http://www.porjarearntum.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ05/04/2009
อัพเดท06/09/2022
ผู้เข้าชม712,266
เปิดเพจ963,764

บริการ

หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ติดต่อเรา

บทกลอนธรรมะ

จูงมือลูกเดิน

ระลึกได้และรู้ตัวหมายความว่าอย่างไร

รัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

อันตรายของภิกษุ สามเณร ผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง

ความจริงอันประเสริฐที่ควรรู้ ๔ ประการ

ธรรมะอันทำให้งาม มี ๒ ประการ

ธรรมคุ้มครองโลก

เสียงเทศน์ทำใหม่ล่าสุด

วงล้อแห่งพระธรรมที่นำไปสู่ความเจริญ ๔ อย่าง

ทุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

สุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

วิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการ หมายความว่าอย่างไร

คุณของรัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด

มูลเหตุของความโง่เขลา

มูลเหตุของความฉลาด

ท่านรู้จักตนเองว่ามีกิเลสหรือไม่ ต้องพิจารณาอย่างไร

ท่านรู้จักมนุษย์ ๔ ประเภทหรือยัง ?

คิดดี พูดดี ทำดี

ความสุข ความทุกข์ ความสบาย แตกต่างกันอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ

ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบและเกิดปัญญา

ศาสนาคืออะไร

ป่วยกาย ป่วยใจ หมายความว่าอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ (เนื้อหา)

ทำความดีเพื่ออะไร

คุณธรรม ๕ ประการ สนับสนุนความสำเร็จ

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมายความว่าอย่างไร

ศีล ในพระพุทธศาสนา ๒๒๗ ข้อ ภาคภาษาไทย อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ปัจจัย ๔ รูปธรรม และ ปัจจัย ๔ นามธรรม

มนุษย์ เป็นโรค ๔ อย่าง บ้า ใบ้ บอด หนวก

ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาปหมายความว่าอย่างไร

ระวังจิต ระวังอารมณ์ หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา มีจริงหรือไม่

จิตสงบ จิตว่าง แตกต่างกันอย่างไร

อยากรู้ อยากห็น อยากเป็น อยากไป หมายความว่าอย่างไร

มืดมามืดไป และสว่างมาสว่างไป หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่มีมาก ทำให้น้อยลง สิ่งที่มีอยู่ทำให้หมดไป

ความเห็นแก่ตัว กับการรักตัวเอง

ท่านพบเห็นเมืองพอแล้วหรือยัง

การทำความชั่วเพราะเหตุ ๔ ประการ

รู้จด รู้จำ รู้แจ้ง หมายความว่าอย่างไร

สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ฟังธรรมเป็นยาฉีด จริงหรือ

ผู้ที่ไม่แต่งงาน จะตกนรก จริงหรือไม่

มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ

ก็ต้อง ก็ได้ ก็ดี หมายความว่าอย่างไร

บันใด ๘ ขั้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

งามทั้ง กาย วาจา ใจ

ผู้ที่ฝีกสมาธินาน ๆ ไม่เกิดปัญญาเพราะเหตุใด

คิดอย่างไรจึงไม่เกิดทุกข์

จิตใต้สำนึก

คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ

ทำใจ หมายความว่าอย่างไร

ประเพณีงานศพที่ถูกต้อง... เหตุใดจึงต้องเผาศพ...

ความเบื่อของปุถุชนกับความเบื่อของพระอริยะ

พระราชดำรัส คุณธรรม ๔ ประการ(เนื้อหา)

มีสิ่งใด สิ่งนั้นก็เสื่อม

บวชเพื่ออะไร

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือ

ทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์

บุคคลที่หาได้ยาก ความกตัญญูกตเวที

การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดหรือถูก...

ความหวัง

มืดมาสว่างไป สว่างมามืดไป หมายความว่าอย่างไร

ผู้ที่ขัดขวางการปฏิบัติธรรม มีโทษอย่างไร

แผ่นพับธรรมะ

รวมกลอนธรรมะ

โหลดกลอนธรรมะ(PDF)

 

 บทกลอนธรรมะ

   

แก้วสามประการ 

       รัตนตรัย                  
ให้ห่วง                           ในดวงจิต                       
สุขุมคิด
ตรึกตรอง เป็นหนักหนา
คิดถึงคุณ
ขององค์ พระศาสดา
ช่างล้ำค่า
เหนือสิ่งใด ในโลกีย์
       อันพระธรรม
คำสอน วอนให้คิด
ใครยึดติด
ถ้อยคำ พระชินสีห์
เขาเหล่านั้น
ตั้งตน เป็นคนดี
จะสุขี
ไร้ทุกข์ สุขสบาย
       อันพระสงฆ์
องค์ใด ได้ปฏิบัติ
เห็นเด่นชัด
ขัดเกลา กิเลสหาย
เป็นทายาท
ศาสดา
หาใช่ใคร
ควรกราบไหว้
บูชา เป็นอาจารย์
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
สิ่งล้ำค่า
ทั้งสามนี้ ดีมหันต์
ใครมีแล้ว
นำมาใช้ เป็นได้การ
ความสุขสันต์
เกิดขึ้น ชื่นหัวใจ

 

สามัญลักษณ์

       อนิจจัง                    คือไม่เที่ยง                      เลี่ยงไม่ได้                      
ต้องเปลี่ยนไป ใครไม่รู้ ดูสับสน
เกิดมาแล้ว ก็ต้องแก่ กันทุกคน
หนีไม่พ้น ต้องเจ็บป่วย ม้วยชีวี
       อันทุกขัง คือความทุกข์ สุขไม่ใช่
เมื่อเกิดใหม่ ก็เริ่มทุกข์ ไม่สุขี
ยิ่งเกิดนาน ทุกข์ยิ่งมาก ยากเต็มที
ลาภยศมี          ก็เป็นทุกข์ ไม่สุขใจ
       อนัตตา คือสูญเปล่า เราเฝ้าคิด
ทุกชนิด ต้องดับสูญ อย่าสงสัย
แม้ตัวเรา ก็ต้องเข้า ในกองไฟ
สูญสลาย มอดม้วย ไปด้วยกัน
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า มีแต่ทุกข์ ไม่สุขสันต์
มัวหลงเพลิน เพราะไม่รู้ อยู่ทุกวัน
ลุ่มหลงกัน เป็นตัวข้า น่าอับอาย

 

บอด หนวก ใบ้ บ้า

       คนตาบอด                ของแม่                           แลไม่เห็น                       
ดังเฉกเช่น ความดี มีมากหลาย
แต่ความชั่ว นั่นเล่า กลับเข้าใจ
มองเห็นไว ชอบทำ อยู่ร่ำไป
       คนหูหนวก ของแม่ แน่แล้วเสียง
อันสำเนียง ที่ดี มีไฉน
มิได้ยิน คำสอน ทุกตอนไป
เสียงชั่วไซร้ กลับตอบ ชอบทำลาย
       คนเป็นใบ้ ของแม่ แย่สักหน่อย
ชอบพูดพล่อย คำชั่ว มั่วเหลือหลาย
คำดีดี พูดไม่เป็น เห็นน่าอาย
ชอบทำลาย ผู้อื่น ชื่นชีวา
       คนเป็นบ้า ของแม่ แย่ยิ่งนัก
ความหลงรัก พอใจ ใฝ่ฝันหา
ได้มาแล้ว ยึดมั่น ไม่ร้างรา
ใครจะมา เอาไป ยอมตายแทน
       ขอทุกท่าน จงคิด จิตเศร้าโศก
เราเป็นโรค ทั้งสี่ นี้เศร้าแสน
จงหายา มารักษา หย่าขาดแคลน
ตระหนักแน่น ในใจ จงไตร่ตรอง
       อันคำสอน ของพระองค์ ผู้ทรงเดช
เป็นยาวิเศษ รักษาใจ คลายเศร้าหมอง
จงใส่ใจ ประพฤติธรรม ตามครรลอง
ให้ถูกต้อง ทุกประโยค โรคจะคลาย

 

มนุษย์ ๔ ประเภท

       มนุษย์ใด                  ไร้ธรรม                           ประจำจิต                       
เฝ้าแต่คิด เบียดเบียน เพียรใฝ่หา
เอาเงินทอง ของผู้อื่น เลี้ยงกายา
พระองค์ว่า เป็นเปรต ทุเรศนาน
       มนุษย์ใด ไร้ธรรม ประจำใจ
ท่านว่าไว้ เฉกเช่น เป็นเดรัจฉาน
ไม่รู้คุณ พ่อแม่ ครูอาจารย์
มีสันดาน ชั่วชาติ ขาดปัญญา
       มนุษย์ใด มีธรรม ค้ำจุนจิต
เฝ้าควรคิด หาธรรม นำรักษา
ทำดีบ้าง ทำชั่วบ้าง บางเวลา
พระองค์ว่า เป็นมนุษย์ ตลอดกาล
       มนุษย์ใด ใจเป็นเทพ เสพความสุข
ใครเป็นทุกข์ เขาคิดช่วย ด้วยสงสาร
มีเมตตา           ปราณี เป็นสันดาน
จิตชื่นบาน อุเบกขา พาสุขใจ
       ขอทุกท่าน ควรคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า นั้นอยู่ ประเภทไหน
ทำดีชั่ว เรารู้ อยู่แก่ใจ
ไม่มีใคร รู้เท่า เราคนทำ

 

โลภ โกรธ หลง

       โลภโกรธหลง            ปลงไม่ได้                        ใครเคยคิด                      
มันมาติด ที่หัวใจ ใครรู้บ้าง
เมื่อยามโลภ อยากได้ ใครจะวาง
กลับหาทาง เอามัน ให้ทันใจ
       ยามเจ้าโกรธ พิโรธนัก ปักดวงจิต
เจ้าเฝ้าคิด ทำลาย ให้ตายได้
คิดอิจฉา ด่าทอ ขอให้ตาย
คิดทำลาย แม้สมบัติ อัศจรรย์
       ยามเจ้าหลง คงคิด จิตยึดมั่น
หลงรักกัน เป็นของข้า น่าขบขัน
ได้มาแล้ว ก็หวงแหน แสนรักมัน
ก็นับวัน เป็นทุกข์ สุขไม่มี

 

บวชกาย  บวชใจ 

      พระพุทธองค์               ท่านทรง                         ให้ออกบวช                    
ก็เพื่อตรวจ กิเลส ประเภทนี้
แต่ผู้บวช มิได้ตรวจ กันสักที
จึงไม่มี ใครพราก จากโลกีย์
       ท่านให้บวช เพื่อชำระ สละกิเลส
เพราะเป็นเหตุ เศร้าหมอง ไม่ผ่องศรี
มันหมักดอง ในสันดาน ทุกท่านมี
ท่านปราณี สอนไว้ ใส่ใจกาย
       บ้างก็บวช เพื่อประเพณี หนีไม่พ้น
ไม่ฝึกตน ตามสิกขา ท่านว่าไว้
บวชกันแล้ว ก็รีบสึก นึกพอใจ
ข้าจะได้ มีลูกเมีย ได้เสียที
       บ้างก็บวช เพราะแก่ แย่แล้วข้า
เข้าไปหา กินข้าววัด น่าบัดสี
กินแล้วนอน นอนแล้วกิน พอสิ้นปี
พรรษามี มากหน่อย คอยวันตาย
       บ้างก็บวช แก้บน ให้พ้นผิด
บวชกันนิด แล้วก็สึก นึกใจหาย
ไม่รู้ศีล ไม่รู้ธรรม ประจำใจ
สึกออกไป ก็ทำชั่ว มั่วโลกีย์
       บ้างบวชนาน เป็นสมภาร วานเฝ้าวัด
มิกำจัด เครื่องเศร้าหมอง ให้ผ่องศรี
กิเลสหนา พาเป็น เห็นมากมี
ไม่เป็นที่ เคารพ นบกราบไหว้            
       บางท่านบวช เพื่อชำระ สละกิเลส
เข้าหาเพศ บรรพชิต จิตแจ่มใส
รักษาศีล ภาวนา อยู่ร่ำไป
ไม่ใส่ใจ ทางโลก ท่านโชคดี
       บางท่านบวช เพื่อเรียนรู้ เป็นครูสอน
ได้แต่วอน สอนคนอื่น ทุกทุกที่
ไม่เคยสอน ตัวเอง เลยสักที
ชั่วชีวี ก็ไม่พ้น วนเวียนไป
       บางท่านบวช แล้วละได้ ไร้อาสวะ
เป็นอริยะ จิตประเสริฐ เลิศผ่องใส
หมดทั้งทุกข์ หมดทั้งโศก เหนือใครใคร
จงใส่ใจ เคารพ นบนอบเอย

 

บวชชี เพราะหนีชาย

       บ้างบวชชี                หนีชาย                          หมายไม่สึก                     
พอดึกดึก นึกถึงเขา เศร้าหมองศรี
คิดไปมา ว่าจะทำ อย่างไรดี
สึกอีกที เพื่ออยู่  ร่วมคู่กัน
       บ้างบวชชี อยู่นาน ไม่ขานไข
ไม่ใส่ใจ ในธรรมะ น่าขบขัน
กิเลสหนา พาเป็น เห็นทุกวัน
แย่งชิงกัน เป็นใหญ่ น่าอายคน
       บ้างบวชชี เพราะใส่ใจ ในธรรมะ
แม้ใครจะ ว่าอย่างไร ก็ไม่สน
เร่งศึกษา หาความรู้ มาสู่ตน
นั่นแหละคน ที่ดี มีปัญญา
       บ้างบวชชี เพราะแก่ แย่สักหน่อย
ชอบพูดพล่อย คำหยาบ บาปหนักหนา
บอกไม่ได้ สอนไม่ได้ ให้ระอา
ไร้ปัญญา ช่างไม่รู้ อดสูใจ
       บ้างบวชชี อยู่นาน พาลรักพระ
ได้จังหวะ พากันสึก นึกสงสัย
รักษาศีล ภาวนา             กันอย่างไร
ในหัวใจ กิเลสหนา น่าอายคน
       บ้างบวชชี เพราะรักพระ สละบ้าน
มาเฝ้าท่าน อยู่ที่วัด ดูขัดสน
ใครจะมา เข้าใกล้ ให้กังวล
เป็นของตน ข้าไม่ไห้ ใครเข้ามา
       บ้างบวชชี เพราะอยากได้ ของในวัด
ให้ข้องขัด ถ้าไม่ได้ สมปรารถนา
เที่ยวสอดส่อง มองดู ผู้นำมา
เมื่อไหร่หนา คนเผลอ เป็นเจอดี
       บ้างบวชชี เพราะผัวตาย เสียดายนัก
เพราะความรัก ทำให้ทุกข์ ไม่สุขี
เข้าศึกษา หาพระธรรม ในคัมภีร์
ปัญญามี          คลายทุกข์ เป็นสุขใจ
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า บวชอยู่ ประเภทไหน
ทำดีแล้ว ก็จงทำ กันต่อไป
ไม่ดีไซร้ จงกลับตน เป็นคนดี

 

ธรรมมีอุปการะมาก  ( สติ  สัมปชัญญะ )

       อันสติ                     คือระลึกได้                       ใครเคยเห็น                     
เพราะมันเป็น นามธรรม ตามท่านว่า
คิดดีชั่ว ระลึกรู้ อยู่ทุกครา
ทั้งวาจา
กายใจ เฝ้าไตร่ตรอง
       สัมปชัญญะ คือรู้ตัว ชั่วหรือดี
เลือกทำที่ ให้กาย ไม่เศร้าหมอง
รู้เวลา รู้กาละ คอยประครอง
ให้กายต้อง รู้เทศะ จะเจริญ


ธรรมคุ้มครองโลก ( หิริ  โอตตัปปะ )

       อันหิริ                      คือละอาย                        ในความบาป                   
โปรดจงทราบ ทำชั่ว ตัวเราเห็น
วาจาใจ กายชั่ว ตัวเราเป็น
ใครไม่เห็น เราก็ทุกข์ สุขไม่มี
       โอตตัปปะ คือเกรงกลัว ชั่วเกิดขึ้น
อย่าได้ฝืน ทำความชั่ว ตัวหมองศรี
แม้ทำแล้ว ใครไม่เห็น เป็นไม่ดี
ไม่ผ่องศรี น่าอดสู รู้แก่ใจ
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า เคยทำชั่ว ไว้บ้างไหม
ถ้าเคยทำ ก็ต้องจำ ไว้ใส่ใจ
ให้ละอาย ต่อความชั่ว กลัวบาปเอย


ธรรมอันทำให้งาม ( ขันติ  โสรัจจะ ) 

       อันขันติ                    คืออดทน                         คนควรคิด                       
มิยึดติด ความทุกข์ ไม่สุขี
จงอดทน รับกรรม ทำไม่ดี
ในชาตินี้ จึงทุกข์ สุขไม่เป็น
       ต้องอดทน รันทด ความอดอยาก
ทนลำบาก ทางใจ ใครไม่เห็น
ทนเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ แสนลำเค็ญ
ทั้งเจ็บเป็น ป่วยไข้ แม้กายเย็น
       โสรัจจะ คือเสงี่ยม เจียมตัวไว้
ระวังกาย ให้สงบ เมื่อพบเห็น
กิริยา มารยาท ทำให้เป็น
ตัวอย่างเช่น คนดี มีจรรยา
       จะรู้สึก ดีใจ หรือเสียใจ
เสงี่ยมไว้ อย่าให้ออก มานอกหน้า
จะเจ็บแค้น แสนปวด ในอุรา
ต้องรักษา มารยาทไว้ ให้งามตา
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าอดทน กับสิ่งใด ได้บ้างหนา
ถ้าทนได้ ก็ดูงาม อร่ามตา
ทั้งวาจา กายใจ ใช่คนดี

 

บุคคลที่หาได้ยาก  ( กตัญญู  กตเวที )

       บุพพการี                  คือผู้มี                            อุปการะ                         
เราควรจะ ตรองดู ให้รู้แน่
มีใครบ้าง เลี้ยงดู ผู้เหลียวแล
ทั้งพ่อแม่ ท่านผู้รู้ ครูอาจารย์
       กตัญญู คือรู้คุณ หนุนเราไว้
ท่านสอนให้ เราจำ พร่ำไขขาน
ว่าทำดี ได้ดี มีมานาน
พระคุณท่าน มากล้น จนวันตาย
       กตเวที คือตอบแทน แน่นในจิต
เราควรคิด แทนคุณ บุญเหลือหลาย
มีโอกาส จงรีบทำ อย่าร่ำไร
จงใส่ใจ แทนคุณท่าน นั้นอย่าลืม
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า มีธรรม เหล่านี้หรือ
หากไม่มี จงสร้างขึ้น ให้เลื่องลือ
ให้สมชื่อ กตัญญู ผู้รู้คุณ

 

คนเกิดมาไม่เหมือนกัน (เพราะกฎแห่งกรรม)

       บ้างเกิดมา                ทั้งรูปสวย                        ทั้งรวยทรัพย์                   
จิตน้อมรับ ในพระธรรม ไม่นิ่งเฉย
ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ น่าชมเชย
ขอเฉลย ว่าเป็นสุข ทุกข์ไม่มี
       บ้างเกิดมา ทั้งรูปสวย รวยทั้งทรัพย์
แต่จิตกลับ เศร้าหมอง ไม่ผ่องศรี
ขาดทั้งศีล ขาดทั้งทาน พาลสิ้นดี
หัวใจมี แต่ตัณหา หน้ามืดมน
       บ้างเกิดมา ทั้งไม่สวย ไม่รวยทรัพย์
แต่จิตกลับ ผ่องใส ไม่สับสน
มีทั้งศีล มีทั้งทาน ไม่พาลคน
เพราะฝึกตน ธรรมะช่วย ดูสวยงาม
       บ้างเกิดมา ไม่สวย แต่รวยทรัพย์
มีบ้านนับ มีบ้านนับ หนึ่งสองสาม
ไม่ตระหนี่ เหนียวแน่น ดูแสนงาม
แม้รูปทราม แต่ใจดี มีเมตตา
       บ้างเกิดมา รูปสวย ไม่รวยทรัพย์
แต่จิตกลับ ลุ่มหลง ในตัณหา
ใช้รูปสวย หลอกลวง ปวงประชา
สวยแต่หน้า ใจช่างทราม ไม่งามเลย
       บ้างเกิดมา โง่เขลา เบาปัญญา
เป็นใบ้บ้า น่าสงสาร นะท่านเอ๋ย
ไม่รู้บาปบุญ คุณโทษ ประโยชน์เลย
เจ้าทรามเชย รับกรรมชั่ว ตัวทำมา
       บ้างเกิดมา ตาบอด มองไม่เห็น
มันก็เป็น เพราะกรรม อย่ากังขา
ทำกรรมชั่ว จึงติดตัว ตามตนมา
ต้องก้มหน้า ทนทุกข์ ไม่สุขใจ
       บ้างเกิดมา น่าเศร้าแสน แขนขาขาด
น่าอนาถ ชาติก่อน อย่าสงสัย
เคยตัดแขน ตัดขา สัตว์ใดใด
ชาตินี้ไซร้ ต้องรับกรรม ทำมานาน
       บ้างเกิดมา มีนิสัย ที่เรียบร้อย
ดูอ่อนช้อย กิริยา น่าสงสาร
ทั้งวาจา หรือก็หวาน ปานน้ำตาล
แต่สันดาน ในหัวใจ หาใช่คน
       ปากนั้นหรือ ปราศรัย ใจเชือดคอ
คำหวานล่อ ผู้อื่น ให้สับสน
หาประโยชน์ นานา มาใส่ตน
ช่างฉ้อฉล อับเฉา น่าเศร้าใจ
       บ้างเกิดมา มีนิสัย ไม่เรียบร้อย
อะไรหน่อย พูดโผงผาง ช่างหวั่นไหว
แต่เป็นคน ที่ดี มีน้ำใจ
ปัญญาไว คอยช่วยเหลือ เกื้อกูลจริง
       บ้างเกิดมา มีนิสัย ชอบฆ่าสัตว์
จิตประวัติ แต่เนื้อเขา ผีเข้าสิง
ไม่ว่าสัตว์ เหล่าใด ข้าก็ยิง
ใจบาปจริง น่าอนาถ ขาดปัญญา
       บ้างเกิดมา มีนิสัย ชอบในกาม
งามไม่งาม เมื่อได้เห็น เกิดตัณหา
ทำทุกอย่าง เพื่อให้ได้ คนนั้นมา
สมอุรา แล้วก็ทิ้ง น่าชิงชัง
       บ้างเกิดมา มีนิสัย ชอบความสวย
รวยไม่รวย ข้าก็แต่ง ให้สมหวัง
แต่งให้สวย ให้งาม เพื่อความดัง
ก็เพราะหวัง ให้คนอื่น เขาชื่นชม
       บ้างเกิดมา มีนิสัย หลงในยศ
จะพูดปด เขาก็ยอม น่าขื่นขม
จะเสียทรัพย์ เงินทอง ของนิยม
จะตรอมตรม เพียงใด ขอได้มัน
       บ้างเกิดมา มีนิสัย ใจอิจฉา
กายวาจา ทุจริต น่าขบขัน
ใครได้ดี มีสุข ทุกข์ฉับพลัน
คิดกีดกัน คิดทำลาย น่าอายจริง
       บ้างเกิดมา มีนิสัย ใจบริสุทธิ์
เห็นมนุษย์ ทุกข์ยาก ไม่อยู่นิ่ง
เข้าช่วยเหลือ จุนเจือ ด้วยใจจริง
ช่วยทุกสิ่ง ให้พ้นทุกข์ เขาสุขใจ
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า มีอยู่ ในข้อไหน
แม้นดีแล้ว จงทำดี กันต่อไป
แม้นถูกใคร ก็ขอโทษ โปรดอภัย

 

ทุจริต  ๓  อย่าง  ( ประพฤติชั่วทาง  กาย  วาจา  ใจ )

       ประพฤติชั่ว                ทางกาย                         ให้น่าคิด                        
ประพฤติผิด ในกาม ไม่งามแน่
ทั้งฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต จิตผันแปร
ไม่งามแน่ ทั้งลักทรัพย์ อับปัญญา
       ประพฤติชั่ว ทางวาจา ก็น่าเกลียด
พูดส่อเสียด ไม่ดี มีปัญหา
ทั้งพูดปด หลอกลวง ปวงประชา
ทั้งยังด่า หยาบคาย ไม่อายคน
       ประพฤติชั่ว ทางใจ ใช่แล้วจิต
ความเห็นผิด ครรลอง มองสับสน
โลภอยากได้ ของผู้อื่น เป็นของตน
คิดฆ่าคน ก็ได้ ใจไม่ดี
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า ประพฤติผิด ทั้งสามนี้
จงกลับใจ กลับคำ ทำความดี
จะผ่องศรี เบิกบาน ท่านจงทำ

 

สุจริต  ๓  อย่าง  ( ประพฤติชอบด้วย  กาย  วาจา  ใจ )

       ประพฤติชอบ             ทางกาย                         ไม่วายคิด                       
เว้นทำผิด ในกาม งามเหลือหลาย
ไม่ฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต ของใครใคร
ฉ้อโกงไซร้ ก็งดเว้น เห็นไม่ดี
       ประพฤติชอบ ทางวาจา ก็น่าคิด
ไม่พูดผิด เพ้อเจ้อ ให้บัดสี
ไม่ส่อเสียด เกลียดชัง กลับหวังดี
ใช้วจี ให้ถูก คงสุขใจ
       ประพฤติชอบ ทางใจ ใช่แล้วจิต
ใครทำผิด มีเมตตา อภัยให้
คิดช่วยเหลือ เผื่อแผ่ อย่างแน่ใจ
อยากจะให้ เป็นสุข กันทุกคน
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า ประพฤติชอบ ไม่สับสน
ทำดีแล้ว จงทำต่อ ขอนิมนต์
ไม่อับจน ปัญญา พาสุขเอย

 

สังวรธรรม (ระวังใจ  ๔ อย่าง)

       ระวังใจ                    ไม่ให้                             กำหนัดเกิด                     
ระวังเถิด ในอารมณ์ อย่าหวั่นไหว
แม้รูปรส กลิ่นเสียง สัมผัสใด
ระวังใจ มิให้ตั้ง ดังต้องการ
       ระวังใจ ไม่ขัดเคือง เรื่องอื่นอื่น
จงอย่าตื่น ในถ้อยคำ เขาพร่ำขาน
เรื่องรูปรส กลิ่นเสียง เถียงกันนาน
ระวังมัน อย่าขัดเคือง ทุกเรื่องไป
       ระวังใจ ไม่ให้หลง โปรดจงคิด
อย่ายึดติด กับทุกสิ่ง ไม่หวั่นไหว
แม้รูปรส กลิ่นเสียง สัมผัสใด
ระวังใจ มิให้ ไปกังวล
       ระวังใจ ไม่มัวเมา เฝ้ารักษา
มีปัญญา ตรองดู รู้เหตุผล
แม้นมัวเมา ในสิ่งใด ใจมืดมน
ระวังตน อย่าทำชั่ว มั่วโลกีย์
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าใจข้า เศร้าหมอง หรือผ่องศรี
ใครระวัง ได้แล้ว เป็นคนดี
จะสุขี ไร้ทุกข์ สุขสบาย

 

อามิสทาน การให้ทรัพย์

       คำว่าทาน                 นั้นหรือ                           คือการให้                       
ท่านสอนไว้ ให้แบ่ง ด้วยเหตุผล
ถ้าจะให้ ก็ต้องดู ก่อนผู้คน
ว่าเขาจน หรือมี ดีหรือเลว
       บางคนให้ ด้วยใจ ไม่บริสุทธิ์
มันเป็นจุด ให้เกิด ความล้มเหลว
เพื่อหวังสิ่ง ตอบแทน ให้เกิดเร็ว
เมื่อล้มเหลว ก็เลิกให้ ใจไม่ดี
       บางคนให้ ด้วยใจ อันบริสุทธิ์
เพื่อนมนุษย์ เกิดทุกข์ ไม่สุขี
มีอะไร ก็แบ่งให้ ไปด้วยดี
ไม่หวังมี สิ่งตอบแทน แต่อย่างใด
       บางคนให้ เพราะไม่รู้ ดูสับสน
ให้กับคน ชั่วช้า น่าใจหาย
เสียทรัพย์สิน เงินทอง ของมากมาย
เหมือนทำลาย ทรัพย์ของตน จนปัญญา
       บางคนให้ แสนละเหี่ย เสียไม่ได้
จำต้องให้ เพราะกลัว มีปัญหา
ทั้งเสียดาย ทั้งโกรธ หมดปัญญา
กลัวเสียหน้า ก็ต้องให้ ใจแทบพัง
       บางคนให้ แล้วเสียดาย น่าอายนัก
ทั้งแช่งชัก หักกระดูก เขาตามหลัง
เห็นเขาให้ ก็ต้องให้ น่าอายจัง
เพราะไม่หวัง ที่จะให้ กับใครเลย
       บางคนให้ เพราะประเพณี หนีไม่พ้น
จำต้องทน แบ่งให้ ไม่นิ่งเฉย
ถ้าไม่ใช่ วันพระ ก็ละเลย
เจ้าไม่เคย ใส่ใจ การให้ทาน
       บางคนให้ เพราะติด จิตยึดมั่น
กลับขยัน ให้แต่พระ น่าสงสาร
ไม่ได้ดู ว่าสงฆ์ใด ควรให้ทาน
จิตชื่นบาน เพราะได้ให้ ตามใจตน
       เมื่อให้แล้ว ก็จะได้ ในชาตินี้
เป็นผู้มี เมตตา มหากุศล
อันชาติหน้า นั้นเล่า อย่ากังวล
เกิดเป็นคน รวยทรัพย์ ไม่อับจน

 

วิทยาทาน

       วิทยาทาน                ก็อีกหนึ่ง                         ซึ่งต้องให้                       
คือความรู้ ใดใด ไม่ขัดสน
ที่เรามี ก็ใส่ใจ ให้ผู้คน
เป็นกุศล มหาศาล ท่านจงทาน
       สอนให้เขา รู้วิชา ท่านว่าเลิศ
จะประเสริฐ กว่าให้ทรัพย์ มหาศาล
เมื่อรู้แล้ว ตั้งให้เที่ยง เลี้ยงชีวัน
วิชานั้น ที่ท่านให้ ใส่ใจดู
       นำวิชา ความรู้ ที่ครูสอน
ทุกบทตอน ไปฝึกฝน อย่าอดสู
จำให้ได้ ทำให้ได้ ดังเช่นครู
เอาความรู้ ที่เรียนมา หาเลี้ยงตน
       ผู้ที่ให้ ต้องมีใจ อันผ่องแผ้ว
เมื่อให้แล้ว ยังต้อง ไม่หวังผล
ให้วิชา เพราะช่วยเหลือ เพื่อผู้คน
ที่อับจน ขาดปัญญา จะหากิน
       อันกุศล ผลบุญ จะนำส่ง
ใจปลอดโปร่ง ปัญญาเลิศ เป็นนิจศีล
คิดอะไร ก็คิดได้ เป็นอาจิณ
ทั้งชีวิน ประเสริฐเหลือ เหนือผู้คน

 

อภัยทาน

       คำว่าทาน                 นั้นหรือ                           คือการให้                       
ท่านแบ่งไว้ หลายอย่าง อย่าสับสน
ท่านสอนไว้ ให้อภัย ต่อผู้คน
จะได้พ้น ศัตรู และหมู่มาร
       ขอทุกท่าน จงอภัย กันไว้เถิด
จะได้เกิด เมตตา และสงสาร
ให้อภัย เขาแล้ว จิตเบิกบาน
ไม่มีมาร หรือศัตรู อยู่สบาย
       พระองค์ท่าน สอนไว้ ในกฎเกณฑ์
ว่าจองเวร ไม่ระงับ ดับไม่หาย
เวรจะดับ ก็ต่อเมื่อ ให้อภัย
จิตแจ่มใส ก็ไม่ต้อง ไปจองเวร

 

ธรรมทาน

       คำว่าทาน                 นั้นหรือ                           คือการให้                       
ท่านแบ่งไว้ เป็นส่วนสัด บรรทัดฐาน
อีกอย่างหนึ่ง นั้นหรือ คือธรรมทาน
การแบ่งปัน ความรู้ ให้ผู้คน
       สอนให้เขา เป็นคนดี มีประโยชน์
รู้บาปบุญ คุณโทษ มีเหตุผล
ช่วยแนะนำ ตักเตือน เพื่อนทุกคน
ให้กลับตน เป็นคนดี มีปัญญา
       สอนให้เขา ละชั่ว ประพฤติดี
ให้เขามี คุณธรรม นำรักษา
ชำระใจ ให้พ้น จากโกรธา
กิเลสหนา ก็ให้บาง จางจากใจ
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า มีทั้งสี่ นี้หรือไม่
ถ้ามีแล้ว ก็จงทำ อีกต่อไป
ท่านจะได้ มีความสุข ไม่ทุกข์เลย

 

ศีล ๕ (งดเว้นประพฤติชั่ว ทางกาย วาจา )

       อันว่าศีล                   นั้นหรือคือ                       ข้อห้าม                         
เว้นจากทำ ชั่วช้า น่าบัดสี
ใครเว้นได้ ในโลก ก็โชคดี
จะสุขี แน่นอน แม้ก่อนตาย
       ข้อที่หนึ่ง ท่านวาง ทางไว้ชัด
ห้ามฆ่าสัตว์ เพราะมันบาป ทราบบ้างไหม
ฆ่าสัตว์แล้ว ชีวิตนั้น ต้องสั้นไป
ท่านสอนไว้ ให้งดเว้น เห็นไม่ดี
       อีกทั้งห้าม เบียดเบียน สัตว์ทั้งหลาย
ที่สบาย ให้เป็นทุกข์ ไม่สุขี
ทั้งเบียดเบียน ทรัพย์สมบัติ นั้นไม่ดี
พระองค์ชี้ ทางไว้ ให้ทุกคน
       อีกทั้งห้าม เบียดเบียน สัตว์ทั้งหลาย
ที่สบาย ให้เป็นทุกข์ ไม่สุขี
ทั้งเบียดเบียน ทรัพย์สมบัติ นั้นไม่ดี
พระองค์ชี้ ทางไว้ ให้ทุกคน
       อีกทั้งห้าม ทรมาน สัตว์ทั้งหลาย
เจ็บปวดกาย ให้เป็นทุกข์ ไม่สุขสม
ทั้งกักขัง หน่วงเหนี่ยว ให้ระทม
จะตรอมตรม เป็นทุกข์ คลายสุขลง
       ข้อที่สอง ท่านห้าม ทางลักทรัพย์
ห้ามไปจับ สิ่งของ ต้องประสงค์
ของผู้อื่น แล้วถูกจับ จะดับลง
ตำรวจคง พาเจ้า เข้าซังเต
       ข้อที่สาม ห้ามเป็นชู้ แล้วสู่สม
ไม่นิยม เปลี่ยนคู่ ดูหันเห
ใครชอบเปลี่ยน ก็จงรู้ คนเสเพล
คาดคะเน ได้ว่า คนบ้ากาม
       ข้อที่สี่ ห้ามพูดปด งดคำชั่ว
เห็นแก่ตัว พูดนักเลง น่าเกรงขาม
ทั้งพูดปด หลอกลวง ฟังไม่งาม
วาจาทราม พาเป็นทุกข์ สุขไม่มี
       ท่านห้ามพูด เพ้อเจ้อ และส่อเสียด
คนเขาเกลียด กันทั่ว ตัวหมองศรี
ไม่มีคน คบค้า ว่าไม่ดี
ความชั่วมี ทางวาจา ช่างน่าอาย
       ข้อที่ห้า ห้ามดื่มสุรา และเมรัย
ท่านว่าไว้ เป็นคนชั่ว มั่วเหลือหลาย
กินเหล้าแล้ว ทำความชั่ว ได้มากมาย
มันน่าอาย หนักหนา พาซบเซา
       บ้างกินเหล้า มัวเมา ไม่เข้าท่า
กินเมามา เข้าไปหา ลูกเมียเขา
ช่างน่าอาย อดสู ดูไม่เบา
ลูกเมียเขา ก็ไม่เว้น เห็นน่าชัง
       บ้างกินเมา แล้วก็พาล สันดานเสีย
ตีลูกเมีย เสียจน ตนถูกขัง
หายเมาแล้ว ก็อับอาย ขายหน้าจัง
ลูกเมียชัง คนชั่ว ตัวอัปรีย์
       บ้างเมาแล้ว พูดมาก ลำบากหู
คนที่อยู่ ใกล้เคียง ก็อยากหนี
ทั้งหญิงชาย กินเหล้า ไม่เข้าที
ทั้งชีวี วอดวาย ต้องตายลง
       ขอทุกท่าน จงคิด พินิจดู
เมื่อตัวรู้ ว่าผิด อย่างใหลหลง
จงละชั่ว          ประพฤติดี และซื่อตรง
ชีวีคง สุขสมจริง ทั้งหญิงชาย
       รักษาศีล แล้วจะได้ อะไรหนอ
ข้าจะขอ บอกท่าน ที่มั่นหมาย
ในชาตินี้ จะสะอาด วาจากาย
ชาติหน้าไซร้ จะมีรูป ดูสวยงาม

 

ศีล ๘

       อันศีลแปด                นั้นก็งาม                         อีกสามข้อ                      
ซึ่งติดต่อ กับศีลห้า ท่านว่าไว้
จงไตร่ตรอง ดูแล อีกต่อไป
ใครใส่ใจ งดเว้นต่อ ก็ขอเชิญ
       ข้อที่หก ท่านกำหนด ให้งดเว้น
อาหารเย็น คาวหวาน ไม่สรรเสริญ
หลังเที่ยงแล้ว ท่านให้อด งดเพลิดเพลิน
ไม่เจริญ เห็นแก่ตัว มัวแต่กิน
       ข้อที่เจ็ด ท่านห้าม ความงามไว้
อย่าหลงใหล ในตน คนติฉิน
อย่าแต่งตัว มัวเมา เป็นอาจิณ
เว้นให้สิ้น การแต่งตัว อย่ามัวเพลิน
       อีกทั้งห้าม ขับร้อง ทำนองเพลง
เพราะท่านเกรง ติดในเสียง ให้เก้อเขิน
ผู้ถือศีล ไม่ควร จะเพลิดเพลิน
ไม่เจริญ น่าอนาถ ขาดพรหมจรรย์
       ข้อที่แปด ท่านห้าม การนอนไว้
อย่าหลงใหล ในที่นอน อันสุขสันต์
ท่านให้นอน กับพื้น ตื่นเร็วพลัน
ทุกทุกวัน มิให้ ใส่ใจนอน
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า มีศีล บ้างไหมหนอ
ถ้าไม่มี ก็อย่า มัวรีรอ
จงไปขอ กับพระ นะท่านเอย

 

ธรรม ๕ ประการ  ( คุณธรรมประกอบศีล  )

       เมื่อมีศีล                   ต้องมีธรรม                       ประจำใจ                        
ท่านสอนไว้ มีเมตตา สัตว์ทั้งหลาย
ชีวิตเขา ชีวิตเรา ต้องเข้าใจ
อย่าทำลาย ให้เขาดับ รับโทษทัณฑ์
       ข้อที่สอง สัมมา อาชีวะ
เราควรจะ เลี้ยงชีพ ให้สุขสันต์
มีอาชีพ ที่ชอบ ประกอบกัน
เลี้ยงชีวัน ให้รอด จะปลอดภัย
       ข้อที่สาม ควรสำรวม ในกามไว้
จงพอใจ ในคู่ครอง ตรองให้ได้
แม้นผิดคู่ สู่สม จะเสียใจ
ท่านว่าไว้ เป็นทุกข์ สุขไม่มี
       ข้อที่สี่ ก็มีธรรม ประจำนะ
คือสัจจะ ความจริง ทุกสิ่งศรี
พูดไปแล้ว ก็ต้องจำ ทำให้ดี
ต้องพูดที่ มีความจริง ยิ่งเจริญ
       ข้อที่ห้า ก็มีธรรม ประจำซิ
มีสติ อันรอบคอบ ไม่ขาดเขิน
ทำอะไร อย่าให้พลาด หรือขาดเกิน
อย่าหลงเพลิน มัวเมา จะเศร้าใจ
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า มีคุณธรรม อยู่บ้างไหม
อันว่าศีล นั้นห้าม วาจากาย
ธรรมนั้นไซร้ ห้ามถึงจิต พินิจดู

 

บัวสี่เหล่า

       เหล่าที่หนึ่ง               พ้นแล้ว                           แววสว่าง                       
พอฟ้าสาง แดดส่อง ผ่องมีศรี
บานสะพรั่ง สวยสด จรดราตรี
เหมือนผู้มี คุณธรรม ประจำใจ
       เหล่าที่สอง ปริ่มน้ำ ฉ่ำชื่นจิต
อีกเพียงนิด พ้นน้ำ
งามสดใส
เปรียบเหมือนคน มีธรรม ประจำใจ
ปัญญาไว เห็นดี มีศรัทธา
       เหล่าที่สาม งามหน่อย ลอยเหนือพื้น
ถึงแม้ตื้น ก็ไม่ควร มวลมัจฉา
เปรียบเหมือนคน ท่องบ่น ภาวนา
เมื่อปัญญา เกิดขึ้น คงชื่นใจ
       อันดอกบัว สี่เหล่า เราเฝ้าคิด
ดอกนิดนิด เหล่าที่สี่ มีไฉน
มักเป็นเหยื่อ ปูปลา น่าเศร้าใจ
ตัวเราไซร้ คงเป็น เช่นดอกบัว

 

ทุกข์ประจำ

       มนุษย์เรา                 เฝ้าสนุก                          ทุกข์ไม่รู้                        
ความเป็นอยู่ ประจำ พร่ำไฉน
ทุกข์ประจำ นั้นเล่า ไม่เข้าใจ
ทุกข์อะไร ช่างข้า น่ารำคาญ
       ทุกข์เรื่องกิน ใช่ไหม ใครเคยคิด
ทุกข์อีกนิด เมื่ออิ่ม ลิ้มอาหาร
ทุกข์ขับถ่าย เกิดขึ้น อีกไม่นาน
ไม่สำราญ เป็นทุกข์ สุขไม่มี
       ทุกข์ร้อนเล่า เจ้าเห็น เป็นไฉน
เมื่อร้อนกาย เจ้าก็ทุกข์ ไม่สุขี
เมื่อร้อนใจ เจ้าจะทำ อย่างไรดี
ให้ชีวี เจ้าเป็นสุข คลายทุกข์ไป
       เมื่อยามหนาว เจ้าก็ทุกข์ สุขไม่เห็น
อากาศเย็น เจ้าก็ทุกข์ สุขไฉน
รีบหาผ้า แพรพรรณ มาห่มกาย
ก็เพื่อคลาย ความทุกข์ สุขไม่มี
       ทุกข์พลัดพราก จากของ ปองใจรัก
ช่างแน่นัก เศร้าหมอง ไม่ผ่องศรี
แม้เสียชีพ ยอมตาย วายชีวี
เพื่อของที่ ตนรัก จักสูญไป
       ทุกข์เกิดแก่ เจ็บตาย ไม่วายสิ้น
เป็นอาจิณ ของมนุษย์ สุดแก้ไข
เกิดกันแล้ว แก่กันเล่า เจ้าก็ตาย
อีกเมื่อไหร่ เจ้าจะพ้น วนเวียนไป
       อันคำสอน ผ่อนทุกข์ สุขจะเกิด
เร่งกันเถิด ทุกคน จงขวนขวาย
หาพระธรรม คำสอน มาใส่ใจ
จะช่วยคลาย ความทุกข์ เป็นสุขจริง

 

ความตาย

       อันความตาย             ไม่มี                              ใครหนีพ้น                       
ทุกทุกคน เกิดมา น่าใจหาย
ถ้าทำดี ก็ไปเกิด ที่สบาย
ทำชั่วร้าย เกิดไปทุกข์ สุขห่างไกล
       คนที่อยู่ จงรู้ อยู่เสมอ
ว่านี่เธอ ควรทำ กรรมไฉน
ทำกรรมดี ก่อนที่ จะตายไป
นั่นแหละใช่ รู้ตน เป็นคนดี
       การพลัดพราก จากของ ปองใจรัก
โศกเศร้านัก หม่นหมอง ไม่ผ่องศรี
เกิดมาแล้ว ก็ต้องตาย วายชีวี
เป็นเรื่องที่ หนีไม่พ้น ทุกคนไป
       บางคนกลัว ความตาย น่าอายนัก
ไม่รู้จัก ตัวตน เป็นไฉน
ช่างโง่เขลา เบาปัญญา กว่าใครใคร
ไม่เข้าใจ ความจริง ทุกสิ่งอัน

 

พรหมวิหารธรรม ( พรหมวิหาร  ๔ )

       อันเมตตา                 คือความรัก                      จักเผื่อแผ่                       
จะมากแท้ ก็ต่อเมื่อ เผื่อมากหลาย
ทั้งพ่อแม่ เพื่อนพ้อง น้องหญิงชาย
สัตว์ทั้งหลาย ในโลก จงโชคดี
       กรุณา คือสงสาร วานช่วยบอก
ใครช้ำชอก เป็นทุกข์ ไม่สุขี
จงช่วยเขา ให้พ้นทุกข์ เป็นสุขดี
แม้สัตว์ที่ เจ็บป่วย จงช่วยกัน
       มุทิตา พลอยยินดี ผู้มีโชค
อย่าเศร้าโศก เสียใจ ภัยมหันต์
จงทำใจ ให้ดี มีต่อกัน
พระองค์ท่าน สอนไว้ ให้ยินดี
       อุเบกขา คือวางเฉย เคยหรือไม่
คือทำใจ ให้เป็นกลาง สว่างศรี
ไม่ดีใจ หรือเสียใจ เมื่อภัยมี
จะเกิดที่ สัตว์เหล่าใด ใครก็ตาม
       ขอทุกท่าน จงคิด พินิจดู
หากไม่รู้ แม้นชอบ ให้สอบถาม
คุณธรรม ทั้งสี่ นี้ช่างงาม
มีประจำ ก็เป็นพรหม สมดังใจ

 

ธรรมที่ทำให้เกิดความกล้าหาญ

       อันศรัทธา                นั้นหรือ                           คือความเชื่อ                   
ไม่นึกเบื่อ ในพระธรรม จดจำได้
ประพฤติตาม พระธรรม พระวินัย
จะทำให้ มีความกล้า พาเจริญ
       อันว่าศีล นั้นหรือ คือรักษา
กายวาจา ให้เรียบร้อย ไม่เก้อเขิน
กายวาจา ก็สะอาด ไม่ขาดเกิน
จะยืนเดิน ไปได้ทั่ว ไม่กลัวใคร
       พาหุสัจจะ นั้นหรือ คือศึกษา
หาวิชา ใส่ตน เร่งขวนขวาย
หาความรู้ ครูที่ดี มีมากมาย
และใส่ใจ ศึกษาธรรม ในคัมภีร์
       วิริยา- รัมภะ เพียรปรารภ
เมื่อได้พบ สิ่งเลิศ ประเสริฐศรี
เพียรพูดจา กล้าทำ สิ่งที่ดี
แม้ภัยมี ก็กล้า น่าชื่นใจ
       อันปัญญา นั้นหรือ คือความรู้
ความเป็นอยู่ ประจำ พร่ำไฉน
เมื่อรู้ดี รู้ชั่ว ไม่กลัวใคร
ปัญญาไว มีเหตุผล เป็นคนดี

 

ความเพียร ๔ อย่าง

       อันความเพียร            สี่อย่าง                           ช่างน่าคิด                       
เพียรเป็นนิจ ละบาป ทราบบ้างไหม
เคยทำแล้ว ก็ต้องลด ให้หมดไป
ถ้าร่ำไร ไร้สุข ทุกข์ตามมา
       เพียรที่สอง ตรองดู รู้แก่จิต
บางชนิด ไม่เคยทำ อย่าพร่ำหา
จงระวัง ไว้เถิด บาปนานา
อย่าให้มา เกิดขึ้น ชื่นชีวี
       เพียรที่สาม งามดี ช่างมีผล
สร้างกุศล ให้เกิด ประเสริฐศรี
ความรู้ใด ที่เรา ยังไม่มี
เพียรอีกที เถิดเจ้า เฝ้าคอยเตือน
       เพียรที่สี่ นี้เล่า ก็เข้าท่า
เพียรรักษา กุศลไว้ อย่าให้เสื่อม
เพียรตรวจตรา ดูแล อย่าลืมเลือน
อย่าแชเชือน เตือนให้รู้ สู่นิพพาน
       ขอทุกท่าน จงตรวจดู ให้รู้ดี
ถ้าใครมี ก็ประเสริฐ เลิศมหันต์
ถ้าไม่มี ก็จงสร้าง บ้างแล้วกัน
คงสักวัน จะพ้นทุกข์ เป็นสุขจริง

 

ธาตุ ๔

       อันธาตุดิน                 คือของแข็ง                     แบ่งให้ถูก                      
มีกระดูก นานา อย่าสงสัย
มีทั้งหนัง ขนเล็บ และตับไต
รวมกันไว้ อยู่ที่ตัว อย่ามัวเพลิน
       อันธาตุน้ำ คือของเหลว อยู่ในร่าง
มีเลือดบ้าง น้ำเหลืองบ้าง ไม่ห่างเหิน
มันไหลเวียน อยู่ในกาย ให้เจริญ
ถ้ามากเกิน ทำให้ตาย ได้เหมือนกัน
       อันธาตุลม คืออากาศ ขาดไม่ได้
ต้องหายใจ เข้าออก กะทันหัน
ไม่มีลม เข้าออก ช่วยผลักดัน
ทั้งชีวัน ก็ต้องม้วย ด้วยขาดใจ
       อันธาตุไฟ คือความร้อน ไม่อ่อนแข็ง
เป็นอีกแรง เข้าช่วย ร่างกายได้
มีหน้าที่ ช่วยย่อย ค่อยสบาย
ถ้าขาดไฟ กายเย็น เป็นไม่ดี
       ขอทุกท่าน อย่าได้หลง คงสติ
คิดดูซิ เป็นตัวตน หม่นหมองศรี
ใครยึดมั่น ถือมั่น นั้นไม่ดี
จะเป็นที่          เกิดทุกข์ ไม่สุขเลย

 

ขันธ์ ๕ 

       อันว่ารูป                   คือร่างกาย                      ไม่วายคิด                       
ใครยึดติด ต้องเป็นทุกข์ ไม่สุขสันต์
มีอาการ สามสิบสอง ต้องครบครัน
มารวมกัน เรียกว่ารูป สรุปลง
       ขันธ์ที่สอง คือเวทนา ท่านว่าไว้
สุขก็ใช่ ทุกข์ก็ใช่ อย่าใหลหลง
เมื่อเกิดแล้ว ก็ต้องดับ ระงับลง
อย่าไปหลง ยึดถือ ชื่อของมัน
       อันสัญญา คือจำได้ ให้หมายรู้
มันอยู่คู่ กับใจ ที่หมายมั่น
ทั้งรูปรส กลิ่นสียง สัมผัสพลัน
จำได้มั่น เป็นของข้า น่าเศร้าใจ
       อันสังขาร เครื่องปรุงแต่ง แรงกระตุ้น
ให้หมกมุ่น เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส
เดี๋ยวให้โลภ เดี๋ยวให้โกรธ ไม่โทษใคร
ตัวเราไซร้ เป็นคนเขลา เบาปัญญา
       อันวิญญาณ ซึ่งเป็นนาม ตามที่อยู่
คอยรับรู้ ทุกทุกสิ่ง วิ่งมาหา
ไม่ว่าชั่ว หรือดี มีราคา
หน้าที่ข้า คอยรับรู้ อยู่แค่ใจ
       ขอทุกท่าน จงสำรวจ ตรวจให้เห็น
ว่ามันเป็น เพียงขันธ์ อย่าหวั่นไหว
ธาตุทั้งสี่ ขันธ์ทั้งห้า มันพาไป
อยากสบาย ให้ดับขันธ์ พลันสุขเอย

 

อิทธิบาท ๔

       ฉันทะคือ                  พอใจ                            ในสิ่งนั้น                         
จงฝ่าฟัน อุปสรรค อย่าสับสน
จงตั้งใจ ดูแล งานของตน
ต้องอดทน ให้สำเร็จ เสร็จสิ้นไป
       วิริยะ คือความเพียร เรียนให้รู้
เพียรคอยดู แล้วก็จำ ทำให้ได้
เพียรศึกษา หาความรู้ มาสู่ใจ
เพียรต่อไป ก็สำเร็จ สมเจตนา
       อันจิตตะ คือฝักใฝ่ ในงานนั้น
ทุกคืนวัน ตั้งใจ ใฝ่ฝันหา
จงตั้งใจ ทำให้เสร็จ งานนานา
จะมีค่า สมหวัง ดังตั้งใจ
       วิมังสา คือไตร่ตรอง ประคองจิต
ทุกชนิด พิจารณา อย่าหวั่นไหว
ค่อยค่อยคิด ค่อยค่อยทำ เพียรร่ำไป
ทุกอย่างไซร้ ก็สำเร็จ เสร็จด้วยดี
       ขอทุกท่าน จงหมั่น ขยันเถิด
จะบังเกิด ทุกอย่าง สว่างศรี
ทั้งฉันทะ วิริยะ ตั้งใจดี
ทุกอย่างมี ไตร่ตรอง ครองสุขเอย

 

ความรักของแม่

       ความรักแม่               เหนือสมุทร                      อันสุดกว้าง                     
เปรียบเหมือนทาง อันไกล สุดไปถึง
ลูกรักแม่ แค่ไหน ไม่คำนึง
รักลูกหนึ่ง ไม่มีสอง ครอบครองใจ
       แม่เรียกลูก ให้ตื่น ฟื้นสติ
ลุกขึ้นซิ ลูกจ๋า อย่าหลับใหล
อย่าทำให้ เวลา ล่วงเลยไป
จงใส่ใจ ประพฤติธรรม ตามเวลา
       ไปเถิดลูก ไปกับแม่ แน่แล้วสุข
ลูกยังทุกข์ แม่ห่วงใย เฝ้าใฝ่หา
วันทั้งวัน คืนทั้งคืน คอยแก้วตา
เมื่อไหร่หนา ใจลูกน้อย จะคล้อยตาม

 

กรรมสนอง

       ธาตุทั้งสี่                  ขันธ์ทั้งห้า                       ท่านว่าไว้                       
ใครใส่ใจ กันบ้างเล่า เจ้าคุณเอ๋ย
เกิดกันแล้ว ตายกันเล่า เจ้าไม่เคย
ทำดีเลย หรือจะพ้น จากคนไป
       อันว่ากรรม ที่ทำไว้ ใครได้รับ
มันก็กลับ มาสนอง เราใช่ไหม
อันทำชั่ว แล้วได้ดี ไม่มีใคร
จงใส่ใจ คิดกระทำ แต่กรรมดี

 

เมื่อลูกป่วย

       ลูกเจ็บป่วย               ไม่สบาย                         วุ่นวายจิต                       
แม่เฝ้าคิด หายา รักษาให้
เมื่อไหร่หนอ ลูกข้า จะสบาย
แม่อยากตาย แทนลูก คงสุขใจ
       การเกิดแก่ เจ็บตาย วุ่นวายนัก
มันประจักษ์ แก่ตน เร่งขวนขวาย
ประพฤติธรรม ให้เก่ง ให้เก่ง
จะสบาย ไร้ทุกข์ สุขย่างกราย
       อนิจจัง ไม่เที่ยง เลี่ยงไม่ถูก
เกิดแล้วทุกข์ ตามมา น่าใจหาย
อนัตตา นั้นหรือ คือใช่กาย
สูญสลาย ไม่พ้น ทุกคนไป

 

หนึ่งเดียวในดวงใจ

       อันพ่อแม่                  แก่เฒ่า                           คอยเฝ้าเลี้ยง                   
อยู่ใกล้เคียง ท่านไว้ อย่าให้หา
มีอะไร ให้ท่าน รีบจัดมา
เพราะเวลา ของท่าน นั้นไม่มี
       อันน้ำใจ ท่านเลิศ ประเสริฐนัก
เฝ้าฟูมฟัก เลี้ยงลูก ให้สุขี
หากลูกน้อย ของท่าน นั้นไม่ดี
ทั้งชีวี ปวดร้าว เศร้าต่อไป
       หากลูกดี เป็นศรี มีสง่า
จะพูดจา แห่งหน ตำบลไหน
มีชื่อเสียง ที่ดี มิอายใคร
เพราะลูกไซร้ ของตน เป็นคนดี

 

มนุษย์

       เป็นมนุษย์                แน่ชัด                            สัตว์ประเสริฐ                   
มีกำเนิด แห่งกรรม ที่ทำไว้
มีปัญญา เป็นเลิศ เหนือสัตว์ใด
ปัญญาไว ก็พาตน พ้นภัยพาล
       สัตว์เดรัจฉาน ท่านว่า ปัญญาน้อย
ถ้าคนถ่อย ก็เป็น เช่นเดรัจฉาน
ทำความชั่ว ได้ทุกอย่าง โดยสันดาน
เหมือนคนพาล ไม่รู้ ผู้มีคุณ
       ขอทุกท่าน จงประพฤติ ปฏิบัติ
ทั้งในอรรถ ในธรรม เพื่อค้ำหนุน
จงไตร่ตรอง ในธรรม เพื่อค้ำจุน
ได้ผลบุญ มากล้น พ้นอบาย

 

แม่ป่วยกาย   ใช่ป่วยจิต   ( อาการป่วยของแม่ชี )

       แม่เจ็บปวด               กายา                             ช่างน่าขำ                       
เป็นเพราะกรรม ทำมา น่าใจหาย
ยามเจ็บปวด ครวญคราง ปางจะตาย
จิตแม่ไซร้ ไม่เศร้า รู้เท่าทัน
       เป็นมะเร็ง ในกระเพาะ ไม่เหมาะแน่
ยาที่แก้ ไม่หาย กะทันหัน
ต้องทนทุกข์ ทรมาน อีกนานวัน
หนี้กรรมนั้น ยังไม่หมด งดความตาย
       อีกโรคหนึ่ง นั้นเล่า             เจ้าช่างโก้
หัวใจโต เต็มอก โรคไม่หาย
แต่จิตเรา ไม่เศร้า แม้จะตาย
ชีวาวาย คลายทุกข์ สุขนิรันดร
       อีกโรคหนึ่ง ถุงน้ำดี มีปัญหา
จึงต้องผ่า ตัดออก นอกธาตุขันธ์
แม้นไม่ผ่า หากแตก ต้องตายพลัน
จบชีวัน พลันสิ้น จากถิ่นไทย
       อีกโรคหนึ่ง เบาหวาน ก็ขานรับ
มันขยับ ขึ้นลง อย่าสงสัย
เดี๋ยวมันต่ำ เดี๋ยวมันสูง อยู่ในกาย
ช่างวุ่นวาย เหลือเกิน ไม่เพลินเลย
       เรื่องอาหาร การกิน ก็สิ้นสุข
มีแต่ทุกข์ ทั้งวัน นะท่านเอ๋ย
ของบางอย่าง กินไม่ได้ เหมือนอย่างเคย
แม่ก็เลย โหยหา ระอาใจ
       อีกโรคหนึ่ง มีไขมัน เกาะที่ตับ
จะขยับ กายา เกือบไม่ไหว
ช่างเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า ระอาใจ
ต้องทนไป จนกว่า ชีวาวาย
       อีกโรคนั้น ไตรั่ว น่ากลัวนัก
รักษายาก ใช้เวลา กว่าจะหาย
แม่ต้องทุกข์ ทรมาน ทั้งร่างกาย
ใจแม่ไซร้ กลับเห็น

เป็นเพราะกรรม

       อีกไขมัน ในเลือด ไม่เหือดหาย
มีมากมาย เกินอัตรา ช่างน่าขำ
ต้องรับทุกข์ เพราะกรรมชั่ว ตัวแม่ทำ
ยอมรับกรรม ที่ทำไว้ อย่างใจเย็น
       โรคมดลูก อักเสบ ต้องเจ็บปวด
หมอได้ตรวจ เสร็จแล้ว ลงความเห็น
ต้องผ่าตัด ทิ้งไป เพราะจำเป็น
ไม่วายเว้น ไร้สุข ทุกข์ระทม
       ตาก็เป็น ต้อกระจก โรคอีกอย่าง
ช่างฝ้าฟาง มองสิ่งอื่น อย่างขื่นขม
มันปวดเศียร เวียนเกล้า ร้าวระบม
สุดระทม ใครอย่าเป็น เช่นอย่างเรา
       รวมอีกทั้ง ลูกตา เคยผ่าตัด
สายตาขัด ไม่เห็น เช่นอย่างเขา
ต้องผ่าตัด ลูกตา หนักไม่เบา
โอ้ตัวเรา มีแต่โรค โชคไม่ดี
       ทั้งเป็นโรค รอยต่อ ท่ออาหาร
สุดรำคาญ เศร้าหมอง ไม่ผ่องศรี
กินอาหาร เข้าไป ไม่เข้าที
แสบร้อนที่ ลำคอ ตามท่อไป
       อีกทั้งโรค เหน็บชา ขาและเท้า
จะย่างก้าว ออกเดิน ไปทางไหน
ใช้ไม้เท้า เข้าช่วย ด้วยจึงไป
เดินไม่ได้ จะต้องนอน ป้อนข้าวปลา
       มือทั้งสอง มึนชา แสนสาหัส
มันติดขัด จับต้อง ของที่หา
จับไม่ติด ยากไซร้ ให้ระอา
แม้ข้าวปลา จะเข้าปาก ยากเหลือเกิน
       อีกทั้งโรค กระดูกพรุน ทั้งร่างกาย
จะเคลื่อนย้าย กายา ก็ขัดเขิน
กระดูกทรุด ทับเส้นขา ไม่พาเดิน
ยากเหลือเกิน จะย่างเท้า ก้าวออกไป
       อีกหนึ่งข้อ กระดูกคอ ก็กดทับ
แม่ทนรับ ความเจ็บปวด เกือบไม่ไหว
ต้องทนทุกข์ ทรมาน ปานจะตาย
ทั้งร่างกาย ก็เสื่อมลง ปลงอนิจจา
       อนิจจัง ความไม่เที่ยง เลี่ยงไม่ได้
ไม่ว่าใคร ต้องเปลี่ยนแปร แน่หนักหนา
เพราะมีกาย ต้องเปลี่ยนไป เป็นธรรมดา
และนำพา ให้เกิดทุกข์ สุขไม่มี
       อนัตตา สูญสลาย กายทั้งสิ้น
ต้องเป็นดิน และเป็นน้ำ ตามวิถี
ลมและไฟ ตามกันไป ไม่ปราณี
ทั้งชีวี ต้องดับ อย่างยับเยิน
       แม่มีโรค สิบห้าอย่าง ในร่างกาย
ช่างวุ่นวาย ยามเจ็บป่วย ด้วยฉุกเฉิน
ด้วยฉุกเฉิน ทรมาน นานเหลือเกิน
ต้องเผชิญ โรคร้าย ในกายเรา
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า ทำกรรมชั่ว เมื่อชาติเก่า
เกิดมาแล้ว ต้องรับกรรม ทั้งหนักเบา
ตัวของเรา เป็นผู้ทำ กรรมขึ้นเอง
       ไม่มีใคร รับกรรม แทนเราได้
ท่านสอนไว้ เราต้องรับ นั่นตรงเผง
กรรมดีชั่ว เกิดขึ้น เพราะตัวเอง
ท่านจงเกรง กรรมชั่ว อย่ามัวทำ

 

วัดเอ๋ย...วัดดุน

       วัดอุดม                    คงคา                             คิรีเขต                           
เป็นประเทศ น่าอยู่ ผู้อาศัย
อยู่กันแล้ว ไปกันเล่า ไม่เข้าใจ
ไม่มีใคร พ้นทุกข์ สุขสักคน
       หลวงปู่ผาง ท่านได้วาง ทางไว้ชัด
เพื่อขจัด กองกิเลส ด้วยเหตุผล
เข้ามาแล้ว ต้องชำระ กันทุกคน
กิเลสตน มากมาย ให้คลายลง
       แต่บัดนี้ พระสงฆ์ องค์อาศัย
ท่านมิได้ ปฏิบัติ ดูขัดสน
กิเลสหนา พาไป น่าอายคน
ดูอับจน ปัญญา ระอาใจ
       น่าสงสาร หลวงปู่ ผู้ประเสริฐ
ท่านก่อเกิด วัดวา ให้อาศัย
ไว้เป็นที่ พักพิง ทั้งกายใจ
ลูกศิษย์ไซร้ ไม่ทำ ตามเจตนา

 

ธรรมะ จากการทำวัตร

       พระพุทธรูป               องค์ใหญ่                         ในศาลา                         
งามสง่า น่าเคารพ เมื่อพบเห็น
ท่านสงบ อยู่บนฐาน อันเยือกเย็น
ใครได้เห็น ต้องก้มกราบ ประทับใจ
       เสียงพระสงฆ์ สวดมนต์ ดลให้คิด
ทุกชีวิต เกิดมา น่าใจหาย
เรามีกรรม เป็นของตัว ใช่อื่นไกล
เราทำไว้ ต้องได้รับ ตามกฎเกณฑ์
       ท่านว่ากรรม เป็นเผ่าพันธุ์ นั้นก็ถูก
เรามีลูก มีทั้งหลาน และโหลนเหลน
จึงเกิดมา ร่วมรับกรรม นำใช้เวร
ดังจะเห็น เช่นตัวเรา น่าเศร้าใจ
       เป็นเพราะกรรม ทำมา พาให้เกิด
จะประเสริฐ หรือทุกข์ สุขไฉน
เป็นเพราะเรา ได้ทำมา หาใช่ใคร
ท่านว่าไว้ ทุกชนิด กรรมติดตาม
       ท่านว่ากรรม เป็นที่ตั้ง ฟังไว้เถิด
พาก่อเกิด เป็นตัวตน ล้นสยาม
บางคนทุกข์ บางคนสุข ก็เพราะกรรม
จะขาวดำ สูงต่ำ กรรมพาเป็น
       เสียงพระสวด ปลงสังขาร พลันให้คิด
ทุกชีวิต มีแต่ทุกข์ สุขไม่เห็น
มีอาการ สามสิบสอง ต้องลำเค็ญ
ต้องเจ็บเป็น ป่วยไข้ แล้วตายลง
       บางท่านสวด เป็นประจำ ขำสักหน่อย
สวดบ่อยบ่อย ไม่เข้าใจ กลับใหลหลง
กลับยึดติด หลงกัน อย่างมั่นคง
สวดแล้วปลง ไม่ได้ น่าอายจริง
       กรรมเป็นที่ พึ่งอาศัย ก็ใช่อีก
จะหลบหลีก ไปไม่ได้ ทั้งชายหญิง
กรรมดีชั่ว กรรมดีชั่ว เข้าพักพิง
ทั้งชายหญิง ต้องรับกรรม ที่ทำมา
       กรรมที่เป็น ทายาท ขาดไม่ได้
สืบต่อไป ทุกทุกชาติ อย่ากังขา
คิดถึงกรรม ต่างต่าง ช่างระอา
เราเกิดมา ต้องรับกรรม ทำไว้จริง
       ทำวัตรเย็น เราเห็น ว่าประเสริฐ
ไตร่ตรองเถิด ท่านทั้งหลาย ทั้งชายหญิง
ทุกทุกบท เป็นสัจธรรม นำสุขจริง
หากชายหญิง ท่านใด ได้ใคร่ครวญ
       แล้วน้อมนำ ทำจิต ให้คิดตาม
พยายาม ตรองให้เห็น อย่าเหหวน
ว่าทุกสิ่ง ที่เรามี นี้แปรปรวน
ไม่สมควร ยินดี มีสุขเอย

 

สมาธิ

       สมาธิ                      นั้นเล่า                            เฝ้าฝึกจิต                       
ให้สนิท ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
มีสติ คอยระวัง ไม่ห่างไกล
ควบคุมไว้ ให้จิต คิดอย่างเดียว
       อยู่กับบท ภาวนา ว่าอย่างไร
แล้วแต่ใคร เรียนมา อย่าเฉลียว
จะพุทโธ ก็พุทโธ แต่อย่างเดียว
ไม่ท่องเที่ยว อยู่กับที่ ดีทุกคน
       การทำจิต ให้สงบ พบความสุข
จะคลายทุกข์ ปัจจุบัน ทันเหตุผล
จิตสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน อย่างแยบยล
หมั่นฝึกตน ให้แน่วแน่ ดีแท้เอย

 

ปัญญา

       อันปัญญา                นั้นหรือ                          คือความรู้                        
คอยตรวจดู จิตตน เร่งขวนขวาย
ว่าทุกข์สุข เกิดขึ้น เพราะเหตุใด
จงใส่ใจ ค้นคิด พินิจดู
       ปัญญามี ก็จะเห็น เช่นท่านว่า
ทำชั่วช้า แสนรันทด น่าอดสู
มีความทุกข์ จิตก็ทราม ไม่น่าดู
จิตหดหู่ ไร้ทั้งทรัพย์ อับปัญญา
       ใครทำดี ก็ได้ดี มีความสุข
ไม่มีทุกข์ ทั้งชาตินี้ และชาติหน้า
เป็นเพราะกฎ- แห่งกรรม เราทำมา
มีปัญญา รู้เท่าทัน นั่นความจริง
       ทำปัญญา ให้รู้แจ้ง แทงให้ชัด
กรรมนำสัตว์ มาให้เกิด ทั้งชายหญิง
จงใคร่ครวญ ให้เป็น จะเห็นจริง
ทั้งชายหญิง กิเลสหนา พาวนเวียน
       ผู้ใดมี ปัญญา ท่านว่าไว้
ก็ใส่ใจ ในพระธรรม นำขีดเขียน
หาวิชา ความรู้ ด้วยการเรียน
มีความเพียร ประพฤติธรรม ตามครรลอง
       นำธรรมะ มาชำระ ซึ่งกิเลส
มันเป็นเหตุ ให้จิตเรา ต้องเศร้าหมอง
มีสติ ตั้งมั่น คอยประคอง
ปัญญาต้อง รู้ทัน นั่นอารมณ์
       โลภโกรธหลง คงอยู่ คู่กับสัตว์
ให้อึดอัด ในอุรา น่าขื่นขม
มีแต่ทุกข์ สุขไม่ได้ ให้ระทม
ต้องตรอมตรม ทุกทุกชาติ ขาดปัญญา

 

ป่าไม้  ธรรมชาติ

       ป่าไม้ใหญ่                มีต้นไม้                           หลายชนิด                      
มาครุ่นคิด ถึงผล ต้นทั้งหลาย
บางต้นดี มีประโยชน์ อยู่มากมาย
บางต้นไร้ คุณค่า ไม่น่าชม
       คนที่ชั่ว เหมือนต้นไม้ ที่ไร้ค่า
ทำชั่วช้า พาผู้อื่น เขาขื่นขม
ขาดคุณธรรม ทำชั่ว ตัวระทม
ไม่เหมาะสม จะให้อยู่ คู่ฟ้าดิน
       คนที่ดี เหมือนต้นไม้ ที่มีค่า
เขาเกิดมา ไม่ทำชั่ว ตัวมีศีล
ทั้งให้ทาน ทั้งภาวนา เป็นอาจิณ
ชีวิตสิ้น ก็เป็นสุข ทุกชาติไป
       ต้นไม้ใด ไม่ต้องการ พลันตัดทิ้ง
ตัดทั้งกิ่ง ขุดทั้งราก หายากไม่
แต่คนชั่ว อยู่กับเรา น่าเศร้าใจ
หนีไม่ได้ ไปไม่พ้น ทนรำคาญ
       มาเบียดเบียน ให้เรา ต้องเศร้าโศก
เหมือนมีโรค เรื้อรัง ในสังขาร
ต้องเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า น่ารำคาญ
เหมือนมีมาร มาขัดขวาง ทางเจริญ
       ต้นไม้ใหญ่ กิ่งใบแยก แตกสาขา
เปรียบเหมือนคน มีปัญญา น่าสรรเสริญ
เราอยู่ใกล้ ก็ทำให้ เราเจริญ
จะขาดเกิน ท่านคอยช่วย ด้วยเมตตา
       ขอทุกท่าน ตรองดู รู้แก่จิต
ท่านใกล้ชิด ผู้ใด กันเล่าหนา
ใกล้คนชั่ว ตัวท่าน จะอัปรา
จงนำพา คบคนดี มีสุขเอย

 

อาการ ๓๒ 

       อันเกศา                   นั้นหรือ                           คือเส้นผม                       
คนนิยม ว่าสวย เป็นหนักหนา
มันไม่เที่ยง ซ้ำเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
มีปัญญา รู้เท่าทัน นั้นเห็นจริง
       มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป
ไม่ว่าใคร จะเป็นชาย หรือเป็นหญิง
มันยิ่งยาว ยิ่งรก สกปรกจริง
มันเป็นสิ่ง น่ารำคาญ ท่านตรองดู
       เส้นเล็กเล็ก ตามตัวนั้น ท่านว่าขน
ทั่วตัวคน ชื่อโลมา นั้นมีอยู่
ชนทุกชั้น ใช้ปัญญา ไตร่ตรองดู
แล้วจะรู้ ว่ามีมาก ยุ่งยากจริง
       แล้วต่อมา คือทันตา เรียกว่าฟัน
สามสิบสองอัน นั้นมี ทั้งชายหญิง
มันไม่เที่ยง เลี่ยงไม่ได้ เสียดายจริง
มันหลุดทิ้ง จนหมด รันทดใจ
       อีกตโจ นั้นหรือ ก็คือหนัง
ห่อทั่วร่าง ของเรา ทุกส่วนไว้
เมื่อแก่แล้ว ก็ต้องแห้ง เหี่ยวลงไป
ไม่มีใคร หลีกพ้น สักคนเดียว
       ทั้งมังสัง นั้นหรือ ก็คือเนื้อ
มันเอื้อเฟื้อ อยู่ในร่าง อย่าเฉลียว
เมื่อยังหนุ่ม เต่งตึง ดูงามเชียว
แก่แล้วเหี่ยว หย่อนยาน พานไม่งาม
       นหารู นั้นหรือ คือเส้นเอ็น
ทุกทุกเส้น ร้อยรัด อยู่ทั่วร่าง
แม้เส้นหนึ่ง เส้นใด ต้องขาดกลาง
ก็ครวญคราง ไร้สุข ทุกข์ตามมา
       อันนะขา ท่านว่าไว้ ใช่แล้วเล็บ
ยาวแล้วเจ็บ เน่าเปื่อย อย่ากังขา
มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
มีปัญญา ก็จะเห็น ว่าเป็นจริง
       อันอัฎฐิ คือกระดูก อยู่ในร่าง
เป็นท่อนบ้าง เป็นข้อบ้าง ร่างชายหญิง
ต่อกันอยู่ ทั่วร่าง ไม่อ้างอิง
เจ็บปวดยิ่ง เมื่อต้องหัก จากกายา
       อัฎฐิมิญชัง คือเยื่อใย ในกระดูก
ไม่เป็นลูก แต่เป็นใย และไม่หนา
ประกอบกัน ในกระดูก ชิ้นนานา
ในกายา แม้นขาดมัน ทุกข์ทันใด
       วักกังไต เป็นคู่ อยู่ด้านหลัง
ต้องระวัง แม้นอักเสบ เจ็บเหลือหลาย
ขาดทั้งคู่ ท่านจงรู้ ว่าต้องตาย
สูญสลาย มอดม้วย ไปด้วยกัน
       หะทะยัง คือหัวใจ ใครก็รู้
เกิดอยู่คู่ กับกาย ที่หมายมั่น
มีหน้าที่ สูบฉีดเลือด อยู่ทุกวัน
ช่วยผลักดัน อยู่ในตัว อย่ามัวเพลิน
       อีกทั้งปอด และม้าม มันสมอง
มันมากอง อยู่ในร่าง ไม่ห่างเหิน
นับวันเสื่อม เรื่อยไป ไม่เจริญ
แม้นขาดเขิน ก็เจ็บป่วย ม้วยชีวัน
       ปิตตังน้ำดี มีเป็นถุง ก็ยุ่งยาก
ทั้งเหงื่อมาก ก็เป็นทุกข์ ไม่สุขสันต์
เสลดมาก ทำให้ไอ ได้เหมือนกัน
ส่วนเลือดนั้น ก็กระจาย ในกายคน
       อันน้ำมูก น้ำตา และน้ำลาย
มันวุ่นวาย ไหลออกมา น่าขื่นขม
ทั้งน้ำมูตร อยู่ในกาย ให้ระทม
ช่างโสมม จริงนะเรา น่าเศร้าใจ
       น้ำมันเหลว น้ำมันข้น ปนในร่าง
บางที่บาง บางที่หนา อย่าสงสัย
มันติดอยู่ ตามตัว เราทั่วไป
เห็นได้ง่าย คนที่อ้วน ล้วนไขมัน
       ขอทุกท่าน ตรองดู รู้แก่จิต
ทุกชีวิต ต้องเป็นทุกข์ ไม่สุขสันต์
แม้นจะมี ทั้งสามสิบสอง ต้องครบครัน
ต้องแปรผัน แล้วก็ตาย วายชีวี
       มีอะไร บ้างเล่า ที่เข้าท่า
ที่ว่ามา ล้วนเป็นทุกข์ ไม่สุขี
ทั้งตัวตน ก็ไม่พ้น เป็นธุลี
ไม่มีดี มายึดมั่น กันทำไม
       พระพุทธองค์ ทรงสอน ก่อนสิ้นสุด
ให้มนุษย์ ใช้ปัญญา มาแก้ไข
อันความทุกข์ ต่างต่าง ให้หมดไป
เพื่อจะได้ มีความสุข กันทุกคน
       พิจารณา ให้เห็น เป็นความทุกข์
อย่าสนุก เพลิดเพลิน เกินเหตุผล
รู้เวลา รู้กาละ อย่าปะปน
รู้จักตน รู้ประมาณ นะท่านเอย

 

สายฟ้า สายฝน 

       สายฝนหลั่ง               จากฟ้า                           นภาฉ่ำ                          
เสียงครวญคร่ำ ของสายฟ้า น่าใจหาย
ดังเปรี้ยงปร้าง ครืนครัน พลันหายไป
เป็นเครื่องหมาย บอกให้รู้ ฤดูกาล
       ชีวิตสัตว์ หมุนเวียนไป ใครเคยคิด
ใครยึดติด ต้องเวียนว่าย ในสงสาร
เหมือนสายฝน หล่นจากฟ้า สุธาธาร
ฤดูกาล มันหมุนเวียน และเปลี่ยนแปลง
       ฤดูฝน วนมา หาอีกครั้ง
สายฝนหลั่ง พาเป็นสุข ทุกหนแห่ง
ทั้งต้นไม้ และหมู่สัตว์ ไม่ขาดแคลน
ทั่วดินแดน สดชื่น รื่นฤดี
       เปรียบเหมือนเรา ได้รับ รสพระธรรม
แล้วจดจำ ทำตามได้ คลายหมองศรี
ละความชั่ว ประพฤติตัว เป็นคนดี
ในชาตินี้ และชาติหน้า พาสุขใจ
       ฤดูหนาว ผ่านเข้ามา หาเราอีก
จะหลบหลีก ความหนาว ได้ที่ไหน
เปรียบเหมือนคน ไม่มี หนีความตาย
หนีไม่ได้ ถึงเวลา พาสิ้นลง
       ฤดูร้อน ย้อนมาอีก ใครหลีกได้
ร้อนทั้งกาย ร้อนทั้งใจ เพราะใหลหลง
เปรียบเหมือนคน กิเลสหนา พางวยงง
เพราะลุ่มหลง แต่ตัณหา พามืดมน
       ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน
หากเราย้อน ดูกายใจ ไม่ฉงน
มีปัญญา วางจิตไว้ ให้แยบยล
ก็จะพ้น สามฤดู สู่นิพพาน

 

อายตนะ ( สิ่งต่อเนื่อง)

       อายตนะ                   ภายนอก                         และภายใน                      
ท่านสอนไว้ เป็นสิ่งต่อ ให้ก่อผล
ตาเห็นรูป เกิดพอใจ ในบัดดล
เกิดวกวน อยากได้ ไปเอามา
       ตาเห็นรูป ไม่สวย ช่วยไม่ได้
ไม่พอใจ ก็โกรธ เกิดโทสา
รีบขจัด ปัดเป่า             อย่าเข้ามา
มีปัญญา จะดูออก นอกและใน
       อันว่ารส นั้นหรือ คืออาหาร
มีมานาน เป็นภายนอก ท่านบอกไว้
เวลากิน ลิ้นรู้รส เรียกภายใน
ต่อกันไว้ เช่นนี้ มีมานาน
       เมื่อลิ้นได้ ลิ้มรส อดไม่ได้
เกิดพอใจ มีความสุข ในอาหาร
มีเงินทอง ไปซื้อหา มารับประทาน
แสนสำราญ ในอารมณ์ สมดั่งใจ
       กินอาหาร ไม่อร่อย พลอยหงุดหงิด
กลับไปคิด ว่าคนทำ ใช้ไม่ได้
เกิดโมโห โกรธา             ด่าเรื่อยไป
ไม่พอใจ ก็เททิ้ง แม้สิ่งดี
       อันว่ากลิ่น นั้นหรือ คือภายนอก
มันเข้าออก ทางจมูก ไม่มีสี
เป็นกลิ่นหอม นั้นเล่า ก็เข้าที
เกิดยินดี พอใจ ในอารมณ์
       จมูกเป็น ภายใน ได้กลิ่นเหม็น
ดังเฉกเช่น ของเน่า เจ้าขื่นขม
ไม่พอใจ ในกลิ่น สิ้นอารมณ์
ไม่ชื่นชม กลิ่นเหม็น เป็นทุกคน
       อันว่าเสียง เป็นสำเนียง ที่เปล่งออก
มันย้อนยอก กรอกหู ดูสับสน
เสียงอะไร ใครชอบ แต่ละคน
แต่ชอบกล แม้แต่เสียง ยังเถียงกัน
       อีกทั้งหู รับเอาเสียง เรื่องต่างต่าง
ชอบเข้าข้าง เสียงที่ชอบ ก็ตอบขาน
เกิดพอใจ ก็จดจำ เอาไว้นาน
สุขสำราญ ในอารมณ์ สมดั่งใจ
       แม้นเสียงใด ไม่ไพเราะ เสนาะโสต
เกิดความโกรธ ในเสียงนั้น ดูหวั่นไหว
เกิดอารมณ์ บูดเบี้ยว ขึ้นทันใด
ไม่พอใจ จะฟัง ช่างรำคาญ
       จะขอกล่าว ถึงกาย ใช้กระทบ
ได้ประสบ สิ่งใด ถูกกายท่าน
ไม่พอใจ เร่าร้อนนัก ชักรำคาญ
พระองค์ท่าน เรียกสัมผัส ดูชัดเจน
       กายสัมผัส อ่อนแข็ง แรงกระทบ
ไม่สงบ ในร่างกาย เราได้เห็น
เป็นภายนอก บอกไว้ ได้ชัดเจน
เราจะเห็น       ได้ว่า มาต่อกัน
       เมื่อยามนอน เป็นสุข บนฟูกใหญ่
นอนไม่ได้ ไม่มีฟูก ทุกข์มหันต์
มันเจ็บปวด กายา น่ารำคาญ
ไม่สุขสันต์ หงุดหงิด เพราะติดมัน
       อันว่าใจ นั้นหรือ คือภายใน
มีสิ่งใด มาให้คิด จิตยึดมั่น
เกิดอารมณ์ ต่างต่าง เป็นบางวัน
นั่นแหละท่าน เรียกว่า ธรรมารมณ์
       อันภายนอก นั้นหรือ คือธรรมชาติ
ใครฉลาด รู้ทัน นั่นเหมาะสม
มีเรื่องราว ต่างต่าง เป็นอารมณ์
มันสะสม กันไว้ ในใจตน
       อันรูปรส กลิ่นเสียง และสัมผัส
มันเด่นชัด อยู่ในใจ ไม่สับสน
ตาหูจมูก ลิ้นกายใจ ในตัวคน
มันวกวน ไม่เที่ยงแท้ แปรเปลี่ยนไป
       พระพุทธองค์ ท่านทรง ตรัสสอนไว้
ให้ใส่ใจ ดูตน เร่งขวนขวาย
อายตนะ ภายนอก และภายใน
มันต่อไว้ ให้ทุกข์ ไม่สุขเอย

 

มองให้เห็นเป็นธรรมะ 

       อันถ้วยชาม               ที่เราใช้                          ให้น่าคิด                        
หลายชนิด มีทั้งบาง และทั้งหนา
กินแล้วล้าง ล้างแล้วกิน ทุกเวลา
แสนระอา น่าเบื่อ เหลือจะทน
       บางชนิด แตกง่าย เสียดายยิ่ง
ก็ต้องวิ่ง ซื้อใหม่ ให้สับสน
ใช้ประโยชน์ ได้น้อย ไม่ค่อยทน
เปรียบเหมือนคน เกิดไม่นาน พลันต้องตาย
       ยังมิได้ ศึกษา และปฏิบัติ
เพื่อกำจัด ขัดเกลา กิเลสหาย
ไม่ทำดี ไม่ทำชั่ว ตัวมาตาย
แสนเสียดาย มิได้ทำ กรรมที่ดี
       บางชนิด เนื้อหนา ราคาแพง
ใส่ทั้งแกง ใส่ทั้งต้ม สมศักดิ์ศรี
เปรียบเหมือนคน เกิดมา ปัญญาดี
กิเลสมี ก็ชำระ             ชนะมัน
       บางชนิด เนื้อหนา ราคาถูก
แต่ละลูก สนิมหนา น่าขบขัน
จะขัดล้าง อย่างไร ไม่ได้การ
ต้องพบพาน ความดำด่าง อย่างมืดมน
       เปรียบเหมือนคน กิเลสหนา ปัญญาน้อย
เหมือนคนถ่อย สอนอย่างไร ก็ไม่สน
มีสันดาน ชั่วช้า หาใช่คน
จะฝึกฝน อย่างไร ไม่ได้ดี
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า เหมือนถ้วยชาม บ้างไหมนี่
ถ้าจะเหมือน ก็ให้เหมือน ชามที่ดี
ดุจคนดี มีคุณธรรม นำสุขเอย

 

เรือน  ๓  น้ำ  ๔

       เรือนทั้งสาม              น้ำทั้งสี่                           ที่มีอยู่                           
มันเกิดอยู่ คู่กับสัตว์ อย่าสงสัย
เรือนทั้งสาม น้ำทั้งสี่ มีอะไร
จะบอกให้ สักนิด แล้วคิดดู
       เรือนที่หนึ่ง คือที่พัก ที่อาศัย
สร้างเอาไว้ เพื่อให้ตน เป็นคนอยู่
เราต้องทำ สะอาดไว้ ให้น่าดู
สบายหู สบายตา น่าพักพิง
       แม้นผู้ใด ทำให้ สกปรก
จนเป็นโรค ไม่ว่าใคร ทั้งชายหญิง
คนไปหา เห็นเข้า เขาท้วงติง
น่าเกลียดยิ่ง เป็นตัวอย่าง ทางไม่ดี
       ทั้งยังต้อง รักษา ดูแลไว้
อย่าปล่อยให้ ผุพัง ยังคงที่
แม้นที่ใด เสื่อมโทรม ซ่อมให้ดี
เพราะเป็นที่ พำนัก พักร่างกาย
       เรือนที่สอง คือกายเรา เฝ้ารักษา
หาเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม มาสวมใส่
คอยระวัง        อย่าให้             เจ็บป่วยกาย
ไม่สบาย ก็ต้องหา ยามากิน
       ทั้งยังต้อง ทำสะอาด อยู่เสมอ
อย่าพลั้งเผลอ ปะปน คนติฉิน
ต้องอาบน้ำ ล้างหน้า เป็นอาจิณ
อย่าให้กลิ่น เหม็นออกมา มันน่าอาย
       ต้องสำรวจ ตรวจดู กันให้ดี
ว่ากายนี้ ทำชั่ว บ้างหรือไม่
จงทำดี เพื่อให้ตัว อยู่สบาย
ไม่อับอาย ผู้อื่น เขาชื่นชม
       เรือนที่สาม คือเรือนใจ ใครเคยคิด
ว่าดวงจิต ของเรา เฝ้าขื่นขม
เพราะกิเลส มันอาศัย ให้ระทม
จึงตรอมตรม อยู่ทุกวัน แทบบรรลัย
       จำเป็นต้อง ทำใจ ให้สะอาด
ต้องกำจัด กิเลส อย่าสงสัย
หาพระธรรม คำสอน ช่วยผ่อนคลาย
ให้เรือนใจ คลายทุกข์ สุขน่ายล

 

น้ำ  ๔

       น้ำที่หนึ่ง                  คือน้ำใจ                          ใสสะอาด                       
เพราะไม่ขาด เมตตา มหากุศล
คือเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แก่ทุกคน
นั้นแหละคน ที่ดี มีน้ำใจ
       หากผู้ใด ไร้เมตตา น่าอนาถ
เป็นคนขาด คุณธรรม อย่าสงสัย
เป็นคนชั่ว เห็นแก่ตัว ไร้น้ำใจ
อย่าเข้าใกล้ น่ารังเกียจ ตัวเบียดเบียน
       ขอทุกท่าน จงสำรวจ ตรวจให้เห็น
ใจเราเป็น อย่างไร ที่ได้เขียน
ขาดน้ำใจ ก็จำไว้ เป็นบทเรียน
คอยติเตียน ใจท่าน นั้นแหละดี
       อันน้ำคำ เป็นที่สอง รองลงมา
ใช้วาจา พูดคำชั่ว ตัวหมองศรี
ขาดหิริ ความละอาย ใช่คนดี
ไม่ควรที่ จะคบค้า สมาคม
       คนที่ดี มีวาจา อันไพเราะ
พูดก็เพราะ มีเหตุผล อันเหมาะสม
มีหิริ โอตตัปปะ น่านิยม
ขอกล่าวชม ว่าท่าน นั้นคนดี
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าวาจา ที่เราใช้ ถูกไหมนี้
จงไตร่ตรอง ก่อนจะพูด สุดจะดี
จะไม่มี อันตราย กับกายเรา
       น้ำที่สาม คือน้ำแรง แข็งขยัน
ใช้แรงงาน ทางที่ผิด จิตโง่เขลา
ใช้แรงกาย ทำความชั่ว ไม่สร่างเซา
โทษหนักเบา ไม่เคยคิด จิตมืดมน
       อันคนดี มีสติ ระลึกได้
การจะใช้ แรงช่วย ด้วยเหตุผล
ช่วยผู้อื่น แม้จะเหนื่อย ก็ต้องทน
งานของตน ก็พยายาม ทำอย่างดี
       ขอทุกท่าน ก่อนจะใช้ โปรดได้คิด
แม้นใช้ผิด ทำความชั่ว ตัวหมองศรี
หากใช้ถูก ก็จะเกิด แต่ผลดี
ทั้งชีวี ไร้ทุกข์ สุขตามมา
       อันน้ำสี่ คือน้ำดื่ม และน้ำใช้
ขาดไม่ได้ แม้นไม่มี ก็ต้องหา
ทั้งใช้ดื่ม ใช้อาบ ล้างกายา
ทั้งหุงหา อาหาร นั้นมากมาย
       ต้องทำน้ำ ก่อนจะใช้ ให้สะอาด
โรคระบาด อยู่ในน้ำ ก็มากหลาย
ดื่มหรือใช้ จะเกิดโทษ ต่อร่างกาย
จะวุ่นวาย เจ็บไข้ ได้เหมือนกัน
       อีกเมรัย หาใช่เรียก ว่าน้ำดื่ม
ใครหลงลืม ดื่มเข้าไป ไม่สุขสันต์
เสียทรัพย์สิน เงินทอง ของสำคัญ
เสียชีวัน ต้องมอดม้วย ด้วยน้ำเมา
       เรือนทั้งสาม น้ำทั้งสี่ มีประโยชน์
จะเกิดโทษ เฉพาะตน คนโง่เขลา
ใช้ปัญญา ไตร่ตรอง ที่ตัวเรา
จะคลายเศร้า เพราะใช้ถูก เป็นสุขเอย

 

วัยของมนุษย์

       วัยที่หนึ่ง                  ปฐมวัย                          ได้แก่เด็ก                       
เธอยังเล็ก จิตของเจ้า เฝ้าใฝ่ฝัน
ถึงเรื่องกิน เรื่องเล่น เป็นปัจจุบัน
ไม่เกี่ยวพัน เรื่องใดใด ที่ไกลตัว
       จิตของเจ้า ยังห่างไกล ไร้เดียงสา
จะพูดจา น่าชัง ทั้งดีชั่ว
ตัวเจ้าน้อย กิเลสน้อย ไม่น่ากลัว
ความดีชั่ว ยังไม่เห็น เล่นอย่างเดียว
       แล้วต่อมา ปรากฏเห็น เป็นสาวหนุ่ม
เริ่มจะกลุ้ม เรื่องความรัก ชักหวาดเสียว
เริ่มรักสวย รักงาม ความปราดเปรียว
อยากท่องเที่ยว ให้ไกล ตามวัยตน
       เธอคิดถึง อนาคต อันสดใส
เธอใส่ใจ ในคู่ครอง เริ่มหมองหม่น
อยากอยู่ใกล้ ได้เห็น เป็นของตน
เริ่มวกวน เพราะตัณหา พาเธอไป
       มัชฌิมาวัย กลางคน ดิ้นรนมาก
มีความอยาก เพราะกิเลส เป็นเหตุใหญ่
หลงลาภยศ สรรเสริญ เพลินกันไป
ในหัวใจ กิเลสหนา พามืดมน
       ได้มาแล้ว ก็หลงว่า ข้าเป็นสุข
ใครจะทุกข์ อยู่ที่ใด ข้าไม่สน
ขอให้ข้า มีมากกว่า ทุกทุกคน
เห็นแก่ตน ลืมความตาย น่าอายจริง
       บางคนเข้า วัยนี้ มีปัญญา
แสวงหา พระธรรม นำทุกสิ่ง
ไม่หลงลาภ หลงยศ ปรากฏจริง
สงบนิ่ง ออกบวช สำรวจตน
       นำพระธรรม มาศึกษา หาสาเหตุ
ว่ากิเลส อยู่ในใจ ใฝ่ฝึกฝน
ไม่ยึดมั่น ถือมั่น นั่นตัวตน
เกิดเป็นคน ไม่มีสุข ทุกข์มากมาย
       เร่งศึกษา ปฏิบัติ             ขจัดออก
กิเลสนอก กิเลสใน น่าใจหาย
มันหมักดอง ในสันดาน นั้นมากมาย
เธอใส่ใจ ชำระ ชนะมัน
       ชนะใด ไหนจะเท่า เฝ้าฝึกฝน
ชนะตน นั้นประเสริฐ เลิศมหันต์
มีปัญญา เหมือนมีเกราะ คอยป้องกัน
ทุกคืนวัน ไร้ทุกข์ สุขสบาย
       ปัจฉิมวัย ย่างเข้ามา ยิ่งน่าคิด
ตลอดชีวิต ผ่านมา น่าใจหาย
หลงรูปรส กลิ่นเสียง แม้ใกล้ตาย
น่าเสียดาย เกิดเสียชาติ ขาดปัญญา
       ชอบทำตน เป็นปู่โสม คอยเฝ้าทรัพย์
คอยนั่งนับ เพราะกลัว มีปัญหา
ทรัพย์สมบัติ ใดใด ที่ได้มา
เป็นของข้า มิให้ใคร เก็บไว้ดู
       บางคนแก่ ลงไป ไร้สติ
กิเลสซิ พาเจ้าบ้า น่าอดสู
แก่ลงแล้ว มีอะไร ที่น่าดู
หลงเชิดชู ลาภยศ จนหมดลม
       บางคนแก่ ที่ดี มีปัญญา
รู้ตัวว่า ใกล้ตาย ให้ขื่นขม
รีบเข้าวัด เพื่อขจัด ซึ่งอารมณ์
ที่หลงชม กับกิเลส สังเวชใจ
       หาพระธรรม นำมา ปฏิบัติ
เพื่อขจัด จิตเศร้าหมอง ให้ผ่องใส
ไม่ว่ารูป รสกลิ่นเสียง สัมผัสใด
ปัญญาไว เห็นว่าทุกข์ ไม่สุขเลย
       ทั้งสามวัย ผ่านมา ก็น่าคิด
ตลอดชีวิต ทั้งสามวัย ไม่นิ่งเฉย
ทำทั้งดี ทำทั้งชั่ว ตัวเราเคย
ไฉนเลย จะหลุดพ้น จากวนเวียน

 

มองเขา – มองเรา

       ความมืดจาง              สว่างมา                          ตีห้าเศษ                        
แสนสังเวช หมู่สัตว์ ในสงสาร
ต้องรีบตื่น ลุกขึ้นมา น่ารำคาญ
หาอาหาร เพื่อเลี้ยงกาย วุ่นวายจริง
       ทั้งพระสงฆ์ ก็ทำกิจ มิได้ขาด
เพราะท่านขาด ปัจจัย ในทุกสิ่ง
ตื่นแต่เช้า เฝ้าถือบาตร องอาจจริง
ไม่อยู่นิ่ง เพราะต้องฉัน พลันต้องไป
       แม้นองค์ใด มีปัญญา ท่านก็คิด
เดินเป็นนิตย์ ทั้งไปมา น่าใจหาย
เป็นอย่างนี้ ทุกทุกวัน จนวันตาย
เกิดเบื่อหน่าย อยากจะพ้น จากวนเวียน
       ควรค้นคว้า หาพระธรรม คือคำสอน
ไม่นั่งนอน รีบไปหา มาขีดเขียน
แล้วจดจำ ทำให้ได้ ตั้งใจเรียน
คอยติเตียน ตัวเราเอง อย่าเกรงใจ
       สำรวจดู อยู่ทุกวัน อันกิเลส
สามประเภท โลภโกรธหลง อย่าสงสัย
รีบหาทาง ขจัด ปัดออกไป
นี่แหละใช่ ทางที่พ้น จากวนเวียน
       หากองค์ใด ไร้ปัญญา หาได้คิด
เธอกลับติด ในรูปรส และกลิ่นเสียง
กลับขวนขวาย หาให้ได้ มาใกล้เคียง
ความไม่เที่ยง เธอไม่เห็น ว่าเป็นจริง
       อันกิเลส นั้นเธอเห็น เป็นธรรมชาติ
เพราะเธอขาด ปัญญาชาญ การทุกสิ่ง
หลงลาภยศ สรรเสริญ เพลินเสียจริง
เห็นทุกสิ่ง ที่ชั่วช้า น่ากระทำ
       ทั้งพระธรรม พระวินัย เธอไม่คิด
กลับยึดติด ว่าตัวข้า มันน่าขำ
ขาดความคิด ว่าสิ่งใด เราควรจำ
เธอกลับทำ ตามกิเลส สังเวชใจ
       ทั้งแม่ขาว สาวแก่ แย่ซักหน่อย
เพราะต้องคอย ทำอาหาร เป็นการใหญ่
ถึงตีสาม ลุกขึ้นมา น่าเศร้าใจ
หมุนเวียนไป อยู่อย่างนี้ ทุกวี่วัน
       หากคนใด มีปัญญา คงน่าเบื่อ
เพราะเธอเชื่อ ว่านี่ทุกข์ ไม่สุขสันต์
ความไม่เที่ยง เกิดทุกข์ อยู่ทุกวัน
มารวมกัน ก็ยิ่งเห็น เป็นอนัตตา
       แต่บางคน ใส่ชุดขาว ขาวแต่ผ้า
กิเลสหนา โง่เขลา เจ้าปัญหา
อันผ้าขาว ห่อเจ้า เพียงกายา
ใจเธอหนา มืดดำ น่าขำจริง
       เราได้เห็น เป็นอย่างนี้ มาปีเศษ
ให้สังเวช ในใจ ในทุกสิ่ง
มาอยู่วัด ก็ประสบ พบความจริง
ทั้งชายหญิง อาศัยวัด ขาดคุณธรรม
       ทั้งพระสงฆ์ องค์เณร เถรและชี
ในวัดนี้ กิเลสหนา ช่างน่าขำ
หลวงปู่ท่าน สอนไว้ ก็ไม่จำ
มิหนำซ้ำ ยังทำลาย น่าอายจริง
       ข้าพเจ้า เข้ามา ในวัดนี้
ก็เพราะมี ความสุข ทุกทุกสิ่ง
แต่เห็นว่า ไม่ใช่สุข ที่แท้จริง
เห็นทุกสิ่ง ว่าเป็นทุกข์ สุขไม่มี
       จึงน้อมใจ ไขว่คว้า หาพระธรรม
เพื่อน้อมนำ ชำระจิต ให้ผ่องศรี
อันกิเลส ข้อใด ที่ยังมี
เรายินดี จะชำระ ชนะมัน
       ขอหลวงปู่ ผู้เลิศ ประเสริฐล้น
อีกหลายคน ยังเป็นทุกข์ ไม่สุขสันต์
จิตมืดมน ขอให้พ้น จากมืดพลัน
คิดสร้างสรรค์ มองเห็นทาง สว่างเอย

 

ชีวิตอุทิศธรรม

       เราป่วยกาย               ต้องพา                           ไปหาหมอ                      
ก็เพื่อพอ บรรเทา เราใช่ไหม
เดี๋ยวเจ็บนี่ ปวดนั่น มันวุ่นวาย
ไม่สบาย เป็นมนุษย์ สุดลำเค็ญ
       ตั้งแต่เกิด จนแก่ เป็นแง่คิด
สำรวจจิต มีแต่ทุกข์ สุขไม่เห็น
ทุกข์ทั้งกาย ทุกข์ทั้งใจ ใครอยากเป็น
แต่ไม่เห็น มีใครพ้น สักคนเดียว
       ถึงกระนั้น ท่านทั้งหลาย ไม่วายติด
ขาดความคิด ในหัวใจ ไม่เฉลียว
หลงลาภยศ สรรเสริญ แต่อย่างเดียว
จิตท่องเที่ยว อยู่ในกาม ไม่งามเลย
       อันรูปรส กลิ่นเสียง และสัมผัส
เห็นเด่นชัด พามัวเมา เราท่านเอย
เราหลงผิด คิดว่า น่าชมเชย
ไฉนเลย มีแต่ทุกข์ สุขไม่จริง
       วันเวลา ผ่านมา ห้าสิบปี
ตัวเรามี ดีและชั่ว มั่วทุกสิ่ง
แต่เดี๋ยวนี้ เราเข้าใจ ในความจริง
ว่าทุกสิ่ง          ที่เราเห็น นั่นเป็นกรรม
       เกิดละอาย เกรงกลัว ชั่วเกิดขึ้น
จึงต้องฝืน สร้างกรรมดี ทุกเช้าค่ำ
แล้วละชั่ว ประพฤติดี เป็นประจำ
ค่อยค่อยทำ ค่อยค่อยคิด เว้นผิดลง
       เคยทำชั่ว ทางกาย ก็ให้เว้น
ไม่จำเป็น ก็อย่าทำ ตามประสงค์
ละให้ได้ เว้นให้ขาด อย่างอาจอง
แม้นตายลง กายนี้ไซร้ ไร้มลทิน
       เคยทำชั่ว ทางวาจา ที่น่าเกลียด
เลิกเบียนเบียด ด้วยวาจา น่าติฉิน
ตั้งสัจจะ วาจา เป็นอาจิณ
เว้นให้สิ้น วาจาชั่ว อย่ามัวเพลิน
       เคยคิดชั่ว ทางใจ ไร้ปัญญา
จิตของข้า น่ารำคาญ ไม่สรรเสริญ
เลิกคิดชั่ว ชำระใจ ให้เจริญ
ขอดำเนิน ชีวิตตาม พระธรรมเอย

 

เรื่อง   ความซื่อสัตย์   (ในคุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ)

ต้องมีคุณธรรมประจำใจ  คือ มีสัจจะ   มีความเป็นธรรม   ไม่มีอคติ

       ความซื่อสัตย์             จะต้องถือ                        คือสัจจะ                        
จำต้องละ พูดปด งดพูดชั่ว
ต้องพูดจริง ทำจริง ไม่เมามัว
ไม่คิดชั่ว ไม่ทำชั่ว ไม่กลัวใคร
       ความเป็นธรรม หมายถึง ใจเป็นกลาง
ไม่เข้าข้าง ออกข้าง ทางฝ่ายไหน
ต้องส่งเสริม ผู้ทำดี มีต่อไป
จงใส่ใจ เร่งกระทำ แต่ความดี
       ไม่มีอคติ หมายถึง ไม่ลำเอียง
ไม่ลำเอียง เพราะรัก ในศักดิ์ศรี
ไม่ลำเอียง เพราะเกลียด นั้นไม่ดี
รักศักดิ์ศรี ของตน เป็นคนกลาง
       ไม่ลำเอียง เพราะกลัว อิทธิพล
มีเหตุผล ความถูกผิด คิดสะสาง
จะตัดสิน ความข้อใด ใจเป็นกลาง
ไม่ละวาง ความซื่อสัตย์ มัดใจคน
       ไม่ลำเอียง เพราะโง่เขลา เบาปัญญา
พิจารณา ให้รอบคอบ ด้วยเหตุผล
ไม่หูเบา เชื่อคนง่าย ทำลายตน
ไม่มืดมน มีปัญญา พาสุขใจ
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า มีคุณธรรม นี้หรือไม่
ถ้ามีแล้ว จงส่งเสริม กันต่อไป
ไม่มีไซร้ แสวงหา มาใส่ตน

 

คิดดี  พูดดี  ทำดี


คิดดี

       เมื่อจิตดี                  ย่อมคิดดี                         มีประโยชน์                     
ไม่มีโทษ ต่อตนเอง และผู้อื่น
เมื่อไตร่ตรอง เรื่องที่คิด จิตสดชื่น
สติตื่น พร้อมปัญญา พาคิดดี
       ผู้คิดดี เพราะมีธรรม ประจำจิต
เฝ้าแต่คิด ให้ทุกคน พ้นหมองศรี
มีความสุข ทุกคืนวัน ตลอดปี
เป็นคนดี พร้อมมูล ด้วยคุณธรรม
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า เคยคิดดี บ้างหรือไม่
คิดดีแล้ว ก็จงคิด ติดต่อไป
ไม่เคยไซร้ จงไตร่ตรอง ลองคิดดู

 

พูดดี

       เมื่อพูดดี                  จะเป็นศรี                         สง่าหน้า                        
ใช้วาจา อันไพเราะ เสนาะหู
เรื่องที่ดี ก็ไม่มี แม้ศัตรู
ผู้ฟังรู้ เกิดปัญญา พาสุขใจ
       ให้พระธรรม คำสอน วอนให้เกิด
ปัญญาเลิศ รู้ในธรรม นำสดใส
จิตที่ดี วาจาดี ไม่มีภัย
วาจาใจ ล้วนประเสริฐ เลิศอนันต์
       ขอทุกท่าน จงคิด พินิจดู
จะได้รู้ ว่าคุณค่า วาจาฉัน
ดีหรือชั่ว ไตร่ตรองดู รู้เร็วพลัน
แล้วจัดการ แก้ไข ให้พูดดี

 

ทำดี

       ทำความดี                ทางกาย                         พาให้เกิด                       
สิ่งประเสริฐ คือจริยธรรม นำสดใส
มีทั้งศีล มีทั้งธรรม ประจำกาย
ชีวิตวาย ก็เป็นสุข ทุกข์ห่างไกล
       เมื่อคิดดี พูดดี และทำดี
แล้วจะมี ความชั่ว ได้ไฉน
เป็นคนดี ทั้งกาย วาจาใจ
คุณธรรมไซร้ ท่วมท้น ล้นชีวี
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า มีทั้งสาม อร่ามศรี
สุขทั้งกาย สุขทั้งใจ ในความดี
ไม่เสียที ที่ประสบ พบพระธรรม

 

คุณธรรม

       คุณธรรม                  คือความดี                        มีที่จิต                          
เฝ้าแต่คิด ถึงบาปบุญ คุณและโทษ
คิดแต่สิ่ง ที่ดีดี มีประโยชน์
ไม่มีโทษ ต่อจิต เพราะคิดดี
       ถ้าคิดชั่ว มัวเมา ในอำนาจ
ทำให้ขาด คุณธรรม นำหมองศรี
ใช้อำนาจ ในทางผิด คิดไม่ดี
ไม่ผ่องศรี จิตเศร้าหมอง ครองใจตน
       ถ้าคิดชั่ว มัวเมา ในลาภยศ
ทำให้หมด คุณธรรม จำขื่นขม
จิตวิตก ถึงลาภยศ หมดอารมณ์
จิตตรอมตรม ว่าเมื่อไร จะได้มา
       ได้มาแล้ว ก็กลัวเสีย ละเหี่ยจิต
เฝ้าแต่คิด หวงแหน แน่นหนักหนา
แม้นเสียไป เราคงตาย วายชีวา
คิดขึ้นมา ก็เกิดทุกข์ ไม่สุขใจ
       ขอทุกท่าน โปรดจงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า
มีคุณธรรม บ้างหรือไม่
ถ้ามีแล้ว จงสร้างเสริม กันต่อไป
ไม่มีไซร้ จงใฝ่หา พาสุขเอย

 

จริยธรรม 

       จริยธรรม                 คือความดี                       ที่มีอยู่                           
ทางกายรู้ วาจารู้ อยู่เสมอ
มีสติคุม กายวาจา อย่าเผอเรอ
นั่นแหละเธอ คือผู้ดี มีจริยธรรม
       ถ้าผู้ใด หลงตน คือคนผิด
มักยึดติด ในกายา น่าขบขัน
ว่าข้าดี ข้าสวย รวยแข่งกัน
ไม่มีวัน จะมีสุข ทุกข์ไม่คลาย
       การแสดงออก ทางกายา ก็น่าเกลียด
ชอบเบียนเบียด ผู้อื่น ให้เสียหาย
เห็นแก่ตัว มัวเมา วาจากาย
หลงทำลาย ตัวเอง ไม่เกรงกลัว
       ไม่รู้ว่า บาปบุญ คุณหรือโทษ
ได้ประโยชน์ ข้าก็ทำ แม้ความชั่ว
จะเกิดทุกข์ กับใคร ข้าไม่กลัว
ทั้งรวมหัว โกงกินชาติ อนาถใจ
       ขอทุกท่าน โปรดจงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า มีจริยธรรม บ้างหรือไม่
ถ้ามีแล้ว จงสร้างเสริม กันต่อไป
ไม่มีไซร้ จงใฝ่หา พาสุขเอย

 

สามัคคีธรรม

       สามัคคี                   เกิดขึ้นได้                        ใจเป็นธรรม                     
ต้องน้อมนำ เอาเมตตา มาส่งเสริม
มีความรัก ความปราณี เข้าเพิ่มเติม
ช่วยส่งเสริม ให้จิต คิดเมตตา
       คอยช่วยเหลือ เอื้ออาทร ผ่อนหนักเบา
ช่วยเหลือเขา เฝ้าดูแล แก้ปัญหา
ปรารถนาดี ต่อทุกคน ด้วยเมตตา
เฝ้าภาวนา ให้ทุกคน พ้นทุกข์ไป
       สัมมาทิฏฐิ หมายถึง ความคิดเห็น
แม้ลำเค็ญ ก็อย่าคิด ผิดกฎหมาย
คิดให้ถูก ทำให้ถูก ทั้งใจกาย
ตั้งใจไว้ ให้ถูกต้อง ครรลองธรรม
       วัฒนธรรม จารีต ประเพณี
สิ่งที่ดี ควรรักษา และสร้างสรรค์
สามัคคี ในสังคม ชื่นชมกัน
ความสุขสันต์ เกิดขึ้นจริง ทั้งหญิงชาย
       ความเป็นธรรม หมายถึง ใจเป็นกลาง
ยอมรับฟัง ความคิดเห็น ผู้อื่นได้
แม้มีความ แตกต่าง บางอย่างไป
ก็เข้าใจ ทุกประเด็น ด้วยเป็นธรรม
       ขอทุกท่าน จงมี ไมตรีเถิด
จะได้เกิด ผลบุญ อุปถัมภ์
จะอยู่ดี มีสุข ก็เพราะกรรม
ทุกคนทำ แต่กรรมดี มีสุขเอย

 

เหตุ   รู้ผล   รู้ตน   รู้ประมาณ


รู้เหตุ   รู้ผล

       ผู้รู้เหตุ                    หมายถึง                         ซึ่งความจริง                    
ที่ใหญ่ยิ่ง ในชีวิต คิดสับสน
ต้องเข้าใจ ในเหตุเถิด เกิดกับตน
จะส่งผล ให้เป็นสุข หรือทุกข์ใจ
       อะไรเป็นเหตุ ให้เกิดสุข สนุกสนาน
จงสร้างสรรค์ ไว้เถิด เลิศสดใส
จงคิดดี พูดดี ทั้งกายใจ
ความสุขไซร้ ก็ส่งผล ให้ตนสบาย
       ขอทุกท่าน จงคิด พิจารณา
ว่าตัวข้า เป็นผู้รู้ จริงหรือไม่
เมื่อรู้แล้ว จงปฏิบัติ สืบต่อไป
ไม่รู้ไซร้ รีบศึกษา อย่าละเลย

 

รู้ตน   รู้ประมาณ

       รู้จักตน                     รู้ประมาณ                        กาลเวลา                       
รู้คุณค่า ของตน เป็นไฉน
ว่าตนเอง อยู่ใน ฐานะใด
ต้องใส่ใจ ฝึกฝน เป็นคนดี
       ชาติตระกูล ยศถา บรรดาศักดิ์
ก็รู้จัก รักษาไว้ ให้ผ่องศรี
ไม่ทำตัว มัวเมา เคล้าโลกีย์
รู้จักดี ว่าตน จนหรือรวย
       รู้จักประมาณ ในการ ใช้ทรัพย์
จะหยิบจับ ใช้สอย ก็พอสวย
รู้ประมาณ การกิน ไม่สำรวย
แม้ความสวย ประหยัดไว้ อย่าให้เกิน
       แม้นมีมาก ใช้มาก เรื่องเงินตรา
ก็จะพา หมดตัว ไม่สรรเสริญ
รู้จักเหตุ รู้จักผล ไม่ขาดเกิน
รู้ประเมิน ในตน เป็นคนดี
       ขอทุกท่าน จงเพ่งพิศ จิตกุศล
ให้รู้ตน รู้ประมาณ กับทุกที่
ประพฤติตน ให้เหมาะสม เป็นการดี
ก็จะมี ความสุข ไร้ทุกข์เอย

 

ความรัก  ของแม่

       เมื่อแม่รู้                    ว่าในท้อง                       มีลูกน้อย                        
แม่เฝ้าคอย ลูกรัก ปักใจห่วง
อยากเห็นหน้า ถ้าได้อุ้ม ประทับทรวง
ทั้งหวงห่วง ผู้เป็นบุตร สุดดวงใจ
       แม่นั่งนอน ยืนเดิน ไม่เพลินนัก
กลัวลูกรัก จะสะเทือน เมื่อเคลื่อนไหว
เมื่อลูกน้อย หิวอาหาร ชนิดใด
แม่รีบไป หามาไว้ ให้ลูกทาน
       ลูกบางคน อยู่ในท้อง แม่ต้องแพ้
ไม่ท้อแท้ แม้เจ็บป่วย ด้วยสังขาร
ทั้งอาเจียน ทั้งมืดหน้า พารำคาญ
ทั้งการงาน ทำไม่ไหว แต่ใจดี
       เมื่อลูกน้อย คล้อยเคลื่อน ออกจากครรภ์
สิ่งที่ฝัน เมื่อเห็นบุตร สุดผ่องศรี
กอดลูกน้อย ในอ้อมแขน แสนเปรมปรีดิ์
ในฤดี แสนสนุก เป็นสุขใจ
       จะมี สิ่งใดเล่า ในโลกนี้
จะยินดี เท่ามีบุตร สุดขานไข
ความรักแม่ มีให้บุตร สุดดวงใจ
เหนือสิ่งใด ในโลกนี้ ไม่มีเลย
       ลูกทุกคน ควรคำนึง ถึงความรัก
เมื่อประจักษ์ อย่าประวิง หรือนิ่งเฉย
ควรทดแทน บุญคุณ แม้ไม่เคย
อย่าละเลย พระคุณท่าน นั้นไม่ดี
       จงใคร่ครวญ และตระหนัก รักของแม่
เป็นรักแท้ บริสุทธิ์ ดุจรัศมี
ของดวงจันทร์ อันเจิดจ้า ไร้ราคี
สมควรที่ เทิดทูนไว้ ใส่ใจเอย

 

บทกลอนพิเศษ (ความพอเพียง)

       มีสลึง                     พึงบรรจบ                        ให้ครบบาท                    
อย่าให้ขาด สิ่งของ ต้องประสงค์
มีน้อย ใช้น้อย ค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลง ให้มาก จะยากนาน

 

บทกลอนพิเศษ  (ความไม่พอเพียง)

       มีสลึง                     พึงบรรจบ                        ให้ครบบาท                    
ไปตลาด
ฟาดให้เหี้ยน เตียนกระเป๋า
ถ้าไม่มี
ก็หยิบยืม ผู้อื่นเอา
เกิดความเศร้า
เมื่อไม่มี ใช้หนี้คืน
view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view