๒ อย่าง ดังนี้
๒.๑ กรุณา ความสงสารที่มีกิเลส คือความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบงำจิตใจ
๒.๒ กรุณา ความสงสารที่ไม่มีกิเลสครอบงำจิต
๒.๑ กรุณา ความสงสารที่มีกิเลสครอบงำจิต หมายถึง จิตอยู่ใต้อำนาจของความโลภ ความโกรธ
ความหลง จึงมีความสงสารอยู่ในขอบเขต เช่น พ่อแม่สงสารลูก ลูกสงสารพ่อแม่ พี่สงสารน้อง น้องสงสารพี่ สามีสงสารภรรยา ภรรยาสงสารสามี สงสารวงศาคณาญาติ ลูกน้องพวกพ้อง บริวาร ซึ่งเป็นคนที่ตนรัก ความสงสารเหล่านี้ เป็นความเห็นแก่ตัว เป็นธรรมชาติของมนุษย์ปุถุชน ที่มีจิตใจคับแคบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เฉพาะผู้ที่ตนรัก และผู้ที่ใกล้ชิดเท่านั้น ตัวอย่างเช่น พ่อ แม่ ลูกหลาน ญาติพี่น้อง คนใกล้ชิดของเราป่วย เรารู้สึกสงสารอยากช่วยเหลือทุกวิถีทาง เพื่อให้หายป่วยโดยเร็ว ให้พ้นจากความทุกข์ทรมาน ถ้าผู้อื่นป่วยเราก็รู้สึกเฉย ๆ ไม่คิดจะช่วยเหลือแต่ประการใด
นี่คือ ความสงสารของผู้ที่มีกิเลสครอบงำจิต เป็นคุณธรรมประจำใจ ของมนุษย์ปุถุชนเท่านั้น ไม่ใช่มีคุณธรรมอันสูงส่ง หรือเป็นผู้ที่มีน้ำใจอันบริสุทธิ์แต่อย่างใด เพราะเห็นแก่พวกพ้องญาติพี่น้องของตน
๒.๒ กรุณา คือความสงสารที่ไม่มีกิเลสครอบงำจิต หมายถึงผู้ที่มีความสงสารอันกว้างขวาง อย่างไม่มีขอบเขต มีน้ำใจอันบริสุทธิ์ ปรารถนาที่จะช่วยเหลือให้ผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยาก พ้นจากความทุกข์ ความเดือดร้อน ไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง มีน้ำใจอันเปี่ยมล้นไปด้วยคุณธรรม คือ ความกรุณา สงสารทุกชีวิต ทุกวิญญาณ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร หรือสัตว์ชนิดใด
ที่เกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ มีความตั้งใจมั่น เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น เสียสละทรัพย์สินเงินทอง
ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ช่วยเหลือสังคม ด้วยสติปัญญาเพื่อบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ให้ลุล่วงไปด้วยดี ไม่เห็นแก่ตัว เห็นแต่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นใหญ่
นี่คือผู้ที่มีความกรุณาเป็นคุณธรรมประจำใจของผู้ที่ไม่มีกิเลส คือความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบงำจิต หรือมีกิเลสเบาบาง เป็นคุณสมบัติของคนดี ของผู้ใหญ่ที่ดี ของพรหม ของอริยชน พระอริยะ และ พระอรหันต์ ท่านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีน้ำใจอันบริสุทธิ์ทั้งสิ้น
๓. มุทิตา คือความรู้สึกพลอยยินดี กับผู้อื่นที่ได้ดีมีสุข มี ๒ อย่าง ดังนี้
๓.๑ มุทิตา คือความพลอยยินดีที่ไม่บริสุทธิ์ใจ มีกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบงำจิต
๓.๒ มุทิตา คือความพลอยยินดีที่บริสุทธิ์ใจ ไม่มีกิเลสครอบงำจิต
๓.๑ มุทิตา ความพลอยยินดีที่ไม่บริสุทธิ์ใจ เพราะมีกิเลสครอบงำจิต หมายถึงผู้ที่มีความรู้สึกพลอยยินดีเฉพาะ พ่อ แม่ ลูกหลาน ญาติพี่น้อง พวกพ้อง บริวาร ทุกคนที่เรารัก หรือ คนใกล้ชิด ประสพความสำเร็จในชีวิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นคนในครอบครัว ได้เลื่อนยศถาบรรดาศักดิ์ หรือลูกหลานสอบเข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียงได้ และเรียนจบ หรือถูกหวยรวยเบอร์ บริวาร และทุกคนที่เรารักเท่านั้น ถ้าผู้อื่นที่ไม่ใช่ พ่อแม่ ลูก หลาน ญาติพี่น้อง พวกพ้อง บริวาร และทุกคนที่เรารัก หรือคนใกล้ชิด ได้ดีมีสุข จะเนื่องจากเหตุใด ๆ ก็ตาม จะรู้สึกไม่สบายใจมีความอิจฉาริษยา คิดทำร้ายทำลายกัน ดังที่ได้เกิดขึ้นแล้วกับมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน แม้แต่ตัวเราเองก็เป็นเช่นกัน นี่คือความพลอยยินดีที่มีกิเลสครอบงำจิต เป็นคุณธรรมของมนุษย์ปุถุชน ไม่ใช่คุณธรรมอันสูงส่งแต่อย่างใด
๓.๒ มุทิตา ความพลอยยินดีด้วยความบริสุทธิ์ใจ ที่ไม่มีกิเลสครอบงำจิต หมายถึงผู้ที่มีคุณธรรมอันสูงส่ง มีเมตตา คือความรัก มีกรุณา คือความสงสารอย่างกว้างขวาง จะพลอยยินดีกับผู้ที่ได้ดีมีสุข ทุก ๆ คน ไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง
ไม่เลือกชนชั้น วรรณะ ไม่เลือกทุกชีวิตทุกวิญญาณ ผู้ใดที่ได้ดีมีสุข เขาก็จะชื่นชมยินดี อนุโมทนาสาธุ ให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณ
มีความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป ถึงแม้คนเหล่านั้นจะไม่ใช่ พ่อแม่ ลูกหลาน ญาติพี่น้อง พวกพ้องบริวาร คนที่เรารัก หรือคนใกล้ชิดก็ตาม จะเป็นคนที่รู้จัก หรือไม่รู้จักก็ตาม เมื่อทราบว่าเขาเหล่านั้นมีความสุขก็มีความพลอยยินดีด้วยใจอันบริสุทธิ์ทั้งสิ้น ไม่มีจิตอิจฉาริษยาเลยแม้แต่น้อย
นี่คือ มุทิตา ความพลอยยินดีของผู้ที่ไม่มีกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบงำจิต หรือมีกิเลสเบาบาง เป็นคุณสมบัติของคนดี ผู้ใหญ่ที่ดี ของพรหม ของอริยชน ของพระอริยะ ของพระอรหันต์ ท่านเหล่านี้ล้วนแล้ว แต่เป็นผู้ที่มีน้ำใจอันบริสุทธิ์ทั้งสิ้น
๔. อุเบกขา คือความวางเฉย วางตัว วางใจเป็นกลาง มี ๒ อย่าง ดังนี้
๔.๑ อุเบกขา ความวางเฉยเพราะมีกิเลสครอบงำจิต
๔.๒ อุเบกขา ความวางเฉยเพราะมีคุณธรรมประจำใจ
๔.๑ อุเบกขา ความวางเฉยเพราะมีกิเลสครอบงำจิต ความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบงำจิตตัวอย่างเช่น เมื่อเห็นคนที่ตนเกลียดชัง ประสพความวิบัติด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ก็วางเฉยไม่คิดที่จะช่วยเหลือ กลับมีความคิดซ้ำเติมให้เกิดความวิบัติมากขึ้น นี่คือ ความวางเฉย เพราะมีกิเลสครอบงำจิต แต่เมื่อพ่อ แม่ ลูกหลาน ญาติพี่น้อง พวกพ้อง บริวาร คนที่ตนรัก หรือคนที่ใกล้ชิด เกิดความวิบัติเนื่องด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม จะรู้สึกเห็นใจ และสงสาร อยากช่วยเหลือ ให้พ้นจากความทุกข์ยากลำบาก วางเฉยไม่ได้ จะรู้สึกเสียใจ เป็นทุกข์เป็นร้อน จิตใจกระสับกระส่าย กระวนกระวาย หาทางช่วยเหลือทุกวิถีทาง ให้คนที่ตนรัก พ้นจากความวิบัติจากเหตุนั้น ๆ
นี่คือธรรมชาติของปุถุชน ที่มีความลำเอียงอันเกิดจากมีกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบงำจิต เป็นคุณธรรมของมนุษย์ปุถุชน ไม่ใช่ผู้มีคุณธรรมอันสูงส่งแต่อย่างใด ไม่ถือว่าเป็นผู้ที่มีน้ำใจอันบริสุทธิ์ เพราะเห็นแก่ญาติพี่น้อง พวกพ้องของตน
๔.๒ อุเบกขา ความวางเฉย เพราะมีคุณธรรมประจำใจ ไม่มีกิเลสครอบงำ หมายถึงผู้ที่มีคุณธรรมประจำใจ มีความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็จะวางตัววางใจ เป็นกลางไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอนเอียง เข้าข้างใดข้างหนึ่ง จะเป็นคนที่ตนรักก็ดี คนที่ตนเกลียดก็ตาม ได้รับความวิบัติด้วยเหตุใด เหตุหนึ่งพยายามช่วยเหลือแล้ว แต่ไม่อาจช่วยเหลือได้ ก็ต้องใช้อุเบกขา ความวางเฉย มีใจเป็นกลาง ไม่ดีใจหรือไม่เสียใจ เพราะเข้าใจในธรรมชาติ ซึ่งศึกษามาจากคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่า “ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ” ใครทำกรรมอันใดไว้ ไม่ว่าจะเป็นบุญหรือเป็นบาป จักต้องได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
เมื่อคิดได้ดังนี้แล้ว จึงมีใจเป็นกลาง ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็น พ่อ แม่ ลูกหลาน ญาติพี่น้อง พวกพ้อง บริวารคนใกล้ชิด
หรือไม่ใกล้ชิด คนที่ตนรัก คนที่ตนเกลียด แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน ทุกชีวิตทุกวิญญาณ ที่ได้รับผลกรรมจากการคิดชั่ว พูดชั่ว
ทำชั่ว เกิดความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะไม่เป็นทุกข์ ไม่เดือดร้อน จิตใจไม่กระวนกระวาย ไม่กระสับกระส่ายแต่อย่างใด เพราะเข้าใจว่ามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีสิ่งใดในโลกเป็นของใคร ๆ ทั้งสิ้น
นี่คือ อุเบกขา ความวางเฉย ที่ไม่มีกิเลสครอบงำจิต เป็นคุณสมบัติของคนดี ของผู้ใหญ่ที่ดี ของพรหม ของอริยชน
ของพระอริยะ ของพระอรหันต์
ผู้ใดมีคุณธรรม ทั้ง ๔ ประการดังที่กล่าวมาแล้วนี้ คือ
๑) เมตตา คือความรัก ปรารถนาจะให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณเป็นสุข
๒) กรุณา คือความสงสาร คิดช่วยเหลือให้ทุกชีวิต ทุกวิญญาณพ้นทุกข์
๓) มุทิตา คือความพลอยยินดี เมื่อทุกคนทุกชีวิต ทุกวิญญาณได้ดีมีสุข
๔) อุเบกขา คือการวางเฉย และวางตัว วางใจเป็นกลาง ไม่มีความลำเอียง
ผู้ใดมีคุณธรรมประจำกาย วาจา ใจ สมบูรณ์แล้ว เป็นผู้ที่มีน้ำใจอันสะอาดบริสุทธิ์ พร้อมจะเป็นผู้ให้ยอมเสียสละ
ความสุขส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปันทรัพย์สินเงินทอง ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ เพื่อนมนุษย์ร่วมโลก และใช้สติปัญญาช่วยแก้ไขบรรเทาปัญหา ที่เกิดขึ้นในสังคม และสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นกับชุมชนที่ตนอาศัยอยู่
นี่คือ คุณสมบัติของผู้ที่มีน้ำใจ เพราะมีคุณธรรม ๔ ประการนี้ ผู้ใดขาดคุณธรรม ๔ ประการนี้ ก็จะเป็นคนที่ไม่มีน้ำใจ เห็นแก่ตัว ไม่ซื่อสัตย์สุจริต พร้อมที่จะทุจริตคดโกงได้ทุกเวลา ไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่มีความเสียสละทรัพย์สิน
เงินทอง ช่วยเหลือผู้ใด ทำความชั่วสร้างความเดือดร้อนให้กับครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศชาติบ้านเมือง และทั้งโลก
อันเมตตา คือความรัก จักเผื่อแผ่
จะมากแท้ ก็ต่อเมื่อ เผื่อมากหลาย
ทั้งพ่อแม่ เพื่อนพ้อง น้องหญิงชาย
สัตว์ทั้งหลาย ในโลก จงโชคดี
กรุณา คือสงสาร วานช่วยบอก
ใครช้ำชอก เป็นทุกข์ ไม่สุขี
จงช่วยเขา ให้พ้นทุกข์ เป็นสุขดี
แม้สัตว์ที่ เจ็บป่วย จงช่วยกัน
มุทิตา พลอยยินดี ผู้มีโชค
อย่าเศร้าโศก เสียใจ ภัยมหันต์
จงทำใจ ให้ดี มีต่อกัน
พระองค์ท่าน สอนไว้ ให้ยินดี
อุเบกขา ความวางเฉย เคยหรือไม่
คือทำใจ ให้เป็นกลาง สว่างศรี
ไม่ดีใจ หรือเสียใจ เมื่อภัยมี
จะเกิดที่ สัตว์เหล่าใด ใครก็ตาม
ขอทุกท่าน จงคิด พินิจดู
หากไม่รู้ แม้นชอบ ให้สอบถาม
คุณธรรม ทั้งสี่ นี้ช่างงาม
มีประจำ ก็เป็นพรหม สมดั่งใจ
กิจกรรม บทที่ ๘ มีน้ำใจ
๑. ผู้ที่ “ มีน้ำใจ ” หมายถึง อย่างไร ?
ก. ผู้ที่ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์
ให้แก่ผู้อื่น เห็นอก เห็นใจ และเห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ และผู้ที่มีความเดือดร้อน
ข. มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ อาสาช่วยเหลือสังคม ด้วยแรงกาย และสติปัญญา ลงมือปฏิบัติ
เพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์ สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน
ค. ผู้ที่ปราศจากความมัวหมอง ทั้งกายใจ และสภาพแวดล้อม มีความผ่องใส เป็นที่เจริญตา
ทำให้เกิดความสบายใจ แก่ผู้พบเห็น
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.
๒. คุณธรรมข้อใด ที่ส่งเสริมให้ “ มีน้ำใจ ” ?
ก. พรหมวิหาร ๔ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ข. ศีล ๕ และ ธรรม ๕ ประการ
ค. อิทธิบาท ๔ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
ง. ความเมตตา สัมมาทิฎฐิ ความเป็นธรรม
๓. “ ความเมตตา ” หมายความว่า อะไร ?
ก. ความรัก ความปรารถนาดีด้วยใจอันบริสุทธิ์ อยากให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณพ้นทุกข์
ข. ความสงสาร คิดจะช่วยเหลือให้ทุกชีวิต ทุกวิญญาณพ้นทุกข์
ค. ความพลอยยินดี เมื่อทุกคนทุกชีวิต ทุกวิญญาณได้ดีมีสุข
ง. ความวางเฉย วางตัว วางใจเป็นกลาง ไม่มีความลำเอียง
๔. “ ความกรุณา ” หมายความว่าอะไร ?
ก. ความรัก ความปรารถนาดีด้วยใจอันบริสุทธิ์ อยากให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณพ้นทุกข์
ข. ความสงสาร คิดจะช่วยเหลือให้ทุกชีวิต ทุกวิญญาณพ้นทุกข์
ค. ความพลอยยินดี เมื่อทุกคนทุกชีวิต ทุกวิญญาณได้ดีมีสุข
ง. ความวางเฉย วางตัว วางใจเป็นกลาง ไม่มีความลำเอียง
๕. “ มุทิตา ” หมายความว่าอย่างไร
ก. ความรัก ความปรารถนาดีด้วยใจอันบริสุทธิ์ อยากให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณพ้นทุกข์
ข. ความสงสาร คิดจะช่วยเหลือให้ทุกชีวิต ทุกวิญญาณพ้นทุกข์
ค. ความพลอยยินดี เมื่อทุกคนทุกชีวิต ทุกวิญญาณได้ดีมีสุข
ง. ความวางเฉย วางตัว วางใจเป็นกลาง ไม่มีความลำเอียง
๖. “ อุเบกขา ” หมายความว่าอย่างไร
ก. ความรัก ความปรารถนาดีด้วยใจอันบริสุทธิ์ อยากให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณพ้นทุกข์
ข. ความสงสาร คิดจะช่วยเหลือให้ทุกชีวิต ทุกวิญญาณพ้นทุกข์
ค. ความพลอยยินดี เมื่อทุกคนทุกชีวิต ทุกวิญญาณได้ดีมีสุข
ง. ความวางเฉย วางตัว วางใจเป็นกลาง ไม่มีความลำเอียง
๗. ผู้ใดนำคุณธรรมพื้นฐานความ “ มีน้ำใจ ” มาประพฤติปฏิบัติได้ ย่อมบังเกิดผลอย่างไร ?
ก. มีน้ำใจอันสะอาดบริสุทธิ์ พร้อมจะเป็นผู้ให้ ยอมเสียสละความสุขส่วนรวม ช่วยเหลือ
สังคม รู้จักแบ่งปัน ทรัพย์สินเงินทอง ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก
ข. มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ เพื่อนมนุษย์ร่วมโลก และใช้สติปัญญาช่วยแก้ไขบรรเทาปัญหา
ที่เกิดขึ้นในสังคม และสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นกับชุมชนที่ตนอาศัยอยู่
ค. เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นที่เคารพนับถือของผู้อื่น
ง. ถูกทุกข้อ
๘. ผู้ใดขาดคุณธรรมพื้นฐานความ “ มีน้ำใจ ” ย่อมบังเกิดผลอย่างไร ?
ก. เป็นคนไร้น้ำใจ เห็นแก่ตัว ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต ทุจริตคดโกงได้ทุกเวลา
ข. ไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่มีความเสียสละทรัพย์สินเงินทอง ช่วยเหลือผู้ใด ทำความชั่ว
สร้างความเดือดร้อนให้กับครอบครัว สังคมประเทศชาติบ้านเมือง และทั้งโลก
ค. ไม่เป็นแบบอย่างที่ดี ขาดความเคารพนับถือ จากผู้อื่น
ง. ถูกทุกข้อ
บรรณานุกรม
๑. นวโกวาท (ฉบับประชาชน) สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ พลอากาศเอก หะริน หงสกุล ผู้พิมพ์
ผู้โฆษณา พ.ศ. ๒๕๓๔
๒. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๔๒ จัดพิมพ์โดย บริษัทนานมีบู๊คส์ พับลิเคชั่นส์ จำกัด ๙๔๗ / ๑๕๘-๑๕๙ หมู่ ๑๒ ถนน
บางนา-ตราด เขตบางนา แขวงบางนา กรุงเทพฯ (๑๐๒๖๐) พ.ศ. ๒๕๔๖