http://www.porjarearntum.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ05/04/2009
อัพเดท06/09/2022
ผู้เข้าชม712,094
เปิดเพจ963,592

บริการ

หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ติดต่อเรา

บทกลอนธรรมะ

จูงมือลูกเดิน

ระลึกได้และรู้ตัวหมายความว่าอย่างไร

รัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

อันตรายของภิกษุ สามเณร ผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง

ความจริงอันประเสริฐที่ควรรู้ ๔ ประการ

ธรรมะอันทำให้งาม มี ๒ ประการ

ธรรมคุ้มครองโลก

เสียงเทศน์ทำใหม่ล่าสุด

วงล้อแห่งพระธรรมที่นำไปสู่ความเจริญ ๔ อย่าง

ทุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

สุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

วิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการ หมายความว่าอย่างไร

คุณของรัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด

มูลเหตุของความโง่เขลา

มูลเหตุของความฉลาด

ท่านรู้จักตนเองว่ามีกิเลสหรือไม่ ต้องพิจารณาอย่างไร

ท่านรู้จักมนุษย์ ๔ ประเภทหรือยัง ?

คิดดี พูดดี ทำดี

ความสุข ความทุกข์ ความสบาย แตกต่างกันอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ

ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบและเกิดปัญญา

ศาสนาคืออะไร

ป่วยกาย ป่วยใจ หมายความว่าอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ (เนื้อหา)

ทำความดีเพื่ออะไร

คุณธรรม ๕ ประการ สนับสนุนความสำเร็จ

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมายความว่าอย่างไร

ศีล ในพระพุทธศาสนา ๒๒๗ ข้อ ภาคภาษาไทย อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ปัจจัย ๔ รูปธรรม และ ปัจจัย ๔ นามธรรม

มนุษย์ เป็นโรค ๔ อย่าง บ้า ใบ้ บอด หนวก

ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาปหมายความว่าอย่างไร

ระวังจิต ระวังอารมณ์ หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา มีจริงหรือไม่

จิตสงบ จิตว่าง แตกต่างกันอย่างไร

อยากรู้ อยากห็น อยากเป็น อยากไป หมายความว่าอย่างไร

มืดมามืดไป และสว่างมาสว่างไป หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่มีมาก ทำให้น้อยลง สิ่งที่มีอยู่ทำให้หมดไป

ความเห็นแก่ตัว กับการรักตัวเอง

ท่านพบเห็นเมืองพอแล้วหรือยัง

การทำความชั่วเพราะเหตุ ๔ ประการ

รู้จด รู้จำ รู้แจ้ง หมายความว่าอย่างไร

สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ฟังธรรมเป็นยาฉีด จริงหรือ

ผู้ที่ไม่แต่งงาน จะตกนรก จริงหรือไม่

มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ

ก็ต้อง ก็ได้ ก็ดี หมายความว่าอย่างไร

บันใด ๘ ขั้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

งามทั้ง กาย วาจา ใจ

ผู้ที่ฝีกสมาธินาน ๆ ไม่เกิดปัญญาเพราะเหตุใด

คิดอย่างไรจึงไม่เกิดทุกข์

จิตใต้สำนึก

คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ

ทำใจ หมายความว่าอย่างไร

ประเพณีงานศพที่ถูกต้อง... เหตุใดจึงต้องเผาศพ...

ความเบื่อของปุถุชนกับความเบื่อของพระอริยะ

พระราชดำรัส คุณธรรม ๔ ประการ(เนื้อหา)

มีสิ่งใด สิ่งนั้นก็เสื่อม

บวชเพื่ออะไร

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือ

ทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์

บุคคลที่หาได้ยาก ความกตัญญูกตเวที

การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดหรือถูก...

ความหวัง

มืดมาสว่างไป สว่างมามืดไป หมายความว่าอย่างไร

ผู้ที่ขัดขวางการปฏิบัติธรรม มีโทษอย่างไร

แผ่นพับธรรมะ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ (เนื้อหา)

คุณลักษณะอันพึงประสงค์      ประการ 

หลักสูตรแกนกลาง   การศึกษาขั้นพื้นฐาน   พุทธศักราช  ๒๕๕๑ 

 

คุณลักษณะอันพึงประสงค์    ประการ  เป็นส่วนหนึ่งของ  หลักสูตรแกนกลางการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  ๒๕๕๑  ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนานักเรียน  ให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะพลเมืองโลก  โดย คุณ กิ่งกาญจน์  สิระสุคนธ์  นักวิชาการศึกษา  สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ได้แนะแนวการปฏิบัติในการวัดและประเมินผลคุณลักษณะ

อันพึงประสงค์  ในด้านการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  ๒๕๕๑  โรงเรียนหรือสถานศึกษาสามารถนำเอาคุณลักษณะ

อันพึงประสงค์ ๘ ประการรวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์   ที่สถานศึกษากำหนดขึ้นเพิ่มเติม  เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา  สภาพความต้องการ  หรือความจำเป็นของชุมชน 

มาพัฒนานักเรียน นักศึกษาตลอดปีการศึกษา  ทั้งครูผู้สอนสามารถดำเนินการวัดและประเมินผล  คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในชั้นเรียนได้อีกด้วย

 

คุณลักษณะอันพึงประสงค์      ประการ 

 

            ๑.   รักชาติ   ศาสน์   กษัตริย์

            ๒.   ซื่อสัตย์สุจริต

            ๓.   มีวินัย

            ๔.   ใฝ่เรียนรู้

            ๕.   อยู่อย่างพอเพียง

            ๖.   มุ่งมั่นในการทำงาน

            ๗.   รักความเป็นไทย

            ๘.   มีจิตสาธารณะ

   

๑.   รักชาติ   ศาสน์   กษัตริย์

 

๑)   รักชาติ   คำว่า  ชาติ  หมายถึง ประเทศ  และแผ่นดินที่มีประชาชนยึดครอง  มีเขตแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน  มีการปกครองเป็นสัดส่วน  มีผู้นำเป็นผู้ปกครองประเทศ และประชาชนทั้งหมดด้วยกฎหมาย  ที่ประชาชนในชาตินั้น ๆ กำหนดขึ้น  เช่น ประเทศไทย  เป็นประเทศที่มีอาณาเขต  มีเนื้อที่ประมาณ  ๕๑๓,๑๑๕ ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ ๖๓ ล้านคน (พ.ศ.๒๕๕๓)

มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  มีศาสนาพุทธ  เป็นศาสนาประจำชาติ  มีวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี    เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติของตนเอง  สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษเป็นเวลายาวนาน

ผู้ที่จะมีความรักชาติได้นั้น ต้องมีคุณธรรมประจำกาย วาจา ใจ คือ ความกตัญญู กตเวที หมายถึงผู้ที่รู้คุณของแผ่นดิน แล้วตอบแทนคุณแผ่นดิน ดังนั้นเราต้องรักชาติ 

คำว่า  รักชาติ หมายถึง เราต้องรักษาแผ่นดินไทยอันเป็นแผ่นดินเกิด  ที่บรรพบุรุษของไทยมีความทุกข์ยากลำบาก  ต้องเสียสละเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อปกป้องรักษาไว้ให้ลูกหลานไทย  ได้มีแผ่นดินอยู่อาศัยมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพราะฉะนั้นเราทุกคนต้องรักชาติ ช่วยกันปกป้องรักษาชาติไว้ ไม่ให้อริราชศัตรูมารุกราน  หรือมาทำร้ายทำลายด้วยประการใดๆ ก็ตาม  พวกเราต้องต่อสู้ป้องกันแผ่นดินนี้ไว้ ด้วยเลือดเนื้อ และชีวิต เพื่อให้ลูกหลานได้อยู่อาศัยต่อไป  เราต้องทะนุบำรุงสร้างชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง  ให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุขสืบไป  นี้คือ  ผู้ที่รักชาติ

ผู้ที่ไม่รักชาติ  หมายถึง ผู้ที่ไม่มีคุณธรรม ความกตัญญู กตเวที ประจำกาย วาจา ใจ เนรคุณ

ต่อชาติ เช่น ขายชาติ ทรยศต่อชาติ เป็นไส้ศึกให้อริราชศัตรู เข้ามาทำร้าย ทำลายแล้วยึดครองประเทศชาติ สร้างความแตกแยกให้คนในชาติ นำความเสื่อมเสียมาให้ประเทศชาติบ้านเมือง นี้คือ ผู้ที่ไม่รักชาติ

            ๒)   รักศาสนา     คำว่า  ศาสนา  หมายถึง  คำสอนขององค์พระศาสดาแต่ละพระองค์ เช่น
       -  ศาสนาคริสต์  คือ คำสอนของพระเยซูเจ้า
       -  ศาสนาอิสลาม  คือ คำสอนของพระอัลลอฮ์  มีศาสดาชื่อมุฮัมมัด  นับถือพระเจ้าองค์เดียวคือพระอัลลอฮ์
       -  ศาสนาพุทธ  คือ คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
       -  ศาสนาอื่น ๆ ก็คือ คำสอนขององค์ศาสดาแต่ละพระองค์ตามศาสนาหรือลัทธิความเชื่อของศาสนานั้น ๆ

            ศาสนามีไว้เพื่ออะไร

-  ศาสนาทุกศาสนามีไว้เพื่อสอนให้มนุษย์ละชั่วประพฤติดี
            -  ศาสนาพุทธ  มีไว้เพื่อสอนให้มนุษย์ละชั่ว ทางกาย  วาจา ใจ ให้ประพฤติแต่ความดี ด้วยกาย วาจา ใจ แล้วชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ จากกิเลสทั้งสามอย่าง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่ครอบงำจิตใจให้หมดสิ้นไป

หลักของพระพุทธศาสนามีอะไรบ้าง   หลักของพระพุทธศาสนา มีไว้เพื่อให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติตาม โดยแบ่งลำดับขั้นจากระดับต้นถึงระดับสูง ดังนี้
       -   ทาน
       -   ศีล
       -   สมาธิ
       -   ปัญญา


ทาน   คือ  การให้ แบ่งได้    ประเภท   ดังนี้
    )   อามิสทาน คือการให้ทรัพย์สินเงินทองแก่ผู้ที่ควรให้เช่น  พระภิกษุ สามเณร  พ่อแม่

ครู อาจารย์  ผู้ยากจน และผู้ด้อยโอกาส  เป็นต้น ( ให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ  )
               ๒)  วิทยาทาน  
 คือการให้วิชาความรู้ต่าง ๆ แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ    เพื่อให้

สามารถนำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว  ( ให้วิทยาทานด้วยความบริสุทธิ์ใจ )
               ๓)   อภัยทาน 
คือการให้อภัยสำหรับผู้ที่มีความประพฤติผิดพลาดบางครั้งบางโอกาส ด้วยเหตุใดๆก็ตาม เราควรให้อภัย  ไม่ถือโทษโกรธเคือง  ไม่อาฆาตพยาบาทปองร้าย  (ให้อภัยด้วยความบริสุทธิ์ใจ  เพื่อให้เขามีโอกาสกลับตัวกลับใจเป็นคนดีต่อไป )    
               ๔)   ธรรมทาน
  คือการให้พระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  แก่ผู้อื่นเพื่อให้ละเว้นจากการทำความชั่ว  แล้วทำความดีด้วยกาย  วาจา ใจ  และชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งสามอย่าง  คือความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ให้หมดไปจากจิตใจ  ให้ธรรมะ เป็นทานเหนือการให้สิ่งใด ๆ  ( ให้ธรรมทานด้วยความบริสุทธิ์ใจไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ )


ศีล  คือข้องดเว้นจากการทำชั่วทางกาย  วาจา (ไม่คุมถึงใจ ต้องมีคุณธรรมประจำใจ )  ผู้ใดงดเว้นจากการทำความชั่วได้มาก  กาย วาจา  ก็จะสะอาดปราศจากความชั่ว  ส่วนผู้ใดทำผิดศีลมาก  กาย  วาจา ก็จะมีมลทินมัวหมอง  ไม่บริสุทธิ์ แล้วแต่ผู้ใดจะนำศีล หมวดใดมารักษากาย วาจา ให้สมควร

แก่ตน ดังนี้

ศีล                ( สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป )

ศีล               ( สำหรับ อุบาสก  อุบาสิกา )

ศีล ๑๐             ( สำหรับสามเณร )

ศีล ๒๒๗         ( สำหรับพระภิกษุ )

            ในที่นี้จะขออธิบายถึง  ศีล      และธรรม      ประการ  เท่านั้น  ซึ่งมีรายละเอียด   ดังนี้

                        ศีลข้อที่        ปาณาติปาตา  เวระมณีสิกขาปะทัง   สะมาทิยามิ

                                                ห้ามฆ่าสัตว์   ห้ามทรมานสัตว์   ห้ามเบียดเบียนสัตว์

                        ธรรมประกอบศีลข้อที่    มีเมตตา คือความรัก  มีกรุณา  คือความสงสาร

                        ศีลข้อที่         อะทินนาทานา   เวระมณีสิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ

                                                ห้ามลักทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน

                        ธรรมประกอบศีลข้อที่   มีสัมมาอาชีวะ  ประกอบอาชีพสุจริต   

                        ศีลข้อที่         กาเมสุมิจฉาจารา  เวระมณีสิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ

                                                ห้ามประพฤติผิดในกาม  ห้ามเป็นชู้สู่สมกับสามีหรือภรรยาผู้อื่น

ธรรมประกอบศีลข้อที่    มีความสำรวมในกาม  พอใจในคู่ครองของตน 

                        ศีลข้อที่         มุสาวาทา   เวระมณีสิกขาปะทัง   สะมาทิยามิ

                                                ห้ามพูดเท็จ  หลอกลวง  ห้ามพูดส่อเสียด  พูดเพ้อเจ้อ พูดคำหยาบ

                        ธรรมประกอบศีลข้อที่    มีสัจจะ  พูดแต่ความจริง  พูดเรื่องที่ดีมีประโยชน์ 

                        ศีลข้อที่         สุราเมระยะมัชชะ  ปะมาทัฎฐานา  เวระมณีสิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ

                                                ห้ามดื่มสุรา  เครื่องดองของเมา  หรือเสพยาเสพติดให้โทษต่าง ๆ 

                        ธรรมประกอบศีลข้อที่    มีสติอันรอบคอบ ระลึกรู้ผิดชอบ  ชั่วดี 


สมาธิ   สมาธิ  หมายถึงการทำจิตให้สงบ  มั่นคง  อยู่ที่ใดที่หนึ่ง  จิตเป็นนามธรรมมีหน้าที่คิด  เหตุที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงสอนให้ฝึกสมาธิ  เพราะพระองค์ท่านรู้ว่าตามธรรมชาติจิตใจของมนุษย์มีกิเลส ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  เป็นเครื่องปรุงแต่งจิตให้ฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลา  พระองค์ท่านจึงทรงหาอุบายให้ใช้สติควบคุมจิตให้สงบ  โดยการฝึกสมาธิ  แล้ว

นำมาพิจารณาไตร่ตรองคำสอน  จนเกิดปัญญา  ปัญญาคือความรอบรู้  รู้ทุกอย่าง ที่ได้มาจากการศึกษา  มีทั้งปัญญาทางโลก  และปัญญาทางธรรม  

  

ปัญญา   ปัญญา  คือความรู้ หรือความรอบรู้  ที่ได้มาจากการศึกษามีอยู่    อย่างด้วยกัน  ดังนี้

๑)     ปัญญาทางโลก

๒)     ปัญญาทางธรร

 

(๑)  ปัญญาทางโลก  คือการศึกษาหาความรู้จากโรงเรียน  หรือสถานศึกษาต่าง ๆ

ที่เป็นรูปธรรม  ที่สัมผัสได้  เช่นการเรียนรู้เรื่องต้นไม้  พืชชนิดต่าง ๆ  การเรียนรู้  ดิน ฟ้า อากาศ หรือเชื้อโรค  การเรียนรู้เรื่องช่างฝีมือ  และศิลปะ เป็นต้น  เพื่อนำมาประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว  หรือสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับประเทศชาติบ้านเมือง  ถ้าท่านได้ศึกษาอย่างละเอียดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ท่านก็จะเป็นผู้มีความรู้  ความชำนาญ ในเรื่องนั้น ๆ ที่ทางโลกเรียกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญ  ในแต่ละสาขาอาชีพ  นี้คือ  ปัญญาทางโลก

(๒)  ปัญญาทางธรรม  คือการเรียนรู้จากคำสอนของ  องค์สมเด็จพระสัมมา 

สัมพุทธเจ้า  ซึ่งพระองค์ทรงสอนให้เรารู้จักตัวเองว่า  อะไรเป็นรูป  อะไรเป็นนาม เช่นตัวตนของเรา ประกอบไปด้วย  ธาตุ    ( ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ )  ขันธ์    ( รูป เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ )

เป็นต้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสรู้แจ้งเห็นจริง  ทั้งอดีต ปัจจุบัน  และอนาคต จึงทรงวางหลัก

พระพุทธศาสนาไว้    ประการ คือ ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อให้มนุษย์ได้ประพฤติปฏิบัติตาม  พระองค์ท่าน  ตรัสสอนให้มนุษย์  ให้ทาน  นำศีลมารักษา กาย วาจา  เจริญสมาธิและวิปัสสนา  เพื่อให้เกิดปัญญา  จะได้มีคุณสมบัติทั้ง    ประการ  ติดตัวตามตนไปในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป เมื่อไปเกิดเป็นมนุษย์อีกจะส่งผล  ให้มีฐานะร่ำรวย  มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม และมีปัญญาดี  อันจะเกื้อหนุนเอื้ออำนวยให้สามารถปฏิบัติธรรมในขั้นสูงขึ้นไป  จนรู้แจ้งเห็นจริงตามพระองค์ท่าน 

            เราต้องรัก  และเคารพนับถือ  บูชาพุทธศาสนา  เพราะพระพุทธเจ้า องค์ศาสดา ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาธิคุณ หมายถึง พระพุทธองค์ทรงมีความสงสารสรรพสัตว์

ทั้งโลก ด้วยความบริสุทธิ์ใจ และมีปัญญาเป็นเลิศ รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรม พระพุทธองค์จึงมีคำสอนมากมาย ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เพื่อเป็นอุบายให้มนุษย์นำมาประพฤติปฏิบัติตามให้ทุกคนเป็นคนดี มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย  ถ้าผู้ใดประพฤติปฏิบัติตามจนกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง หมดไปจากจิตใจ เข้าสู่แดนวิมุตหลุดพ้น ไม่ต้องมาเวียนว่าย ตาย เกิด อีกต่อไป

ผู้ที่รักศาสนา ต้องมีคุณธรรมประจำกาย วาจา ใจ คือ มีความกตัญญู กตเวที ต่อพระองค์ท่าน โดยการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมตามพระองค์ท่าน แล้วนำคำสอนที่รู้ตามไปสอนให้ผู้อื่น ละชั่วประพฤติดี และชำระจิตใจให้สะอาดปราศจากเครื่องเศร้าหมอง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เราจึงต้องเคารพนับถือบูชาพระพุทธศาสนา และทะนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป นี้คือ ผู้ที่รักศาสนา

            ผู้ที่ไม่รักศาสนา  หมายถึง  ผู้ที่ไม่รัก เคารพนับถือ บูชา พุทธศาสนา  และพระพุทธเจ้า  ไม่ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน  ของพระองค์ท่าน  ไม่ละชั่วประพฤติดี  ไม่ชำระจิตใจให้สะอาดปราศจากกิเลส ปล่อยให้ ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ครอบงำจิตใจ ไม่มีการให้ทาน ไม่นำศีลและธรรม  มารักษา กาย วาจา ใจ ให้สะอาด  ไม่เจริญสมาธิเพื่อให้จิตสงบ ไม่วิปัสสนา คือไม่นำพระธรรมคำสอน มาพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญา   ที่จะเอาชนะกิเลสทั้ง ๓  อย่างได้  จึงเป็นผู้ที่มีความโลภ  คือ มีความอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด มีความโกรธ  คือ ความไม่พอใจ  ความอาฆาต พยาบาท ป้องร้าย มีความหลง  คือความเข้าใจผิด  มีความรักใคร่พอใจในสิ่งต่าง ๆ คิดว่าจะเป็นสุข  แท้ที่จริงแล้วความโลภ ความโกรธ  ความหลง  ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุของการเกิดทุกข์ทั้งสิ้น ไม่เคารพนับถือ เหยียบย้ำทำลายและอาศัยศาสนาหากิน  ให้เกิดความเสื่อมเสีย ต่อต้านหรือบิดเบือนคำสอนของพระพุทธองค์ ให้พุทธศาสนิกชนเกิดความเสื่อมศรัทธา  ต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง  นี้คือ ผู้ที่เนรคุณไม่รัก  ไม่นับถือในพุทธศาสนา

            (๓)   รักพระมหากษัตริย์  คำว่า  พระมหากษัตริย์  หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน  ผู้เป็นพระประมุข

( ผู้เป็นใหญ่ )ของประเทศ  มีหน้าที่  ปกครองประชาชนพลเมืองในประเทศนั้น ๆ ให้อยู่ดีมีสุข  ตามกฎหมาย  ตามครรลองคลองธรรม  จารีตประเพณีวัฒนธรรม  ของชาตินั้น ๆ  เช่นประเทศไทย  มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  เป็นพระประมุข  ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม  เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม  ตามทศพิธราชธรรม

            ทศพิธราชธรรม  หมายถึง จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดิน  ทรงประพฤติเป็นหลักธรรม ประจำพระองค์  หรือคุณธรรมผู้ปกครองบ้านเมืองที่ดี  มี   ๑๐  ประการ  ดังนี้

            (๑)  ทาน   คือการให้  ให้เป็นประจำเป็นปกติ  เช่น ให้อามิสทาน  ให้วิทยาทาน ให้อภัยทาน และให้ธรรมทาน                   

(๒)  ศีล  คือ การรักษา กาย วาจา ให้เรียบร้อย  หมายถึงการงดเว้นจากการทำความชั่วทางกาย ทางวาจา   

(๓)  บริจาค  คือ ความเสียสละ  หมายถึงการสละทรัพย์สินเงินทอง  เป็นบางครั้งบางคราว  เมื่อมีความจำเป็นเช่นบริจาคเงินสร้างสาธารณประโยชน์ หรือบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสพภัย เป็นต้น

(๔)  อาชชวะ  คือ ความซื่อตรง หมายถึง  ประพฤติตรง ไม่เอนเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  เช่นซื่อตรงต่อหน้าที่  ซื่อตรงต่อตนเอง ไม่ทุจริตคดโกง  เป็นต้น

(๕)  มัททวะ  คือ ความอ่อนโยน หมายถึง มีกิริยาวาจานุ่มนวล

(๖)  ตบะ  คือ การข่มกิเลส หมายถึง  ระงับยับยั้งกิเลสไว้  ไม่ยอมเป็นทาสของ ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง

(๗)  อักโกธะ  คือ ความไม่โกรธ  หมายถึง การให้อภัย  ไม่ถือโทษโกรธเคือง  ไม่อาฆาตพยาบาทปองร้าย 

(๘)  อวิหิงสา  คือ ความไม่เบียดเบียน  หมายถึง การมีจิตใจ โอบอ้อมอารี  ช่วยเหลือเผื่อแผ่  ไม่สร้างความทุกข์  ความเดือดร้อนให้กับผู้ใด

(๙)  ขันติ  คือ  ความอดทน  หมายถึง  อดทนต่อความเหนื่อยยากลำบาก  ทั้งกาย  ทั้งใจ  เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมและประเทศชาติบ้านเมือง

(๑๐) อวิโรธนะ  คือ  ความไม่คลาดเคลื่อนจากธรรม  หมายถึง  ความไม่ประมาท  ประพฤติปฏิบัติถูกต้องตาม  ครรลองคลองธรรม 

ในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์  ผู้ประเสริฐยิ่ง  ซึ่งพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ  ทรงมีเมตตา  กรุณา  ต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้  ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม  เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม  ทรงยึดหลักทศพิธราชธรรม  นำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของปวงชนชาวไทย  นำความเจริญรุ่งเรืองความผาสุกมาสู่พสกนิกรถ้วนหน้า   นอกจากนั้นพระองค์ท่านทรงพระปรีชาสามารถจนเกียรติประวัติเลื่องลือไกลหาที่สุดมิได้  เป็นที่ประจักษ์แก่นานาอารยประเทศทั่วโลก  นำชื่อเสียงเกียรติยศ  มาสู่ประเทศไทยอย่างยิ่งใหญ่ 

ผู้ที่จะรักพระมหากษัตริย์ได้ ต้องมีคุณธรรมประจำกาย วาจา ใจ คือ ความกตัญญู กตเวที รู้คุณและตอบแทนบุญคุณของพระองค์ท่าน ด้วยชีวิตจิตใจที่บริสุทธิ์  เพราะฉะนั้น เราต้องรักพระมหากษัตริย์  นับว่าเราชาวไทยทุกคนมีความภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาใต้ร่มพระโพธิสมภาร  มีความเป็นอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข  มีความรู้รักสามัคคีกลมเกลียว  รวมน้ำใจไทยทั้งชาติให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียว  ประพฤติตนเป็นคนดี  เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล  และถวายความจงรักภักดี  ปกป้องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  และราชบัลลังก์  นี้คือผู้ที่รัก  พระมหากษัตริย์

ผู้ที่ไม่รักพระมหากษัตริย์  หมายถึง ผู้ที่  ไม่มีความจงรักภักดี  ไม่มีความเคารพ นับถือต่อสถาบันพระมหากษัตริย์    คิดทำร้ายทำลาย  จาบจ้วงล่วงละเมิด  หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นทำตาม  รวมไปถึงเจ้าหน้าที่บ้านเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ ข้าราชการทหาร ตำรวจ บางคน  ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ  แต่กลับปล่อยปะละเลย  ไม่ดำเนินการยับยั้ง  หรือปราบปรามจับกุม  ผู้กระทำผิดดังกล่าว   และยังปล่อยให้มีขบวนการ  ดำเนินการเพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์  ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  โดยเพียงเพื่อให้กลุ่มบุคคลบางกลุ่มหรือกลุ่มของตนเอง  ได้ผลประโยชน์และมีอำนาจโดยมิชอบธรรม  ไม่ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และราชบัลลังก์  ดังที่ได้กล่าวถวายคำสัตย์ปฏิญาณไว้ เพราะขาดคุณธรรม คือ ไม่มีสัจจะ ไม่มีความกตัญญู กตเวที ไม่รู้คุณ และยังเนรคุณต่อพระองค์ท่าน นี้คือ  ผู้ที่ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์     

สถาบันทั้ง ๓ สถาบันนี้ มีบุญคุณต่อเราอย่างใหญ่หลวง เช่น ชาติ คือ แผ่นดินที่เราอยู่อาศัย ศาสนา คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า สอนให้เราเป็นคนดี พระมหากษัตริย์ คือ ผู้ปกครองบ้านเมืองโดยธรรม เพื่อความสงบสุขของพสกนิกรชาวไทย เราต้องรักชาติ รักศาสนา รักพระมหากษัตริย์ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ จะได้อยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข

ผู้ที่ไม่รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ดูหมิ่นเหยียดหยาม เหยียบย้ำทำลาย ประณามให้เกิดความเสื่อมเสีย แก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นคนชั่ว จะอยู่อย่างทุกข์ทรมานตลอดไป

 

๒.   ซื่อสัตย์สุจริต

 

ความซื่อสัตย์สุจริต  หมายถึง ผู้ที่มีความประพฤติตรงต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ  

มีความจริงใจ ไม่มีความลำเอียง ไม่ทุจริตคดโกง ทั้งทางตรงและทางอ้อม รู้หน้าที่การงานของตนเอง ปฏิบัติเต็มกำลังความสามารถ  ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

            ผู้ที่จะมีความซื่อสัตย์สุจริตได้ ต้องมีคุณธรรมประจำ กาย วาจา ใจ คือ

            ๑) มีสัจจะ หมายถึง การคิด การพูด การทำแต่ความจริง

            ๒) มีความเป็นธรรม หมายถึง มีใจเป็นกลาง

            ๓) ไม่มีอคติ หมายถึง ไม่มีความลำเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง

            ๑) ผู้ที่มีสัจจะ คือผู้ที่มีความจริงใจ ซื่อสัตย์ต่อตนเอง และผู้อื่น เช่น จะคิด จะพูด จะทำ สิ่งใดก็ต้องทำสิ่งนั้นให้สำเร็จลุลวงไปด้วยดี สิ่งนั้นต้องเป็นความจริง มีประโยชน์กับตนเองผู้อื่น และส่วนรวม จะประกอบกิจการใดๆ ก็มีความจริงจัง จริงใจ ต่อเนื่อง มีความซื่อตรงต่อเวลาต่อหน้าที่ มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ทุจริตคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม มีความประพฤติดีทั้งกาย วาจา ใจ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเอง ผู้อื่น องค์กร สังคม และประเทศชาติบ้านเมือง

            ๒) มีความเป็นธรรม เป็นผู้ที่รู้เหตุ รู้ผล รู้ผิด รู้ถูก รู้ชั่ว รู้ดี เข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์   ย่อมทำถูกบ้าง  ผิดบ้าง เพราะมีสติปัญญาแตกต่างกัน ผู้ที่มีใจเป็นกลาง  ต้องส่งเสริมสนับสนุน ผู้ที่ทำถูกทำดีแล้วให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป  และให้โอกาสผู้ที่ทำผิดทำชั่ว โดยช่วยอบรมสั่งสอน ให้ปรับปรุงแก้ไขตนเอง  ให้ละชั่วประพฤติดี ใครผิดก็ว่าไปตามผิด ใครถูกก็ว่าไปตามถูก  นี้คือ คุณสมบัติของ  ผู้ที่มีคุณธรรมประจำใจ คือ  ความเป็นธรรม

             ๓) ไม่มีอคติ หมายถึง  ไม่มีความลำเอียง    ประการดังนี้

                        ๑) ไม่ลำเอียงเพราะรัก

                        ๒) ไม่ลำเอียงเพราะเกลียด

                        ๓) ไม่ลำเอียงเพราะกลัว

                        ๔) ไม่ลำเอียงเพราะโง่เขลา

            ผู้ที่มีอคติ   คือมีความลำเอียง  หรือความเอนเอียง   เข้าข้างใดข้างหนึ่ง  ไม่เป็นกลาง  ไม่มีความยุติธรรม

            ๑) ไม่ลำเอียงเพราะรัก หมายถึง คนที่เรารักทำความผิดเราก็ต้องตัดสินว่าผิด คนที่เรารักทำถูกเราก็ตัดสินว่าถูก เพราะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น

            ๒) ไม่ลำเอียงเพราะเกลียด คนที่เราเกลียดทำถูก เราต้องตัดสินว่าถูก คนที่เราเกลียดทำผิดเราก็ต้องตัดสินว่าผิด เพราะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น

            ๓) ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ผู้ที่มีอำนาจทำผิด เราก็ต้องตัดสินว่าผิด ผู้ที่มีอำนาจมีอิทธิพลทำถูกเราก็ต้องตัดสินว่าถูก เพราะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เกรงกลัวอำนาจอิทธิพลใดๆ

            ๔) ไม่ลำเอียงเพราะโง่เขลา ผู้ใดที่กระทำความผิด เราต้องใช้สติปัญญาพิจารณาให้รอบคอบ ไม่หูเบาเชื่อคนง่าย ไม่ตัดสินคดีความด้วยความโง่เขลาเบาปัญญา ต้องมีความเป็นธรรม เป็นกลาง และซื่อสัตย์ต่อตนเองและหน้าที่ของตน

            ผู้ที่มีคุณธรรมดังที่กล่าวมาแล้วนี้ คือ มีสัจจะ การคิด การพูด การทำแต่ความจริง มีความเป็นธรรม คือ มีใจเป็นกลาง ไม่มีอคติ คือ ไม่ลำเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง ผู้ที่มีคุณธรรมทั้ง ๓ อย่างนี้ จะเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อหน้าที่การงาน ต่อองค์กร ต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

            ส่วนผู้ที่มีอคติ คือมีความลำเอียงหรือเอนเอียง เข้าข้างใดข้างหนึ่ง ไม่มีความเป็นธรรม ไม่มีความเป็นกลาง

            ๑) ลำเอียงเพราะรัก คือคนที่ตนรักทำผิดก็ตัดสินว่าถูก

            ๒) ลำเอียงเพราะเกลียด คนที่ตนเกลียด ทำถูกก็ตัดสินว่าผิด

            ๓) ลำเอียงเพราะกลัว ผู้ที่มีอำนาจมีอิทธิพลทำความผิดก็ตัดสินว่าถูก

            ๔) ลำเอียงเพราะโง่เขลา จะตัดสินปัญหาใดๆก็ผิด เพราะเป็นคนหูเบาเชื่อคนง่าย ไม่มีสติปัญญา ไม่มีคุณธรรม ตัดสินปัญหาต่างๆด้วยอารมณ์ ไม่มีเหตุผล ไม่มีความซื่อสัตย์ต่ออาชีพ หน้าที่การงาน  ไม่มีความจริงใจต่อตนเอง และผู้อื่น ทำให้สังคมเสื่อมโทรม ไม่ควรเคารพนับถือ ไม่ควรคบค้าสมาคม นี้คือ  ผู้ที่ขาดคุณธรรมทั้ง ๓ อย่าง

 

บทกลอน มีสัจจะ   มีความเป็นธรรม   ไม่มีอคติ

 

                                                ความซื่อสัตย์   จะต้องถือ        คือสัจจะ

                                    จำต้องละ                     พูดปด              งดพูดชั่ว

                                    ต้องพูดจริง                  ทำจริง             ไม่เมามัว

                                    ไม่คิดชั่ว                      ไม่ทำชั่ว          ไม่กลัวใคร

 

                                                ความเป็นธรรม  หมายถึง        ใจเป็นกลาง

                                    ไม่เข้าข้าง                    ออกข้าง           ทางฝ่ายไหน

                                    ต้องส่งเสริม                 ผู้ทำดี               มีต่อไป

                                    จงใส่ใจ                        เร่งกระทำ        แต่ความดี

                                                ไม่อคติ           หมายถึง           ไม่ลำเอียง

                                    ไม่ลำเอียง                    เพราะรัก          ในศักดิ์ศรี

                                    ไม่ลำเอียง                    เพราะเกลียด    นั้นไม่ดี

                                    รักศักดิ์ศรี                    ของตน            เป็นคนกลาง

 

                                                ไม่ลำเอียง        เพราะกลัว       อิทธิพล

                                    มีเหตุผล                       ความถูกผิด     คิดสะสาง

                                    จะตัดสิน                     ความข้อใด      ใจเป็นกลาง

                                    ไม่ละวาง                     ความซื่อสัตย์   มัดใจคน

                                                ไม่ลำเอียง        เพราะโง่เขลา   เบาปัญญา

                                    พิจารณา                      ให้รอบคอบ     ด้วยเหตุผล

                                    ไม่หูเบา                       เชื่อคนง่าย       ทำลายตน

                                    ไม่มืดมน                     มีปัญญา           พาสุขใจ

 

                                                ขอทุกท่าน       จงคิด               พิจารณา

                                    ว่าตัวข้า                       มีคุณธรรม       นี้หรือไม่

                                    ถ้ามีแล้ว                      จงส่งเสริม       กันต่อไป

                                    ไม่มีไซร้                      แสวงหา           มาใส่ตน

 

๓.   มีวินัย

 

มีวินัย  หมายถึงผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบที่ตั้งไว้ให้ปฏิบัติตาม เช่น วินัยของพระพุทธศาสนา  ของสถาบัน องค์กร สังคม และประเทศ โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจ และตั้งใจยึดมั่นในระเบียบแบบแผนข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ  รวมถึงการมีวินัยทั้งต่อตนเอง และสังคม

            วินัย คือ ข้อบังคับให้ปฏิบัติตาม  ระเบียบแบบแผน ที่สถาบัน และองค์กรต่าง ๆได้กำหนดไว้

            ผู้ที่จะมีวินัยได้นั้นต้องมีคุณธรรมประจำ กาย วาจา ใจ ต้องปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า คือ สุจริต    ได้แก่ กายกรรม  ๓ วจีกรรม  ๔ มโนกรรม 

            ๑) ประพฤติชอบทางกาย เรียกว่า กายสุจริต

            ๒) ประพฤติชอบทางวาจา เรียกว่า วจีสุจริต

            ๓) ประพฤติชอบทางใจ เรียกว่า มโนสุจริต


๑)  กายกรรม    หมายถึงกายสุจริต คือ

    (๑) เว้นจากการฆ่าสัตว์

    (๒) เว้นจากการลักทรัพย์

     (๓) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม (เป็นชู้กับสามีภรรยาผู้อื่น)

๒) วจีกรรม๔ หมายถึง วจีสุจริต คือ 

     (๑) เว้นจากการพูดเท็จ (โกหกหลอกลวง) 

     (๒) เว้นจากการพูดส่อเสียด

    (๓) เว้นจากการพูดคำหยาบ

    (๔) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

๓) มโนกรรม ๓ หมายถึง มโนสุจริต (ใจ) คือ

     (๑)ใจไม่คิดโลภอยากได้ของผู้อื่น

     (๒)ใจไม่อาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น

     (๓)ใจมีความเห็นชอบตามครรลองคลองธรรม

            ผู้ที่มีคุณธรรมทั้ง  ๓ อย่างนี้ เป็นคุณธรรมที่สร้างให้ผู้นั้นมีนิสัยที่ดี มีระเบียบวินัยประจำกาย วาจา ใจ เขาจะไม่ประพฤติผิด ทางกาย ทางวาจา ทางใจ เรียกว่าเป็นผู้ที่มีกาย วาจา ใจ อันบริสุทธิ์ เมื่อมีความบริสุทธิ์แล้ว เขาจะไปอยู่ ณ ที่ใด สถานศึกษา สถาบัน องค์กร สังคม และประเทศใดๆในโลกนี้ เขาสามารถปฏิบัติตามขอบเขตกฎระเบียบแบบแผน ข้อบังคับอย่างเต็มใจ และตั้งใจปฏิบัติอย่างจริงใจ จริงจัง และต่อเนื่องได้อย่างสมบูรณ์ เพราะเขามีคุณธรรมประจำใจซึ่งต่างกับผู้ที่ขาดคุณธรรมทั้ง ๓ อย่าง คือ

            ๑) ประพฤติผิดทางกาย คือฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ หรือทุจริตคดโกง ประพฤติผิดในกาม (เป็นชู้กับสามีภรรยาผู้อื่น)

            ๒) ประพฤติผิดทางวาจา คือพูดเท็จโกหกหลอกลวง พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ

            ๓) ประพฤติผิดทางใจ คือ ใจคิดโลภอยากได้ของผู้อื่น ใจคิดอาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น ใจมีความคิด เห็นผิดจากครรลองคลองธรรม ไม่มีคุณธรรมประจำใจ จึงเป็นผู้ที่ขาดระเบียบวินัย ย่อมทำผิดคิดชั่วได้ทุกอย่าง บุคคลเหล่านี้จะไปอยู่ในสถานศึกษา สถาบัน องค์กร สังคม ประเทศใด ก็ไม่สามารถประพฤติตนให้อยู่ในระเบียบวินัยของสถาบันนั้นๆ ได้ ไม่เต็มใจที่จะปฏิบัติตาม และไม่ตั้งใจที่จะยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ มีการทำผิดระเบียบวินัยอยู่เสมอ ดังที่ได้ปรากฏแล้วในสังคมปัจจุบัน นี่คือผู้ที่ไม่มีคุณธรรมทั้ง ๓ อย่าง ประจำใจนั่นเอง         

ตัวอย่าง เช่น นักเรียนที่ได้รับการอบรมสั่งสอน และศึกษาพระธรรมคำสอนของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วปฏิบัติตาม จึงมีคุณธรรมประจำใจ คือ        

            .  มีความประพฤติดีทางกาย คือไม่ฆ่าสัตว์ นับตั้งแต่มนุษย์ และสัตว์ทุกชนิด ไม่ลักขโมยทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือขณะอยู่ในวัยเรียน

            .  มีความประพฤติดีทางวาจา คือไม่พูดเท็จ  ไม่พูดส่อเสียดให้ผู้อื่นเสียใจ ไม่พูดคำหยาบ คำไม่สุภาพ ไม่พูดเพ้อเจ้อเรื่องไร้สาระ

            .  ไม่ประพฤติผิดทางใจ คือใจไม่คิดโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน ใจไม่คิดอิจฉาริษยา อาฆาตพยาบาท ปองร้ายผู้อื่น ใจมีความคิดเห็นถูกต้องตาม ครรลองคลองธรรม  ถูกกฎหมาย

ถูกจารีตประเพณี  วัฒนธรรมไทย

            นักเรียนที่มีคุณธรรม ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ก็จะเป็นเด็กที่ดีของพ่อแม่ ครู อาจารย์ โรงเรียน สังคม และประเทศชาติบ้านเมือง จะไปอยู่ ณ ที่ใดก็ไม่สร้างความเดือดร้อน ในที่นั้นๆ กลับสร้างความเจริญรุ่งเรือง และความสงบสุข ให้แก่โรงเรียน องค์กร สังคม และประเทศชาติบ้านเมือง เพราะเขาเป็นเด็กดีมีวินัย

            ตรงกันข้ามกับเด็กที่ไม่ได้รับการอบรมสั่งสอน ไม่ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า  จึงไม่มีคุณธรรมประจำใจ คือ

            ๑) นักเรียนที่มีความประพฤติชั่วทางกาย ชอบฆ่าสัตว์ ชอบลักทรัพย์ ชอบมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือขณะเป็นนักเรียน

            ๒) นักเรียนที่ชอบพูดเท็จ โกหก หลอกลวง ให้ผู้อื่นเดือดร้อน ชอบพูดส่อเสียดให้เพื่อนเสียใจ ชอบพูดคำหยาบคำที่ไม่สุภาพ ชอบพูดเพ้อเจ้อ เรื่องไร้สาระ

            ๓) นักเรียนที่มีความโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน ชอบอิจฉาริษยา อาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น ชอบมีความเห็นผิดจากครรลองคลองธรรม ผิดจากกฎหมาย ผิดจากจารีตประเพณีและวัฒนธรรมไทย

             เด็กที่ขาดคุณธรรมดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นเด็กไม่ดี ไม่มีระเบียบวินัย จะอยู่ในสถานศึกษา สถาบัน องค์กร สังคม และประเทศใดๆ ก็จะฝ่าฝืนทำผิดกฎระเบียบของสถาบันนั้นๆเสมอๆ สร้างความเสื่อมเสียให้กับตนเอง พ่อแม่ ครู อาจารย์ โรงเรียน สังคม ประเทศชาติบ้านเมือง ยังเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี สำหรับนักเรียนรุ่นหลังต่อไปอีกด้วย

            เพราะฉะนั้น  เราจะต้องสร้างวินัยให้เกิดขึ้นกับตนเองเสียก่อน คือห้ามทำผิดทางกาย วาจา ใจ  โดยนำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้ง ๓ อย่าง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วมาปฏิบัติตามให้ได้ผล คือ สามารถควบคุมกาย วาจา  ใจ ไม่ให้คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว ให้เป็นผู้ที่มีความคิดดี พูดดี ทำดี จึงเรียกได้ว่า เป็นผู้มีระเบียบวินัยดี

 

บทกลอน   ทุจริต  

 

                                                ประพฤติชั่ว     ทางกาย           ให้น่าคิด

                                    ประพฤติผิด                 ในกาม             ไม่งามแน่

                                    ทั้งฆ่าสัตว์                   ตัดชีวิต             จิตผันแปร

                                    ไม่งามแน่                    ลักทรัพย์          อับปัญญา

 

                                                ประพฤติชั่ว     ทางวาจา          ก็น่าเกลียด

                                    พูดส่อเสียด                  ไม่ดี                 มีปัญหา

                                    ทั้งพูดปด                     หลอกลวง       ปวงประชา

                                    ทั้งยังด่า                       หยาบคาย         ไม่อายคน

 

                                                ประพฤติชั่ว     ทางใจ              ใช่แล้วจิต                               

ความเห็นผิด                ครรลอง           มองสับสน

                                    โลภอยากได้                ของผู้อื่น          เป็นของตน

                                    อิจฉาคน                      ก็ได้                 ใจไม่ดี

 

                                                ขอทุกท่าน       จงคิด               พิจารณา

                                    ว่าตัวข้า                       ทำผิด               ทั้งสามนี้

                                    จงกลับใจ                    กลับคำ            ทำความดี

                                    จะผ่องศรี                     เบิกบาน           ท่านจงทำทำ                                                                               

 

๔.   ใฝ่เรียนรู้

 

            ใฝ่เรียนรู้ หมายถึง ผู้ที่ตั้งใจศึกษาหาความรู้   ผู้ที่จะศึกษาหาความรู้ได้สำเร็จด้วยดีนั้น ต้องมีคุณธรรม ประจำกาย  วาจา  ใจ  คือ  อิทธิบาท   

อิทธิบาท     หมายถึงคุณธรรมที่ผู้ปฏิบัติตามย่อมถึงความสำเร็จได้  ตามประสงค์

            ๑ )   ฉันทะ  คือ  ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น ๆ 

            ๒)   วิริยะ  คือ  ความเพียรพยายามประกอบสิ่งนั้น ๆ

            ๓)   จิตตะ  คือ  การเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ๆ  ไม่วางธุระ

            ๔)   วิมังสา คือ  การหมั่นตริตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น ๆ

๑)  ฉันทะ คือความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น ตัวอย่างเช่น เด็กนักเรียนที่มีความพอใจรักในการศึกษาเรียนรู้ เขาก็จะเอาใจใส่ขยันในการเรียน มีสติ คือการระลึกรู้ว่าขณะนี้เรากำลังเรียน มีสมาธิ คือตั้งใจมั่นอยู่กับบทเรียนในขณะที่ครูกำลังสอน ตั้งใจฟัง และจดจำในเรื่องต่างๆที่ครูกำลังอธิบาย เอาใจจดจ่อ ไม่คุย ไม่เล่น ไม่หลับในห้องเรียน มีความอดทนขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้านในการเรียน มีความรู้สึกสุข สนุกสนานในการเรียน ไม่เบื่อหน่ายในการสอนของครู ทำให้เขามีความรู้ เป็นคนฉลาดรอบรู้ในวิชาต่างๆ เพราะเขามีฉันทะ คือความพอใจรักในการเรียน จึงมีความจริงใจ จริงจัง และเรียนอย่างต่อเนื่อง เขาจึงเป็นเด็กดีของครูอาจารย์ ของโรงเรียน และเป็นตัวอย่างที่ดีของเพื่อนนักเรียนด้วยกัน

            ๒) วิริยะ คือความเพียรพยายามประกอบสิ่งนั้นๆ เช่นนักเรียนที่มีความพอใจในการเรียนแล้ว มีความอดทนขยันหมั่นเพียรในการศึกษา หาความรู้  พยายามหมั่นทบทวนวิชาความรู้ต่างๆ ที่ครูสอนผ่านมาแล้วให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ การบ้านหรือกิจกรรมต่างๆที่ครูมอบหมายให้ทำ ต้องมีความอดทน ขยันหมั่นเพียร   พยายามทำงานนั้นให้สำเร็จและถูกต้อง สะอาด เป็นระเบียบ เรียบร้อย และสมบูรณ์ แม้จะมีอุปสรรคใดๆก็จะไม่ท้อถอย ต้องขยันหมั่นเพียรพยายามเอาใจใส่ในวิชาความรู้ที่ครูสอน ทั้งในเวลาเรียน และนอกเวลาเรียน ผู้ใดที่มีคุณธรรมในข้อนี้ คือ วิริยะ หมายถึงความขยันหมั่นเพียร ก็จะมีความสำเร็จตามความประสงค์ในสิ่งนั้นๆอย่างแน่นอน

            ๓) จิตตะ คือเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ ตัวอย่างเช่น เมื่อเรามีความพอใจ มีความเพียรในการเรียนแล้ว เราต้องตั้งใจให้มั่นคง เอาใจฝักใฝ่ในการเรียน และวิชาการต่างๆ ที่เรียนมาแล้ว และที่ยังไม่ได้เรียน ไม่วางธุระ หมายถึงไม่ทอดทิ้งงาน ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง ว่าประเดี๋ยวค่อยทำ หรือพรุ่งนี้ค่อยทำก็ได้ ไม่ทำทิ้งทำขว้าง ทำบ้างไม่ทำบ้าง ให้เกิดความเสื่อมเสียในงานนั้นๆ เราต้องตั้งใจให้มั่นคง มีความอดทนขยันหมั่นเพียร ว่าจะต้องทำงาน ชิ้นนี้ ชิ้นนั้นให้สำเร็จไปด้วยดี ความสำเร็จเกิดขึ้นเพราะเรามีความพอใจ มีความเพียร มีใจฝักใฝ่ในงาน และสิ่งนั้นๆ ผู้ใดมีคุณธรรมในข้อนี้ คือจิตตะ หมายถึงมีใจฝักใฝ่ไม่วางธุระ ก็จะมีความสำเร็จตามความประสงค์ในสิ่งนั้นๆ

            ๔) วิมังสา หมายถึง หมั่นตริตรองพิจารณาหาเหตุหาผลในสิ่งที่ทำ ตัวอย่างเช่น การที่จะศึกษาเรียนรู้ วิชาใด ๆ นักเรียนต้องใช้สติปัญญา พิจารณา ไตร่ตรองให้ละเอียดถี่ถ้วนด้วยเหตุด้วยผล ว่าวิชาที่กำลังจะเรียนมีประโยชน์กับตนเอง สังคม ประเทศชาติบ้านเมืองอย่างไร ต้องรักและเอาใจใส่ในวิชาที่ครูสอนทุกวิชา และมีวิริยะ คือความขยันหมั่นเพียร ที่จะเรียนรู้วิชานั้นๆ อย่างไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ มีความเพียรพยายามจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ผ่านไปด้วยดี และมีจิตตะ คือความตั้งใจมั่นเอาใจฝักใฝ่ในวิชานั้นๆ อย่างไม่วางธุระ ไม่ทิ้งกลางคัน และต้องมีวิมังสา คือหมั่นตริตรองพิจารณาหาเหตุผล ว่าถูกต้อง เรียบร้อย สมบูรณ์หรือไม่ ด้วยเหตุด้วยผลไม่เข้าข้างตนเอง ว่าถูกแล้วดีแล้ว นักเรียนที่ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ได้ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็จะมีความสำเร็จในการเรียนตามความประสงค์ทุกคน

            อิทธิบาท ๔ เป็นธรรมที่หนุนเนื่องกันจึงต้องปฏิบัติให้ครบทั้ง ๔ ประการ ก็จะสำเร็จประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นงานในทางโลก หรือจะเป็นการปฏิบัติธรรม ก็สามารถสำเร็จได้ด้วยคุณธรรมทั้ง ๔ ประการ  นี้คือ คุณธรรมของผู้ใฝ่เรียนรู้

            อนึ่งนักเรียนคนใดที่ไม่มีคุณธรรมทั้ง ๔ ข้อนี้ คือ

            ๑)  ขาดความรักใคร่พอใจ

            ๒) ขาดความขยันหมั่นเพียร

            ๓) ขาดความเอาใจฝักใฝ่

            ๔) ขาดการตริตรองพิจารณาหาเหตุผล

            เขาเหล่านั้นจะไม่สามารถประสพความสำเร็จตามประสงค์ได้เลย

 

บทกลอน   อิทธิบาท  

 

                                                ฉันทะคือ         พอใจ               ในสิ่งนั้น

                                    จงฝ่าฟัน                      อุปสรรค          อย่าสับสน

                                    จงตั้งใจ                       ดูแล                 งานของตน

                                    ต้องอดทน                   ให้สำเร็จ          เสร็จสิ้นไป

                                                 วิริยะ                คือความเพียร   เรียนให้รู้

                                    เพียรคอยดู                   แล้วก็จำ           ทำให้ได้

                                    เพียรศึกษา                   หาความรู้         มาสู่ใจ

                                    เพียรต่อไป                   ก็สำเร็จ           สมเจตนา

 

                                                อันจิตตะ          คือฝักใฝ่           ในงานนั้น

                                    ทุกคืนวัน                     ตั้งใจ                ใฝ่ฝันหา

                                    จงตั้งใจ                       ทำให้เสร็จ       งานนานา

                                    จะมีค่า                         สมหวัง           ดังตั้งใจ

 

                                                วิมังสา             คือไตร่ตรอง    ประคองจิต

                                    ทุกชนิด                       พิจารณา          อย่าหวั่นไหว

                                    ค่อยค่อยคิด                  ค่อยค่อยทำ      เพียรร่ำไป

                                    ทุกอย่างไซร้                ก็สำเร็จ            เสร็จด้วยดี

 

                                                ขอทุกท่าน       จงหมั่น            ขยันเถิด

                                    จะบังเกิด                     ทุกอย่าง           สว่างศรี

                                    ทั้งฉันทะ                     วิริยะ                ตั้งใจดี

                                    ทุกอย่างมี                    ไตร่ตรอง         ครองสุขเอย

 

๕.   อยู่อย่างพอเพียง

 

ความพอเพียง ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

คำว่า พอ  หมายถึง  รับมาตามที่ต้องการ

คำว่า เพียง หมายถึง  รับมาเท่าที่กำหนดไว้  ไม่ให้ขาดไม่ให้เกิน                   

ความพอเพียง  หมายถึง  รับไว้เท่าที่กำหนดไว้ไม่ขาดไม่เกิน

การที่จะมีความพอเพียงได้ต้องมีคุณธรรม      ประการ   ดังนี้    

            ๑)  รู้จักประมาณ           

            ๒)  มีความสันโดษ 

 

 

๑)  รู้จักประมาณ  หมายความว่า รู้จักใช้ปัจจัย ๔ อย่างมีขอบเขตไม่เกินตัว  ตัวอย่างเช่น รู้จักประมาณในการรับประทานอาหาร รู้จักประมาณในการใช้เงิน  รู้จักประมาณในการแต่งกาย รู้จักประมาณในที่อยู่อาศัย ไม่ทำกิจการใด ๆ ที่เกินตัว  เช่นรู้จักประมาณในการรับประทานอาหาร  หมายถึงรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและรับประทานแต่พอดี  ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป  ถ้ามากหรือน้อยเกินไปจะทำให้เกิดอาการท้องเสียได้  รู้จักประมาณในการใช้เงิน หมายถึงการรู้จักใช้  รู้จักจ่ายในสิ่งที่จำเป็น ไม่ใช้มากจนเกินฐานะของตน  จะทำให้เกิดเป็นหนี้  มีความเดือดร้อน   รู้จักประมาณในการแต่งกาย หมายถึง เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม แต่งกายตามฐานะ ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ไม่ทำตามสังคมนิยม  รู้จักประมาณในที่อยู่อาศัยหมายถึง  สร้างที่อยู่อาศัยตามฐานะของตน  ไม่สร้างบ้านใหญ่โตเกินฐานะเป็นเหตุให้เดือดร้อน  ดังคำที่ว่า นกน้อยทำรังแต่พอตัว  จะไม่มีความเดือดร้อน  รู้จักประมาณในการทำมาหากิน  หมายถึง จะทำกิจการใด ๆ ไม่ให้เกินกำลังสติปัญญา  กำลังทรัพย์ และกำลังกาย เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนภายหลัง  นี้คือผู้ที่รู้จักประมาณ

            ๒) มีความสันโดษ หมายความว่า มีความมักน้อย พอใจ  ในสิ่งมี   ที่ได้   ที่เป็น

                 พอใจในสิ่งที่มี เช่น มีบ้านเพียงหลังเดียวพออยู่อาศัย มีที่ดินพอทำกิน  มีรถพอที่จะอำนวยความสะดวกยามเจ็บไข้ได้ป่วย หรือมีไว้ใช้ในธุรกิจบางอย่าง การมีคู่ครองเพียงคนเดียวเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว ไม่ทะเยอทะยาน มักใหญ่ใฝ่สูง  อยากมีสิ่งต่าง ๆ มากมายเกินกำลังทรัพย์  กำลังสติปัญญา  กำลังกาย  มากจนทำให้เกิดทุกข์ หรือมียศถาบรรดาศักดิ์  มีตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือมีธุรกิจใด ๆ ก็จงพอใจในสิ่งที่มี  และควรทำสิ่งที่มีอยู่แล้วนั้น  ให้เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไป  โดยสุจริต ไม่ทุจริตต่ออาชีพ  มีน้อยก็ใช้น้อยอย่าให้เกินรายได้ที่มี  มีมากก็ใช้ตามความจำเป็น  เหลือไว้เพื่อเป็นทุนต่อไป  ถึงแม้ใครจะมีมากกว่าเรา ก็ไม่คิดอิจฉาริษยา  อนุโมทนาในบุญวาสนา  ในความเจริญรุ่งเรืองของท่าน  นี้คือ ตัวอย่าง  ความพอเพียงในสิ่งที่มี

      พอใจในสิ่งที่ได้  หมายถึง การทำมาหากินที่มีรายได้ประจำวัน ประจำเดือน ประจำปี  จะได้มากหรือน้อย เราควรพอใจในสิ่งที่ได้  รู้จักประหยัดอดออม ใช้จ่ายแต่สิ่งที่จำเป็น  ไม่ฟุ้งเฟ้อ เห่อเหิม ทะเยอทะยาน มักใหญ่ใฝ่สูง ใช้จ่ายเกินรายได้ รสนิยมสูงรายได้ต่ำ  มีรายได้น้อยก็ใช้จ่ายน้อย  แต่ควรจะเหลือเก็บไว้บ้าง เผื่อวันข้างหน้าจะได้มีใช้จ่ายเมื่อยามเจ็บไข้ ได้ป่วย หรือถ้าหากมีมาก ก็ใช้จ่ายพอควร ต้องมีส่วนที่เหลือเก็บไว้บ้าง เราต้องรู้จัก ประมาณในการบริโภคทรัพย์ เมื่อทุกคนพอใจในสิ่งที่ได้แล้ว  ความโลภ ก็จะลดน้องลง การเบียดเบียน ปล้น จี้ ลักทรัพย์ ทุจริตคดโกง ก็จะไม่เกิดขึ้น  ถ้าทุกคนพอใจในสิ่งที่ได้ ก็จะอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข บ้านเมืองก็จะไม่เดือดร้อนวุ่นวาย นี้คือ ตัวอย่าง ความพอเพียงในสิ่งที่ได้ ดังกลอนท่าน สุนทรภู่ กล่าวไว้ (พอเพียง)

 

...มีสลึง            พึงบรรจบ       ให้ครบบาท

อย่าให้ขาด       สิ่งของ             ต้องประสงค์

มีน้อย              ใช้น้อย             ค่อยบรรจง

อย่าจ่ายลง       ให้มาก             จะยากนาน

 

                                                 กลอนบทพิเศษ (ไม่พอเพียง)

...มีสลึง            พึงบรรจบ       ให้ครบบาท

ไปตลาด           ฟาดให้เหี้ยน    เตียนกระเป๋า

ถ้าไม่มี             ก็หยิบยืม         ผู้อื่นเอา

เกิดความเศร้า  เมื่อไม่มี            ใช้หนี้คืน

 

พอใจในสิ่งที่เป็น  หมายถึงพอใจในอาชีพการงานของตน ตัวอย่างเช่น ข้าราชการ หรือนักการเมือง มียศระดับใดก็ตาม ก็พอใจในตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ ตั้งใจประพฤติปฏิบัติหน้าที่ ให้ดีที่สุดมีความขยัน หมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ ไม่ทุจริต คดโกง ไม่เบียดเบียน เวลาของราชการ เพื่อหาความสนุกสนาน และหาประโยชน์ส่วนตน เมื่อเราประกอบแต่กรรมดี ความดีก็จะส่งผลให้ได้เลื่อนยศถาบรรดาศักดิ์ ตามลำดับ โดยไม่ต้องวิ่งเต้นเสียเงินเสียทอง ให้เกิดความเดือดร้อน แก่ตนเองและผู้อื่น ดังที่ปรากฏแล้วในปัจจุบัน

อีกตัวอย่างหนึ่ง  เป็นชาวไร่ชาวนา ก็พอใจ ในความเป็นชาวไร่  ชาวนา จะมีไร่มีนามากหรือน้อยก็พอใจในสิ่งที่มี  ทำมาหากินตามกำลังสติปัญญา  ตามกำลังทรัพย์  กำลังกาย มีความตั้งใจมั่น  มีความขยันหมั่นเพียร  มีความอดทนต่อความเหนื่อยยากลำบากกาย  ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง ไม่เบียดเบียนกัน พอใจในสิ่งที่ได้ ที่มี ที่เป็น ชาวไร่ชาวนาก็อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

เป็นพ่อค้าแม่ค้า ก็มีความพอใจในอาชีพ ค้าขาย จะมีกิจการค้าขายใหญ่น้อยต่างกันก็ตาม ต้องมีความซื่อสัตย์ต่ออาชีพการงานของตน ไม่ค้ากำไรเกินควร  ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ไม่โกงตาชั่ง ไม่ค้าของเถื่อน ไม่ค้ายาเสพติด ไม่ขายสิ่งผิดกฎหมาย ไม่ขายอาวุธ ถึงแม้จะทำให้ร่ำรวยทรัพย์สมบัติเงินทอง มากเพียงใดก็ตาม  ก็ไม่ยอมทุจริตต่ออาชีพของตน  ถ้าทำการค้าขายโดยสุจริต ไม่ผิดกฎหมาย แม้ได้กำไรมากหรือน้อยก็พอใจ  รู้จักกิน รู้จักใช้ รู้จักประหยัดอดออม ให้เหมาะสมกับรายได้ ก็จะมีความสุขกับการเป็นพ่อค้า ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น  รวมทั้งสังคมประเทศชาติบ้านเมือง นี้คือความพอเพียง เพราะมี คุณธรรม ๒ ประการ   คือ

๑)     รู้จักประมาณ                    

๒)  มีความสันโดษ     

            ส่วนผู้ใดจะมีคุณธรรมมากกว่านี้ ก็ขออนุโมทนา นี้คือ ความพอใจ ในสิ่งที่มี  ที่ได้  ที่เป็น ผู้ใดมีคุณธรรมเหล่านี้จะมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง  มีความสุขตาม  แนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ประเทศชาติบ้านเมือง  ก็จะร่มเย็นเป็นสุข และมีความเจริญรุ่งเรือง

            ผู้ใดมีคุณธรรมทั้ง    ประการนี้  คือ รู้จักประมาณ  มีความสันโดษ  จะมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียงมีความสุขสบาย ตามอัตภาพ  ไม่เดือดร้อน แต่ถ้าผู้ใดไม่มีคุณธรรมทั้ง    ประการนี้  ไม่รู้จักประมาณ  และไม่มีความสันโดษ จะมีความเป็นอยู่อย่างไม่พอเพียง  จะมีแต่ความทุกข์ ความเดือดร้อน วุ่นวาย  ตลอดเวลา

 

๖.   มุ่งมั่นในการทำงาน

 

ความมุ่งมั่นในการทำงาน หมายถึง  มีความตั้งใจมั่นในการทำงาน  ให้สำเร็จลุล่วงไป

ด้วยดี  ผู้ที่จะมีความมุ่งมั่นในการทำงานได้นั้น จะต้องมีคุณธรรมประจำกาย วาจา ใจ คือพละ ๕

พละ ๕

๑)  ศรัทธา       คือ ความเชื่อ

            ๒)  วิริยะ         คือ ความเพียร

๓)  สติ            คือ ความระลึกได้

๔)  สมาธิ        คือ ความตั้งใจมั่น

๕)  ปัญญา     คือ ความรอบรู้

            พละ หมายถึงกำลังธรรมทั้ง ๕ ที่ได้ชื่อว่า พละ เพราะเมื่อใจมีคุณธรรมทั้ง ๕  นี้เป็นกำลังแล้ว  ย่อมเข้มแข็งในการทำงาน  และทำความดีต่าง ๆ ตามที่ตนปรารถนา

            ๑) ศรัทธา คือ ความเชื่อ หมายถึงเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เป็นความเชื่อที่เกิดจากสติปัญญา เพราะรู้เหตุรู้ผล ว่าเหตุใด คิด พูด ทำ แล้วส่งผลให้เกิดทุกข์ เหตุใด คิด พูด ทำ แล้วส่งผลให้เกิดสุข ไม่เชื่อตามคำบอกเล่าของผู้อื่น ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ โดยที่ยังไม่ได้พิจารณาใคร่ครวญให้ดีเสียก่อน เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม เชื่อว่า ทำดี ได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าบุคคลที่ได้รับความสุข หรือได้รับความทุกข์ ก็เป็นเพราะกรรมดี หรือกรรมชั่วของแต่ละบุคคล เชื่อว่ามนุษย์และสัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า  ว่าประเสริฐสุดกว่าสิ่งใดในโลกนี้ นี้คือศรัทธาความเชื่อที่ถูกต้อง เป็นเหตุให้เกิดพลังสติปัญญา และเป็นกำลังใจ ให้ทำงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

            ผู้ที่ไม่มีศรัทธา หมายถึงไม่เชื่อในคำสอนของพระพุทธองค์ ว่าทำดี ได้ดี  ไม่เชื่อว่า ชาติก่อน ชาตินี้ ชาติหน้ามีจริง ไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ไม่เชื่อว่าเรามีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย  ผู้ที่ไม่เชื่อในคำสอนของพระพุทธองค์ จะไม่กลัวบาปกลัวโทษ สามารถทำชั่วได้ทุกอย่าง เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดปด หลอกลวง ดื่มสุราเสพยาเสพติด เล่นการพนัน ทุจริตคดโกง ทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย ผิดครรลองคลองธรรม ผิดวัฒนธรรม จารีตประเพณี และอื่นๆได้ทุกอย่าง นี้คือผู้ที่ไม่มีศรัทธา คือไม่เชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า

            ๒) วิริยะ คือ ความเพียร  หมายถึง ความเพียรพยายาม  กล้าที่จะลงมือทำงานตามที่ตนเองชอบ ทำด้วยความมานะบากบั่น  ไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคใด ๆ ที่เผชิญ  ทำด้วยใจที่รู้สึกสนุกกับงาน  แม้จะมีอุปสรรค ก็พยายามแก้ไข  โดยไม่ยอมแพ้  ทำเรื่อยไป  จนกว่าจะพบกับความสำเร็จ 

            ผู้ที่ไม่มีความเพียรพยายาม หมายถึง ผู้ที่ไม่กล้าจะลงมือทำงาน เพราะความเกียจคร้าน ไม่มีความอดทน ขยันหมั่นเพียร มีแต่ความท้อถอย  ต่อปัญหาที่เกิดขึ้น  ยอมพ่ายแพ้ต่ออุปสรรคต่าง ๆ จึงไม่มีความสำเร็จในการทำงานใด ๆ 

            ๓)  สติ   คือ ความระลึกได้  หมายถึง ระลึกรู้  อยู่ตลอดเวลาว่า  ขณะนี้เรากำลังคิดอะไร กำลังพูดอะไร  กำลังทำอะไร  เช่น ครูที่กำลังสอนนักเรียน  ในวิชาใด วิชาหนึ่ง  ก็ต้องใช้สติระลึกรู้อยู่ตลอดเวลา  ว่าครูจะต้องนำวิชาความรู้ต่าง ๆ มาสอนและถ่ายทอดให้นักเรียน ต้องใช้สติควบคุมจิตให้อยู่กับ เรื่องราวที่กำลังสอน  เพื่อให้นักเรียนเข้าใจ  และมีความรู้  ตามในเรื่องนั้น ๆ ครูท่านใดที่มีสติควบคุมจิตในขณะที่ทำการสอน จะทำให้นักเรียนมีความรู้  ความฉลาดเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้เกิดพลังและมีความมุ่งมั่น  ทำให้การสอนของครูนั้น  สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

            ส่วนครูที่ขาดสติ เหม่อลอย  ระลึกไม่ได้ ขณะที่ทำการสอน  วิชาใดวิชาหนึ่ง ทำให้การสอนวิชานั้น  คลาดเคลื่อน จากความเป็นจริง  เป็นเหตุให้นักเรียน ไม่ได้รับความรู้  ความฉลาดจากครู นี้คือครูที่ขาดสติ  เด็กนักเรียนก็เช่นกันต้องมีสติระลึกรู้ว่าครูกำลังสอนเรื่องอะไร  ก็จะจำได้และเข้าใจเป็นอย่างดี  ขณะที่เด็กขาดสติระลึกไม่ได้ว่า กำลังเรียน  แต่กลับเล่นไม่สนใจในวิชาที่ครูสอนทำให้ไม่มีความรู้ในวิชานั้น 

            ๔)  สมาธิ คือ ความตั้งใจมั่น

            สมาธิ คือ   ความตั้งใจมั่น หมายถึงใช้สติควบคุมจิตให้คิดอย่างเดียว   ตั้งใจมั่นจดจ่ออยู่กับงานที่กำลังทำ หรือทำด้วยความตั้งใจ  งานนั้นย่อมสำเร็จได้โดยง่าย แต่ถ้าขาดสมาธิ  คือไม่แน่วแน่  ลังเล สองจิตสองใจ  ความผิดพลาดก็เกิดขึ้นได้โดยง่าย สมาธิจึงเป็น กำลังของใจ  ให้มีความตั้งใจมั่น  ในการทำงาน ให้เป็นไปโดยสม่ำเสมอ  จนกว่าจะสำเร็จ  เพราะใจมีสมาธิตั้งมั่นในการทำงาน  จิตไม่ฟุ้งซ่าน

            ๕)  ปัญญา  คือความรอบรู้

            ปัญญา หมายถึง ความรอบรู้ ทั้งทางโลก และทางธรรม ในสิ่งที่ควรรู้ เช่นรู้เหตุ รู้ผล รู้ว่าเหตุใดทำแล้วเกิดทุกข์  รู้ว่าเหตุใดทำแล้วเกิดสุข ผู้มีสติปัญญาก็จะเลือกทำแต่สิ่งที่เกิดสุข หลีกเลี่ยงเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ และยังได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จากคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อให้เกิดปัญญามากขึ้น เป็นพลังส่งเสริมให้  มีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  เพราะมีปัญญา 

            ผู้ที่ไม่มีปัญญา  หมายถึง ผู้ที่ไม่รอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นเหตุให้ทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย  ผิดครรลองคลองธรรม ผิดวัฒนธรรม และจารีตประเพณี  สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น  เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์  ประพฤติผิดในกาม  พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ  พูดเพ้อเจ้อ  ดื่มสุรา  เสพยาเสพติด เป็นต้น  เพราะขาด  สติ  สัมปชัญญะ  ขาดหิริ  โอตตัปปะ สามารถทำความชั่วได้ ทั้งกาย  วาจา  ใจ  เพราะไม่มีปัญญาที่จะพิจารณาได้ว่า  อะไร ผิด  อะไรถูก  อะไรชั่วอะไรดี  เป็นเหตุให้เกิดความผิดพลาดในการทำงาน  นำความเสื่อมเสียมาให้ตนเองและผู้อื่น รวมทั้งสังคม ประเทศชาติบ้านเมือง 

            ผู้ที่มีคุณธรรมทั้ง ๕ ข้อนี้ จะมีพลังกาย พลังใจ ส่งเสริมให้ทำการงานใด ๆ ก็สำเร็จตามความมุ่งมาดปรารถนาทุกประการ  และยังส่งเสริมให้เป็นผู้ที่มีความคิดดี พูดดี ทำดี เป็นคนดีของสังคม และประเทศชาติบ้านเมืองต่อไป  นี้คือ คุณธรรมที่เป็นกำลังส่งเสริม ให้ผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการทำงาน  ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

 

 

๗.   รักความเป็นไทย

 

            รักความเป็นไทย   หมายถึง  รักแผ่นดินไทย  รักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  รักพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ  รักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  รักพระบรมราชินีนาถฯ  และรักพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์  รักวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียม ประเพณีของไทย  รักเผ่าพันธุ์ความเป็นไทย  

ผู้ที่จะรักความเป็นไทยได้นั้น จะต้องมีคุณธรรมดังนี้  คือ มีสติ สัมปชัญญะ มีหิริ  โอตตัปปะ มีขันติ  โสรัจจะ มีกตัญญู กตเวที  และมีปัญญาที่รอบรู้  เป็นคุณธรรมประจำ กาย วาจา ใจ

๑)  รักแผ่นดินไทย  หมายถึง มีสติ สัมปชัญญะ ระลึกได้ และรู้ตัวตลอดเวลาว่า  แผ่นดินนี้เป็นของเราชาวไทยทั่วทั้งประเทศ  กว่าที่จะได้มาบรรพบุรุษ ของเราได้เสียสละ ด้วยเลือดเนื้อและชีวิต ต่อสู้กับอริราชศัตรู  เพื่อปกป้อง รักษาแผ่นดินนี้ไว้ให้ลูกหลานไทย  ได้มีแผ่นดินอยู่อาศัยจนถึงปัจจุบันนี้  เราต้องมีความกตัญญู กตเวที รู้คุณและตอบแทนบุญคุณ ด้วยการรักษาแผ่นดินไทยนี้ด้วยชีวิต  เราต้องมี หิริ  โอตตัปปะ  มีความละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาป ที่จะไม่คิดทำร้าย  ทำลาย  ขายแผ่นดิน หรือแบ่งแยกดินแดนของไทย ให้ผู้หนึ่ง  ผู้ใดหรือประเทศใดเข้ามาครอบครองเป็นอันขาด

  ๒)  รักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  จาก

จากประวัติศาสตร์ชาติไทย  ตั้งแต่ยุคสุโขทัย  ไทยเราได้มีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy)  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจ ในการปกครองประเทศ   จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชการที่ ๗  ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มี"คณะราษฎร์" ทำการปฏิวัติสำเร็จ และยึดอำนาจการปกครอง  คณะราษฎร์ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจาก  ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาโดยตลอด  จนถึงปัจจุบัน  สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน ว่าพสกนิกรชาวไทยทั้งชาติยังเคารพสักการะ  เทิดทูนให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตลอดไป  เราต้อง มีสติ สัมปชัญญะ มีความระลึกได้ และรู้ตัวตลอดเวลาว่า  เรานับว่าโชคดีที่ได้เกิดใต้ร่มพระโพธิสมภาร อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้อย่างร่มเย็นเป็นสุข ด้วยพระบารมีของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์  ทรงปกครองประเทศด้วยทศพิธราชธรรม  ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด เชื้อชาติใด  พระองค์ท่าน  ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิการชาวไทย  เท่าเทียมกัน  เสมอกัน  อย่างหาที่สุดมิได้ 

            ๓)  รักพระพุทธศาสนา  อันเป็นศาสนาประจำชาติ  ต้องมีปัญญารอบรู้อยู่เสมอว่า  พระพุทธศาสนา  และพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระองค์ท่านทรงสอนให้เราเป็นคนดี  เมื่อเราประพฤติปฏิบัติตาม  ทำให้ความทุกข์คลายลง  มีความสุขความสบายยิ่งขึ้นเราจึงต้องทะนุบำรุง รักษาพระพุทธศาสนาไว้  โดยการประพฤติปฏิบัติตามคำสอนและทะนุบำรุงปูชนียสถานให้คงอยู่  เพื่อให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสืบไป

            ๔)  รักพระมหากษัตริย์  หมายถึง รักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  รักสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ  รักพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์  จากประวัติศาสตร์ชาติไทย นับตั้งแต่ยุคสุโขทัย  จนถึงปัจจุบัน  บูรพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์  ทรงปกครองประเทศด้วยทศพิธราชธรรม ทรงเป็นจอมทัพไทย  ทรงพระปรีชาสามารถนำกองทัพเพื่อปกป้องชาติ  ต่อสู้กับอริราชศัตรู และกอบกู้เอกราชจากพม่า ในการเสียกรุงทั้งสองครั้ง  

            ผู้ที่จะรักสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น  ต้องมีคุณธรรม คือ ปัญญา มีสติ สัมปชัญญะ มีความกตัญญู กตเวที  มีหิริ โอตตัปปะ เป็นคุณธรรมประจำกาย วาจา  ใจ

            เราต้องมีปัญญา และมีสติ  สัมปชัญญะ ระลึกได้และรู้ตัวตลอดเวลาว่า  พระบาทสมเด็จ

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  พระองค์ได้ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ทรงยึดหลักทศพิธราชธรรม ภายใต้ร่มพระโพธิสมภาร  พระองค์ทรงนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการในพระราชดำริอีก  ๒,๐๐๐ กว่าโครงการ  ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  และพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์  ทรงนำความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกมาสู่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า  ตลอดทั้งทรงสร้างเกียรติประวัติเลื่องลือไกลให้กับประเทศไทย  จนเป็นที่ประจักษ์แก่นานาอารยประเทศ  อันเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้   เราต้องมีหิริ โอตตัปปะมีความละอายต่อบาป  เกรงกลังต่อบาป ไม่กล้าที่จะคิดคดทรยศ หรือทำร้าย ทำลาย จาบจ้วงล่วงละเมิด  หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  ต่อพระองค์ท่าน เราต้องมีความกตัญญูกตเวที  รู้คุณและตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณของ พระองค์ท่าน  ด้วยความจงรักภักดี  เทิดทูน และรักษาปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไว้ด้วยชีวิต  เพื่อให้เป็นสถาบันหลัก  สถิตสถาพรคู่กับชาติไทยตลอดไปตราบนานเท่านาน   

            ๕)  รักวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีของไทย  หมายถึง  รักขนบธรรมเนียม ประเพณี อันเป็นเอกลักษณ์ของไทยที่สืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน   

ผู้ที่จะรักวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม  จารีตประเพณีของไทย ได้นั้นจะต้องมีคุณธรรม คือ มี ขันติ  โสรัจจะ  คือมีความอดทน มีความสงบเสงี่ยม ประจำกาย  วาจา ใจ  ต้องอดทนต่อสิ่งยั่วยวน ต่าง ๆ ที่ทำให้เราทำผิดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีของไทย  ต้องมีความสงบเสงี่ยม กาย  วาจา ให้เรียบร้อย สมกับเป็นคนไทย เช่นการแต่งกาย  ต้องสุภาพเรียบร้อย  การเคารพนบนอบต่อผู้ใหญ่เช่นการไหว้เป็นต้น  ต้องรักษา อนุรักษ์ประเพณีไทยเช่น ประเพณีลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีแต่งงาน ประเพณีโกนจุก  ประเพณีบวชนาค  ทำบุญขึ้นบ้านใหม่  ทำบุญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเช่น วันมาฆบูชา  วันวิสาขบูชา  วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษาเป็นต้น  ต้องอดทนไม่นำเอา หรือเลียนแบบวัฒนธรรมของต่างชาติ เข้ามาทำลาย หรือทำให้วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีของไทยต้องเสื่อมเสีย  เราเป็นคนไทยควรรักษา  ความเป็นไทย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้  จะได้เป็นผู้ที่รักความเป็นไทยอย่างสมบูรณ์

๖)  รักเผ่าพันธุ์ไทย  หมายถึง รักษาไว้ซึ่งความเป็นเชื้อชาติของความเป็นไทย  ที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดมาจนมาถึงลูกหลานไทยในปัจจุบัน  โดยไม่ยอมให้ต่างชาติมาเปลี่ยนแปลงหรือกลืนเผ่าพันธุ์  ความเป็นเชื้อชาติไทย 

ผู้ที่จะรักเผ่าพันธุ์ไทยได้นั้น  จะต้องมี ปัญญา มีสติ สัมปชัญญะ ระลึกได้และรู้ตัวตลอดเวลาว่า  เราเป็นคนไทยจงมีความภาคภูมิใจ ในความเป็นเชื้อชาติไทย ที่มีลักษณะเฉพาะ  มีรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ  ( ไม่อายที่มีจมูกหรือดั้งหัก ) ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของบรรพบุรุษไทย  ที่ได้ดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน  และต้องมีขันติ  มีความอดทน ไม่ยอมที่จะให้ต่างชาติมากลืนความเป็นเผ่าพันธุ์ความเป็นไทยของเราได้  ผู้ที่มีคุณธรรมดังกล่าวมาแล้วนี้  ถือว่าเป็นผู้ที่รักความเป็นไทย 

 

๘.   มีจิตสาธารณะ

 

มีจิตเป็นสาธารณะ  หมายถึง  ผู้ที่มีจิตอันบริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสเจือปน  เป็นผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม  รู้จักแบ่งปัน  เสียสละความสุขส่วนตน  เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น  เห็นอก  เห็นใจและเห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์และผู้ที่มีความเดือดร้อน  มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่  อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกายและสติปัญญาลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา  หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน

ผู้ที่จะเสียสละความสุขส่วนตน  เพื่อช่วยเหลือสังคม  และเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  ผู้ที่จะมีจิตเป็นสาธารณะได้นั้น  ต้องมีคุณธรรม ประจำกาย วาจา ใจ  คือ พรหมวิหาร    ซึ่งเป็นคำสอนของ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  มีดังนี้

๑)      เมตตา  คือ ความรัก  ปรารถนาดีต้องการให้ทุกชีวิต  ทุกวิญญาณมีความสุข

๒)    กรุณา  คือ ความสงสาร คิดช่วยเหลือให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณ  พ้นทุกข์

๓)     มุทิตา  คือ ความพลอยยินดี  ดีใจด้วยเมื่อทุกคนทุกชีวิต  ทุกวิญญาณได้ดีมีสุข

๔)     อุเบกขา คือ ความวางเฉย  วางตัว  วางใจเป็นกลาง  ไม่มีความลำเอียง

๑)  ความเมตตา  คือ  ความรัก   มีอยู่    อย่าง  ดังนี้

      (๑)   เมตตา  คือ ความรักที่มีกิเลสเจือปน

      (๒)   เมตตา  คือ ความรักที่ไม่มีกิเลสเจือปน

                  (๑)  ความรักที่มีกิเลสเจือปน  หมายถึง  ความรักที่มีกิเลส  คือ ความโลภ

ความโกรธ  และความหลง  ครอบงำจิต  เช่น พ่อแม่รักลูก  ลูกรักพ่อแม่  ชายหนุ่มรักหญิงสาว พี่รักน้อง  น้องรักพี่ รักวงศาคณาญาติ  รักพวกพ้อง  ลูกน้องบริวาร  ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์  และสัตว์ที่มีความรักอยู่แล้วตั้งแต่เกิด ความรักเหล่านี้เป็นของมนุษย์ปุถุชน  ซึ่งมีความเห็นแก่ตัว  ความลำเอียง  เป็นความรักที่แคบและมีขอบเขต  คือ ปรารถนา  จะให้คนที่ตนรักมีความสุขเท่านั้น  เราจะเห็นได้จากมนุษย์และสัตว์  ในสังคมปัจจุบัน  และตัวของเราเอง  ตัวอย่างเช่น  เรามีอาหารอยู่หนึ่งจาน  เรา

รับประทานแล้ว  รู้สึกอร่อย มีความสุข  อยากให้  พ่อแม่  ลูกหลาน  ญาติพี่น้อง  กับพวกพ้อง บริวารได้รับประทานอาหารจานนี้   คงจะอร่อยและมีความสุขเหมือนเรา

            นี้คือความเมตตา  หรือความรักที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ปุถุชน  ที่มีกิเลสครอบงำจิต  ไม่ถือว่าเป็นผู้ที่มีจิตเป็นสาธารณะ

                                    (๒)  ความรักที่ไม่มีกิเลสเจือปน  หมายถึง ความรักของผู้ที่ไม่มีกิเลสคือ

ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ครอบงำจิต เป็นความรักอันบริสุทธิ์  และกว้างขวาง  มีความปรารถนาดี  ที่จะทำให้ทุกคน  ทุกชีวิต ทุกวิญญาณมีความสุข  ความเจริญ  ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง  ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร  หรือเป็นสัตว์ชนิดใด  ก็มีความรัก  ความห่วงใยเสมอกัน  ไม่เห็นแก่ตัว  ไม่ลำเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง  มีความอดทนขยันหมั่นเพียร  พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่น  ให้มีความสุข  แม้จะเหน็ดเหนื่อย  หรือต้องเสียทรัพย์สินเงินทอง เสียเวลา แม้เสียชีวิตก็ยอม และช่วยเหลือโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนแต่อย่างใด  รักทุกชีวิตทุกวิญญาณ  ปรารถนาให้ผู้อื่น มีความสุขถ้วนหน้ากัน  ตัวอย่าง  เช่น เรามีอาหารหนึ่งจาน  เรารับประทานแล้วรู้สึกอร่อย  มีความสุข  อยากให้ทุกคนได้รับประทาน  เช่น  พ่อ  แม่  ครู  อาจารย์  ลูกหลาน  ญาติพี่น้อง  พวกพ้อง  บริวาร  ทุกคนในหมู่บ้าน  ในตำบล ในอำเภอ ในจังหวัด  ในประเทศ หรือทุกคนในโลกนี้  รวมทั้งสัตว์เดรัจฉาน  สัตว์นรก  เปรต  อสุรกาย และทุกชีวิตทุกวิญญาณในโลกนี้  ได้รับประทานอาหารจานนี้แล้ว  คงจะมีความสุขเหมือนเรา

            นี้คือ  ผู้ที่มีความเมตตาเป็นคุณธรรมประจำใจ  ของผู้ที่ไม่มีกิเลสครอบงำจิต  หรือกิเลส

เบาบาง  ผู้ใดที่มีคุณธรรม  ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้  ถือว่าผู้นั้นมีน้ำใจที่ใสสะอาดบริสุทธิ์  พร้อมที่จะช่วยเหลือเผื่อแผ่ต่อมนุษย์และสัตว์  ทุกชีวิต  ทุกวิญญาณ  ให้มีความสุขถ้วนหน้า  ถือว่าเป็นคนดี  เป็นผู้ใหญ่  ที่ดี  เป็นพรหม  เป็นอริยบุคคล  เป็นพระอริยะ  เป็นพระอรหันต์  ท่านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีน้ำใจ  อันบริสุทธิ์ทั้งสิ้น นี้คือผู้ที่มีจิตเป็นสาธารณะ

๒.      กรุณา  คือ ความสงสาร  หมายถึง  ความสงสาร  อยากให้ทุกคน ทุกชีวิต  ทุกวิญญาณ 

พ้นจากความทุกข์  มี    อย่าง  ดังนี้

                        (๑)  กรุณา   ความสงสารที่มีกิเลสครอบงำจิต

                        (๒)  กรุณา  ความสงสารที่ไม่มีกิเลสครอบงำจิต

                                    (๑ ) กรุณา  ความสงสารที่มีกิเลสครอบงำจิต  หมายถึง จิตอยู่ใต้อำนาจของความโลภ ความโกรธ  ความหลง  จึงมีความสงสารที่คับแคบอยู่ในขอบเขต เช่น พ่อแม่สงสารลูก  ลูกสงสารพ่อแม่  พี่สงสารน้อง  น้องสงสารพี่  สามีสงสารภรรยา  ภรรยาสงสารสามี  สงสารวงศาคณาญาติ  ลูกน้องพวกพ้อง  บริวาร  ซึ่งเป็นคนที่ตนรัก  ความสงสารเหล่านี้ เป็นความเห็นแก่ตัว  เป็นธรรมชาติของมนุษย์ปุถุชน  ที่มีจิตใจคับแคบ  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เฉพาะผู้ที่ตนรัก  และผู้ที่ใกล้ชิดเท่านั้น  ตัวอย่างเช่น  พ่อ แม่  ลูกหลาน  ญาติพี่น้อง  คนใกล้ชิดของเราป่วย  เรารู้สึกสงสารอยากช่วยเหลือทุกวิถีทาง  เพื่อให้หายป่วยโดยเร็ว  ให้พ้นจากความทุกข์ทรมาน  ถ้าผู้อื่นป่วยเราก็รู้สึกเฉย ๆ  ไม่คิดจะช่วยเหลือแต่ประการใด 

            นี้คือ  ความสงสารของผู้ที่มีกิเลสครอบงำจิต  เป็นคุณธรรมประจำใจ  ของมนุษย์ปุถุชนเท่านั้น  ไม่ใช่มีคุณธรรมอันสูงส่ง  เพราะเห็นแก่พวกพ้องญาติพี่น้องของตน นี้คือผู้ที่ไม่มีจิตเป็นสาธารณะ

                                    (๒)  กรุณา  คือความสงสารที่ไม่มีกิเลสครอบงำจิต  หมายถึงผู้ที่มีความสงสารอันกว้างขวาง  อย่างไม่มีขอบเขต  มีน้ำใจอันบริสุทธิ์  ปรารถนาที่จะช่วยเหลือให้ผู้อื่นที่ตกทุกข์

ได้ยาก  พ้นจากความทุกข์  ความเดือดร้อน  ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง  มีน้ำใจอันเปี่ยมล้นไปด้วยคุณธรรม  คือ ความกรุณา  สงสารทุกชีวิต  ทุกวิญญาณ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร  หรือสัตว์ชนิดใด  ที่เกิดขึ้นแล้วในโลกนี้  มีความตั้งใจมั่น  เสียสละความสุขส่วนตน  เพื่อทำประโยชน์ให้กับส่วนรวม  เสียสละทรัพย์สินเงินทอง  ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก  มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ช่วยเหลือสังคม  ด้วยสติปัญญาเพื่อบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ให้ลุล่วงไปด้วยดี  ไม่เห็นแก่ตัว  เห็นแต่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นใหญ่ 

นี้คือผู้ที่มีความกรุณาเป็นคุณธรรมประจำใจของผู้ที่ไม่มีกิเลส  คือความโลภ  ความโกรธ  ความหลง ครอบงำจิต  หรือมีกิเลสเบาบาง  เป็นคุณสมบัติของคนดี  ของผู้ใหญ่ที่ดี  ของพรหม  ของอริยบุคคล   พระอริยะ  และ  พระอรหันต์  นี้คือผู้ที่มีจิตเป็นสาธารณะ

            ๓.   มุทิตา  คือความรู้สึกพลอยยินดี  กับผู้อื่นที่ได้ดีมีสุข  มี    อย่าง   ดังนี้

                        (๑)  มุทิตา  คือความพลอยยินดีที่มีกิเลสครอบงำจิต

                        (๒)  มุทิตา คือความพลอยยินดีที่ไม่มีกิเลสครอบงำจิต

                                    (๑)  มุทิตา  ความพลอยยินดีที่ไม่บริสุทธิ์ใจ  เพราะมีกิเลส คือความโลภ

ความโกรธ ความหลง  ครอบงำจิต  หมายถึงผู้ที่มีความรู้สึกพลอยยินดีเฉพาะ  พ่อ แม่  ลูกหลาน ญาติพี่น้อง พวกพ้อง  บริวาร  ทุกคนที่เรารัก  หรือ คนใกล้ชิด  ประสพความสำเร็จในชีวิตอย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่นคนในครอบครัว  ได้เลื่อนยศถาบรรดาศักดิ์ หรือลูกหลานสอบเข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียงได้  และเรียนจบ หรือถูกหวยรวยเบอร์  เป็นต้น เราก็ดีอกดีใจ  พลอยยินดีกับคนที่เรารักเท่านั้น ถ้าผู้อื่นที่ไม่ใช่  พ่อแม่  ลูก  หลาน ญาติพี่น้อง  พวกพ้อง  บริวาร และทุกคนที่เรารัก  หรือคนใกล้ชิด  ได้ดีมีสุข  จะเนื่องจากเหตุใด ๆ ก็ตาม จะรู้สึกไม่สบายใจมีความอิจฉาริษยา  คิดทำร้ายทำลายกัน  ดังที่ได้เกิดขึ้นแล้วกับมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน  แม้แต่ตัวเราเองก็เป็นเช่นกัน  เป็นความพลอยยินดีที่ไม่บริสุทธิ์ใจมีกิเลสครอบงำจิต  เป็นธรรมชาติของมนุษย์ปุถุชน  ไม่ใช่คุณธรรมอันสูงส่งแต่อย่างใด นี้คือ   ผู้ที่ไม่มีจิตเป็นสาธารณะ 

                                    (๒)  มุทิตา  ความพลอยยินดีด้วยความบริสุทธิ์ใจ  ที่ไม่มีกิเลสครอบงำจิต  หมายถึงผู้ที่มีคุณธรรมอันสูงส่ง  มีเมตตา  คือความรัก  มีกรุณา คือความสงสารอย่างกว้างขวาง จะพลอยยินดีกับผู้ที่ได้ดีมีสุข  ทุก ๆ คน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง  ไม่เลือกชนชั้น  วรรณะ  ไม่เลือกทุกชีวิตทุกวิญญาณ  ผู้ใดที่ได้ดีมีสุข เขาก็จะชื่นชมยินดี  อนุโมทนาสาธุ ให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณ  มีความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป ถึงแม้คนเหล่านั้นจะไม่ใช่  พ่อแม่  ลูกหลาน ญาติพี่น้อง  พวกพ้องบริวาร  คนที่เรารัก  หรือคนใกล้ชิดก็ตาม  จะเป็นคนที่รู้จัก  หรือไม่รู้จักก็ตาม  เมื่อทราบว่าเขาเหล่านั้นมีความสุขก็มีความพลอยยินดีด้วยใจอันบริสุทธิ์ทั้งสิ้น  ไม่มีจิตอิจฉาริษยาเลยแม้แต่น้อย 

            นี้คือ  มุทิตา  ความพลอยยินดีของผู้ที่ไม่มีกิเลส  ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ครอบงำจิต  หรือมีกิเลสเบาบาง  เป็นคุณสมบัติของคนดี  ผู้ใหญ่ที่ดี  ของพรหม  ของอริยบุคคล  ของพระอริยะ ของพระอรหันต์  ท่านเหล่านี้ล้วนแล้ว  แต่เป็นผู้ที่มีน้ำใจอันบริสุทธิ์ทั้งสิ้น นี้คือ ผู้ที่มีจิตเป็นสาธารณะ

๔).  อุเบกขา  คือความวางเฉย  วางตัว  วางใจเป็นกลาง  มี    อย่าง  ดังนี้

(๑)   อุเบกขา  ความวางเฉยเพราะมีกิเลสครอบงำจิต

(๒)   อุเบกขา  ความวางเฉยเพราะไม่มีกิเลสครอบงำจิต

                                    (๑)  อุเบกขา  ความวางเฉยเพราะมีกิเลส คือ  ความโลภ  ความโกรธ 

ความหลง ครอบงำจิต  ตัวอย่างเช่น เมื่อเห็นคนที่เราเกลียดชัง  ประสพความวิบัติด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ก็วางเฉยไม่คิดที่จะช่วยเหลือ  กลับมีความคิดซ้ำเติมให้เกิดความวิบัติมากขึ้น  นี้คือ ความวางเฉย เพราะมีกิเลสครอบงำจิต  แต่เมื่อพ่อ แม่ ลูกหลาน ญาติพี่น้อง  พวกพ้อง  บริวาร  คนที่เรารัก  หรือคนที่ใกล้ชิด  เกิดความวิบัติเนื่องด้วยเหตุใด ๆ  ก็ตาม จะรู้สึกเห็นใจ  และสงสาร  อยากช่วยเหลือ ให้พ้นจากความทุกข์ยากลำบาก  วางเฉยไม่ได้  จะรู้สึกเสียใจ  เป็นทุกข์เป็นร้อน  จิตใจกระสับกระส่าย  กระวนกระวาย  หาทางช่วยเหลือทุกวิถีทาง  ให้คนที่เรารัก  พ้นจากความวิบัติจากเหตุนั้น ๆ 

            นี้ถือว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ปุถุชน  ที่มีความลำเอียงอันเกิดจากมีกิเลส  ความโลภ 

ความโกรธ  ความหลง  ครอบงำจิต  เป็นคุณสมบัติของมนุษย์ปุถุชน  ไม่ใช่ผู้มีคุณธรรมอันสูงส่งแต่อย่างใด ไม่ถือว่าเป็นผู้ที่มีน้ำใจอันบริสุทธิ์  เพราะเห็นแก่ญาติพี่น้อง  พวกพ้องของตน นี้คือ ผู้ที่ไม่มีจิตเป็นสาธารณะ

                                    (๒)  อุเบกขา  ความวางเฉย  เพราะไม่มีกิเลสครอบงำ  หมายถึงผู้ที่มีคุณธรรมประจำใจ  มีความเมตตา  กรุณา  มุทิตา  อุเบกขา  ก็จะวางตัววางใจ  เป็นกลางไม่เห็นแก่ตัว  ไม่เอนเอียง เข้าข้างใดข้างหนึ่ง จะเป็นคนที่ตนรักก็ดี  คนที่ตนเกลียดก็ตาม  ได้รับความวิบัติด้วยเหตุใด 

เหตุหนึ่งก็ตาม  พยายามช่วยเหลือแล้ว  แต่ไม่อาจช่วยเหลือได้  ก็ต้องใช้อุเบกขา  ความวางเฉย  มีใจเป็นกลาง ไม่ดีใจหรือไม่เสียใจ  เพราะเข้าใจในธรรมชาติ ของสัตว์โลก ซึ่งศึกษามาจากคำสอนของ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ที่ว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม  ใครทำกรรมอันใดไว้  ไม่ว่าจะเป็นบุญหรือเป็นบาป  จักต้องได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป  อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น

            เมื่อคิดได้ดังนี้แล้ว  จึงมีใจเป็นกลาง  ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็น พ่อ แม่  ลูกหลาน  ญาติพี่น้อง  พวกพ้อง  บริวาร คนที่ใกล้ชิด  หรือไม่ใกล้ชิด  คนที่ตนรัก  คนที่ตนเกลียด  แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน  ทุกชีวิตทุกวิญญาณ  ที่ได้รับผลกรรมจากการคิดชั่ว  พูดชั่ว  ทำชั่ว  เกิดความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง  ก็จะไม่เป็นทุกข์  ไม่เดือดร้อน  จิตใจไม่กระวนกระวาย  ไม่กระสับกระส่ายแต่อย่างใด  เพราะเข้าใจว่ามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้  มีการเกิด  แก่  เจ็บ  ตาย  เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  แล้วดับไป  ทุกอย่างเป็นอนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา  ไม่มีสิ่งใดในโลกนี้เป็นของใครทั้งสิ้น 

            นี้คือ  อุเบกขา  ความวางเฉย  ที่ไม่มีกิเลสครอบงำจิต  เป็นคุณสมบัติของคนดี  ของผู้ใหญ่ที่ดี  ของพรหม  ของอริยบุคคล  ของพระอริยะ  ของพระอรหันต์  นี้คือ  ผู้มีจิตเป็นสาธารณะ

ผู้ใดมีคุณธรรม ทั้ง    ประการดังที่กล่าวมาแล้วนี้  คือ

๑)   เมตตา   คือ ความรัก  ปรารถนาจะให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณเป็นสุข

๒)   กรุณา    คือ ความสงสาร  คิดช่วยเหลือให้ทุกชีวิต ทุกวิญญาณพ้นทุกข์

๓)   มุทิตา    คือ ความพลอยยินดี  เมื่อทุกคนทุกชีวิต  ทุกวิญญาณได้ดีมีสุข

๔)   อุเบกขา คือ การวางเฉย  และวางตัว  วางใจเป็นกลาง  ไม่มีความลำเอียง

ผู้ใดมีคุณธรรมประจำกาย  วาจา ใจ  สมบูรณ์แล้ว  เป็นผู้ที่มีน้ำใจอันสะอาดบริสุทธิ์ 

พร้อมจะเป็นผู้ให้  ยอมเสียสละความสุขส่วนตน  เพื่อประโยชน์ส่วนรวม  ช่วยเหลือสังคม  รู้จักแบ่งปันทรัพย์สินเงินทอง ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก  มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่เพื่อนมนุษย์

ร่วมโลก  และใช้สติปัญญาช่วยแก้ไขบรรเทาปัญหา  ที่เกิดขึ้นในสังคม  และสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นกับชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ 

            นี้คือ  คุณสมบัติของผู้ที่มีจิตเป็นสาธารณะ  เพราะมีคุณธรรม    ประการนี้  ผู้ใดขาดคุณธรรม    ประการนี้  ก็จะเป็นคนที่ไม่มีจิตเป็นสาธารณะ  เห็นแก่ตัว  ไม่ซื่อสัตย์สุจริต  พร้อมที่จะทุจริตคดโกงได้ทุกเวลา  ไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่มีความเสียสละทรัพย์สินเงินทอง  ช่วยเหลือผู้ใด  ทำความชั่วสร้างความเดือดร้อนให้กับครอบครัว  หมู่บ้าน  ตำบล  อำเภอ  จังหวัด  ประเทศชาติบ้านเมือง  และทั้งโลก

 

                                                         บทกลอน   พรหมวิหาร  

 

                                                อันเมตตา         คือความรัก      จักเผื่อแผ่

                                    จะมากแท้                    ก็ต่อเมื่อ           เผื่อมากหลาย

                                    ทั้งพ่อแม่                      เพื่อนพ้อง        น้องหญิงชาย

                                    สัตว์ทั้งหลาย               ในโลก             จงโชคดี

                                                กรุณา               คือสงสาร         วานช่วยบอก

                                    ใครช้ำชอก                  เป็นทุกข์          ไม่สุขี

                                    จงช่วยเขา                    ให้พ้นทุกข์      เป็นสุขดี

                                    แม้สัตว์ที่                     เจ็บป่วย           จงช่วยกัน

                                                มุทิตา               พลอยยินดี       ผู้มีโชค

                                    อย่าเศร้าโศก                เสียใจ               ภัยมหันต์

                                    จงทำใจ                       ให้ดี                 มีต่อกัน

                                    พระองค์ท่าน               สอนไว้           ให้ยินดี

                                                อุเบกขา           ความวางเฉย    เคยหรือไม่

                                    คือทำใจ                       ให้เป็นกลาง    สว่างศรี

                                    ไม่ดีใจ                         หรือเสียใจ        เมื่อภัยมี

                                    จะเกิดที่                       สัตว์เหล่าใด     ใครก็ตาม

                                                ขอทุกท่าน       จงคิด               พินิจดู

                                    หากไม่รู้                       แม้นชอบ         ให้สอบถาม

                                    คุณธรรม                      ทั้งสี่                 นี้ช่างงาม

                                    มีประจำ                       ก็เป็นพรหม     สมดั่งใจ

   

 

 


บรรณานุกรม

 

๑)  นวโกวาท  ( ฉบับประชาชน )  สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณ   วโรรส  โรงพิมพ์  มหามกุฏราชวิทยาลัย  หน้า     วัดบวรนิเวศน์วิหาร  กรุงเทพฯ พลอากาศเอก  หะริน  หงสกุล  ผู้พิมพ์      ผู้โฆษณา  .. ๒๕๔๓

๒)  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. ๒๕๔๒  จัดพิมพ์โดย  บริษัท       นานมีบู๊คส์  พับลิเคชั่นส์  จำกัด  ๙๔๗ / ๑๕๘-๑๕๙  หมู่  ๑๒ ถนน บางนา-ตราด เขต     บางนา แขวงบางนา  กรุงเทพฯ (๑๐๒๖๐)  พ.ศ. ๒๕๔๖

๓)  หนังสือบูรณาการแผนใหม่  นักธรรมชั้นตรี  เรียบเรียงโดย  คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง  เพียรเพื่อพุทธศาสน์ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง  ๖๗๙/๗๑-๗๔ ถนนประชาอุทิศ  ซอย ๔๕  เขตทุ่งครุ

กรุงเทพฯ  (๑๐๑๔๐)  พ.ศ. ๒๕๔๖

 

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view