http://www.porjarearntum.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ05/04/2009
อัพเดท06/09/2022
ผู้เข้าชม712,184
เปิดเพจ963,682

บริการ

หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ติดต่อเรา

บทกลอนธรรมะ

จูงมือลูกเดิน

ระลึกได้และรู้ตัวหมายความว่าอย่างไร

รัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

อันตรายของภิกษุ สามเณร ผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง

ความจริงอันประเสริฐที่ควรรู้ ๔ ประการ

ธรรมะอันทำให้งาม มี ๒ ประการ

ธรรมคุ้มครองโลก

เสียงเทศน์ทำใหม่ล่าสุด

วงล้อแห่งพระธรรมที่นำไปสู่ความเจริญ ๔ อย่าง

ทุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

สุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

วิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการ หมายความว่าอย่างไร

คุณของรัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด

มูลเหตุของความโง่เขลา

มูลเหตุของความฉลาด

ท่านรู้จักตนเองว่ามีกิเลสหรือไม่ ต้องพิจารณาอย่างไร

ท่านรู้จักมนุษย์ ๔ ประเภทหรือยัง ?

คิดดี พูดดี ทำดี

ความสุข ความทุกข์ ความสบาย แตกต่างกันอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ

ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบและเกิดปัญญา

ศาสนาคืออะไร

ป่วยกาย ป่วยใจ หมายความว่าอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ (เนื้อหา)

ทำความดีเพื่ออะไร

คุณธรรม ๕ ประการ สนับสนุนความสำเร็จ

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมายความว่าอย่างไร

ศีล ในพระพุทธศาสนา ๒๒๗ ข้อ ภาคภาษาไทย อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ปัจจัย ๔ รูปธรรม และ ปัจจัย ๔ นามธรรม

มนุษย์ เป็นโรค ๔ อย่าง บ้า ใบ้ บอด หนวก

ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาปหมายความว่าอย่างไร

ระวังจิต ระวังอารมณ์ หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา มีจริงหรือไม่

จิตสงบ จิตว่าง แตกต่างกันอย่างไร

อยากรู้ อยากห็น อยากเป็น อยากไป หมายความว่าอย่างไร

มืดมามืดไป และสว่างมาสว่างไป หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่มีมาก ทำให้น้อยลง สิ่งที่มีอยู่ทำให้หมดไป

ความเห็นแก่ตัว กับการรักตัวเอง

ท่านพบเห็นเมืองพอแล้วหรือยัง

การทำความชั่วเพราะเหตุ ๔ ประการ

รู้จด รู้จำ รู้แจ้ง หมายความว่าอย่างไร

สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ฟังธรรมเป็นยาฉีด จริงหรือ

ผู้ที่ไม่แต่งงาน จะตกนรก จริงหรือไม่

มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ

ก็ต้อง ก็ได้ ก็ดี หมายความว่าอย่างไร

บันใด ๘ ขั้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

งามทั้ง กาย วาจา ใจ

ผู้ที่ฝีกสมาธินาน ๆ ไม่เกิดปัญญาเพราะเหตุใด

คิดอย่างไรจึงไม่เกิดทุกข์

จิตใต้สำนึก

คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ

ทำใจ หมายความว่าอย่างไร

ประเพณีงานศพที่ถูกต้อง... เหตุใดจึงต้องเผาศพ...

ความเบื่อของปุถุชนกับความเบื่อของพระอริยะ

พระราชดำรัส คุณธรรม ๔ ประการ(เนื้อหา)

มีสิ่งใด สิ่งนั้นก็เสื่อม

บวชเพื่ออะไร

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือ

ทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์

บุคคลที่หาได้ยาก ความกตัญญูกตเวที

การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดหรือถูก...

ความหวัง

มืดมาสว่างไป สว่างมามืดไป หมายความว่าอย่างไร

ผู้ที่ขัดขวางการปฏิบัติธรรม มีโทษอย่างไร

แผ่นพับธรรมะ

ศีล ในพระพุทธศาสนา ๒๒๗ ข้อ ภาคภาษาไทย อ่านแล้วเข้าใจง่าย

มอบให้เป็นสมบัติของวัด

 

ศีล ๒๒๗

ภาค ภาษาไทย


อ่านแล้วเข้าใจง่าย


 โดย ป.เจริญธรรม

การเรียนรู้

การเรียนการสอน

ตามหลักวิชาการ

มีความจำเป็นอยู่

แต่การเรียนรู้จักตัวเอง

เป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง

รู้จักตัวเองต่างหาก

ที่เรียกว่า  รู้จริง

 

 

ชื่อหนังสือ            :  ศีล  ๒๒๗  ภาคภาษาไทย

โดย                      :  แม่ชี  ประยงค์  ธัมวงศานุกูล  ประธาน คณะ ป.เจริญธรรม   

พิสูจน์อักษร         : นายนารินทร์  แก้วสิมมา

                                  นธ.เอก,.., ศน..

พิมพ์ครั้งที่ ๑         กรกฎาคม   ๒๕๕๑

ที่ปรึกษา                . นายประเสริฐ  เติมศักดิ์  อดีตข้าราชการ  ระดับ    

                                  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

                              . อาจารย์สำเภา  เติมศักดิ์  อดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงเรียน

                                   บ้านทุ่ม  อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น

                              . อาจารย์ชื่นจิต  ดลโสภณ  อดีตอาจารย์    ระดับ   

                                   โรงเรียนสนามบิน  อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น

                              . นายบุญธรรม  อิ่มนาง  อดีต  ข้าราชการ  ระดับ   

                                   มหาวิทยาลัยขอนแก่น

                                       . พันตำรวจโท  พรเทพ  บูชาอินทร์  สารวัตรปกครอง

                                             ป้องกัน  สถานีตำรวจภูธรโนนศิลา  จังหวัดขอนแก่น

                             .  นายสมชาย  เติมศักดิ์  ข้าราชการ  ระดับ   

                                  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

                             .  นางสาวชัญญา  เติมศักดิ์  ผู้ช่วยผู้จัดการบริษัท

                                   บลูมอร์โฟจำกัด  อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น

 

สถานที่ติดต่อ : คณะ  .  เจริญธรรม  ที่  เว็บไซต์  ธรรมะ  โดย ป. เจริญธรรม

โทร.  -๔๓๔๖- ๖๔๕๒

โทร.  ๐๘-๕๘๕๓-๙๔๓๓  

 
คำปรารภ

            ข้าพเจ้าในนาม  คณะ  .เจริญธรรม ได้ร่วมกันศึกษาค้นคว้ารวบรวมศีล  ๒๒๗ ข้อ  สำหรับพระภิกษุซึ่งส่วนมากจะเป็นภาษาบาลี ที่เข้าใจได้ยาก  จึงนำมาเรียบเรียงและอธิบายขยายความ เพื่อให้พระภิกษุที่บวชใหม่หรือพุทธศาสนิกชนผู้สนใจใคร่รู้  ได้ศึกษาทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ แล้วสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติตามเจตนารมณ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้บัญญัติไว้ เพื่อจะได้เกิดประโยชน์และจรรโลงพระพุทธศาสนาสืบต่อไป ตราบนานเท่านาน

            ขอประโยชน์จงเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติตามสมควรแก่ธรรม ด้วยเทอญ


(แม่ชี   ประยงค์   ธัมวงศานุกูล )

ประธาน  คณะ  .เจริญธรรม

                                                                วันที่   ๑๙   มกราคม   ๒๕๕๓ 

  

สารบัญ

 

                เรื่อง                                                                         หน้า   

           

      อาบัติ    หมวด                                                                    

.   ปาราชิก              ข้อ                                                           

.  สังฆาทิเสส          ๑๓   ข้อ                                                        

.   อนิยต             ข้อ                                                                

.   ปาจิตตีย์      ๙๒   ข้อ                                                              

  ๑) นิสสัคคียปาจิตตีย์    วรรค                                                            

- จีวรวรรค                     ๑๐   ข้อ                                            

- โกสิยวรรค                   ๑๐   ข้อ                                            

- ปัตตวรรค                    ๑๐   ข้อ                                            

   ๒) (สุทธิก) ปาจิตตีย์    วรรค                                                  

- มุสาวาทวรรค              ๑๐   ข้อ                                             

- ภูตคามวรรค               ๑๐   ข้อ                                              

- โอวาทวรรค                 ๑๐   ข้อ                                            ๑๐

- โภชนวรรค                  ๑๐   ข้อ                                            ๑๑

- อเจลกวรรค                 ๑๐   ข้อ                                            ๑๑

- สุราปานวรรค              ๑๐   ข้อ                                             ๑๒

- สัปปาณวรรค               ๑๐   ข้อ                                            ๑๒

- สหธรรมิกวรรค           ๑๒  ข้อ                                               ๑๓

- รัตนวรรค                     ๑๐   ข้อ                                           ๑๔

.  ปาฏิเทสนียะ                           ข้อ                                          ๑๕

.   เสขิยวัตร                           ๗๕  ข้อ                                         ๑๕

- สารูป                                ๒๖  ข้อ                                          ๑๕

- โภชนปฏิสังยุต                 ๓๐   ข้อ                                            ๑๖

- ธัมมเทศนาปฏิสังยุต        ๑๖    ข้อ                                             ๑๗

- ปกิณณกะ                              ข้อ                                          ๑๘      

.   อธิกรณสมถะ                       ข้อ                                            ๑๙

๘.   สิ่งที่มีมากทำให้น้อยลง                                                             ๒๐     

๙.   สิ่งที่มีอยู่ทำให้หมดไป                                                               ๒๑

                ๑๐. บรรณานุกรม                                                                   


                                                          อาบัติ   หมวด

 

             อาบัติ คือ โทษที่เกิดจากการผิดศีล ซึ่งเป็นข้อที่ พระพุทธเจ้าห้าม ไว้มีอยู่ด้วยกัน ๗ หมวด ได้แก่

                  .  ปาราชิก หมายถึง เมื่อประพฤติผิดศีลหมวดนี้แล้ว ต้องขาดจากการเป็นพระภิกษุ

                  . สังฆาทิเสส หมายถึง เมื่อประพฤติผิดศีลหมวดนี้แล้ว ต้องรับโทษตามพระวินัยที่บัญญัติไว้ ด้วยการอยู่ปริวาสกรรม ๗ วัน หรือ ตามจำนวนวัน ที่ปิดไว้

                   . ถุลลัจจัย

                   . ปาจิตตีย์

                   . ปาฏิเทสนียะ

                   . ทุกกฏ

                   . ทุพภาสิต

                   ข้อ ๓ ถึงข้อ ๗ เมื่อประพฤติผิดศีลหมวดนี้แล้ว ต้องแจ้งความผิด (แสดงอาบัติ) ต่อหน้าพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง หรือต่อคณะสงฆ์

              อาบัติ หรือศีลของพระภิกษุ มีทั้งหมด  ๒๒๗  แยกตามแต่ละหมวด  ดังนี้ 

                   .  ปาราชิก                                  ข้อ

                   .  สังฆาทิเสส                        ๑๓     ข้อ

                   .  อนิยต                                     ข้อ

                   .  นิสสัคคิยปาจิตตีย์                ๓๐    ข้อ

                   .  ปาจิตตีย์                            ๙๒    ข้อ    

                   .  ปาฏิเทสนียะ                            ข้อ

                   .  เสขิยวัตร                           ๗๕    ข้อ

                   .  อธิกรณสมถะ                           ข้อ

                                           รวม            ๒๒๗     ข้อ

 

  

๑.  ปาราชิก    ข้อ

              ปาราชิก (แปลว่า ความพ่ายแพ้) หมายถึง ความพ่ายแพ้ต่ออำนาจของกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เมื่อพระภิกษุประพฤติผิดศีลหมวดนี้แล้ว ต้องขาดจากความเป็นพระภิกษุในทันที เทียบเท่ากับการได้รับโทษประหารชีวิตในทางโลก แม้จะปกปิดอาบัติไว้ และยังห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ก็ไม่ถือว่าเป็นภิกษุอีกต่อไป เมื่อพ้นจากความเป็นภิกษุแล้ว จะกลับมาบวชอีกไม่ได้ มี ๔ ข้อดังนี้

                  . พระภิกษุเสพเมถุน หมายถึง พระภิกษุประพฤติผิดศีลด้วยการเสพกาม (การร่วมเพศ) ไม่ว่าชายกับหญิง หรือเพศเดียวกัน หรือแม้แต่ร่วมเพศกับสัตว์เดรัจฉานทั่วไป ถือว่าเป็นอาบัติปาราชิก ต้องขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที  เนื่องจากพ่ายแพ้

ต่ออำนาจของกิเลส คือ ความหลง คือ หลงในรสสัมผัส หลงในกามารมณ์ (การเสพกาม)

                   . พระภิกษุลักทรัพย์ หมายถึง พระภิกษุที่เอาทรัพย์ หรือสิ่งของใด ๆ ที่เจ้าของไม่อนุญาต มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสก (ราคา ๑ บาท) ขึ้นไป ถือว่าเป็นอาบัติปาราชิก  ต้องขาดจากความเป็นพระภิกษุ เพราะพ่ายแพ้ต่ออำนาจของกิเลส คือ ความโลภ

                   . พระภิกษุเจตนาฆ่ามนุษย์ให้ตาย หมายถึง พระภิกษุฆ่าคนตาย หรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่าผู้อื่นตาย ถือว่าเป็นอาบัติปาราชิก  ต้องขาดจากความเป็นพระภิกษุ เพราะพ่ายแพ้ต่ออำนาจของกิเลส คือ ความโกรธ ความอาฆาต  พยาบาท ปองร้าย

                  . พระภิกษุอวดอุตริมนุสธรรม หมายถึง พระภิกษุใดที่ไม่รู้จริง แล้วอวดว่าตนมีคุณธรรมสูง (บรรลุธรรมขั้นสูง) มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เป็นผู้วิเศษ แล้วอวดอ้างให้ผู้อื่นหลงผิด ถือว่าเป็นอาบัติปาราชิก ต้องขาดจากความเป็นพระภิกษุ เพราะพ่ายแพ้ต่ออำนาจของกิเลส คือ ความหลงในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข 

                   นี่คือ พระภิกษุที่พ่ายแพ้ต่ออำนาจของกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่ครอบงำจิตใจ เป็นเหตุให้เกิดการประพฤติผิดศีลอย่างร้ายแรง ส่งผลให้พ้นจากความเป็นพระภิกษุในที่สุด

๒.  สังฆาทิเสส  ๑๓  ข้อ

              สังฆาทิเสส หมายถึง อาบัติที่พระภิกษุประพฤติผิดแล้ว จะต้องแจ้งแก่สงฆ์ก่อน  ต้องประพฤติตนภายใต้สงฆ์กำหนด (เช่น อยู่ปริวาสกรรม ๗ วัน หรือตามวันที่ปกปิดไว้) และมีสงฆ์เกี่ยวข้องทุกขั้นตอน  ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย  มี  ๑๓  ข้อ ดังนี้

          . พระภิกษุสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง หมายถึง พระภิกษุเจตนาสำเร็จความใคร่ด้วยการช่วยเหลือตนเอง หรือให้ผู้อื่นช่วย จนน้ำอสุจิเคลื่อน เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ยกเว้นไม่มีเจตนา เช่น ฝันแล้วน้ำอสุจิเคลื่อน (ฝันเปียก)

             . พระภิกษุจับต้องกายหญิง หมายถึง พระภิกษุจับต้องร่างกายหญิง ด้วยความกำหนัดเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ยกเว้นมีความจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือหญิงนั้น เช่น มารดาเจ็บป่วย หรือหญิงอื่นที่ประสบภัยร้ายแรงถึงแก่ชีวิต เช่น หญิงที่กำลังจะจมน้ำไม่มีผู้ใดช่วยเหลือได้ในขณะนั้น เป็นต้น

              . พระภิกษุเกี้ยวพาราสี จีบผู้หญิง หรือบัณเฑาะว์ (กะเทย) หมายถึง พระภิกษุพูดประเล้าประโลมหญิง หรือบัณเฑาะว์ (กะเทย) ให้เกิดความกำหนัด (ความต้องการทางเพศ) เป็นอาบัติสังฆาทิเสส

               . พระภิกษุชักชวนหญิง หรือบัณเฑาะว์ (กะเทย) ให้เสพกาม (ร่วมเพศ) หมายถึง พระภิกษุพูดจาหว่านล้อม ชักชวน แนะนำโน้มน้าวหรือยุยงส่งเสริมให้หญิง หรือบัณเฑาะว์ (กะเทย) มาเสพกาม (ร่วมเพศ) กับตน เป็นอาบัติสังฆาทิเสส

              . พระภิกษุใด เป็นพ่อสื่อชักชวนให้หญิงกับชาย เป็นสามีภรรยากัน หมายถึงพระภิกษุชักชวน แนะนำ ยุยงส่งเสริมให้ชาย และหญิง เป็นสามีภรรยากัน เป็นชู้สู่สม หรือมีเพศสัมพันธ์กันแม้เพียง      ชั่วคราว เป็นอาบัติสังฆาทิเสส

              . พระภิกษุสร้างกุฏิใหญ่เกินกว่าพระวินัยกำหนด หมายถึง พระภิกษุจะสร้างกุฏิที่อยู่อาศัยเฉพาะตนได้ยาวไม่เกิน ๑๒ คืบ พระสุคต (๓ เมตร) กว้างไม่เกิน  ๗ คืบ พระสุคต (.๗๕ เมตร ) และต้องให้สงฆ์แสดงที่ (อนุญาต) ให้ก่อน ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ (อนุญาต) ให้ก่อน และสร้างกุฏิใหญ่เกินประมาณที่กำหนดไว้แล้ว เป็นอาบัติสังฆาทิเสส

            . พระภิกษุสร้างวิหารที่ไม่มีเจ้าภาพ และสงฆ์ไม่อนุญาต หมายถึง พระภิกษุจะสร้างวิหาร คือ สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเข้าไปสักการะบูชา จะต้องมีเจ้าภาพอุปถัมภ์การก่อสร้าง และต้องให้สงฆ์แสดงที่ (อนุญาต) ให้ก่อน ถ้าไม่มีเจ้าภาพ และสงฆ์ไม่อนุญาต เป็นอาบัติสังฆาทิเสส

             . พระภิกษุแกล้งใส่ร้ายพระภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิก หมายถึง พระภิกษุ โกรธเคืองพระภิกษุอื่น แล้วใส่ร้ายภิกษุรูปนั้นว่าเป็นอาบัติปาราชิก ซึ่งไม่เป็นความจริง เช่น กล่าวหาว่า ฆ่ามนุษย์ ลักทรัพย์       เสพกาม (ร่วมเพศ) และอวดอุตริมนุสธรรม เป็นอาบัติสังฆาทิเสส

. พระภิกษุสร้างหลักฐานเท็จให้พระภิกษุอื่น มีความผิดด้วยอาบัติปาราชิก หมายถึง พระภิกษุมีความโกรธ อาฆาต พยาบาท     ปองร้าย สร้างหลักฐานอันเป็นเท็จ เพื่อที่จะให้ภิกษุอื่น มีความผิดวินัย ด้วยอาบัติปาราชิก เช่น พระภิกษุรูปหนึ่งสร้างหลักฐานเท็จ ยัดเยียดให้ภิกษุอีกรูปหนึ่ง เป็นผู้ขโมยทรัพย์เป็นอาบัติปาราชิก เป็นต้น เป็นอาบัติสังฆาทิเสส

             ๑๐. พระภิกษุยุยงให้สงฆ์แตกแยกกัน หมายถึง พระภิกษุพยายามยุยง ส่งเสริมให้สงฆ์ ๒ ฝ่าย เข้าใจผิดกันด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนเป็นเหตุให้สงฆ์แตกแยกกัน เป็นอาบัติสังฆาทิเสส

             ๑๑. พระภิกษุปฏิบัติตามพระภิกษุ ผู้ยุยงให้สงฆ์แตกแยกกัน หมายถึง พระภิกษุที่เชื่อฟัง และปฏิบัติตาม พระภิกษุผู้ยุยงให้สงฆ์แตกแยกกัน เป็นอาบัติสังฆาทิเสส

              ๑๒. พระภิกษุว่ายากสอนยาก หมายถึง พระภิกษุผู้ประพฤติผิดศีลเป็นประจำ สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนก็ไม่ฟัง บอกไม่ได้  สอนไม่ได้ เป็นคนดื้อดึง เป็นอาบัติสังฆาทิเสส

            ๑๓. พระภิกษุประจบคฤหัสถ์เพื่อหวังลาภ ยศ สรรเสริญ หมายถึง ประจบประแจง คอยรับใช้คฤหัสถ์ ให้ของกำนัล เพื่อหวังให้เขาเคารพนับถือ อุปถัมภ์บำรุงตนแต่ผู้เดียว จนเป็นเหตุให้คฤหัสถ์เสื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนา เป็นอาบัติสังฆาทิเสส

๓.  อนิยต ๒ ข้อ

              อนิยต  แปลว่าไม่แน่นอนว่าจะผิดข้อใด มี ๒ นัย คือ

              . ภิกษุนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง ถ้ามีคนที่ควรเชื่อถือได้ มาพูดขึ้นด้วยอาบัติ ๓ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุรับอย่างใดให้ปรับอย่างนั้น หรือมีหลักฐาน     ชัดเจนว่าผิดอย่างใด ให้ปรับอย่างนั้น

              . ภิกษุนั่งในที่ลับหู กับหญิง สองต่อสองถ้ามีคนที่ควรเชื่อถือได้มาพูดขึ้นด้วยอาบัติ ๒ อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรือ ปาจิตตีย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุรับอย่างใด ให้ปรับอย่างนั้น หรือมีหลักฐานชัดเจน   อย่างใดให้ปรับอย่างนั้น


๔.  ปาจิตตีย์  ๙๒  ข้อ

              ปาจิตตีย์   หมายถึง  การทำความผิดที่ทำให้ความดีต้องเสื่อมไป  เพราะมีความลุ่มหลงครอบงำจิต    สิกขาบทนี้จัดเป็น  ๑๒  วรรค  แบ่งเป็น  . นิสัคคียปาจิตตีย์  ๓ วรรค  จำนวน  ๓๐  ข้อ   . (สุทธิก)ปาจิตตีย์    วรรค  จำนวน  ๖๒  ข้อ  รวมทั้งหมดมี   ๙๒  ข้อ  ดังนี้

 

นิสสัคคียปาจิตตีย์  วรรคที่    จีวรวรรค  ๑๐  ข้อ

            .  ภิกษุนุ่งห่มอดิเรกจีวร (อดิเรกจีวร คือ จีวรเกินกว่าที่พระวินัยบัญญัติ) ได้เพียง  ๑๐  วัน เป็นอย่างยิ่ง  ถ้าเกิน  ๑๐  วันไป เป็นอาบัติ  นิสสัคคียปาจิตตีย์   หมายความว่า  พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุ

มีผ้านุ่งห่ม (ไตรจีวร) ได้เพียง    ผืน  คือ  ) จีวร     ผืน   ) สบง    ผืน   และ ๓) สังฆาฏิ    ผืน  ถ้ามีนอกจากนี้ชื่อว่า  อดิเรกจีวร   พระภิกษุใดมีไว้  เก็บไว้  รักษาไว้  หรือใช้เกิน  ๑๐ วัน  เป็นอาบัติ นิสสัคคียปาจิตตีย์  จะต้องแจ้งและสละอดิเรกจีวรเหล่านั้นแก่ภิกษุแล้ว จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้

              การแสดงอาบัติ  หมายถึง  การแจ้งความผิดของตนแก่   พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งทราบ แล้วตั้งใจจะไม่ทำผิดอีกต่อไปส่วนมากนิยมแสดงอาบัติก่อนลงปาฏิโมกข์ (ลงอุโบสถ)

              .  ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้คืนเดียว  เป็นอาบัติ       นิสสัคคียปาจิตตีย์  เว้นไว้แต่สมมติ  หมายความว่า  ไตรจีวร  ได้แก่ ผ้านุ่งห่ม    ผืน  คือ  ) จีวร     ผืน   ) สบง    ผืน และ ๓) สังฆาฏิ ๑ ผืน ภิกษุอยู่ค้างคืนถึงรุ่งเช้า โดยขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ จะต้องแจ้งและสละไตรจีวรเหล่านั้นแก่ภิกษุแล้ว จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้ เว้นแต่คณะสงฆ์สมมุติ (อนุญาต) ให้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ที่เจ็บป่วย  เป็นต้น  ไม่มีไตรจีวรครบ โดยไม่เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ก็ได้

            .  ภิกษุมีผ้า ต้องการทำจีวร แต่ยังไม่พอ หวังว่าจะได้มาอีก  สามารถเก็บผ้านั้นไว้ได้เพียง    เดือน  ถ้าเก็บไว้เกินจากนี้ โดยหวังว่าจะได้ผ้ามาอีก  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์   จะต้องแจ้งและสละผ้าผืนนั้นแก่ภิกษุแล้ว จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้

              .  ภิกษุใช้ให้นางภิกษุณี  ที่ไม่ใช่ญาติกัน  ให้ซัก  ให้ย้อม  ให้ทุบ  ซึ่งจีวรที่ใช้อยู่เป็นประจำ  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์   จะต้องแจ้งและสละจีวรผืนนั้นแก่ภิกษุแล้ว จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้ 

              .  ภิกษุรับจีวรจากมือนางภิกษุณี  ที่ไม่ใช่ญาติ  เว้นไว้แต่       แลกเปลี่ยนกัน  เป็นอาบัติ   นิสสัคคียปาจิตตีย์  จะต้องแจ้งและสละจีวรผืนนั้นแก่ภิกษุแล้ว จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีก        ต่อไปได้  

              .  ภิกษุขอจีวรต่อคฤหัสถ์  ที่ไม่ใช่ญาติ  ไม่ใช่ปวารณา (ไม่ได้แจ้งไว้ก่อน) เมื่อได้มา เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ จะต้องแจ้งและสละจีวรผืนนั้นแก่ภิกษุแล้ว จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้ยกเว้น มีเหตุที่จะขอได้ เช่น โจรขโมยจีวร หรือจีวร   สูญหาย

              .  เมื่อมีเหตุที่จะขอจีวรได้   ก็ขอได้เพียงผ้านุ่ง ผ้าห่ม เท่านั้น  ถ้าขอเกินกว่านั้นแล้วได้มาเป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์   จะต้องแจ้งและสละจีวรผืนนั้นแก่ภิกษุแล้ว จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้

            .  ถ้าคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ  ไม่ใช่ปวารณา (ไม่ได้แจ้งไว้)  พูดว่าจะถวายจีวรแก่ตน แล้วไปบอกเขาว่าให้ซื้อจีวรที่มีราคาแพง และดีกว่าเดิมที่เขาตั้งใจไว้ เมื่อได้มาแล้ว เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์  จะต้องแจ้งและสละจีวรผืนนั้นแก่ภิกษุแล้ว จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้

              .  ถ้าคฤหัสถ์หลายคน  ที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา (ไม่ได้แจ้งไว้)  ต้องการจะถวายจีวรแก่ภิกษุ ๆ ทราบแล้วไปพูดให้เขารวมทุนเข้าเป็นอันเดียวกัน  เพื่อให้ซื้อจีวรที่แพงกว่า ดีกว่าเดิม ที่เขาตั้งใจไว้แต่แรกแล้วได้มา  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ จะต้องแจ้งและสละจีวรผืนนั้นแก่ภิกษุแล้ว  จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้  

              ๑๐.  ถ้าใคร ๆ นำทรัพย์เพื่อค่าจีวรแก่พระภิกษุ ไปมอบให้ไวยาวัจกรแล้วแจ้งแก่ภิกษุไว้ว่า หากต้องการจีวรให้ไปบอกไวยาวัจกร  ภิกษุพึงเข้าไปหาไวยาวัจกร และทวงได้  ๓ ครั้ง ถ้ายังไม่ได้  พึงไปยืนให้เขาเห็น    ครั้ง  ถ้าทวง และยืนให้เขาเห็นเกินจากนี้แล้ว ได้มาเป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์  จะต้องแจ้งและสละจีวรผืนนั้นแก่ภิกษุแล้ว จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้  เมื่อไม่ได้ จริง ๆ  ให้แจ้งแก่เจ้าของเดิม เพื่อเรียกเอาทรัพย์ของเขาคืน

 

นิสสัคคียปาจิตตีย์  วรรคที่    โกสิยวรรค  ๑๐  ข้อ

            .  ภิกษุ หล่อสันถัต (ที่รองนั่ง) ด้วยขนเจียม  (ขนแพะ  ขนแกะ) เจือด้วยไหม  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ จะต้องแจ้งและสละสันถัต (ที่รองนั่ง)นั้น แก่ภิกษุแล้ว จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้ 

              .  ภิกษุ หล่อสันถัต (ที่รองนั่ง) ด้วยขนเจียม  (ขนแพะ  ขนแกะ) ดำล้วน  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์  จะต้องแจ้งและสละสันถัต (ที่รองนั่ง) นั้น แก่ภิกษุแล้ว จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้

              .  ภิกษุ หล่อสันถัต (ที่รองนั่ง) ใหม่  ให้ใช้ขนเจียม  (ขนแพะ  ขนแกะ) ดำ    ส่วน  ขนเจียมขาว    ส่วน  ขนเจียมแดง    ส่วน  ถ้าใช้ขนเจียมดำเกิน    ส่วนขึ้นไป  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์  จะต้องแจ้งและสละสันถัต (ที่รองนั่ง) นั้น แก่ภิกษุแล้ว  จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้ 

             .  ภิกษุ หล่อสันถัต (ที่รองนั่ง) ใหม่แล้ว  พึงใช้ให้ได้    ปี  ถ้าไม่ถึง    ปีหล่อใหม่  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์  จะต้องแจ้งและสละสันถัต (ที่รองนั่ง) นั้น แก่ภิกษุแล้ว  จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้  เว้นไว้แต่สมมติ  คือ  ภิกษุเจ็บป่วย  จำเป็นต้องย้าย  ที่อยู่ ไม่สามารถนำสันถัต(ที่รองนั่ง)ไปได้  หรือสันถัตสูญหาย  สงฆ์อนุญาตถึงแม้ไม่ถึง    ปีก็สามารถหล่อใหม่ได้

              .  ภิกษุจะหล่อสันถัต (ที่รองนั่ง) ใหม่  พึงตัดเอาสันถัตเก่า    คืบ มาปนลงในสันถัตที่หล่อใหม่  เพื่อจะทำลายให้เสียสี  ถ้าไม่ทำอย่างนี้  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์  จะต้องแจ้งและสละสันถัต (ที่รองนั่ง) นั้น

แก่ภิกษุแล้ว   จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้

              .  เมื่อภิกษุเดินทางไกล  ถ้ามีใครถวายขนเจียม  ต้องการก็รับได้  ถ้าไม่มีใครนำมาให้  นำมาเองได้เพียง    โยชน์ (๔๘ กิโลเมตร)  ถ้านำไปเกินจากนี้  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์  จะต้องแจ้งและสละขนเจียมนั้นแก่ภิกษุแล้ว จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้

              . ภิกษุใช้นางภิกษุณี  ที่ไม่ใช่ญาติ  ไม่ใช่ปวารณา (ไม่ได้แจ้งไว้)  ให้ซัก  ให้ย้อม  หรือให้สางขนเจียม  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์  จะต้องแจ้งและสละขนเจียมนั้นแก่ภิกษุแล้ว จึงจะแสดงอาบัติ  จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้  

              .  ภิกษุรับเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นรับทอง และเงิน  หรือยินดีทองและเงิน ที่เขาเก็บไว้เพื่อตน  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ จะต้องแจ้งและสละทองและเงินนั้นแก่ภิกษุแล้ว จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้  

              .  ภิกษุ  ทำการซื้อขายสิ่งของ  ด้วยเงิน และทอง หรือสิ่งที่ใช้แทนเงินและทอง เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์  จะต้องแจ้งและสละทองและเงินนั้นแก่ภิกษุแล้ว  จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้

๑๐.  ภิกษุแลกเปลี่ยนสิ่งของกับคฤหัสถ์  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ จะต้องแจ้งและสละสิ่งของนั้นแก่ภิกษุแล้ว  จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้ 

 

นิสสัคคียปาจิตตีย์  วรรคที่      ปัตตวรรค  ๑๐  ข้อ

              . บาตรนอกจากบาตรอธิษฐานเรียกว่า อดิเรกบาตร (อดิเรกบาตร คือ บาตรเกินกว่าพระวินัยกำหนด)  อดิเรกบาตรนั้น ภิกษุเก็บไว้ได้เพียง  ๑๐  วัน  ถ้าเก็บไว้เกินนี้  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์  จะต้องแจ้งและสละบาตรนั้นแก่ภิกษุแล้ว  จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้  

                 . ภิกษุมีบาตรร้าวยังไม่ถึง  ๑๐  นิ้ว  ขอบาตรใหม่ต่อคฤหัสถ์  ที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา (ไม่ได้แจ้งไว้)  ได้มาเป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์  จะต้องแจ้งและสละบาตรนั้นแก่ภิกษุแล้ว  จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจ จะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้

              .  ภิกษุรับประเคนเภสัชทั้ง    คือ  เนยใส  เนยข้น  น้ำมัน น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย แล้วเก็บไว้ฉันได้เพียง    วัน  ถ้าเกินนี้  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์    จะต้องแจ้งและสละเภสัชทั้ง ๕ นั้นแก่ภิกษุแล้ว  จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้ 

                .  เมื่อฤดูร้อน ยังเหลืออีก    เดือน  คือตั้งแต่แรม    ค่ำ  เดือน    จึงแสวงหาผ้า อาบน้ำฝนได้  เมื่อฤดูร้อนยังเหลืออยู่อีกครึ่งเดือนคือตั้งแต่ขึ้น    ค่ำ  เดือน    จึงทำนุ่งได้  ถ้าแสวงหาหรือทำนุ่งให้   ล้ำกว่ากำหนดนั้นเข้ามา  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์   จะต้องแจ้งและสละผ้าอาบน้ำฝนนั้นแก่ภิกษุแล้ว  จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้ 

               .  ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุอื่นแล้ว  ต่อมาโกรธแล้วชิงเอาคืน   มาเอง  หรือใช้ให้คนอื่นชิงมา  ได้มาเป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ จะต้องแจ้งและสละจีวรผืนนั้นแก่ภิกษุแล้ว  จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้  

               .  ภิกษุขอด้ายต่อคฤหัสถ์  ที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา (ไม่ได้แจ้งไว้)  เอามาให้ช่างทอหูก (ทอผ้า) ทอเป็นจีวร  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ จะต้องแจ้งและสละจีวรผืนนั้นแก่ภิกษุแล้ว  จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้ 

              .  ถ้าคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ  ไม่ใช่ปวารณา (ไม่ได้แจ้งไว้)  สั่งให้ช่างทอหูก (ทอผ้า) ทอจีวร  เพื่อจะถวายแก่ภิกษุ  ถ้าภิกษุไปกำหนดให้เขาทำให้ดีขึ้นด้วยจะให้รางวัลแก่เขา  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ จะต้องแจ้งและสละจีวรผืนนั้นแก่ภิกษุแล้ว  จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อ    ตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้ 

              .  ถ้าอีก  ๑๐  วัน  จะถึงวันปวารณา  (วันออกพรรษา หรือเป็นวันที่ภิกษุทุกรูปจะกล่าวปวารณาคือเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้)  คือ ตั้งแต่ขึ้น    ค่ำ  เดือน  ๑๑  ถ้าทายกรีบจะถวาย ผ้าจำนำพรรษา             (ผ้าที่ทายกถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบ    เดือนแล้ว)  ก็รับเก็บไว้ได้  แต่ถ้าเก็บไว้เกินกาลจีวรไป  เป็นอาบัติ     นิสสัคคียปาจิตตีย์ จะต้องแจ้งและสละผ้าจำนำพรรษาผืนนั้นแก่ภิกษุแล้ว  จึงจะแสดงอาบัติเพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้  

              . ภิกษุจำพรรษาในเสนาสนะป่าซึ่งเป็นที่เปลี่ยว  ออกพรรษาแล้วอยากจะเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งฝากไว้ในบ้าน  เมื่อมีเหตุก็เก็บไว้ได้เพียง    คืน  ถ้าเก็บไว้เกินกว่านี้  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ จะต้องแจ้งและสละผ้าจำนำพรรษาผืนนั้นแก่ภิกษุแล้ว  จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้  ยกเว้นไว้แต่ได้สมมุติ  คือ  สงฆ์อนุญาตให้เก็บเกินกว่านั้นได้

              ๑๐.  ภิกษุรู้อยู่ว่าลาภเกิดขึ้นแก่สงฆ์ แต่รบเร้าให้เขามาถวาย  แก่ตน  เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ จะต้องแจ้งและสละลาภนั้นแก่ภิกษุแล้ว  จึงจะแสดงอาบัติ เพื่อตั้งใจจะไม่ทำผิดวินัยข้อนี้อีกต่อไปได้  

 

(สุทธิก)ปาจิตตีย์  มี    วรรค

            สุทธิกปาจิตตีย์ หรือ ปาจิตตีย์  เมื่อล่วงละเมิดแล้ว  ไม่ได้สละ สิ่งของเหมือนนิสสัคคียปาจิตตีย์  เพียงแสดงความผิดที่ล่วงละเมิด (แสดงอาบัติ) แก่สงฆ์ หรือบุคคล (พระภิกษุ) ส่วนมากนิยมแสดงกับบุคคล (พระภิกษุ) ก่อนลงอุโบสถ และตั้งใจที่จะสำรวม ระมัดระวัง เพื่อ จะไม่ทำผิดอย่างนั้นอีก   (สุทธิก) ปาจิตตีย์ หมายถึง การทำความผิดที่ทำให้ความดีต้องเสื่อมไป เพราะมีความลุ่มหลง ครอบงำจิต (สุทธิก) ปาจิตตีย์มีทั้งหมด   วรรค ๙  ข้อ  ดังนี้

มุสาวาทวรรคที่ ๑  มี ๑๐ ข้อ

              . ภิกษุพูดปดหลอกลวงภิกษุให้เกิดความเดือดร้อน เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุด่าภิกษุให้อับอายขายหน้า เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุพูดส่อเสียดภิกษุ ให้เจ็บช้ำน้ำใจเป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุสอนธรรม (กำลังให้ศีล) แก่อนุปสัมบัน (สามเณร หรือฆราวาส) ถ้าว่าพร้อมกัน เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุนอนในบ้าน ที่พักหลังเดียวกัน หรือห้องเดียวกันกับอนุปสัมบัน (สามเณร หรือฆราวาสผู้ชาย) เกิน ๓ คืน ขึ้นไป เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุนอนในบ้านเดียวกัน กับผู้หญิงหลายคน แม้คืนเดียว เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุแสดงธรรม (กระซิบกระซาบ หรือโทรศัพท์ กับผู้หญิงเพื่อให้รู้กัน ๒ คน) เกินกว่า ๖ คำขึ้นไป เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              ๘. ภิกษุบอกอุตริมนุสธรรม (ธรรมขั้นสูงที่มีจริง เช่น ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรคผลนิพพานแก่อนุปสัมบัน (สามเณร หรือฆราวาส) เป็นอาบัติปาจิตตีย์

           . ภิกษุบอกว่า ภิกษุรูปหนึ่งเป็นอาบัติปาราชิก กับสังฆาทิเสส แก่อนุสัมปสัมบัน (สามเณร หรือฆราวาส) เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมมุติ คือ สงฆ์อนุญาตให้บอกหรือชี้แจง

              ๑๐ ภิกษุขุดเองหรือใช้ให้ผู้อื่นขุดดิน เป็นอาบัติปาจิตตีย์ (เพราะทำให้สัตว์ที่อยู่ใต้ดิน เสียชีวิตได้ และเป็นกิริยาที่ไม่สุภาพ    เรียบร้อย)

ภูตคาม วรรคที่ ๒ มี ๑๐ ข้อ

              .  ภิกษุตัด หรือ ทอนต้นไม้ที่ยังไม่ตายให้หลุดจากที่ หรือขาดจากต้น เป็นอาบัติปาจิตตีย์

            .  ภิกษุประพฤติอนาจาร ประพฤติไม่ดีงาม เช่น ใบ้หวย     ทำเสน่ห์ เป็นหมอดู เป็นหมอเล่นไสยศาสตร์ สงฆ์เรียกตัวมาถามแกล้งพูดกลบเกลื่อน นิ่งเฉยไม่พูด เมื่อสงฆ์สวดประกาศข้อนั้นจบ เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              ๓ภิกษุติเตียนภิกษุอื่นที่สงฆ์สมมุติ ให้ทำหน้าที่แทน และท่านได้ทำหน้าที่อย่างถูกต้อง แล้ว  แต่กลับติเตียนด้วยความไม่พอใจ เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              ๔. ภิกษุเอาเตียงตั่งเก้าอี้ของสงฆ์ไปตั้งในที่แจ้ง แล้วเมื่อเสร็จธุระไม่เก็บเอง ไม่ใช้ หรือไม่มอบหมายให้ผู้อื่นเก็บ ทิ้งของ เหล่านั้นไว้กลางแจ้ง เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุเอาที่นอนของสงฆ์ปูนอนกุฏิสงฆ์ แล้วไม่เก็บเอง หรือไม่ใช้ผู้อื่นเก็บเป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุรู้ว่ากุฏินี้มีผู้อยู่ก่อน แล้วแกล้งไปนอนเบียดด้วยคิดว่าจะให้ผู้อยู่ก่อน เกิดความรำคาญอึดอัดใจก็จะหลีกไปเอง เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุโกรธเคืองภิกษุอื่น ฉุดกระชากลากดึง ไล่ออกจากกุฏิสงฆ์ เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุนั่งทับนอนทับ บนเตียงบนตั่ง อันมีขาเตียงที่ไม่แน่น ซึ่งเขาวางไว้บนร่างร้านที่เขาเก็บของในกุฏิ เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุจะเอาดิน หรือปูนโบกหลังคากุฏิ โบกได้ความหนาเพียง ๓ ชั้น ถ้าโบกเกินกว่านั้น เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              ๑๐.  ภิกษุรู้ว่าในน้ำนั้นมีตัวสัตว์ แล้วนำไปรดหญ้า หรือดิน เป็นอาบัติปาจิตตีย์

โอวาท วรรคที่ ๓ มี ๑๐ ข้อ

              .  ภิกษุที่สงฆ์ ไม่ได้สมมุติ (ไม่อนุญาต) ให้สั่งสอน แล้วไปสอนนางภิกษุณี เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              ๒. แม้ภิกษุที่สงฆ์สมมุติแล้วไปสอนนางภิกษุณี หลังพระอาทิตย์ตกดิน เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุเข้าไปสอนนางภิกษุณี ถึงในที่อยู่ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่นางภิกษุณีเจ็บป่วย

              .  ภิกษุติเตียนภิกษุ  ที่สงฆ์อนุญาตให้สั่งสอนนางภิกษุณี ว่าสอนนางภิกษุณี เพราะเห็นแก่ลาภ เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุให้จีวรแก่นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่แลกเปลี่ยนกัน

              .  ภิกษุเย็บจีวรให้นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ หรือใช้ให้ผู้อื่นเย็บ เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุชวนนางภิกษุณี เดินทางด้วยกัน แม้ชั่วระยะบ้านหนึ่ง (ชั่วไก่บินตก) เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุชวนนางภิกษุณีลงเรือลำเดียวกัน ขึ้นน้ำ หรือล่องน้ำ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ยกเว้นจะข้ามฝาก

              . ภิกษุรู้ว่า ของที่กำลังฉันเป็นของนางภิกษุณี ที่บังคับให้คฤหัสถ์เขาถวาย เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              ๑๐.  ภิกษุนั่ง หรือนอนในที่ลับตาสองต่อสอง กับนางภิกษุณี เป็นอาบัติปาจิตตีย์

 

โภชน วรรค ๔ มี ๑๐ ข้อ

              .  ภิกษุฉันอาหารในโรงทานทั่วไปได้ เพียงวันเดียว ถ้าฉันเกินตั้งแต่ ๒ วัน ขึ้นไป เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เว้นภิกษุเจ็บไข้

              . ถ้าทายกมานิมนต์ ระบุชื่ออาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง ไปรับของนั้นมาฉันพร้อมกันตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไป เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ ๑) เป็นไข้ ๒) ฤดูทำจีวร ๓) ขณะทำจีวร ๔) เดินทางไกล ๕) ไปทางเรือ ๖) บิณฑบาตไม่พอฉัน ๗) พระภิกษุด้วยกันเป็นเจ้าภาพ

              . ภิกษุรับนิมนต์แห่งหนึ่งด้วยอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ไปฉันในที่นิมนต์ไว้ ไปฉันที่อื่น เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่นิมนต์พระภิกษุอื่นไปแทน หรือฤดูทำจีวร

              .  ภิกษุเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน ได้ขนมมามาก จะรับได้เพียง ๓ บาตร เท่านั้น ถ้ารับเกินกว่านั้น เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ของที่รับมามากเหล่านั้นต้องแบ่งให้ภิกษุอื่น

              . ภิกษุกำลังฉันอยู่ มีผู้นำภัตตาหารมาถวาย ไม่รับภัตตาหารนั้น แล้วลุกจากที่นั่งไปฉันภัตตาหารที่อื่นๆ เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุรู้อยู่ว่า ภิกษุรูปหนึ่งฉันภัตตาหารอิ่มแล้ว แกล้งเอาของเคี้ยวของฉัน ที่ไม่เป็นเดนภิกษุไข้ ไปล่อให้เธอฉัน ถ้าเธอฉันแล้วเป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุฉันของเคี้ยวของฉันที่เป็นอาหารในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เที่ยงแล้ว ไปจนถึงวันใหม่ เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              ๘.  ภิกษุฉันอาหารที่รับประเคนไว้ค้างคืน เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุขอภัตตาหาร ต่อคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา เอามาฉัน  เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              ๑๐. ภิกษุฉันอาหาร ที่ยังไม่ได้รับประเคน เป็นอาบัติปาจิตตีย์

 

อเจลกวรรคที่ ๕ มี ๑๐ ข้อ

              . ภิกษุให้อาหารแก่นักบวชนอกศาสนา หรือนักบวชอื่น ด้วยมือของตน เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุชวนภิกษุอื่นไปเที่ยวบิณฑบาตด้วยกัน แล้วไล่ให้เธอกลับ ไม่ให้ไปบิณฑบาตด้วยหวังให้เธออับอาย เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุเข้าไปนั่งแทรกแซงในขณะที่ฆราวาสกำลังรับประทานอาหารอยู่ เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุนั่งอยู่ในห้อง กับผู้หญิงสองต่อสอง เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุนั่งในที่แจ้ง กับผู้หญิงสองต่อสอง เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุรับนิมนต์ เพื่อฉันภัตตาหารแล้ว จะไปที่อื่นก่อน หรือหลังฉัน ต้องลาภิกษุในวัดก่อน ถ้าไม่ลาเป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ถ้าเขาปวารณาปัจจัย ๔ เพียง ๔ เดือน พึงขอเขาได้เพียงเท่านั้น ถ้าเกินนั้น เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุไปดูกระบวนทัพ ที่เขายกไปที่จะรบกัน เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่มีเหตุ

              ๙.  ถ้าเหตุที่จำเป็นจะต้องอยู่ในกองทัพ พึงอยู่ได้เพียง ๓ วัน ถ้าเกินนั้น เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              ๑๐. ในขณะที่อยู่ในกองทัพนั้น ถ้าไปดูเข้ารบกัน ตรวจพล  จัดกระบวนทัพ หมู่เสนาที่จัดทัพแล้ว เป็นอาบัติปาจิตตีย์

สุราปาน วรรคที่ ๖ มี ๑๐ ข้อ

              .  ภิกษุดื่มสุรา เสพยาเสพติด เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุเอานิ้วจี้ภิกษุ เพื่อให้จั๊กจี้ เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุว่ายน้ำเล่น เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในพระวินัย คือ ไม่เคารพ  นอบน้อมในพระวินัย เมื่อภิกษุอื่นตักเตือนแล้ว ไม่เชื่อฟังโต้เถียง       ดูหมิ่น ยังขืนทำต่อไป เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุหลอกภิกษุอื่นให้กลัวผี เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุก่อไฟเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นก่อให้ เพื่อจะผิง เป็นอาบัติปาจิตตีย์

             .  ภิกษุอยู่ในมัชฌิมประเทศ คือจังหวัดกลางแห่งประเทศอินเดีย ๑๕ วัน จึงอาบน้ำได้ ๑ ครั้ง ถ้ายังไม่ถึง ๑๕ วัน อาบน้ำ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุที่จำเป็นในปัจจันตประเทศ เช่น ประเทศไทยอาบน้ำได้เป็นประจำไม่อาบัติ

           ๘.  ภิกษุได้จีวรใหม่ต้องพินทุ (ทำวงกลมเหมือนหยดน้ำ) ด้วยสี ๓อย่าง คือ เขียว โคลน ดำคล้ำ อย่างใดอย่างหนึ่งก่อน จึงนุ่งห่มได้ ถ้าไม่ทำพินทุก่อนแล้วนุ่งห่ม เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุวิกัป (ฝาก) จีวร แก่ภิกษุ หรือสามเณรแล้ว ผู้รับยังไม่ได้ถอน (ผู้รับฝากยังไม่ได้บอกให้ผู้ฝากเอากลับไปใช้) นุ่งห่มจีวรนั้น เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              ๑๐.  ภิกษุซ่อนบริขาร คือ บาตร จีวร ผ้าปูนั่ง กล่อง เข็ม ประคตเอว สิ่งใดสิ่งหนึ่งของภิกษุอื่น ด้วยคิดว่าจะล้อเล่น เป็นอาบัติปาจิตตีย์

 

สัปปาณวรรคที่    มี  ๑๐  ข้อ

              .  ภิกษุตั้งใจฆ่าสัตว์เดรัจฉาน  เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุรู้อยู่ว่าในน้ำมีตัวสัตว์ ยังบริโภคน้ำนั้น เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุรู้อยู่ว่าอธิกรณ์ (คดีความ) สงฆ์พิจารณาถูกต้องแล้ว  เธอรื้อฟื้นขึ้นมาเพื่อให้สงฆ์พิจารณาใหม่  เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุรู้อยู่ว่าภิกษุอื่น เป็นอาบัติปาราชิก และสังฆาทิเสส กลับปกปิดไว้  เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุ (พระอุปัชฌาย์) รู้อยู่ว่าผู้จะอุปสมบทมีอายุไม่ครบ  ๒๐  ปี  แต่ให้การอุปสมบท  เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              ๖.  ภิกษุรู้อยู่  ชวนพ่อค้าหลบเลี่ยงภาษีเดินทางด้วยกัน  แม้ช่วงระยะบ้านหนึ่ง (ชั่วไก่บินตก) เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุชวนผู้หญิงเดินทางด้วยกัน  แม้ช่วงระยะทางบ้านหนึ่ง  เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุกล่าวคัดค้านธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง  สงฆ์สวดประกาศข้อความนั้นจบ  เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุคบภิกษุผู้กล่าวคัดค้านธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า  คือ  ร่วมกิน  ร่วมนอน  ร่วมสังฆกรรม  เป็นอาบัติปาจิตตีย์

             ๑๐.  ภิกษุเกลี้ยกล่อม สามเณรที่ภิกษุอื่นลงโทษ เพราะกล่าวคัดค้านธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า  ให้มาเป็นอุปัฏฐาก (คนรับใช้)ตน  หรือร่วมกินร่วมนอน  เป็นอาบัติปาจิตตีย์

สหธรรมิกวรรคที่   มี  ๑๒  ข้อ

             .  ภิกษุประพฤติไม่ดีไม่งาม  ภิกษุอื่นตักเตือน  เธอพูดแก้ตัวว่า ยังไม่ถามท่านผู้รู้ จะยังไม่ศึกษาสิกขาบทข้อนี้  เป็นอาบัติปาจิตตีย์   ภิกษุที่ยังไม่รู้เรื่องใด  ควรไตร่ถามท่านผู้รู้

              .  ภิกษุอื่นท่องปาติโมกข์อยู่  ภิกษุแกล้งพูดให้เธอคลายความขยันหมั่นเพียรลง  เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุเป็นอาบัติแล้ว  แกล้งพูดว่า ข้าพเจ้าเพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เอง  ว่าข้อนี้มีในพระปาติโมกข์  ถ้าภิกษุอื่นรู้ว่าเธอเคยรู้มาก่อนแล้ว  แต่แกล้ง

พูดเช่นนั้นเพื่อไม่ให้ผู้อื่นตำหนิตน  สงฆ์พึงสวดประกาศข้อความนั้น  เมื่อสวดประกาศเสร็จแล้ว เธอแกล้งทำไม่รู้อีก  เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุโกรธ แล้วทำร้ายภิกษุอื่น  เช่น  ทุบตี  ชกต่อย  ด้วยตัวเองหรือใช้ให้ผู้อื่นทำ เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุโกรธ  เงื้อมมือทำท่าชกต่อยหรือตี  เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุฟ้องร้อง หรือกล่าวหา ภิกษุอื่น ด้วยอาบัติสังฆาทิเสส       ไม่มีมูล (ไม่เป็นความจริง)  เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              . ภิกษุแกล้งก่อความรำคาญให้เกิดแก่ภิกษุอื่นเป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  เมื่อภิกษุอื่นทะเลาะกันอยู่  ภิกษุแอบไปฟังความ  ไม่ได้มุ่งเหตุอื่น เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุให้ฉันทะ  คือความยินยอม พร้อมใจ  มอบอำนาจให้สงฆ์ทำสังฆกรรมที่เป็นธรรมแล้ว  ภายหลังกลับติเตียนสงฆ์ผู้ทำกรรมนั้น  เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              ๑๐. เมื่อสงฆ์กำลังประชุมกันตัดสินคดีความ  ภิกษุใดอยู่ในที่ประชุมนั้น  จะหลีกเลี่ยงไปในขณะที่ตัดสินคดีความข้อนั้นยังไม่เสร็จ  โดยไม่บอกกล่าวเสียก่อน ภิกษุนั้นเป็นอาบัติปาจิตตีย์

              ๑๑. ภิกษุเห็นชอบด้วยกับสงฆ์ ให้จีวรเป็นรางวัลแก่ภิกษุรูปหนึ่งแล้ว ภายหลังกลับติเตียนสงฆ์ว่า  ให้เพราะเห็นแก่หน้า   เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              ๑๒. ภิกษุรู้อยู่ว่าทายกตั้งใจนำสิ่งของมาถวายแก่สงฆ์  แต่ไปพูดชักนำให้เขาถวายแก่ภิกษุที่เป็นพรรคพวกของตน  เป็นอาบัติปาจิตตีย์

รัตนวรรคที่    มี  ๑๐  ข้อ

               .  ภิกษุไม่ได้รับอนุญาตก่อน  เข้าไปในห้องที่พระเจ้าแผ่นดินประทับอยู่กับพระมเหสี  เป็นอาบัติปาจิตตีย์

              .  ภิกษุเห็นเครื่องบริโภคของคฤหัสถ์ตกอยู่นอกวัด เก็บเอาเป็นของตนเอง หรือให้ผู้อื่นเก็บให้  เป็นอาบัติปาจิตตีย์  เว้นไว้แต่ของนั้นตกอยู่ในวัด   ต้องเก็บไว้ให้เจ้าของ ถ้าไม่เก็บ  เป็นอาบัติทุกกฏ

               .  ภิกษุไม่บอกลาภิกษุอื่นที่มีอยู่ในวัดก่อน เข้าไปบ้านในเวลาวิกาล เป็นอาบัติปาจิตตีย์  เว้นไว้แต่การด่วน

               .  ภิกษุทำกล่องเข็ม ด้วยกระดูก ด้วยงา  และด้วยเขา เป็นอาบัติปาจิตตีย์  ต้องทำลายกล่องนั้นเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก

             . ภิกษุทำเตียงหรือตั่ง พึงทำขาเตียง และตั่งให้สูงเพียง ๘ นิ้วพระสุคต  (๑๐ นิ้ว  ๓ กระเบียดช่างไม้) เว้นไว้แต่แม่แคร่ ถ้าทำให้เกินกำหนดนี้ เป็นอาบัติปาจิตตีย์. ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก.

              .  ภิกษุทำเตียง หรือตั่งหุ้มด้วยนุ่น เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ต้องรื้อเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก

              ๗.  ภิกษุทำผ้าปูนั่ง พึงทำให้ได้ประมาณ คือ  ยาว ๒ คืบ พระสุคต (เท่ากับ  ๕๐ เซนติเมตร)  กว้างคืบครึ่ง  (เท่ากับ  ๓๗.๕๐ เซนติเมตร) ชาย    คืบพระสุคต (เท่ากับ  ๒๕ เซนติเมตร)  ถ้าทำให้เกินกำหนดนี้ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก

             .  ภิกษุทำผ้าปิดแผล พึงทำให้ได้ประมาณ คือ ยาว ๔ คืบพระสุคต (เท่ากับ  ๑๐๐  เซนติเมตร) กว้าง ๒ คืบพระสุคต (เท่ากับ ๕๐ เซนติเมตร) ถ้าทำให้เกินกำหนดนี้ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก

            .  ภิกษุทำผ้าอาบน้ำฝน พึงทำให้ได้ประมาณ  คือ  ยาว ๖ คืบพระสุคต (เท่ากับ  ๑๕๐  เซนติเมตร)กว้าง  คืบครึ่ง (เท่ากับ ๖๒.๕๐ เซนติเมตร)  ถ้าทำให้เกินกำหนดนี้ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก

             ๑๐. ภิกษุทำจีวรให้เท่าจีวรพระสุคต (จีวรของพระพุทธเจ้า)  หรือเกินกว่านั้น เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ประมาณจีวรพระสุคต (จีวรของพระพุทธเจ้า) นั้น ยาว ๙ คืบพระสุคต (๒๒๕  เซนติเมตร)  กว้าง ๖ คืบพระสุคต (๑๕๐ เซนติเมตร)   ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก

. ปาฏิเทสนียะ     ข้อ

              ปาฏิเทสนียะ เป็นชื่อของอาบัติ  แปลว่า  พึงแสดงคืน มี    ข้อ ดังนี้

             . ภิกษุรับของเคี้ยวของฉันแต่มือนางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ด้วยมือของตนมาบริโภค เป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ.

             . ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์ ถ้ามีนางภิกษุณีมาสั่งทายกให้เอาสิ่งนั้นสิ่งนี้ถวาย เธอพึงไล่นางภิกษุณีนั้นให้ถอยไปเสีย ถ้าไม่ไล่ เป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ.

             . ภิกษุไม่เป็นไข้ เขาไม่ได้นิมนต์ รับของเคี้ยวของฉันในตระกูลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ มาบริโภค เป็นอาบัติปาเทสนียะ

             . ภิกษุอยู่ในเสนาสนะป่าเป็นที่เปลี่ยว ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวของฉัน ที่ทายกไม่ได้แจ้งความให้ทราบก่อน ด้วยมือของตนมาบริโภค เป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ

 

. เสขิยวัตร  ๗๕  ข้อ

              วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษาเรียกว่า เสขิยวัตร เสขิยวัตรนั้นจัดเป็น ๔ หมวด หมวดที่ ๑ เรียกว่าสารูป หมวดที่ ๒ เรียกว่า โภชนปฏิสังยุต หมวดที่ ๓ เรียกว่า ธัมมเทสนาปฏิสังยุต หมวดที่ ๔ เรียกว่า ปกิณณกะ

สารูปที่ ๑ มี ๒๖  ข้อ

              . ภิกษุพึงรู้ว่าเราเข้าไปในบ้าน ควรนุ่งห่มให้เรียบร้อย

              . ภิกษุพึงรู้ว่าเราเข้าไปนั่งในบ้าน ควรนุ่งห่มให้เรียบร้อย

              . ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปในบ้าน ควรปิดกายด้วยดี

              . ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปนั่งในบ้าน ควรปิดกายด้วยดี

              . ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปในบ้าน ควรระวังมือเท้าด้วยดี

              . ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปนั่งในบ้าน ควรระวังมือเท้าด้วยดี

              . ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปในบ้าน ควรมีตาทอดลง

              . ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปนั่งในบ้าน ควรมีตาทอดลง

              . ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปในบ้านไม่ควรเลิกผ้าขึ้น

              ๑๐. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปนั่งในบ้าน ไม่ควรเลิกผ้าขึ้น

              ๑๑. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปในบ้าน ไม่ควรหัวเราะเสียงดัง

              ๑๒. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปนั่งในบ้านไม่ควรหัวเราะเสียงดัง

              ๑๓. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปในบ้าน ไม่ควรพูดเสียงดัง

              ๑๔. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปนั่งในบ้านไม่ควรพูดเสียงดัง

              ๑๕. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปในบ้าน ไม่ควรโคลงกาย

              ๑๖. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปนั่งในบ้านไม่ควรโคลงกาย

              ๑๗. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปในบ้าน ไม่ควรไกวแขน

              ๑๘. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปนั่งในบ้านไม่ควรไกวแขน

              ๑๙. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปในบ้าน ไม่ควรสั่นศีรษะ

              ๒๐.ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปนั่งในบ้านไม่ควรสั่นศีรษะ

              ๒๑. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปในบ้าน ไม่ควรเอามือค้ำกาย

              ๒๒. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปนั่งในบ้าน ไม่ควรเอามือค้ำกาย

              ๒๓. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปในบ้าน ไม่ควรเอาผ้าคลุมศีรษะ

              ๒๔. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไปนั่งในบ้าน ไม่ควรเอาผ้าคลุมศีรษะ

              ๒๕.ภิกษุพึงรู้ว่าเมื่อเข้าไปนั่งในบ้านเราไม่ควรเดินกระโหย่งเท้า

              ๒๖. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไม่ควรนั่งกอดเข่าในบ้าน

 

โภชนปฏิสังยุตที่  ๒ มี ๓๐  ข้อ

              . ภิกษุพึงรู้ว่าเราควรรับบิณฑบาตโดยเคารพ

              . ภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อรับบิณฑบาต เราควรแลดูแต่ในบาตร

              . ภิกษุพึงรู้ว่าเราควรรับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก

              .ภิกษุพึงรู้ว่าเราควรรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร

              . ภิกษุพึงรู้ว่าเราควรฉันบิณฑบาตโดยเคารพ

              . ภิกษุพึงรู้ว่าเมื่อฉันบิณฑบาตเราควรมองดูแต่ในบาตร

              . ภิกษุพึงรู้ว่าเราไม่ควรขุดข้าวสุกให้แหว่ง

              . ภิกษุพึงรู้ว่าเราควรฉันแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก

              . ภิกษุพึงรู้ว่าเราไม่ควรขยุ้มข้าวสุกแต่ยอดลงไป

              ๑๐. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไม่ควรกลบแกง หรือกับข้าวด้วยข้าวสุก เพราะอยากจะได้มาก

              ๑๑. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไม่เจ็บไข้ไม่ควรขอแกงหรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน

              ๑๒. ภิกษุพึงรู้ว่าไม่ควรดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะเอาโทษ

              ๑๓.ภิกษุพึงรู้ว่าเราไม่ควรทำคำข้าวให้ใหญ่นัก

              ๑๔. ภิกษุพึงรู้ว่าเราควรทำคำข้าวให้กลมกล่อม

              ๑๕. ภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก เราไม่ควรอ้าปากไว้คอย

              ๑๖. ภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อฉันอยู่ เราไม่ควรเอานิ้วมือสอดเข้าปาก

              ๑๗. ภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อข้าวอยู่ในปากไม่ควรพูด

              ๑๘. ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรโยนคำข้าวเข้าปาก

              ๑๙. ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรฉันกัดคำข้าว

              ๒๐.ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย

              ๒๑. ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรฉันพลางสะบัดมือพลาง

              ๒๒.ภิกษุพึงรู้ว่าเราไม่ควรโปรยเมล็ดข้าวให้ตกลงในบาตรหรือในที่นั้น ในเวลาฉัน

              ๒๓. ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรแลบลิ้น ในเวลาฉัน

              ๒๔. ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรฉันดังจั๊บ ๆ

              ๒๕. ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรฉันดังซู้ด ๆ

              ๒๖. ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรเลียมือในเวลาฉัน 

              ๒๗. ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรขอดบาตรในเวลาฉัน

              ๒๘. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไม่ควรเลียริมฝีปากในเวลาฉัน

              ๒๙. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไม่ควรเอามือเปื้อนจับภาชนะใส่น้ำ

              ๓๐. ภิกษุพึงรู้ว่าเราไม่ควรเอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน

 

ธัมมเทสนาปฏิสังยุตที่ ๓ มี ๑๖  ข้อ

              . ภิกษุพึงรู้ว่าเราไม่ควรแสดงธรรมแก่คนไม่ป่วยมีร่มในมือ (เพราะไม่เคารพในธรรม)

              . ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรแสดงธรรมแก่คนไม่ป่วย มีไม้พลองในมือ (เพราะไม่เคารพในธรรม) 

              . ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรแสดงธรรมแก่คนไม่ป่วย มีศัสตราในมือ (เพราะไม่เคารพในธรรม)

              . ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรแสดงธรรมแก่คนไม่ป่วย  มีอาวุธในมือ (เพราะไม่เคารพในธรรม)

              . ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรแสดงธรรมแก่คนไม่ป่วย  สวมเขียงเท้า หรือรองเท้าไม้ (เพราะไม่เคารพในธรรม)

              . ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรแสดงธรรมแก่คนไม่ป่วย  สวมรองเท้า (เพราะไม่เคารพในธรรม)

               ๗. ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรแสดงธรรมแก่คนไม่ป่วย ไปในยานพาหนะ

              . ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรแสดงธรรมแก่คนไม่ป่วย  อยู่บนที่นอน (เพราะไม่เคารพในธรรม)

              . ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรแสดงธรรมแก่คนไม่ป่วย  นั่งกอดเข่า (เพราะไม่เคารพในธรรม)

              ๑๐. ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรแสดงธรรมแก่คนไม่ป่วย  มีผ้าพันศีรษะ (เพราะไม่เคารพในธรรม)

              ๑๑. ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ควรแสดงธรรมแก่คนไม่ป่วย มีผ้าคลุมศีรษะ (เพราะไม่เคารพในธรรม)

              ๑๒. ภิกษุพึงรู้ว่า เรานั่งบนแผ่นดิน ไม่ควรแสดงธรรมแก่คน   ไม่ป่วย นั่งบนอาสนะ (เพราะไม่เคารพในธรรม)

              ๑๓. ภิกษุพึงรู้ว่า เรานั่งบนอาสนะต่ำ ไม่ควรแสดงธรรมแก่คนไม่ป่วยนั่งบนอาสนะสูง (เพราะไม่เคารพในธรรม)

              ๑๔. ภิกษุพึงรู้ว่า เรายืนอยู่ ไม่ควรแสดงธรรมแก่คนไม่ป่วยผู้นั่งอยู่ (เพราะไม่เคารพในธรรม)

              ๑๕. ภิกษุพึงรู้ว่า เราเดินไปข้างหลัง ไม่ควรแสดงธรรมแก่คน  ไม่ป่วย ผู้เดินไปข้างหน้า (เพราะไม่เคารพในธรรม)

              ๑๖. ภิกษุพึงรู้ว่า เราเดินไปนอกทาง ไม่ควรแสดงธรรมแก่คน ไม่ป่วยผู้ไปในทาง (เพราะไม่เคารพในธรรม)

 

ปกิณณกะที่ ๔ มี ๓  ข้อ

              . ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ป่วย ไม่ควรยืนถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะ

              . ภิกษุพึงรู้ว่า เราไม่ป่วย ไม่ควรถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะบ้วนน้ำลาย  ลงในของเขียว (พืชพันธุ์ไม้)

              . ภิกษุพึงรู้ว่าเราไม่ป่วย ไม่ควรถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนน้ำลาย  ลงในน้ำ

 

๗. อธิกรณสมถะ มี ๗  ข้อ

              อธิกรณสมถะ คือ วิธีระงับอธิกรณ์ (อธิกรณ์ คือ เรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว  สงฆ์จะต้องจัดการให้เรียบร้อย  แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท  คือ  ) วิวาทาธิกรณ์ (เรื่องที่ภิกษุโต้เถียงกัน เกี่ยวกับ พระธรรมวินัย)  ) อนุวาทาธิกรณ์ (เรื่องที่ภิกษุฟ้องร้อง หรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ)  )  อาปัตตาธิกรณ์ (เรื่องที่ว่าด้วยการเป็นอาบัติ  การปรับอาบัติ  และวิธีการออกจากอาบัติ) ) กิจจาธิกรณ์ (เรื่องเกี่ยวกับกิจต่าง ๆ ของพระสงฆ์ เช่น  การให้อุปสมบท) มี ๗ อย่าง คือ

              . สัมมุขาวินัย  คือ  วิธีระงับในที่พร้อมหน้า  ได้แก่ การระงับที่พร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ  คือ

                   )  สงฆ์ประชุมกันครบกำหนด  (พร้อมหน้าสงฆ์)

                   )  บุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น  (พร้อมหน้าบุคคล)

                   )  ยกเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วมาวินิจฉัย  (พร้อมหน้าวัตถุ)

                   )  ผลการวินิจฉัยถูกต้องตามพระธรรมวินัย (พร้อมหน้าธรรม)

            . สติวินัย  คือ  วิธีระงับโดยยกสติขึ้นเป็นหลัก  กล่าวคือ  สวดประกาศให้สมมุติแก่พระอรหันต์ว่าเป็นผู้มีสติสมบูรณ์  เป็นผู้ได้รับการยกเว้นจากอาบัติทุก ๆ อย่าง เพื่อระงับ  อนุวาทาธิกรณ์  ในกรณีที่มีผู้โจทท่านด้วยอาบัติ

            .  อมูฬหวินัย  คือ  วิธีระงับโดยการสวดประกาศสมมติให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว  เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์ในกรณีที่มีผู้โจทด้วยอาบัติที่เธอล่วงละเมิดในขณะเป็นบ้า

          . ปฏิญญาตกรณะ  คือ  วิธีระงับตามคำรับสารภาพของจำเลย กล่าวคือ จำเลยยอมรับสารภาพว่าเป็นอาบัติเช่นใด  ก็ให้ปรับอาบัติตามที่รับ การปลงอาบัติ  จัดเป็นปฏิญญาตกรณะด้วย  วิธีนี้ใช้ระงับเฉพาะ      อาปัตตาธิกรณ์

           .  เยภุยยสิกา  คือ  วิธีระงับด้วยถือเสียงข้างมาก  คือ ตัดสินตามเสียงข้างมาก  (ระบบประชาธิปไตย)  สงฆ์จะใช้วิธีนี้ในกรณีที่บุคคลหลายฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกัน

           .  ตัสสปาปิยสิกา  คือ  วิธีระงับโดยการลงโทษแก่ผู้ทำผิดแล้ว ไม่ยอมรับ  เมื่อสงฆ์พิจารณาตามหลักฐานแล้ว  เห็นว่าภิกษุผู้เป็นจำเลยมีความผิดจริง  ถ้าเธอไม่ยอมรับ  ให้สงฆ์ปรับอาบัติแก่เธอได้  และปรับ

เพิ่มโทษแก่เธอในฐานะที่ทำให้สงฆ์ยุ่งยากในการวินิจฉัยตัดสิน วิธีใช้ระงับ เฉพาะอนุวาทาธิกรณ์

        . ติณวัตถารกวินัย  ระงับโดยการประณีประนอมกัน  คือให้ทั้ง    ฝ่ายยอมความกัน  ไม่ให้ติดใจเอาความกันในเรื่องที่ผ่านมา  สงฆ์ไม่สืบสาวหาความเดิม  วิธีนี้ใช้ระงับอธิกรณ์ที่ยุ่งยาก อาจเป็นอนุวาทาธิกรณ์  หรืออาปัตตาธิกรณ์  เช่น  กรณีพิพาทกันเองของภิกษุชาวเมืองโกสัมพี  วิธีนี้ใช้ระงับเฉพาะอาปัตตาธิกรณ์

              สิกขาบทนอกนี้ ที่ยกขึ้นเป็นอาบัติถุลลัจจัยบ้าง ทุกกฏบ้าง     ทุพภาสิตบ้าง เป็นสิกขาบทไม่ได้มาในพระปาติโมกข์ 

 


สิ่งที่มีมาก ทำให้น้อยลง

             

              สิ่งที่มีมากในที่นี้  คือกิเลส ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ผู้ใดมีความโลภมาก ก็ทุกข์มาก  พระพุทธเจ้าตรัสรู้แจ้งเห็นจริงว่ามนุษย์มีความทุกข์เพราะมีกิเลสทั้ง    อย่างนี้ ซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต แต่ละคนมีกิเลสทั้ง    อย่างนี้ไม่เท่ากัน บางคนมีความหลงมาก ก็แสดงให้เห็นว่ามีความรักใคร่พอใจในสิ่งต่าง ๆ ลุ่มหลงมัวเมาในลาภ ยศ  สรรเสริญ  สุข หลงในรูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  และธรรมารมณ์  ยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งต่าง ๆ เป็นของตน ถ้าสิ่งที่ตนรักต้องมีอันพลัดพรากจากกัน ก็จะเสียใจมากถึงกับจะตายตามกันไปก็มี  นี่คือ มีความหลงมาก ท่านต้องทำให้น้อยลง คือ ให้พิจารณาไตร่ตรองให้ดีว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เรายึดมั่นถือมั่นอยู่นั้น เป็นของเราจริงหรือ จะเป็นพ่อ แม่ พี่ น้อง สามี ภรรยา ลูกหลาน  หรือทรัพย์สมบัติ ยศถาบรรดาศักดิ์  ล้วนเป็นของนอกกายทั้งสิ้น พิจารณาให้ดีซิ ว่าทุกคนต้องตาย แล้วคนที่ตายเขาเอาอะไรไปได้บ้างจะมีพ่อ แม่ พี่น้อง สามี ภรรยา ลูก หลาน หรือมีทรัพย์สมบัติมากมาย มียศฐาบรรดาศักดิ์สูง  มีชื่อเสียงโด่งดัง มีประเทศเป็นของตนเอง (เช่น พระเจ้าแผ่นดิน)  ท่านสวรรคตไปกี่พระองค์แล้ว และมนุษย์ที่เหมือนกันกับเรา  ตายไปแล้วนับไม่ถ้วน เขาเหล่านั้นเอาอะไรติดตัวไปได้บ้าง  เกิดมาแต่ตัวก็ไปแต่ตัว ดังที่เราเห็นด้วยตาของเราเองไม่ใช่หรือ แล้วจะมัวมาหลงยึดถือ ให้เกิดทุกข์ทำไม ท่านต้องการจะให้ทุกข์ที่เกิดจากความหลงน้อยลง ท่านต้องลดความรักในสิ่งนั้น  ท่านรักใคร่พอใจในสิ่งใดมาก ก็ต้องพิจารณาให้เห็นทุกข์กับสิ่งนั้นแล้วลดความรักใคร่พอใจในสิ่งนั้นลง  วันละเล็ก วันละน้อยไปเรื่อย ๆ ทุกข์ที่ท่านมีอยู่กับสิ่งนั้น ๆ ก็จะลดน้อยลง รักน้อยก็ทุกข์น้อย รักมาก็ทุกข์มาก นี่คือ     สัจธรรม  เมื่อมีความหลงก็ต้องมีความโลภตามมา เป็นธรรมดาของมนุษย์ที่มีกิเลส เมื่อมีความพอใจรักใคร่ในสิ่งใด ก็ต้องการสิ่งนั้นมาเป็นของตน  ให้มากไม่มีที่สิ้นสุด  เช่น มีเงินหนึ่งล้านบาท  ก็อยากได้สิบล้าน   ร้อยล้าน  หมื่นล้าน  มีบ้านหนึ่งหลัง ไม่มีเมืองพอ  อยากได้อีกเป็น  สองหลัง  สามหลัง  สี่หลัง ห้าหลัง มีภรรยาหรือสามี  หนึ่งคน  ไม่พอใจ ก็หาคู่เพิ่มอีกเป็นสองคน สามคน  มีรถยนต์หนึ่งคัน ไม่พอ  ก็อยากได้อีก  สองคัน สามคัน  อย่างนี้เป็นต้น  นี่คืออาการของกิเลสที่ชื่อว่า  ความโลภ  ถ้าได้ตามต้องการก็ดีไป ถ้าไม่ได้ตามที่ปรารถนา  กิเลสอีกข้อหนึ่งก็จะแสดงอาการให้เห็น คือ  ความโกรธ  หาทางที่จะให้ได้สิ่งนั้นมาเป็นของตน  ก็จะเกิดการคิดชั่วขึ้น  เช่น  หลอกลวง      จี้ปล้น  ลักขโมย  เป็นต้น  เมื่อได้มาเป็นของตนแล้ว  เกิดความหลง    ก็จะยึดมั่นถือมั่น เมื่อเกิดการสูญหายหรือมีคนมาขโมยไป  ก็จะเกิดความโกรธ คิดอาฆาตพยาบาทเกิดขึ้น เศร้าโศกเสียใจ  ล้วนแล้วแต่สร้างความทุกข์ให้เกิดขึ้นกับตนเอง  และผู้อื่นทั้งสิ้น  เพราะฉะนั้น  เมื่อท่านเข้าใจแล้วว่ากิเลสทั้ง    อย่างนี้ ท่านมีอยู่มากมาย ท่านก็เป็นทุกข์มากแน่นอน พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านทรงสอนให้มนุษย์ชำระ กิเลสทั้ง    อย่างนี้ให้น้อยลง เพื่อท่านจะได้มีความสุขบ้าง นี่คือความหมายของคำว่า  สิ่งที่มีอยู่มาก  ทำให้น้อยลง (คือกิเลส)

 


สิ่งใดที่มีอยู่  ทำให้หมดไป

 

            สิ่งใดที่มีอยู่ทำให้หมดไป  ในที่นี้หมายความว่า  ไม่ให้ยึดมั่น    ถือมั่นในตัวตนเรา เขา กับสิ่งที่เรามี  เช่น  ลาภ  ยศ  สรรเสริญ  สุข  พระ ผู้มีพระภาคเจ้าท่านทรงสอนให้พิจารณาโลกธรรม    คือ  มีลาภ  เสื่อมลาภ  มียศ  เสื่อมยศ  มีสรรเสริญ  ก็มีนินทา  มีสุข ก็ต้องมีทุกข์เป็นของคู่กัน ท่านมิให้เราคิดว่าเรามีสิ่งเหล่านี้แล้ว จะทำให้เราเป็นผู้วิเศษ เหนือ    ผู้อื่นไม่แก่  ไม่เจ็บ ไม่ตาย  ก็ไม่ใช่ ที่จริงมนุษย์เกิดมาแล้วต้องตายทุกคน จะมีทรัพย์มาก  มียศสูง  มีคนสรรเสริญมาก  จะมีความสุขสบายมาก เพียงใด  ก็หนีไม่พ้นความตาย  ตายแล้วจะเอาอะไรติดตัวไปไม่ได้เลย  เรามีความสุข เพราะพอใจในสิ่งใด  สิ่งนั้นก็ทำให้เกิดความทุกข์ทันที  ถ้าเราเกิดความไม่พอใจขึ้น  โกรธกัน  เกลียดกัน  ก็บอกว่าเป็นทุกข์  พระผู้มี     พระภาคเจ้าทรงตรัสสอนไว้ว่า  เกิดมาเป็นมนุษย์มีแต่ความทุกข์ทั้งสิ้น เริ่มตั้งแต่มีตัวตน  ที่ประกอบไปด้วยธาตุ ๔  ขันธ์    และสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา  ล้วนแล้วแต่ทำให้เราเป็นทุกข์ทั้งสิ้น  เมื่อเห็นดังนี้แล้ว ก็ค่อยคลายความรักใคร่พอใจ  ในสิ่งต่าง ๆ ที่มีทุกข์ก็จะคลาย  ความสบายใจก็จะตามมา เมื่อเราคลายความยึดมั่นถือมั่น ในลาภยศ สรรเสริญ  สุข  รูป เสียง  กลิ่น รส  สัมผัส  ธรรมารมณ์  ในใจท่าน  ความทุกข์ก็น้อยลง  เมื่อท่านคิดได้ปลงตก ตามพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ท่านทิ้ง      พระโอรส  ทิ้งพระมเหสี  พระราชบิดา  พระราชมารดา  และทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาลออกบวช  เพราะท่านเห็นว่าสิ่งต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้  ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ทั้งสิ้น  พระองค์ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ ที่มี  พระองค์ทรงปฏิบัติจนสำเร็จตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า  เพราะท่านทำสิ่งที่มีอยู่ให้หมดไป เราเป็นชาวพุทธก็น่าจะปฏิบัติตาม  พระองค์ท่านอย่างจริงจัง  จริงใจ  และต่อเนื่อง เพื่อเข้าสู่แดนวิมุตติ หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด  นี่คือ  ความหมายของคำว่า  สิ่งใดที่มีอยู่ทำให้หมดไป

 

 


 

บรรณานุกรม

 

            นวโกวาท  ( ฉบับประชาชน )  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า        กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  โรงพิมพ์  มหามกุฏราชวิทยาลัย  หน้า     วัดบวรนิเวศน์วิหาร  กรุงเทพฯ  พลอากาศเอก  หะริน  หงสกุล  ผู้พิมพ์      ผู้โฆษณา  .. ๒๕๔๓

 


ความคิดเห็น

  1. 1
    คนไกล
    คนไกล 14/05/2011 18:36

    ในคำอธิบาย ขอแก้ไขจำนวนครับ
    ข้อ 2 (สุทธิก) ปาจิตตีย์ 9 วรรค จำนวน 92 ข้อ ไม่ใช่ 62 ข้อ???

  2. 2
    07/09/2016 19:11

    เจริญพร สังฆาทิเสสข้อที่3  และข้อที่4 ท่านห้ามพูดเกี้ยวหรือว่าพูดชักชวนกับมาตุคามเท่านั้น ถึงเป็นสังฆาทิเสส


    ส่วนยถ้าพูดเกี้ยวหรือชักชวนบัณเฑาะว์ (กระเทย) ในเรื่องทางเพศเป็นอาบัติถุลลัจจัย


แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view