http://www.porjarearntum.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ05/04/2009
อัพเดท06/09/2022
ผู้เข้าชม712,086
เปิดเพจ963,584

บริการ

หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ติดต่อเรา

บทกลอนธรรมะ

จูงมือลูกเดิน

ระลึกได้และรู้ตัวหมายความว่าอย่างไร

รัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

อันตรายของภิกษุ สามเณร ผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง

ความจริงอันประเสริฐที่ควรรู้ ๔ ประการ

ธรรมะอันทำให้งาม มี ๒ ประการ

ธรรมคุ้มครองโลก

เสียงเทศน์ทำใหม่ล่าสุด

วงล้อแห่งพระธรรมที่นำไปสู่ความเจริญ ๔ อย่าง

ทุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

สุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

วิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการ หมายความว่าอย่างไร

คุณของรัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด

มูลเหตุของความโง่เขลา

มูลเหตุของความฉลาด

ท่านรู้จักตนเองว่ามีกิเลสหรือไม่ ต้องพิจารณาอย่างไร

ท่านรู้จักมนุษย์ ๔ ประเภทหรือยัง ?

คิดดี พูดดี ทำดี

ความสุข ความทุกข์ ความสบาย แตกต่างกันอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ

ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบและเกิดปัญญา

ศาสนาคืออะไร

ป่วยกาย ป่วยใจ หมายความว่าอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ (เนื้อหา)

ทำความดีเพื่ออะไร

คุณธรรม ๕ ประการ สนับสนุนความสำเร็จ

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมายความว่าอย่างไร

ศีล ในพระพุทธศาสนา ๒๒๗ ข้อ ภาคภาษาไทย อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ปัจจัย ๔ รูปธรรม และ ปัจจัย ๔ นามธรรม

มนุษย์ เป็นโรค ๔ อย่าง บ้า ใบ้ บอด หนวก

ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาปหมายความว่าอย่างไร

ระวังจิต ระวังอารมณ์ หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา มีจริงหรือไม่

จิตสงบ จิตว่าง แตกต่างกันอย่างไร

อยากรู้ อยากห็น อยากเป็น อยากไป หมายความว่าอย่างไร

มืดมามืดไป และสว่างมาสว่างไป หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่มีมาก ทำให้น้อยลง สิ่งที่มีอยู่ทำให้หมดไป

ความเห็นแก่ตัว กับการรักตัวเอง

ท่านพบเห็นเมืองพอแล้วหรือยัง

การทำความชั่วเพราะเหตุ ๔ ประการ

รู้จด รู้จำ รู้แจ้ง หมายความว่าอย่างไร

สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ฟังธรรมเป็นยาฉีด จริงหรือ

ผู้ที่ไม่แต่งงาน จะตกนรก จริงหรือไม่

มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ

ก็ต้อง ก็ได้ ก็ดี หมายความว่าอย่างไร

บันใด ๘ ขั้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

งามทั้ง กาย วาจา ใจ

ผู้ที่ฝีกสมาธินาน ๆ ไม่เกิดปัญญาเพราะเหตุใด

คิดอย่างไรจึงไม่เกิดทุกข์

จิตใต้สำนึก

คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ

ทำใจ หมายความว่าอย่างไร

ประเพณีงานศพที่ถูกต้อง... เหตุใดจึงต้องเผาศพ...

ความเบื่อของปุถุชนกับความเบื่อของพระอริยะ

พระราชดำรัส คุณธรรม ๔ ประการ(เนื้อหา)

มีสิ่งใด สิ่งนั้นก็เสื่อม

บวชเพื่ออะไร

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือ

ทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์

บุคคลที่หาได้ยาก ความกตัญญูกตเวที

การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดหรือถูก...

ความหวัง

มืดมาสว่างไป สว่างมามืดไป หมายความว่าอย่างไร

ผู้ที่ขัดขวางการปฏิบัติธรรม มีโทษอย่างไร

แผ่นพับธรรมะ

คิดดี พูดดี ทำดี

 

จูงมือลูกเดิน

คำสอนที่สามารถพิสูจน์ได้

คิดดี   พูดดี   ทำดี

(think good , speak good , make good thing ,)

  โดย  ป. เจริญธรรม

 

พิมพ์ครั้งที่      วันที่      กุมภาพันธ์   ๒๕๕๓    

จำนวน  .................. เล่ม

สงวนลิขสิทธิ์ ตาม    พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์  พ.ศ. ๒๕๔๖ 

พิสูจน์อักษร  โดย  คณะ  ป. เจริญธรรม

 

 

จัดทำ และเรียบเรียงโดย   

คณะ ป.เจริญธรรม

๑๒๙ หมู่ที่    ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง

จังหวัดขอนแก่น  ๔๐๐๐๐

 

โทรศัพท์ ๐-๔๓๔๖-๖๔๕๒   , ๐๘-๕๘๕๓-๙๔๓๓

           

 

 

 

 

 

คำนำ

 

            หนังสือ จูงมือลูกเดิน  คิดดี  พูดดี  ทำดี    เป็นหนังสือเสริมความรู้  สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  กลุ่มสาระการเรียนรู้   วิชาสังคมศึกษา ศาสนา  และวัฒนธรรม  จัดทำขึ้น โดย  

คณะ ป. เจริญธรรม  อันประกอบด้วย 

คณะ ป.เจริญธรรม 

 

๑.   แม่ชี  ประยงค์       ธัมวงศานุกูล                ประธานคณะ ป. เจริญธรรม

๒.  อาจารย์ สำเภา       เติมศักดิ์                       ข้าราชการบำนาญ อดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการ

โรงเรียนบ้านทุ่ม อำเภอเมือง

จังหวัดขอนแก่น

๓. อาจารย์  ชื่นจิต       ดลโสภณ                      ข้าราชการบำนาญ อดีตอาจารย์    ระดับ ๗ 

                                                                                     โรงเรียนสนามบิน อำเภอเมือง 

                                                                                     จังหวัดขอนแก่น        

๔. นาย  บุญธรรม        อิ่มนาง                         ข้าราชการบำนาญระดับ   

                                                                        มหาวิทยาลัยขอนแก่น

๕. พ.ต.ท. พรเทพ       บูชาอินทร์                   สารวัตรปกครองป้องกัน  สถานี

                                                                         ตำรวจภูธรโนนศิลา   อำเภอโนนศิลา 

                                                                         จังหวัดขอนแก่น

๖. นาย สมชาย             เติมศักดิ์                       ข้าราชการระดับ    มหาวิทยาลัยขอนแก่น

๗. นางสาว กัญญานัฏฐ์   เติมศักดิ์                   ผู้จัดการ บริษัท  บีเอ็มทราเวล  บัดดี้  

อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น 

  

 

             หนังสือเล่มนี้ให้ความรู้พื้นฐาน  ในการส่งเสริม  ปลูกฝังให้นักเรียน   นักศึกษา  เด็กและเยาวชน  มีคุณธรรม  จริยธรรม  ได้นำพระธรรม  คำสอน  ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  มาประกอบพร้อมยกตัวอย่าง ในแต่ละข้อ  เพื่อให้ มีความชัดเจนยิ่งขึ้น 

            คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษา  พุทธศาสนิกชน และประชาชนทั่วไป  ผู้สนใจใคร่รู้   ได้ศึกษาแล้วน้อมนำไปปฏิบัติตาม  จนทำให้เกิดคุณธรรมและสติปัญญาเพิ่มขึ้น  ทำให้เป็นผู้ที่  คิดดี  พูดดี  ทำดี ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น รวมทั้งสังคมประเทศชาติบ้านเมืองสืบต่อไป  และขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วม     

ในการจัดทำไว้     โอกาสนี้

 

 

คณะ ป. เจริญธรรม

วันที่        กุมภาพันธ์     ๒๕๕๓

  

 

 

                                                                                 สารบัญ

 

 

เรื่อง   คิดดี  พูดดี  ทำดี                                           หน้า

 

๑.     บทที่       คิดดี                                                                           

๒.    มโนสุจริต                                                                                

๓.    บทที่      พูดดี                                                                           

๔.    วจีสุจริต                                                                                 

๕.    บทที่      ทำดี                                                                            

๖.     กายสุจริต                                                                                 

๗.    บรรณานุกรม                                                                               

 

คิดดี   พูดดี   ทำดี

 

บทที่   คิดดี

 

คิดดี  หมายถึงคิดในเรื่องที่ดีมีประโยชน์  ต่อตนเองและผู้อื่น รวมทั้งสังคม ประเทศชาติ  บ้านเมืองผู้ที่จะคิดดีได้นั้น จะต้องมีคุณธรรมประจำใจ  มี มโนสุจริต   และมี เมตตา  คือความรัก  มีกรุณา คือความสงสาร

 

มโนสุจริต      ประการ   มีดังนี้

๑)  ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น

๒)  ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น

๓)  ไม่เห็นผิดจากครรลองคลองธรรม

           (๑)   ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น  หมายถึง  ผู้ที่มีสติปัญญาดี  มีคุณธรรมประจำใจ  มีความสันโดษมักน้อย   มีเมตตา  คือ ความรัก  มีกรุณา คือความสงสาร  ปรารถนาให้ทุกชีวิตมีความสุข  พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนต่าง ๆ เข้าใจในความเป็นจริงว่า  จะมีทรัพย์สินเงินทอง  หรือสิ่งใด ๆ มากน้อยก็ตาม  เป็นเพียงสิ่งสมมุติขึ้นให้มีค่าแตกต่างกันไป  เพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย  ในชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์เท่านั้น  เช่น เงินทองที่สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นได้  มี ปัจจัย ๔ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย  ยารักษาโรค  รวมถึงที่ดิน ตึกอาคารบ้านเรือน  รถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน และทรัพย์สินอื่น ๆ เป็นต้น  เพื่อให้ชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย  แต่ทุกอย่างที่มีอยู่  จะมากหรือน้อยก็ตาม เมื่อตายไปแล้ว  ก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้เลย  เป็นเพียงความสุข  คือความพอใจของมนุษย์ปุถุชนเท่านั้น  หาใช่ความสุขที่แท้จริงไม่  เมื่อคิดได้ดังนี้แล้ว  จึงไม่ลุ่มหลงมัวเมา  ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นสิ่งวิเศษที่สุดในชีวิต  มีความสันโดษมักน้อยเป็นสันดาน  พอใจในสิ่งที่มี  ที่ได้  ที่เป็น  แล้วเอาสิ่งที่มีอยู่  หรือสิ่งที่ได้มา  นำไปแบ่งปันช่วยเหลือสังคม  โดยบริจาคสร้างสาธารณประโยชน์ สร้างวัด โรงเรียน โรงพยาบาล    สร้างถนนหนทาง  สร้างสะพาน  หรือให้การช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก  และผู้ประสบภัยธรรมชาติต่าง ๆ เป็นต้น  ถ้ามีมากก็แบ่งปันให้มาก   ถ้ามีน้อยก็แบ่งให้น้อย  โดยไม่ให้ตนเองเดือดร้อน นี้คือ ผู้ที่คิดดี  คิดอยากให้  ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น  เพราะมีคุณธรรม คือมีความสันโดษมักน้อย  มีเมตตา กรุณา เป็นคุณธรรมประจำใจ   

           ส่วนผู้ที่คิดชั่ว  โลภอยากได้ของผู้อื่น  จะลุ่มหลงมัวเมาในทรัพย์สมบัติเงินทอง ยึดมั่นถือมั่น  ว่าเป็นสิ่งวิเศษสุดในชีวิต   มีความเห็นแก่ตัว    คิดทุจริตคดโกง  คิดอยากได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของตนเองหรือผู้อื่น  แม้จะผิดกฎหมาย   ผิดครรลองคลองธรรมก็ตาม นี้คือ  ความคิดชั่ว  เพราะขาดความสันโดษมักน้อย ขาดเมตตา  กรุณา  เป็นคุณธรรมประจำใจ

            (๒)  ไม่พยาบาท  ปองร้ายผู้อื่น  หมายถึงผู้มีสติ  ปัญญาดี  มีคุณธรรมประจำใจ  มีเมตตา  คือ ความรัก มีกรุณา คือความสงสาร  ปรารถนาให้ทุกชีวิตมีความสุข  พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนต่าง ๆ  มี อภัยทาน มีการให้อภัยไม่จองเวร  ไม่ถือโทษโกรธเคือง  ไม่อาฆาตพยาบาท  ผู้ที่คิดปองร้ายเรา  ให้เขามีโอกาสกลับตัวกลับใจ  เลิกอาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น  ให้เขาเป็นคนคิดดี  ไม่เป็นศัตรูกับใคร  นี้คือ  ผู้ที่คิดดี  มีเมตตา  กรุณา  ให้อภัย  เป็นคุณธรรมประจำใจ           

             ผู้ที่คิดชั่วพยาบาท ปองร้ายผู้อื่น  หมายถึงผู้ที่มีสติปัญญาน้อย  ไม่มีเมตตา กรุณา  ไม่มีอภัยทาน  มีความคิดอาฆาตพยาบาทปองร้าย ชีวิตหรือทรัพย์สินของผู้อื่น  เป็นศัตรูกับผู้อื่น นี้คือผู้ที่คิดชั่ว  มีความอาฆาตพยาบาท  เพราะขาด เมตตา  กรุณา  ขาดอภัยทาน  เป็นคุณธรรมประจำใจ

            (๓)  ไม่เห็นผิดจากครรลองคลองธรรม  หมายถึงผู้ที่มีศีล มีธรรมประจำ  กาย  วาจา  ใจ  เช่น ศีล ๕  ธรรม ๕, ศีล ๘ , ศีล ๑๐ , ศีล ๒๒๗  เป็นผู้ปฏิบัติตาม พระธรรม  พระวินัย  อย่างเคร่งครัด  รู้บาป บุญ คุณ โทษ รู้ผิด  ถูก  ชั่ว  ดี  คิดละชั่ว  คิดจะทำแต่ความดี  และคิดชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์   จากกิเลสทั้ง    อย่าง  คือ ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ให้หมดไปจากจิตใจ  เพื่อเข้าสู่แดนวิมุต  หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด  นี้คือ  ผู้ที่คิดดีไม่เห็นผิดจากตามครรลองคลองธรรม  เพราะมีศีล  มีธรรม ประจำกาย  วาจา  ใจ          

            ผู้ที่เห็นผิดจากครรลองคลองธรรม  หมายถึงผู้ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรม  ประจำกาย วาจา ใจ  ไม่รู้บาป บุญ คุณ โทษ  ไม่รู้ผิด ถูก ชั่ว ดี  คิดทำผิดพระธรรม พระวินัย  คิดทำแต่ความชั่ว  จิตถูกกิเลสครอบงำ  ไม่เคยคิดชำระกิเลสให้หมดไปจากจิตใจ  จึงต้องเวียนว่ายตายเกิด  ทุกข์ทรมาน  ในชาตินี้  และทุกชาติ ๆ ไป  นี้คือ  ผู้ที่คิดชั่ว  เห็นผิดจากครรลองคลองธรรม  เพราะขาดศีล  ขาดธรรม  ประจำกาย  วาจา  ใจ

            ผู้ที่คิดดีอยู่เสมอ ๆ จิตใจก็จะสงบเยือกเย็นเป็นสุข ไม่ร้อนรน กระวนกระวาย  เพราะมีคุณธรรมประจำใจ

            ผู้ที่คิดชั่วเสมอ ๆ จิตใจจะเป็นทุกข์  ร้อนรน  กระวนกระวาย  หาความสุขไม่ได้เลยตลอดชีวิต  เพราะไม่มีศีล ไม่มีธรรม ประจำใจ  จิตจึงเป็นทาสของกิเลสตลอดเวลา

 

บทที่      พูดดี

 

พูดดี  หมายถึง พูดความจริง  ในเรื่องที่ดีมีประโยชน์ต่อตนเอง  และผู้อื่น  รวมทั้งสังคม ประเทศชาติบ้านเมือง  ผู้ที่จะพูดดีได้นั้น  ต้องมีคุณธรรมประจำกาย  วาจา  ใจ คือ

มี วจีสุจริต  มีเมตตา คือความรัก  มีกรุณา คือความสงสาร

 

วจีสุจริต     ประการ  มีดังนี้

 ๑)  เว้นจากการพูดเท็จ

 ๒)  เว้นจากการพูดส่อเสียด

 ๓)  เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

 ๔)  เว้นจากการพูดคำหยาบ

 (๑)  เว้นจากการพูดเท็จ  หมายถึงไม่พูดโกหก  หลอกลวง  ให้ผู้อื่นเดือดร้อน เช่น

หลอกลวงเอาทรัพย์สินเงินทอง  หลอกลวงไปขายบริการทางเพศ  หลอกลวงไปเสพ

ยาเสพติด  เล่นการพนัน  เป็นต้น 

ดังนั้น  เมื่อไม่พูดเท็จแล้ว  ต้องพูดแต่ความจริง  ในเรื่องที่ดีมีประโยชน์                                                                                   

           (๒)  เว้นจากการพูดส่อเสียด  หมายถึงไม่พูดให้ผู้อื่นเดือดร้อน  ให้เจ็บช้ำน้ำใจ  ไม่พูดใส่ร้ายป้ายสี  ให้ผู้อื่นอับอายขายหน้า  ทำให้เสียชื่อเสียง  เปรียบเทียบกับสิ่งชั่วร้ายหรือสัตว์เดรัจฉาน  ต่าง ๆ เป็นต้น 

ดังนั้น  เมื่อไม่พูดส่อเสียดแล้ว  ต้องพูดแต่เรื่องที่ดี  ให้ผู้อื่นฟังแล้วสบายใจ 

           (๓)  เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ  หมายถึงไม่พูดเรื่องไร้สาระ  ไม่พูดพร่อย ๆ  ไม่พูดเพ้อเจ้ออยู่คนเดียว  ไม่พูดร่ำไร  ซ้ำซากทำให้ผู้ฟังเบื่อหน่าย  รำคาญ  เดือดร้อน  เกลียดชัง  ต้องรู้จักกาลเทศะในการพูด   คือไม่พูดในเวลา  และสถานที่ที่ไม่ควรพูด  เป็นต้น 

ดังนั้น  เมื่อไม่พูดเพ้อเจ้อแล้ว  ต้องพูดแต่เรื่องที่ดี  มีสารประโยชน์ 

            (๔)   เว้นจากการพูดคำหยาบ  หมายถึง ไม่พูดคำที่ไม่สุภาพ หรือคำที่สังคมไม่นิยมพูด  เมื่อผู้อื่นฟังแล้วเกิดความโกรธเคือง  ไม่พอใจ เช่น เปรียบเป็นอวัยวะที่ต่ำ เช่น คำว่า ส้นตีน หรือเปรียบเทียบเป็นสัตว์เดรัจฉาน เช่น “เหี้ย หรือสัตว์อื่น ๆ   ไม่ด่า เปรียบเทียบเป็นสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ   เช่น  เปรต นรก อสุรกาย  เดรัจฉาน   เป็นต้น

ดังนั้น  เมื่อไม่พูดคำหยาบแล้ว  ต้องพูดแต่คำที่สุภาพอ่อนโยน  ฟังแล้วสบายหูสบายใจ 

            ผู้ที่พูดดี  หมายถึง  ผู้ที่มี  วจีสุจริต  มีสัจจะ มีความเมตตา  กรุณา  มีศีล  มีธรรม  เป็นคุณธรรม ประจำกาย  วาจา  ใจ   ปรารถนาให้ทุกชีวิตเป็นสุข  พ้นจากความทุกข์  ความเดือดร้อน  ในคำพูดต่าง ๆ ไม่พูดเท็จ  ไม่พูดส่อเสียด  ไม่พูดเพ้อเจ้อ  ไม่พูดคำหยาบ  จึงมีความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย  มีแต่มิตร ไม่มีศัตรู  อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

            ผู้ที่พูดชั่ว  หมายถึง ผู้ที่ไม่มีวจีสุจริต  ไม่มีสัจจะ ไม่มีความเมตตา  กรุณา  ไม่มีศีล  ไม่มีธรรม   เป็นคุณธรรม ประจำกาย  วาจา  ใจ  ไม่รัก ไม่สงสารผู้ใด  มีความอิจฉาริษยา  อาฆาตพยาบาท  จึงพูดแต่เรื่องที่ทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์  เดือดร้อนเสมอ ๆ  ชอบพูดเท็จ  พูดส่อเสียด  พูดเพ้อเจ้อ  พูดคำหยาบ  จึงไม่มีมิตรมีแต่ศัตรู  สร้างความเดือดร้อนให้กับหมู่คณะ  อยู่ในสังคมอย่างไม่มีความสุข

 

บทที่       ทำดี

            ทำดี  หมายถึง  การนำกายไปประกอบกรรมดี   ทำในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น  รวมทั้งสังคมประเทศชาติบ้านเมือง 

            ผู้ที่จะทำดีได้นั้น  จะต้องมีคุณธรรมประจำกาย วาจา  ใจ  คือมี  กายสุจริต  และ มี เมตตา คือความรัก  มี กรุณา  คือความสงสาร

 

กายสุจริต      ประการ  มีดังนี้

๑)     เว้นจากการฆ่าสัตว์

๒)     เว้นจากการลักทรัพย์

๓)     เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

           (๑)  เว้นจากการฆ่าสัตว์  หมายถึงไม่ฆ่ามนุษย์และสัตว์เดรัจฉานทุกชนิด  เพราะมีความรัก  ความสงสาร ปรารถนาให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณ  มีความสุข  พ้นจากความทุกข์  จึงไม่ฆ่าสัตว์  ไม่ทรมานสัตว์  กลับช่วยเหลือชีวิตสัตว์  ที่กำลังจะตายให้มีชีวิตรอดอยู่ต่อไป  ช่วยเหลือสัตว์ที่กำลังได้รับความทุกข์  ทรมาน  ให้พ้นจากความทุกข์ทรมาน  ให้มีความสุข   ช่วยเหลือผู้ที่อดอยากยากจน ไม่มีอาหารจะกิน  ไม่มีเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มสวมใส่  เราก็นำอาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มไปให้   เพื่อบรรเทาความหิวและความหนาว หรือเห็นมนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน  ทั้งหลายที่เจ็บป่วย  เราก็ช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาล หรือนำยารักษาโรคมาบรรเทาความทุกข์  ความเดือดร้อน เป็นต้น  นี้คือ  ผู้ที่นำกายไปประกอบกรรมดี  เพราะมีคุณธรรมประจำกาย  วาจา  ใจ  มี  เมตตา  กรุณา  จึงไม่ฆ่าสัตว์กลับช่วยเหลือชีวิตสัตว์ให้อยู่อย่างสุขสบาย

           (๒)  เว้นจากการลักทรัพย์  หมายถึง  ไม่เอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน  ผู้ที่จะไม่ลักทรัพย์ของผู้อื่นได้นั้น  จะต้องมีคุณธรรมประจำกาย วาจา ใจ  มี หิริ คือมีความละอายต่อบาป  มีโอตตับปะ คือความเกรงกลัวต่อบาป  มี เมตตา คือความรัก กรุณา คือ ความสงสาร  เช่น ไม่ลักทรัพย์  ฉกชิงวิ่งราว  ทุจริตคดโกง  ทรัพย์สินเงินทอง ของผู้อื่นมาเป็นของตน  เพราะ

มีหิริ ความละอายต่อบาป  ที่จะเกิดขึ้นจากการลักทรัพย์  เกรงว่าจะมีความชั่วติดตัวตามตนไปตลอดชีวิต  ถึงแม้จะไม่มีใครรู้  แต่เราก็รู้อยู่แก่ใจ  ว่าได้ทำชั่วแล้ว  ก็จะเกิดความทุกข์  อยู่ตลอดเวลา  เพราะกลัวผู้อื่นจะรู้  มีความละอายใจอยู่ตลอดไป  

            มีโอตตัปปะ  ความเกรงกลัวต่อบาป  คือเกรงกลัวต่อโทษที่จะได้รับ  จากการลักทรัพย์  ทุจริตคดโกง  เป็นความผิดตามกฎหมายอาญา  ต้องถูกจับดำเนินคดี  ติดคุกติดตะราง  ทำให้เสียเงินเสียทอง  เสียชื่อเสียง เสียอนาคต  ถูกสังคมประณามว่าเป็นคนชั่ว 

ดังนั้น  เมื่อไม่ทำความชั่ว  ไม่ลักทรัพย์แล้ว  ต้องทำความดี  เช่นการให้ทานแบ่งปัน  ทรัพย์สินเงินทอง  ช่วยเหลือสาธารณประโยชน์  สร้างวัด  สร้างโรงเรียน  สร้างโรงพยาบาล  หรือแบ่งปันให้ทานกับบุคคลที่ควรให้  เช่น พระภิกษุ สามเณร  พ่อแม่  ครูอาจารย์  หรือผู้ยากจน  ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ผู้พิการ  ผู้ด้อยโอกาส  ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ เป็นต้น เพราะมีคุณธรรมประจำกาย  วาจา ใจ  จึงไม่ทำความชั่ว 

ส่วนผู้ที่ทำความชั่ว  ด้วยการลักทรัพย์ ทุจริตคดโกง    เพราะขาด หิริ  โอตตัปปะ  ขาดเมตตา  กรุณา  เป็นคุณธรรมประจำกาย  วาจา  ใจ  จึงทำแต่ความชั่วต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา  ชีวิตจึงมีแต่ความทุกข์  หาความสุขไม่ได้เลย

(๓)      เว้นจากการประพฤติผิดในกาม  หมายถึง ไม่เป็นชู้สู่สมกับสามี  ภรรยาของผู้อื่น  ผู้ที่จะ

ไม่ประพฤติผิดในกามได้นั้น  ต้องมี  มีเมตตา  กรุณา  มีหิริ  โอตตัปปะ  เป็นคุณธรรมประจำกาย  วาจา  ใจ   มี หิริ  คือความละอายต่อบาป  เพราะละอายใจต่อความชั่ว  ที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง   มีโอตตัปปะ  คือความเกรงกลัวต่อบาป  กลัวว่าจะได้รับโทษจากการทำความชั่ว  ที่เป็นชู้สู่สมกับสามีภรรยาผู้อื่น  เช่น กลัวถูกฟ้องร้องดำเนินคดี  กลัวถูกออกจากงาน  กลัวติดคุกติดตะราง  กลัวถูกทำร้ายถึงแก่ชีวิต  กลัวถูกประณามหยามเหยียดว่า  เป็นคนชั่วมั่วโลกีย์  มีเมตา  กรุณา มีความรักและสงสารตนเอง  กลัวว่าตนเองจะเป็นคนชั่ว  จึงไม่กล้าที่จะทำความชั่ว  ดังนั้น  เมื่อไม่ประพฤติผิดในกาม  ต้องช่วยเหลือสามีภรรยาที่แตกแยกกัน  ให้รักใคร่ปองดองอยู่ด้วยกันอย่างอบอุ่นและมีความสุขตลอดไป  นี้คือผู้ที่ทำความดี  เว้นจากการประพฤติผิดในกามได้ เพราะมีคุณธรรมประจำกาย วาจา ใจ

             ส่วนผู้ที่ประพฤติผิดในกาม  เป็นชู้สู่สมกับสามีภรรยาผู้อื่น  เพราะขาด หิริ โอตตัปปะ  ขาดเมตตา  กรุณา  เป็นคุณธรรมประจำกาย  วาจา  ใจ  จึงทำผิดคิดชั่ว  ชีวิตจึงมีแต่ความทุกข์ตลอดไป 

            ดังนั้น  การจะ คิดดี  พูดดี  ทำดี  ได้จะต้องมีสติปัญญาดี  มีศีล  มีธรรม  มีหิริ โอตตัปปะ  มีเมตตา  กรุณา  มีอภัยทาน  เป็นคุณธรรมประจำกาย  วาจา  ใจ นี้เป็นเพียงตัวอย่างของคุณธรรม  บางประการเท่านั้น  ยังมีคุณธรรม  ตามพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า  อีกมากมาย  ที่สามารถศึกษาแล้วนำมาประพฤติปฏิบัติ  เพื่อส่งเสริมสนับสนุน  ให้เป็นผู้ที่  มีคุณธรรมประจำ กาย วาจา ใจ  จะได้เป็นผู้ที่  คิดดี  พูดดี  ทำดี   

จึงขอให้ท่านจงเพียรพยายาม  ประพฤติปฏิบัติตาม  พระธรรมคำสอนของ  องค์สมเด็จ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  แล้วท่านจะเป็นผู้มี สุจริต ๓   คือ มโนสุจริต  วจีสุจริต กายสุจริต เป็นคน

คิดดี  พูดดี ทำดี  จะพบแต่ความสุข ความเจริญ  ทั้งในชาตินี้  และชาติต่อ ๆ ไปอย่างแน่นอน 

 

บทกลอน  คิดดี  พูดดี  ทำดี

 

                                    เมื่อจิตดี           ย่อมคิดดี                      มีประโยชน์

                        ไม่มีโทษ                      ต่อตนเอง                     และผู้อื่น

                        เมื่อไตร่ตรอง               เรื่องที่คิด                     จิตสดชื่น

                        สติตื่น                          พร้อมปัญญา                พาคิดดี

                                    ผู้คิดดี              เพราะมีธรรม               ประจำจิต

                        เฝ้าแต่คิด                     ให้ทุกคน                     พ้นหมองศรี

                        มีความสุข                    ทุกคืนวัน                     ตลอดปี

เป็นคนดี                      พร้อมมูล                      ด้วยคุณธรรม

                                    ขอทุกท่าน       จงคิด                           พิจารณา

                        ว่าตัวข้า                       เคยคิดดี                       บ้างหรือไม่

                        คิดดีแล้ว                      ก็จงคิด                        ติดต่อไป

                        ไม่เคยไซร้                   จงไตร่ตรอง                 ลองคิดดู

 

 

บทกลอน  พูดดี

                       

                                    เมื่อพูดดี           จะเป็นศรี                     สง่าหน้า

                        ใช้วาจา                         อันไพเราะ                   เสนาะหู

                        เรื่องที่ดี                        ก็ไม่มี                           แม้ศัตรู

                        ผู้ฟังรู้                           เกิดปัญญา                   พาสุขใจ

                                    ให้พระธรรม    คำสอน                        วอนให้เกิด

                        ปัญญาเลิศ                   รู้ในธรรม                     นำสดใส

                        จิตที่ดี                          วาจาดี                          ไม่มีภัย

                        วาจาใจ                        ล้วนประเสริฐ              เสิศอนันต์

                                    ขอทุกท่าน       จงคิด                           พินิจดู

                        จะได้รู้                         ว่าคุณค่า                      วาจาฉัน

                        ดีหรือชั่ว                      ไตร่ตรองดู                  รู้เร็วพลัน

                        แล้วจัดการ                  แก้ไข                           ให้พูดดี...เอย...

 

บทกลอน  ทำดี

 

                                    ทำความดี        ทางกาย                       พาให้เกิด

                        สิ่งประเสริฐ                 คือจริยธรรม                นำสดใส

                        มีทั้งศีล                        มีทั้งธรรม                    ประจำกาย

                        ชีวิตวาย                       ก็เป็นสุข                      ทุกข์ห่างไกล

                                    เมื่อคิดดี           พูดดี                            และทำดี

                        แล้วจะมี                      ความชั่ว                      ได้ไฉน

                        เป็นคนดี                      ทั้งกาย                         วาจาใจ

                        คุณธรรมไซร้               ท่วมท้น                       ล้นชีวี

                                    ขอทุกท่าน       จงคิด                           พิจารณา

                        ว่าตัวข้า                       มีทั้งสาม                      อร่ามศรี

                        สุขทั้งกาย                    สุขทั้งใจ                      ในความดี

                        ไม่เสียที                       ที่ประสพ                     พบพระธรรม

 

                                   

 

 

บรรณานุกรม

 

๑)  นวโกวาท  ( ฉบับประชาชน )  สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณ   วโรรส  โรงพิมพ์  มหามกุฏราชวิทยาลัย  หน้า     วัดบวรนิเวศน์วิหาร  กรุงเทพฯ             พลอากาศเอก  หะริน  หงสกุล  ผู้พิมพ์          ผู้โฆษณา  .. ๒๕๔๓

๒)  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. ๒๕๔๒  จัดพิมพ์โดย  บริษัท       นานมีบู๊คส์  พับลิเคชั่นส์  จำกัด  ๙๔๗ / ๑๕๘-๑๕๙  หมู่  ๑๒ ถนน บางนา-ตราด เขต     บางนา แขวงบางนา  กรุงเทพฯ (๑๐๒๖๐)      พ.ศ. ๒๕๔๖

 

 

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view