บทกลอนธรรมะ
แก้วสามประการ
รัตนตรัย |
ให้ห่วง | ในดวงจิต |
สุขุมคิด |
ตรึกตรอง | เป็นหนักหนา |
คิดถึงคุณ |
ขององค์ | พระศาสดา |
ช่างล้ำค่า |
เหนือสิ่งใด | ในโลกีย์ |
อันพระธรรม |
คำสอน | วอนให้คิด |
ใครยึดติด |
ถ้อยคำ | พระชินสีห์ |
เขาเหล่านั้น |
ตั้งตน | เป็นคนดี |
จะสุขี |
ไร้ทุกข์ | สุขสบาย |
อันพระสงฆ์ |
องค์ใด | ได้ปฏิบัติ |
เห็นเด่นชัด |
ขัดเกลา | กิเลสหาย |
เป็นทายาท |
ศาสดา |
หาใช่ใคร |
ควรกราบไหว้ |
บูชา | เป็นอาจารย์ |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
สิ่งล้ำค่า |
ทั้งสามนี้ | ดีมหันต์ |
ใครมีแล้ว |
นำมาใช้ | เป็นได้การ |
ความสุขสันต์ |
เกิดขึ้น | ชื่นหัวใจ |
สามัญลักษณ์
อนิจจัง | คือไม่เที่ยง | เลี่ยงไม่ได้ |
ต้องเปลี่ยนไป | ใครไม่รู้ | ดูสับสน |
เกิดมาแล้ว | ก็ต้องแก่ | กันทุกคน |
หนีไม่พ้น | ต้องเจ็บป่วย | ม้วยชีวี |
อันทุกขัง | คือความทุกข์ | สุขไม่ใช่ |
เมื่อเกิดใหม่ | ก็เริ่มทุกข์ | ไม่สุขี |
ยิ่งเกิดนาน | ทุกข์ยิ่งมาก | ยากเต็มที |
ลาภยศมี | ก็เป็นทุกข์ | ไม่สุขใจ |
อนัตตา | คือสูญเปล่า | เราเฝ้าคิด |
ทุกชนิด | ต้องดับสูญ | อย่าสงสัย |
แม้ตัวเรา | ก็ต้องเข้า | ในกองไฟ |
สูญสลาย | มอดม้วย | ไปด้วยกัน |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า | มีแต่ทุกข์ | ไม่สุขสันต์ |
มัวหลงเพลิน | เพราะไม่รู้ | อยู่ทุกวัน |
ลุ่มหลงกัน | เป็นตัวข้า | น่าอับอาย |
บอด หนวก ใบ้ บ้า
คนตาบอด | ของแม่ | แลไม่เห็น |
ดังเฉกเช่น | ความดี | มีมากหลาย |
แต่ความชั่ว | นั่นเล่า | กลับเข้าใจ |
มองเห็นไว | ชอบทำ | อยู่ร่ำไป |
คนหูหนวก | ของแม่ | แน่แล้วเสียง |
อันสำเนียง | ที่ดี | มีไฉน |
มิได้ยิน | คำสอน | ทุกตอนไป |
เสียงชั่วไซร้ | กลับตอบ | ชอบทำลาย |
คนเป็นใบ้ | ของแม่ | แย่สักหน่อย |
ชอบพูดพล่อย | คำชั่ว | มั่วเหลือหลาย |
คำดีดี | พูดไม่เป็น | เห็นน่าอาย |
ชอบทำลาย | ผู้อื่น | ชื่นชีวา |
คนเป็นบ้า | ของแม่ | แย่ยิ่งนัก |
ความหลงรัก | พอใจ | ใฝ่ฝันหา |
ได้มาแล้ว | ยึดมั่น | ไม่ร้างรา |
ใครจะมา | เอาไป | ยอมตายแทน |
ขอทุกท่าน | จงคิด | จิตเศร้าโศก |
เราเป็นโรค | ทั้งสี่ | นี้เศร้าแสน |
จงหายา | มารักษา | หย่าขาดแคลน |
ตระหนักแน่น | ในใจ | จงไตร่ตรอง |
อันคำสอน | ของพระองค์ | ผู้ทรงเดช |
เป็นยาวิเศษ | รักษาใจ | คลายเศร้าหมอง |
จงใส่ใจ | ประพฤติธรรม | ตามครรลอง |
ให้ถูกต้อง | ทุกประโยค | โรคจะคลาย |
มนุษย์ ๔ ประเภท
มนุษย์ใด | ไร้ธรรม | ประจำจิต |
เฝ้าแต่คิด | เบียดเบียน | เพียรใฝ่หา |
เอาเงินทอง | ของผู้อื่น | เลี้ยงกายา |
พระองค์ว่า | เป็นเปรต | ทุเรศนาน |
มนุษย์ใด | ไร้ธรรม | ประจำใจ |
ท่านว่าไว้ | เฉกเช่น | เป็นเดรัจฉาน |
ไม่รู้คุณ | พ่อแม่ | ครูอาจารย์ |
มีสันดาน | ชั่วชาติ | ขาดปัญญา |
มนุษย์ใด | มีธรรม | ค้ำจุนจิต |
เฝ้าควรคิด | หาธรรม | นำรักษา |
ทำดีบ้าง | ทำชั่วบ้าง | บางเวลา |
พระองค์ว่า | เป็นมนุษย์ | ตลอดกาล |
มนุษย์ใด | ใจเป็นเทพ | เสพความสุข |
ใครเป็นทุกข์ | เขาคิดช่วย | ด้วยสงสาร |
มีเมตตา | ปราณี | เป็นสันดาน |
จิตชื่นบาน | อุเบกขา | พาสุขใจ |
ขอทุกท่าน | ควรคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า | นั้นอยู่ | ประเภทไหน |
ทำดีชั่ว | เรารู้ | อยู่แก่ใจ |
ไม่มีใคร | รู้เท่า | เราคนทำ |
โลภ โกรธ หลง
โลภโกรธหลง | ปลงไม่ได้ | ใครเคยคิด |
มันมาติด | ที่หัวใจ | ใครรู้บ้าง |
เมื่อยามโลภ | อยากได้ | ใครจะวาง |
กลับหาทาง | เอามัน | ให้ทันใจ |
ยามเจ้าโกรธ | พิโรธนัก | ปักดวงจิต |
เจ้าเฝ้าคิด | ทำลาย | ให้ตายได้ |
คิดอิจฉา | ด่าทอ | ขอให้ตาย |
คิดทำลาย | แม้สมบัติ | อัศจรรย์ |
ยามเจ้าหลง | คงคิด | จิตยึดมั่น |
หลงรักกัน | เป็นของข้า | น่าขบขัน |
ได้มาแล้ว | ก็หวงแหน | แสนรักมัน |
ก็นับวัน | เป็นทุกข์ | สุขไม่มี |
บวชกาย บวชใจ
พระพุทธองค์ | ท่านทรง | ให้ออกบวช |
ก็เพื่อตรวจ | กิเลส | ประเภทนี้ |
แต่ผู้บวช | มิได้ตรวจ | กันสักที |
จึงไม่มี | ใครพราก | จากโลกีย์ |
ท่านให้บวช | เพื่อชำระ | สละกิเลส |
เพราะเป็นเหตุ | เศร้าหมอง | ไม่ผ่องศรี |
มันหมักดอง | ในสันดาน | ทุกท่านมี |
ท่านปราณี | สอนไว้ | ใส่ใจกาย |
บ้างก็บวช | เพื่อประเพณี | หนีไม่พ้น |
ไม่ฝึกตน | ตามสิกขา | ท่านว่าไว้ |
บวชกันแล้ว | ก็รีบสึก | นึกพอใจ |
ข้าจะได้ | มีลูกเมีย | ได้เสียที |
บ้างก็บวช | เพราะแก่ | แย่แล้วข้า |
เข้าไปหา | กินข้าววัด | น่าบัดสี |
กินแล้วนอน | นอนแล้วกิน | พอสิ้นปี |
พรรษามี | มากหน่อย | คอยวันตาย |
บ้างก็บวช | แก้บน | ให้พ้นผิด |
บวชกันนิด | แล้วก็สึก | นึกใจหาย |
ไม่รู้ศีล | ไม่รู้ธรรม | ประจำใจ |
สึกออกไป | ก็ทำชั่ว | มั่วโลกีย์ |
บ้างบวชนาน | เป็นสมภาร | วานเฝ้าวัด |
มิกำจัด | เครื่องเศร้าหมอง | ให้ผ่องศรี |
กิเลสหนา | พาเป็น | เห็นมากมี |
ไม่เป็นที่ | เคารพ | นบกราบไหว้ |
บางท่านบวช | เพื่อชำระ | สละกิเลส |
เข้าหาเพศ | บรรพชิต | จิตแจ่มใส |
รักษาศีล | ภาวนา | อยู่ร่ำไป |
ไม่ใส่ใจ | ทางโลก | ท่านโชคดี |
บางท่านบวช | เพื่อเรียนรู้ | เป็นครูสอน |
ได้แต่วอน | สอนคนอื่น | ทุกทุกที่ |
ไม่เคยสอน | ตัวเอง | เลยสักที |
ชั่วชีวี | ก็ไม่พ้น | วนเวียนไป |
บางท่านบวช | แล้วละได้ | ไร้อาสวะ |
เป็นอริยะ | จิตประเสริฐ | เลิศผ่องใส |
หมดทั้งทุกข์ | หมดทั้งโศก | เหนือใครใคร |
จงใส่ใจ | เคารพ | นบนอบเอย |
บวชชี เพราะหนีชาย
บ้างบวชชี | หนีชาย | หมายไม่สึก |
พอดึกดึก | นึกถึงเขา | เศร้าหมองศรี |
คิดไปมา | ว่าจะทำ | อย่างไรดี |
สึกอีกที | เพื่ออยู่ | ร่วมคู่กัน |
บ้างบวชชี | อยู่นาน | ไม่ขานไข |
ไม่ใส่ใจ | ในธรรมะ | น่าขบขัน |
กิเลสหนา | พาเป็น | เห็นทุกวัน |
แย่งชิงกัน | เป็นใหญ่ | น่าอายคน |
บ้างบวชชี | เพราะใส่ใจ | ในธรรมะ |
แม้ใครจะ | ว่าอย่างไร | ก็ไม่สน |
เร่งศึกษา | หาความรู้ | มาสู่ตน |
นั่นแหละคน | ที่ดี | มีปัญญา |
บ้างบวชชี | เพราะแก่ | แย่สักหน่อย |
ชอบพูดพล่อย | คำหยาบ | บาปหนักหนา |
บอกไม่ได้ | สอนไม่ได้ | ให้ระอา |
ไร้ปัญญา | ช่างไม่รู้ | อดสูใจ |
บ้างบวชชี | อยู่นาน | พาลรักพระ |
ได้จังหวะ | พากันสึก | นึกสงสัย |
รักษาศีล | ภาวนา | กันอย่างไร |
ในหัวใจ | กิเลสหนา | น่าอายคน |
บ้างบวชชี | เพราะรักพระ | สละบ้าน |
มาเฝ้าท่าน | อยู่ที่วัด | ดูขัดสน |
ใครจะมา | เข้าใกล้ | ให้กังวล |
เป็นของตน | ข้าไม่ไห้ | ใครเข้ามา |
บ้างบวชชี | เพราะอยากได้ | ของในวัด |
ให้ข้องขัด | ถ้าไม่ได้ | สมปรารถนา |
เที่ยวสอดส่อง | มองดู | ผู้นำมา |
เมื่อไหร่หนา | คนเผลอ | เป็นเจอดี |
บ้างบวชชี | เพราะผัวตาย | เสียดายนัก |
เพราะความรัก | ทำให้ทุกข์ | ไม่สุขี |
เข้าศึกษา | หาพระธรรม | ในคัมภีร์ |
ปัญญามี | คลายทุกข์ | เป็นสุขใจ |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า | บวชอยู่ | ประเภทไหน |
ทำดีแล้ว | ก็จงทำ | กันต่อไป |
ไม่ดีไซร้ | จงกลับตน | เป็นคนดี |
ธรรมมีอุปการะมาก ( สติ สัมปชัญญะ )
อันสติ | คือระลึกได้ | ใครเคยเห็น |
เพราะมันเป็น | นามธรรม | ตามท่านว่า |
คิดดีชั่ว | ระลึกรู้ | อยู่ทุกครา |
ทั้งวาจา |
กายใจ | เฝ้าไตร่ตรอง |
สัมปชัญญะ | คือรู้ตัว | ชั่วหรือดี |
เลือกทำที่ | ให้กาย | ไม่เศร้าหมอง |
รู้เวลา | รู้กาละ | คอยประครอง |
ให้กายต้อง | รู้เทศะ | จะเจริญ |
ธรรมคุ้มครองโลก ( หิริ โอตตัปปะ )
อันหิริ | คือละอาย | ในความบาป |
โปรดจงทราบ | ทำชั่ว | ตัวเราเห็น |
วาจาใจ | กายชั่ว | ตัวเราเป็น |
ใครไม่เห็น | เราก็ทุกข์ | สุขไม่มี |
โอตตัปปะ | คือเกรงกลัว | ชั่วเกิดขึ้น |
อย่าได้ฝืน | ทำความชั่ว | ตัวหมองศรี |
แม้ทำแล้ว | ใครไม่เห็น | เป็นไม่ดี |
ไม่ผ่องศรี | น่าอดสู | รู้แก่ใจ |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า | เคยทำชั่ว | ไว้บ้างไหม |
ถ้าเคยทำ | ก็ต้องจำ | ไว้ใส่ใจ |
ให้ละอาย | ต่อความชั่ว | กลัวบาปเอย |
ธรรมอันทำให้งาม ( ขันติ โสรัจจะ )
อันขันติ | คืออดทน | คนควรคิด |
มิยึดติด | ความทุกข์ | ไม่สุขี |
จงอดทน | รับกรรม | ทำไม่ดี |
ในชาตินี้ | จึงทุกข์ | สุขไม่เป็น |
ต้องอดทน | รันทด | ความอดอยาก |
ทนลำบาก | ทางใจ | ใครไม่เห็น |
ทนเหน็ดเหนื่อย | ตรากตรำ | แสนลำเค็ญ |
ทั้งเจ็บเป็น | ป่วยไข้ | แม้กายเย็น |
โสรัจจะ | คือเสงี่ยม | เจียมตัวไว้ |
ระวังกาย | ให้สงบ | เมื่อพบเห็น |
กิริยา | มารยาท | ทำให้เป็น |
ตัวอย่างเช่น | คนดี | มีจรรยา |
จะรู้สึก | ดีใจ | หรือเสียใจ |
เสงี่ยมไว้ | อย่าให้ออก | มานอกหน้า |
จะเจ็บแค้น | แสนปวด | ในอุรา |
ต้องรักษา | มารยาทไว้ | ให้งามตา |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าอดทน | กับสิ่งใด | ได้บ้างหนา |
ถ้าทนได้ | ก็ดูงาม | อร่ามตา |
ทั้งวาจา | กายใจ | ใช่คนดี |
บุคคลที่หาได้ยาก ( กตัญญู กตเวที )
บุพพการี | คือผู้มี | อุปการะ |
เราควรจะ | ตรองดู | ให้รู้แน่ |
มีใครบ้าง | เลี้ยงดู | ผู้เหลียวแล |
ทั้งพ่อแม่ | ท่านผู้รู้ | ครูอาจารย์ |
กตัญญู | คือรู้คุณ | หนุนเราไว้ |
ท่านสอนให้ | เราจำ | พร่ำไขขาน |
ว่าทำดี | ได้ดี | มีมานาน |
พระคุณท่าน | มากล้น | จนวันตาย |
กตเวที | คือตอบแทน | แน่นในจิต |
เราควรคิด | แทนคุณ | บุญเหลือหลาย |
มีโอกาส | จงรีบทำ | อย่าร่ำไร |
จงใส่ใจ | แทนคุณท่าน | นั้นอย่าลืม |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า | มีธรรม | เหล่านี้หรือ |
หากไม่มี | จงสร้างขึ้น | ให้เลื่องลือ |
ให้สมชื่อ | กตัญญู | ผู้รู้คุณ |
คนเกิดมาไม่เหมือนกัน (เพราะกฎแห่งกรรม)
บ้างเกิดมา | ทั้งรูปสวย | ทั้งรวยทรัพย์ |
จิตน้อมรับ | ในพระธรรม | ไม่นิ่งเฉย |
ปฏิบัติดี | ปฏิบัติชอบ | น่าชมเชย |
ขอเฉลย | ว่าเป็นสุข | ทุกข์ไม่มี |
บ้างเกิดมา | ทั้งรูปสวย | รวยทั้งทรัพย์ |
แต่จิตกลับ | เศร้าหมอง | ไม่ผ่องศรี |
ขาดทั้งศีล | ขาดทั้งทาน | พาลสิ้นดี |
หัวใจมี | แต่ตัณหา | หน้ามืดมน |
บ้างเกิดมา | ทั้งไม่สวย | ไม่รวยทรัพย์ |
แต่จิตกลับ | ผ่องใส | ไม่สับสน |
มีทั้งศีล | มีทั้งทาน | ไม่พาลคน |
เพราะฝึกตน | ธรรมะช่วย | ดูสวยงาม |
บ้างเกิดมา | ไม่สวย | แต่รวยทรัพย์ |
มีบ้านนับ | มีบ้านนับ | หนึ่งสองสาม |
ไม่ตระหนี่ | เหนียวแน่น | ดูแสนงาม |
แม้รูปทราม | แต่ใจดี | มีเมตตา |
บ้างเกิดมา | รูปสวย | ไม่รวยทรัพย์ |
แต่จิตกลับ | ลุ่มหลง | ในตัณหา |
ใช้รูปสวย | หลอกลวง | ปวงประชา |
สวยแต่หน้า | ใจช่างทราม | ไม่งามเลย |
บ้างเกิดมา | โง่เขลา | เบาปัญญา |
เป็นใบ้บ้า | น่าสงสาร | นะท่านเอ๋ย |
ไม่รู้บาปบุญ | คุณโทษ | ประโยชน์เลย |
เจ้าทรามเชย | รับกรรมชั่ว | ตัวทำมา |
บ้างเกิดมา | ตาบอด | มองไม่เห็น |
มันก็เป็น | เพราะกรรม | อย่ากังขา |
ทำกรรมชั่ว | จึงติดตัว | ตามตนมา |
ต้องก้มหน้า | ทนทุกข์ | ไม่สุขใจ |
บ้างเกิดมา | น่าเศร้าแสน | แขนขาขาด |
น่าอนาถ | ชาติก่อน | อย่าสงสัย |
เคยตัดแขน | ตัดขา | สัตว์ใดใด |
ชาตินี้ไซร้ | ต้องรับกรรม | ทำมานาน |
บ้างเกิดมา | มีนิสัย | ที่เรียบร้อย |
ดูอ่อนช้อย | กิริยา | น่าสงสาร |
ทั้งวาจา | หรือก็หวาน | ปานน้ำตาล |
แต่สันดาน | ในหัวใจ | หาใช่คน |
ปากนั้นหรือ | ปราศรัย | ใจเชือดคอ |
คำหวานล่อ | ผู้อื่น | ให้สับสน |
หาประโยชน์ | นานา | มาใส่ตน |
ช่างฉ้อฉล | อับเฉา | น่าเศร้าใจ |
บ้างเกิดมา | มีนิสัย | ไม่เรียบร้อย |
อะไรหน่อย | พูดโผงผาง | ช่างหวั่นไหว |
แต่เป็นคน | ที่ดี | มีน้ำใจ |
ปัญญาไว | คอยช่วยเหลือ | เกื้อกูลจริง |
บ้างเกิดมา | มีนิสัย | ชอบฆ่าสัตว์ |
จิตประวัติ | แต่เนื้อเขา | ผีเข้าสิง |
ไม่ว่าสัตว์ | เหล่าใด | ข้าก็ยิง |
ใจบาปจริง | น่าอนาถ | ขาดปัญญา |
บ้างเกิดมา | มีนิสัย | ชอบในกาม |
งามไม่งาม | เมื่อได้เห็น | เกิดตัณหา |
ทำทุกอย่าง | เพื่อให้ได้ | คนนั้นมา |
สมอุรา | แล้วก็ทิ้ง | น่าชิงชัง |
บ้างเกิดมา | มีนิสัย | ชอบความสวย |
รวยไม่รวย | ข้าก็แต่ง | ให้สมหวัง |
แต่งให้สวย | ให้งาม | เพื่อความดัง |
ก็เพราะหวัง | ให้คนอื่น | เขาชื่นชม |
บ้างเกิดมา | มีนิสัย | หลงในยศ |
จะพูดปด | เขาก็ยอม | น่าขื่นขม |
จะเสียทรัพย์ | เงินทอง | ของนิยม |
จะตรอมตรม | เพียงใด | ขอได้มัน |
บ้างเกิดมา | มีนิสัย | ใจอิจฉา |
กายวาจา | ทุจริต | น่าขบขัน |
ใครได้ดี | มีสุข | ทุกข์ฉับพลัน |
คิดกีดกัน | คิดทำลาย | น่าอายจริง |
บ้างเกิดมา | มีนิสัย | ใจบริสุทธิ์ |
เห็นมนุษย์ | ทุกข์ยาก | ไม่อยู่นิ่ง |
เข้าช่วยเหลือ | จุนเจือ | ด้วยใจจริง |
ช่วยทุกสิ่ง | ให้พ้นทุกข์ | เขาสุขใจ |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า | มีอยู่ | ในข้อไหน |
แม้นดีแล้ว | จงทำดี | กันต่อไป |
แม้นถูกใคร | ก็ขอโทษ | โปรดอภัย |
ทุจริต ๓ อย่าง ( ประพฤติชั่วทาง กาย วาจา ใจ )
ประพฤติชั่ว | ทางกาย | ให้น่าคิด |
ประพฤติผิด | ในกาม | ไม่งามแน่ |
ทั้งฆ่าสัตว์ | ตัดชีวิต | จิตผันแปร |
ไม่งามแน่ | ทั้งลักทรัพย์ | อับปัญญา |
ประพฤติชั่ว | ทางวาจา | ก็น่าเกลียด |
พูดส่อเสียด | ไม่ดี | มีปัญหา |
ทั้งพูดปด | หลอกลวง | ปวงประชา |
ทั้งยังด่า | หยาบคาย | ไม่อายคน |
ประพฤติชั่ว | ทางใจ | ใช่แล้วจิต |
ความเห็นผิด | ครรลอง | มองสับสน |
โลภอยากได้ | ของผู้อื่น | เป็นของตน |
คิดฆ่าคน | ก็ได้ | ใจไม่ดี |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า | ประพฤติผิด | ทั้งสามนี้ |
จงกลับใจ | กลับคำ | ทำความดี |
จะผ่องศรี | เบิกบาน | ท่านจงทำ |
สุจริต ๓ อย่าง ( ประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ )
ประพฤติชอบ | ทางกาย | ไม่วายคิด |
เว้นทำผิด | ในกาม | งามเหลือหลาย |
ไม่ฆ่าสัตว์ | ตัดชีวิต | ของใครใคร |
ฉ้อโกงไซร้ | ก็งดเว้น | เห็นไม่ดี |
ประพฤติชอบ | ทางวาจา | ก็น่าคิด |
ไม่พูดผิด | เพ้อเจ้อ | ให้บัดสี |
ไม่ส่อเสียด | เกลียดชัง | กลับหวังดี |
ใช้วจี | ให้ถูก | คงสุขใจ |
ประพฤติชอบ | ทางใจ | ใช่แล้วจิต |
ใครทำผิด | มีเมตตา | อภัยให้ |
คิดช่วยเหลือ | เผื่อแผ่ | อย่างแน่ใจ |
อยากจะให้ | เป็นสุข | กันทุกคน |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า | ประพฤติชอบ | ไม่สับสน |
ทำดีแล้ว | จงทำต่อ | ขอนิมนต์ |
ไม่อับจน | ปัญญา | พาสุขเอย |
สังวรธรรม (ระวังใจ ๔ อย่าง)
ระวังใจ | ไม่ให้ | กำหนัดเกิด |
ระวังเถิด | ในอารมณ์ | อย่าหวั่นไหว |
แม้รูปรส | กลิ่นเสียง | สัมผัสใด |
ระวังใจ | มิให้ตั้ง | ดังต้องการ |
ระวังใจ | ไม่ขัดเคือง | เรื่องอื่นอื่น |
จงอย่าตื่น | ในถ้อยคำ | เขาพร่ำขาน |
เรื่องรูปรส | กลิ่นเสียง | เถียงกันนาน |
ระวังมัน | อย่าขัดเคือง | ทุกเรื่องไป |
ระวังใจ | ไม่ให้หลง | โปรดจงคิด |
อย่ายึดติด | กับทุกสิ่ง | ไม่หวั่นไหว |
แม้รูปรส | กลิ่นเสียง | สัมผัสใด |
ระวังใจ | มิให้ | ไปกังวล |
ระวังใจ | ไม่มัวเมา | เฝ้ารักษา |
มีปัญญา | ตรองดู | รู้เหตุผล |
แม้นมัวเมา | ในสิ่งใด | ใจมืดมน |
ระวังตน | อย่าทำชั่ว | มั่วโลกีย์ |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าใจข้า | เศร้าหมอง | หรือผ่องศรี |
ใครระวัง | ได้แล้ว | เป็นคนดี |
จะสุขี | ไร้ทุกข์ | สุขสบาย |
อามิสทาน การให้ทรัพย์
คำว่าทาน | นั้นหรือ | คือการให้ |
ท่านสอนไว้ | ให้แบ่ง | ด้วยเหตุผล |
ถ้าจะให้ | ก็ต้องดู | ก่อนผู้คน |
ว่าเขาจน | หรือมี | ดีหรือเลว |
บางคนให้ | ด้วยใจ | ไม่บริสุทธิ์ |
มันเป็นจุด | ให้เกิด | ความล้มเหลว |
เพื่อหวังสิ่ง | ตอบแทน | ให้เกิดเร็ว |
เมื่อล้มเหลว | ก็เลิกให้ | ใจไม่ดี |
บางคนให้ | ด้วยใจ | อันบริสุทธิ์ |
เพื่อนมนุษย์ | เกิดทุกข์ | ไม่สุขี |
มีอะไร | ก็แบ่งให้ | ไปด้วยดี |
ไม่หวังมี | สิ่งตอบแทน | แต่อย่างใด |
บางคนให้ | เพราะไม่รู้ | ดูสับสน |
ให้กับคน | ชั่วช้า | น่าใจหาย |
เสียทรัพย์สิน | เงินทอง | ของมากมาย |
เหมือนทำลาย | ทรัพย์ของตน | จนปัญญา |
บางคนให้ | แสนละเหี่ย | เสียไม่ได้ |
จำต้องให้ | เพราะกลัว | มีปัญหา |
ทั้งเสียดาย | ทั้งโกรธ | หมดปัญญา |
กลัวเสียหน้า | ก็ต้องให้ | ใจแทบพัง |
บางคนให้ | แล้วเสียดาย | น่าอายนัก |
ทั้งแช่งชัก | หักกระดูก | เขาตามหลัง |
เห็นเขาให้ | ก็ต้องให้ | น่าอายจัง |
เพราะไม่หวัง | ที่จะให้ | กับใครเลย |
บางคนให้ | เพราะประเพณี | หนีไม่พ้น |
จำต้องทน | แบ่งให้ | ไม่นิ่งเฉย |
ถ้าไม่ใช่ | วันพระ | ก็ละเลย |
เจ้าไม่เคย | ใส่ใจ | การให้ทาน |
บางคนให้ | เพราะติด | จิตยึดมั่น |
กลับขยัน | ให้แต่พระ | น่าสงสาร |
ไม่ได้ดู | ว่าสงฆ์ใด | ควรให้ทาน |
จิตชื่นบาน | เพราะได้ให้ | ตามใจตน |
เมื่อให้แล้ว | ก็จะได้ | ในชาตินี้ |
เป็นผู้มี | เมตตา | มหากุศล |
อันชาติหน้า | นั้นเล่า | อย่ากังวล |
เกิดเป็นคน | รวยทรัพย์ | ไม่อับจน |
วิทยาทาน
วิทยาทาน | ก็อีกหนึ่ง | ซึ่งต้องให้ |
คือความรู้ | ใดใด | ไม่ขัดสน |
ที่เรามี | ก็ใส่ใจ | ให้ผู้คน |
เป็นกุศล | มหาศาล | ท่านจงทาน |
สอนให้เขา | รู้วิชา | ท่านว่าเลิศ |
จะประเสริฐ | กว่าให้ทรัพย์ | มหาศาล |
เมื่อรู้แล้ว | ตั้งให้เที่ยง | เลี้ยงชีวัน |
วิชานั้น | ที่ท่านให้ | ใส่ใจดู |
นำวิชา | ความรู้ | ที่ครูสอน |
ทุกบทตอน | ไปฝึกฝน | อย่าอดสู |
จำให้ได้ | ทำให้ได้ | ดังเช่นครู |
เอาความรู้ | ที่เรียนมา | หาเลี้ยงตน |
ผู้ที่ให้ | ต้องมีใจ | อันผ่องแผ้ว |
เมื่อให้แล้ว | ยังต้อง | ไม่หวังผล |
ให้วิชา | เพราะช่วยเหลือ | เพื่อผู้คน |
ที่อับจน | ขาดปัญญา | จะหากิน |
อันกุศล | ผลบุญ | จะนำส่ง |
ใจปลอดโปร่ง | ปัญญาเลิศ | เป็นนิจศีล |
คิดอะไร | ก็คิดได้ | เป็นอาจิณ |
ทั้งชีวิน | ประเสริฐเหลือ | เหนือผู้คน |
อภัยทาน
คำว่าทาน | นั้นหรือ | คือการให้ |
ท่านแบ่งไว้ | หลายอย่าง | อย่าสับสน |
ท่านสอนไว้ | ให้อภัย | ต่อผู้คน |
จะได้พ้น | ศัตรู | และหมู่มาร |
ขอทุกท่าน | จงอภัย | กันไว้เถิด |
จะได้เกิด | เมตตา | และสงสาร |
ให้อภัย | เขาแล้ว | จิตเบิกบาน |
ไม่มีมาร | หรือศัตรู | อยู่สบาย |
พระองค์ท่าน | สอนไว้ | ในกฎเกณฑ์ |
ว่าจองเวร | ไม่ระงับ | ดับไม่หาย |
เวรจะดับ | ก็ต่อเมื่อ | ให้อภัย |
จิตแจ่มใส | ก็ไม่ต้อง | ไปจองเวร |
ธรรมทาน
คำว่าทาน | นั้นหรือ | คือการให้ |
ท่านแบ่งไว้ | เป็นส่วนสัด | บรรทัดฐาน |
อีกอย่างหนึ่ง | นั้นหรือ | คือธรรมทาน |
การแบ่งปัน | ความรู้ | ให้ผู้คน |
สอนให้เขา | เป็นคนดี | มีประโยชน์ |
รู้บาปบุญ | คุณโทษ | มีเหตุผล |
ช่วยแนะนำ | ตักเตือน | เพื่อนทุกคน |
ให้กลับตน | เป็นคนดี | มีปัญญา |
สอนให้เขา | ละชั่ว | ประพฤติดี |
ให้เขามี | คุณธรรม | นำรักษา |
ชำระใจ | ให้พ้น | จากโกรธา |
กิเลสหนา | ก็ให้บาง | จางจากใจ |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า | มีทั้งสี่ | นี้หรือไม่ |
ถ้ามีแล้ว | ก็จงทำ | อีกต่อไป |
ท่านจะได้ | มีความสุข | ไม่ทุกข์เลย |
ศีล ๕ (งดเว้นประพฤติชั่ว ทางกาย วาจา )
อันว่าศีล | นั้นหรือคือ | ข้อห้าม |
เว้นจากทำ | ชั่วช้า | น่าบัดสี |
ใครเว้นได้ | ในโลก | ก็โชคดี |
จะสุขี | แน่นอน | แม้ก่อนตาย |
ข้อที่หนึ่ง | ท่านวาง | ทางไว้ชัด |
ห้ามฆ่าสัตว์ | เพราะมันบาป | ทราบบ้างไหม |
ฆ่าสัตว์แล้ว | ชีวิตนั้น | ต้องสั้นไป |
ท่านสอนไว้ | ให้งดเว้น | เห็นไม่ดี |
อีกทั้งห้าม | เบียดเบียน | สัตว์ทั้งหลาย |
ที่สบาย | ให้เป็นทุกข์ | ไม่สุขี |
ทั้งเบียดเบียน | ทรัพย์สมบัติ | นั้นไม่ดี |
พระองค์ชี้ | ทางไว้ | ให้ทุกคน |
อีกทั้งห้าม | เบียดเบียน | สัตว์ทั้งหลาย |
ที่สบาย | ให้เป็นทุกข์ | ไม่สุขี |
ทั้งเบียดเบียน | ทรัพย์สมบัติ | นั้นไม่ดี |
พระองค์ชี้ | ทางไว้ | ให้ทุกคน |
อีกทั้งห้าม | ทรมาน | สัตว์ทั้งหลาย |
เจ็บปวดกาย | ให้เป็นทุกข์ | ไม่สุขสม |
ทั้งกักขัง | หน่วงเหนี่ยว | ให้ระทม |
จะตรอมตรม | เป็นทุกข์ | คลายสุขลง |
ข้อที่สอง | ท่านห้าม | ทางลักทรัพย์ |
ห้ามไปจับ | สิ่งของ | ต้องประสงค์ |
ของผู้อื่น | แล้วถูกจับ | จะดับลง |
ตำรวจคง | พาเจ้า | เข้าซังเต |
ข้อที่สาม | ห้ามเป็นชู้ | แล้วสู่สม |
ไม่นิยม | เปลี่ยนคู่ | ดูหันเห |
ใครชอบเปลี่ยน | ก็จงรู้ | คนเสเพล |
คาดคะเน | ได้ว่า | คนบ้ากาม |
ข้อที่สี่ | ห้ามพูดปด | งดคำชั่ว |
เห็นแก่ตัว | พูดนักเลง | น่าเกรงขาม |
ทั้งพูดปด | หลอกลวง | ฟังไม่งาม |
วาจาทราม | พาเป็นทุกข์ | สุขไม่มี |
ท่านห้ามพูด | เพ้อเจ้อ | และส่อเสียด |
คนเขาเกลียด | กันทั่ว | ตัวหมองศรี |
ไม่มีคน | คบค้า | ว่าไม่ดี |
ความชั่วมี | ทางวาจา | ช่างน่าอาย |
ข้อที่ห้า | ห้ามดื่มสุรา | และเมรัย |
ท่านว่าไว้ | เป็นคนชั่ว | มั่วเหลือหลาย |
กินเหล้าแล้ว | ทำความชั่ว | ได้มากมาย |
มันน่าอาย | หนักหนา | พาซบเซา |
บ้างกินเหล้า | มัวเมา | ไม่เข้าท่า |
กินเมามา | เข้าไปหา | ลูกเมียเขา |
ช่างน่าอาย | อดสู | ดูไม่เบา |
ลูกเมียเขา | ก็ไม่เว้น | เห็นน่าชัง |
บ้างกินเมา | แล้วก็พาล | สันดานเสีย |
ตีลูกเมีย | เสียจน | ตนถูกขัง |
หายเมาแล้ว | ก็อับอาย | ขายหน้าจัง |
ลูกเมียชัง | คนชั่ว | ตัวอัปรีย์ |
บ้างเมาแล้ว | พูดมาก | ลำบากหู |
คนที่อยู่ | ใกล้เคียง | ก็อยากหนี |
ทั้งหญิงชาย | กินเหล้า | ไม่เข้าที |
ทั้งชีวี | วอดวาย | ต้องตายลง |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พินิจดู |
เมื่อตัวรู้ | ว่าผิด | อย่างใหลหลง |
จงละชั่ว | ประพฤติดี | และซื่อตรง |
ชีวีคง | สุขสมจริง | ทั้งหญิงชาย |
รักษาศีล | แล้วจะได้ | อะไรหนอ |
ข้าจะขอ | บอกท่าน | ที่มั่นหมาย |
ในชาตินี้ | จะสะอาด | วาจากาย |
ชาติหน้าไซร้ | จะมีรูป | ดูสวยงาม |
ศีล ๘
อันศีลแปด | นั้นก็งาม | อีกสามข้อ |
ซึ่งติดต่อ | กับศีลห้า | ท่านว่าไว้ |
จงไตร่ตรอง | ดูแล | อีกต่อไป |
ใครใส่ใจ | งดเว้นต่อ | ก็ขอเชิญ |
ข้อที่หก | ท่านกำหนด | ให้งดเว้น |
อาหารเย็น | คาวหวาน | ไม่สรรเสริญ |
หลังเที่ยงแล้ว | ท่านให้อด | งดเพลิดเพลิน |
ไม่เจริญ | เห็นแก่ตัว | มัวแต่กิน |
ข้อที่เจ็ด | ท่านห้าม | ความงามไว้ |
อย่าหลงใหล | ในตน | คนติฉิน |
อย่าแต่งตัว | มัวเมา | เป็นอาจิณ |
เว้นให้สิ้น | การแต่งตัว | อย่ามัวเพลิน |
อีกทั้งห้าม | ขับร้อง | ทำนองเพลง |
เพราะท่านเกรง | ติดในเสียง | ให้เก้อเขิน |
ผู้ถือศีล | ไม่ควร | จะเพลิดเพลิน |
ไม่เจริญ | น่าอนาถ | ขาดพรหมจรรย์ |
ข้อที่แปด | ท่านห้าม | การนอนไว้ |
อย่าหลงใหล | ในที่นอน | อันสุขสันต์ |
ท่านให้นอน | กับพื้น | ตื่นเร็วพลัน |
ทุกทุกวัน | มิให้ | ใส่ใจนอน |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า | มีศีล | บ้างไหมหนอ |
ถ้าไม่มี | ก็อย่า | มัวรีรอ |
จงไปขอ | กับพระ | นะท่านเอย |
ธรรม ๕ ประการ ( คุณธรรมประกอบศีล )
เมื่อมีศีล | ต้องมีธรรม | ประจำใจ |
ท่านสอนไว้ | มีเมตตา | สัตว์ทั้งหลาย |
ชีวิตเขา | ชีวิตเรา | ต้องเข้าใจ |
อย่าทำลาย | ให้เขาดับ | รับโทษทัณฑ์ |
ข้อที่สอง | สัมมา | อาชีวะ |
เราควรจะ | เลี้ยงชีพ | ให้สุขสันต์ |
มีอาชีพ | ที่ชอบ | ประกอบกัน |
เลี้ยงชีวัน | ให้รอด | จะปลอดภัย |
ข้อที่สาม | ควรสำรวม | ในกามไว้ |
จงพอใจ | ในคู่ครอง | ตรองให้ได้ |
แม้นผิดคู่ | สู่สม | จะเสียใจ |
ท่านว่าไว้ | เป็นทุกข์ | สุขไม่มี |
ข้อที่สี่ | ก็มีธรรม | ประจำนะ |
คือสัจจะ | ความจริง | ทุกสิ่งศรี |
พูดไปแล้ว | ก็ต้องจำ | ทำให้ดี |
ต้องพูดที่ | มีความจริง | ยิ่งเจริญ |
ข้อที่ห้า | ก็มีธรรม | ประจำซิ |
มีสติ | อันรอบคอบ | ไม่ขาดเขิน |
ทำอะไร | อย่าให้พลาด | หรือขาดเกิน |
อย่าหลงเพลิน | มัวเมา | จะเศร้าใจ |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า | มีคุณธรรม | อยู่บ้างไหม |
อันว่าศีล | นั้นห้าม | วาจากาย |
ธรรมนั้นไซร้ | ห้ามถึงจิต | พินิจดู |
บัวสี่เหล่า
เหล่าที่หนึ่ง | พ้นแล้ว | แววสว่าง |
พอฟ้าสาง | แดดส่อง | ผ่องมีศรี |
บานสะพรั่ง | สวยสด | จรดราตรี |
เหมือนผู้มี | คุณธรรม | ประจำใจ |
เหล่าที่สอง | ปริ่มน้ำ | ฉ่ำชื่นจิต |
อีกเพียงนิด | พ้นน้ำ |
งามสดใส |
เปรียบเหมือนคน | มีธรรม | ประจำใจ |
ปัญญาไว | เห็นดี | มีศรัทธา |
เหล่าที่สาม | งามหน่อย | ลอยเหนือพื้น |
ถึงแม้ตื้น | ก็ไม่ควร | มวลมัจฉา |
เปรียบเหมือนคน | ท่องบ่น | ภาวนา |
เมื่อปัญญา | เกิดขึ้น | คงชื่นใจ |
อันดอกบัว | สี่เหล่า | เราเฝ้าคิด |
ดอกนิดนิด | เหล่าที่สี่ | มีไฉน |
มักเป็นเหยื่อ | ปูปลา | น่าเศร้าใจ |
ตัวเราไซร้ | คงเป็น | เช่นดอกบัว |
ทุกข์ประจำ
มนุษย์เรา | เฝ้าสนุก | ทุกข์ไม่รู้ |
ความเป็นอยู่ | ประจำ | พร่ำไฉน |
ทุกข์ประจำ | นั้นเล่า | ไม่เข้าใจ |
ทุกข์อะไร | ช่างข้า | น่ารำคาญ |
ทุกข์เรื่องกิน | ใช่ไหม | ใครเคยคิด |
ทุกข์อีกนิด | เมื่ออิ่ม | ลิ้มอาหาร |
ทุกข์ขับถ่าย | เกิดขึ้น | อีกไม่นาน |
ไม่สำราญ | เป็นทุกข์ | สุขไม่มี |
ทุกข์ร้อนเล่า | เจ้าเห็น | เป็นไฉน |
เมื่อร้อนกาย | เจ้าก็ทุกข์ | ไม่สุขี |
เมื่อร้อนใจ | เจ้าจะทำ | อย่างไรดี |
ให้ชีวี | เจ้าเป็นสุข | คลายทุกข์ไป |
เมื่อยามหนาว | เจ้าก็ทุกข์ | สุขไม่เห็น |
อากาศเย็น | เจ้าก็ทุกข์ | สุขไฉน |
รีบหาผ้า | แพรพรรณ | มาห่มกาย |
ก็เพื่อคลาย | ความทุกข์ | สุขไม่มี |
ทุกข์พลัดพราก | จากของ | ปองใจรัก |
ช่างแน่นัก | เศร้าหมอง | ไม่ผ่องศรี |
แม้เสียชีพ | ยอมตาย | วายชีวี |
เพื่อของที่ | ตนรัก | จักสูญไป |
ทุกข์เกิดแก่ | เจ็บตาย | ไม่วายสิ้น |
เป็นอาจิณ | ของมนุษย์ | สุดแก้ไข |
เกิดกันแล้ว | แก่กันเล่า | เจ้าก็ตาย |
อีกเมื่อไหร่ | เจ้าจะพ้น | วนเวียนไป |
อันคำสอน | ผ่อนทุกข์ | สุขจะเกิด |
เร่งกันเถิด | ทุกคน | จงขวนขวาย |
หาพระธรรม | คำสอน | มาใส่ใจ |
จะช่วยคลาย | ความทุกข์ | เป็นสุขจริง |
ความตาย
อันความตาย | ไม่มี | ใครหนีพ้น |
ทุกทุกคน | เกิดมา | น่าใจหาย |
ถ้าทำดี | ก็ไปเกิด | ที่สบาย |
ทำชั่วร้าย | เกิดไปทุกข์ | สุขห่างไกล |
คนที่อยู่ | จงรู้ | อยู่เสมอ |
ว่านี่เธอ | ควรทำ | กรรมไฉน |
ทำกรรมดี | ก่อนที่ | จะตายไป |
นั่นแหละใช่ | รู้ตน | เป็นคนดี |
การพลัดพราก | จากของ | ปองใจรัก |
โศกเศร้านัก | หม่นหมอง | ไม่ผ่องศรี |
เกิดมาแล้ว | ก็ต้องตาย | วายชีวี |
เป็นเรื่องที่ | หนีไม่พ้น | ทุกคนไป |
บางคนกลัว | ความตาย | น่าอายนัก |
ไม่รู้จัก | ตัวตน | เป็นไฉน |
ช่างโง่เขลา | เบาปัญญา | กว่าใครใคร |
ไม่เข้าใจ | ความจริง | ทุกสิ่งอัน |
พรหมวิหารธรรม ( พรหมวิหาร ๔ )
อันเมตตา | คือความรัก | จักเผื่อแผ่ |
จะมากแท้ | ก็ต่อเมื่อ | เผื่อมากหลาย |
ทั้งพ่อแม่ | เพื่อนพ้อง | น้องหญิงชาย |
สัตว์ทั้งหลาย | ในโลก | จงโชคดี |
กรุณา | คือสงสาร | วานช่วยบอก |
ใครช้ำชอก | เป็นทุกข์ | ไม่สุขี |
จงช่วยเขา | ให้พ้นทุกข์ | เป็นสุขดี |
แม้สัตว์ที่ | เจ็บป่วย | จงช่วยกัน |
มุทิตา | พลอยยินดี | ผู้มีโชค |
อย่าเศร้าโศก | เสียใจ | ภัยมหันต์ |
จงทำใจ | ให้ดี | มีต่อกัน |
พระองค์ท่าน | สอนไว้ | ให้ยินดี |
อุเบกขา | คือวางเฉย | เคยหรือไม่ |
คือทำใจ | ให้เป็นกลาง | สว่างศรี |
ไม่ดีใจ | หรือเสียใจ | เมื่อภัยมี |
จะเกิดที่ | สัตว์เหล่าใด | ใครก็ตาม |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พินิจดู |
หากไม่รู้ | แม้นชอบ | ให้สอบถาม |
คุณธรรม | ทั้งสี่ | นี้ช่างงาม |
มีประจำ | ก็เป็นพรหม | สมดังใจ |
ธรรมที่ทำให้เกิดความกล้าหาญ
อันศรัทธา | นั้นหรือ | คือความเชื่อ |
ไม่นึกเบื่อ | ในพระธรรม | จดจำได้ |
ประพฤติตาม | พระธรรม | พระวินัย |
จะทำให้ | มีความกล้า | พาเจริญ |
อันว่าศีล | นั้นหรือ | คือรักษา |
กายวาจา | ให้เรียบร้อย | ไม่เก้อเขิน |
กายวาจา | ก็สะอาด | ไม่ขาดเกิน |
จะยืนเดิน | ไปได้ทั่ว | ไม่กลัวใคร |
พาหุสัจจะ | นั้นหรือ | คือศึกษา |
หาวิชา | ใส่ตน | เร่งขวนขวาย |
หาความรู้ | ครูที่ดี | มีมากมาย |
และใส่ใจ | ศึกษาธรรม | ในคัมภีร์ |
วิริยา- | รัมภะ | เพียรปรารภ |
เมื่อได้พบ | สิ่งเลิศ | ประเสริฐศรี |
เพียรพูดจา | กล้าทำ | สิ่งที่ดี |
แม้ภัยมี | ก็กล้า | น่าชื่นใจ |
อันปัญญา | นั้นหรือ | คือความรู้ |
ความเป็นอยู่ | ประจำ | พร่ำไฉน |
เมื่อรู้ดี | รู้ชั่ว | ไม่กลัวใคร |
ปัญญาไว | มีเหตุผล | เป็นคนดี |
ความเพียร ๔ อย่าง
อันความเพียร | สี่อย่าง | ช่างน่าคิด |
เพียรเป็นนิจ | ละบาป | ทราบบ้างไหม |
เคยทำแล้ว | ก็ต้องลด | ให้หมดไป |
ถ้าร่ำไร | ไร้สุข | ทุกข์ตามมา |
เพียรที่สอง | ตรองดู | รู้แก่จิต |
บางชนิด | ไม่เคยทำ | อย่าพร่ำหา |
จงระวัง | ไว้เถิด | บาปนานา |
อย่าให้มา | เกิดขึ้น | ชื่นชีวี |
เพียรที่สาม | งามดี | ช่างมีผล |
สร้างกุศล | ให้เกิด | ประเสริฐศรี |
ความรู้ใด | ที่เรา | ยังไม่มี |
เพียรอีกที | เถิดเจ้า | เฝ้าคอยเตือน |
เพียรที่สี่ | นี้เล่า | ก็เข้าท่า |
เพียรรักษา | กุศลไว้ | อย่าให้เสื่อม |
เพียรตรวจตรา | ดูแล | อย่าลืมเลือน |
อย่าแชเชือน | เตือนให้รู้ | สู่นิพพาน |
ขอทุกท่าน | จงตรวจดู | ให้รู้ดี |
ถ้าใครมี | ก็ประเสริฐ | เลิศมหันต์ |
ถ้าไม่มี | ก็จงสร้าง | บ้างแล้วกัน |
คงสักวัน | จะพ้นทุกข์ | เป็นสุขจริง |
ธาตุ ๔
อันธาตุดิน | คือของแข็ง | แบ่งให้ถูก |
มีกระดูก | นานา | อย่าสงสัย |
มีทั้งหนัง | ขนเล็บ | และตับไต |
รวมกันไว้ | อยู่ที่ตัว | อย่ามัวเพลิน |
อันธาตุน้ำ | คือของเหลว | อยู่ในร่าง |
มีเลือดบ้าง | น้ำเหลืองบ้าง | ไม่ห่างเหิน |
มันไหลเวียน | อยู่ในกาย | ให้เจริญ |
ถ้ามากเกิน | ทำให้ตาย | ได้เหมือนกัน |
อันธาตุลม | คืออากาศ | ขาดไม่ได้ |
ต้องหายใจ | เข้าออก | กะทันหัน |
ไม่มีลม | เข้าออก | ช่วยผลักดัน |
ทั้งชีวัน | ก็ต้องม้วย | ด้วยขาดใจ |
อันธาตุไฟ | คือความร้อน | ไม่อ่อนแข็ง |
เป็นอีกแรง | เข้าช่วย | ร่างกายได้ |
มีหน้าที่ | ช่วยย่อย | ค่อยสบาย |
ถ้าขาดไฟ | กายเย็น | เป็นไม่ดี |
ขอทุกท่าน | อย่าได้หลง | คงสติ |
คิดดูซิ | เป็นตัวตน | หม่นหมองศรี |
ใครยึดมั่น | ถือมั่น | นั้นไม่ดี |
จะเป็นที่ | เกิดทุกข์ | ไม่สุขเลย |
ขันธ์ ๕
อันว่ารูป | คือร่างกาย | ไม่วายคิด |
ใครยึดติด | ต้องเป็นทุกข์ | ไม่สุขสันต์ |
มีอาการ | สามสิบสอง | ต้องครบครัน |
มารวมกัน | เรียกว่ารูป | สรุปลง |
ขันธ์ที่สอง | คือเวทนา | ท่านว่าไว้ |
สุขก็ใช่ | ทุกข์ก็ใช่ | อย่าใหลหลง |
เมื่อเกิดแล้ว | ก็ต้องดับ | ระงับลง |
อย่าไปหลง | ยึดถือ | ชื่อของมัน |
อันสัญญา | คือจำได้ | ให้หมายรู้ |
มันอยู่คู่ | กับใจ | ที่หมายมั่น |
ทั้งรูปรส | กลิ่นสียง | สัมผัสพลัน |
จำได้มั่น | เป็นของข้า | น่าเศร้าใจ |
อันสังขาร | เครื่องปรุงแต่ง | แรงกระตุ้น |
ให้หมกมุ่น | เศร้าหมอง | ไม่ผ่องใส |
เดี๋ยวให้โลภ | เดี๋ยวให้โกรธ | ไม่โทษใคร |
ตัวเราไซร้ | เป็นคนเขลา | เบาปัญญา |
อันวิญญาณ | ซึ่งเป็นนาม | ตามที่อยู่ |
คอยรับรู้ | ทุกทุกสิ่ง | วิ่งมาหา |
ไม่ว่าชั่ว | หรือดี | มีราคา |
หน้าที่ข้า | คอยรับรู้ | อยู่แค่ใจ |
ขอทุกท่าน | จงสำรวจ | ตรวจให้เห็น |
ว่ามันเป็น | เพียงขันธ์ | อย่าหวั่นไหว |
ธาตุทั้งสี่ | ขันธ์ทั้งห้า | มันพาไป |
อยากสบาย | ให้ดับขันธ์ | พลันสุขเอย |
อิทธิบาท ๔
ฉันทะคือ | พอใจ | ในสิ่งนั้น |
จงฝ่าฟัน | อุปสรรค | อย่าสับสน |
จงตั้งใจ | ดูแล | งานของตน |
ต้องอดทน | ให้สำเร็จ | เสร็จสิ้นไป |
วิริยะ | คือความเพียร | เรียนให้รู้ |
เพียรคอยดู | แล้วก็จำ | ทำให้ได้ |
เพียรศึกษา | หาความรู้ | มาสู่ใจ |
เพียรต่อไป | ก็สำเร็จ | สมเจตนา |
อันจิตตะ | คือฝักใฝ่ | ในงานนั้น |
ทุกคืนวัน | ตั้งใจ | ใฝ่ฝันหา |
จงตั้งใจ | ทำให้เสร็จ | งานนานา |
จะมีค่า | สมหวัง | ดังตั้งใจ |
วิมังสา | คือไตร่ตรอง | ประคองจิต |
ทุกชนิด | พิจารณา | อย่าหวั่นไหว |
ค่อยค่อยคิด | ค่อยค่อยทำ | เพียรร่ำไป |
ทุกอย่างไซร้ | ก็สำเร็จ | เสร็จด้วยดี |
ขอทุกท่าน | จงหมั่น | ขยันเถิด |
จะบังเกิด | ทุกอย่าง | สว่างศรี |
ทั้งฉันทะ | วิริยะ | ตั้งใจดี |
ทุกอย่างมี | ไตร่ตรอง | ครองสุขเอย |
ความรักของแม่
ความรักแม่ | เหนือสมุทร | อันสุดกว้าง |
เปรียบเหมือนทาง | อันไกล | สุดไปถึง |
ลูกรักแม่ | แค่ไหน | ไม่คำนึง |
รักลูกหนึ่ง | ไม่มีสอง | ครอบครองใจ |
แม่เรียกลูก | ให้ตื่น | ฟื้นสติ |
ลุกขึ้นซิ | ลูกจ๋า | อย่าหลับใหล |
อย่าทำให้ | เวลา | ล่วงเลยไป |
จงใส่ใจ | ประพฤติธรรม | ตามเวลา |
ไปเถิดลูก | ไปกับแม่ | แน่แล้วสุข |
ลูกยังทุกข์ | แม่ห่วงใย | เฝ้าใฝ่หา |
วันทั้งวัน | คืนทั้งคืน | คอยแก้วตา |
เมื่อไหร่หนา | ใจลูกน้อย | จะคล้อยตาม |
กรรมสนอง
ธาตุทั้งสี่ | ขันธ์ทั้งห้า | ท่านว่าไว้ |
ใครใส่ใจ | กันบ้างเล่า | เจ้าคุณเอ๋ย |
เกิดกันแล้ว | ตายกันเล่า | เจ้าไม่เคย |
ทำดีเลย | หรือจะพ้น | จากคนไป |
อันว่ากรรม | ที่ทำไว้ | ใครได้รับ |
มันก็กลับ | มาสนอง | เราใช่ไหม |
อันทำชั่ว | แล้วได้ดี | ไม่มีใคร |
จงใส่ใจ | คิดกระทำ | แต่กรรมดี |
เมื่อลูกป่วย
ลูกเจ็บป่วย | ไม่สบาย | วุ่นวายจิต |
แม่เฝ้าคิด | หายา | รักษาให้ |
เมื่อไหร่หนอ | ลูกข้า | จะสบาย |
แม่อยากตาย | แทนลูก | คงสุขใจ |
การเกิดแก่ | เจ็บตาย | วุ่นวายนัก |
มันประจักษ์ | แก่ตน | เร่งขวนขวาย |
ประพฤติธรรม | ให้เก่ง | ให้เก่ง |
จะสบาย | ไร้ทุกข์ | สุขย่างกราย |
อนิจจัง | ไม่เที่ยง | เลี่ยงไม่ถูก |
เกิดแล้วทุกข์ | ตามมา | น่าใจหาย |
อนัตตา | นั้นหรือ | คือใช่กาย |
สูญสลาย | ไม่พ้น | ทุกคนไป |
หนึ่งเดียวในดวงใจ
อันพ่อแม่ | แก่เฒ่า | คอยเฝ้าเลี้ยง |
อยู่ใกล้เคียง | ท่านไว้ | อย่าให้หา |
มีอะไร | ให้ท่าน | รีบจัดมา |
เพราะเวลา | ของท่าน | นั้นไม่มี |
อันน้ำใจ | ท่านเลิศ | ประเสริฐนัก |
เฝ้าฟูมฟัก | เลี้ยงลูก | ให้สุขี |
หากลูกน้อย | ของท่าน | นั้นไม่ดี |
ทั้งชีวี | ปวดร้าว | เศร้าต่อไป |
หากลูกดี | เป็นศรี | มีสง่า |
จะพูดจา | แห่งหน | ตำบลไหน |
มีชื่อเสียง | ที่ดี | มิอายใคร |
เพราะลูกไซร้ | ของตน | เป็นคนดี |
มนุษย์
เป็นมนุษย์ | แน่ชัด | สัตว์ประเสริฐ |
มีกำเนิด | แห่งกรรม | ที่ทำไว้ |
มีปัญญา | เป็นเลิศ | เหนือสัตว์ใด |
ปัญญาไว | ก็พาตน | พ้นภัยพาล |
สัตว์เดรัจฉาน | ท่านว่า | ปัญญาน้อย |
ถ้าคนถ่อย | ก็เป็น | เช่นเดรัจฉาน |
ทำความชั่ว | ได้ทุกอย่าง | โดยสันดาน |
เหมือนคนพาล | ไม่รู้ | ผู้มีคุณ |
ขอทุกท่าน | จงประพฤติ | ปฏิบัติ |
ทั้งในอรรถ | ในธรรม | เพื่อค้ำหนุน |
จงไตร่ตรอง | ในธรรม | เพื่อค้ำจุน |
ได้ผลบุญ | มากล้น | พ้นอบาย |
แม่ป่วยกาย ใช่ป่วยจิต ( อาการป่วยของแม่ชี )
แม่เจ็บปวด | กายา | ช่างน่าขำ |
เป็นเพราะกรรม | ทำมา | น่าใจหาย |
ยามเจ็บปวด | ครวญคราง | ปางจะตาย |
จิตแม่ไซร้ | ไม่เศร้า | รู้เท่าทัน |
เป็นมะเร็ง | ในกระเพาะ | ไม่เหมาะแน่ |
ยาที่แก้ | ไม่หาย | กะทันหัน |
ต้องทนทุกข์ | ทรมาน | อีกนานวัน |
หนี้กรรมนั้น | ยังไม่หมด | งดความตาย |
อีกโรคหนึ่ง | นั้นเล่า | เจ้าช่างโก้ |
หัวใจโต | เต็มอก | โรคไม่หาย |
แต่จิตเรา | ไม่เศร้า | แม้จะตาย |
ชีวาวาย | คลายทุกข์ | สุขนิรันดร |
อีกโรคหนึ่ง | ถุงน้ำดี | มีปัญหา |
จึงต้องผ่า | ตัดออก | นอกธาตุขันธ์ |
แม้นไม่ผ่า | หากแตก | ต้องตายพลัน |
จบชีวัน | พลันสิ้น | จากถิ่นไทย |
อีกโรคหนึ่ง | เบาหวาน | ก็ขานรับ |
มันขยับ | ขึ้นลง | อย่าสงสัย |
เดี๋ยวมันต่ำ | เดี๋ยวมันสูง | อยู่ในกาย |
ช่างวุ่นวาย | เหลือเกิน | ไม่เพลินเลย |
เรื่องอาหาร | การกิน | ก็สิ้นสุข |
มีแต่ทุกข์ | ทั้งวัน | นะท่านเอ๋ย |
ของบางอย่าง | กินไม่ได้ | เหมือนอย่างเคย |
แม่ก็เลย | โหยหา | ระอาใจ |
อีกโรคหนึ่ง | มีไขมัน | เกาะที่ตับ |
จะขยับ | กายา | เกือบไม่ไหว |
ช่างเหน็ดเหนื่อย | เมื่อยล้า | ระอาใจ |
ต้องทนไป | จนกว่า | ชีวาวาย |
อีกโรคนั้น | ไตรั่ว | น่ากลัวนัก |
รักษายาก | ใช้เวลา | กว่าจะหาย |
แม่ต้องทุกข์ | ทรมาน | ทั้งร่างกาย |
ใจแม่ไซร้ | กลับเห็น |
เป็นเพราะกรรม |
อีกไขมัน | ในเลือด | ไม่เหือดหาย |
มีมากมาย | เกินอัตรา | ช่างน่าขำ |
ต้องรับทุกข์ | เพราะกรรมชั่ว | ตัวแม่ทำ |
ยอมรับกรรม | ที่ทำไว้ | อย่างใจเย็น |
โรคมดลูก | อักเสบ | ต้องเจ็บปวด |
หมอได้ตรวจ | เสร็จแล้ว | ลงความเห็น |
ต้องผ่าตัด | ทิ้งไป | เพราะจำเป็น |
ไม่วายเว้น | ไร้สุข | ทุกข์ระทม |
ตาก็เป็น | ต้อกระจก | โรคอีกอย่าง |
ช่างฝ้าฟาง | มองสิ่งอื่น | อย่างขื่นขม |
มันปวดเศียร | เวียนเกล้า | ร้าวระบม |
สุดระทม | ใครอย่าเป็น | เช่นอย่างเรา |
รวมอีกทั้ง | ลูกตา | เคยผ่าตัด |
สายตาขัด | ไม่เห็น | เช่นอย่างเขา |
ต้องผ่าตัด | ลูกตา | หนักไม่เบา |
โอ้ตัวเรา | มีแต่โรค | โชคไม่ดี |
ทั้งเป็นโรค | รอยต่อ | ท่ออาหาร |
สุดรำคาญ | เศร้าหมอง | ไม่ผ่องศรี |
กินอาหาร | เข้าไป | ไม่เข้าที |
แสบร้อนที่ | ลำคอ | ตามท่อไป |
อีกทั้งโรค | เหน็บชา | ขาและเท้า |
จะย่างก้าว | ออกเดิน | ไปทางไหน |
ใช้ไม้เท้า | เข้าช่วย | ด้วยจึงไป |
เดินไม่ได้ | จะต้องนอน | ป้อนข้าวปลา |
มือทั้งสอง | มึนชา | แสนสาหัส |
มันติดขัด | จับต้อง | ของที่หา |
จับไม่ติด | ยากไซร้ | ให้ระอา |
แม้ข้าวปลา | จะเข้าปาก | ยากเหลือเกิน |
อีกทั้งโรค | กระดูกพรุน | ทั้งร่างกาย |
จะเคลื่อนย้าย | กายา | ก็ขัดเขิน |
กระดูกทรุด | ทับเส้นขา | ไม่พาเดิน |
ยากเหลือเกิน | จะย่างเท้า | ก้าวออกไป |
อีกหนึ่งข้อ | กระดูกคอ | ก็กดทับ |
แม่ทนรับ | ความเจ็บปวด | เกือบไม่ไหว |
ต้องทนทุกข์ | ทรมาน | ปานจะตาย |
ทั้งร่างกาย | ก็เสื่อมลง | ปลงอนิจจา |
อนิจจัง | ความไม่เที่ยง | เลี่ยงไม่ได้ |
ไม่ว่าใคร | ต้องเปลี่ยนแปร | แน่หนักหนา |
เพราะมีกาย | ต้องเปลี่ยนไป | เป็นธรรมดา |
และนำพา | ให้เกิดทุกข์ | สุขไม่มี |
อนัตตา | สูญสลาย | กายทั้งสิ้น |
ต้องเป็นดิน | และเป็นน้ำ | ตามวิถี |
ลมและไฟ | ตามกันไป | ไม่ปราณี |
ทั้งชีวี | ต้องดับ | อย่างยับเยิน |
แม่มีโรค | สิบห้าอย่าง | ในร่างกาย |
ช่างวุ่นวาย | ยามเจ็บป่วย | ด้วยฉุกเฉิน |
ด้วยฉุกเฉิน | ทรมาน | นานเหลือเกิน |
ต้องเผชิญ | โรคร้าย | ในกายเรา |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า | ทำกรรมชั่ว | เมื่อชาติเก่า |
เกิดมาแล้ว | ต้องรับกรรม | ทั้งหนักเบา |
ตัวของเรา | เป็นผู้ทำ | กรรมขึ้นเอง |
ไม่มีใคร | รับกรรม | แทนเราได้ |
ท่านสอนไว้ | เราต้องรับ | นั่นตรงเผง |
กรรมดีชั่ว | เกิดขึ้น | เพราะตัวเอง |
ท่านจงเกรง | กรรมชั่ว | อย่ามัวทำ |
วัดเอ๋ย...วัดดุน
วัดอุดม | คงคา | คิรีเขต |
เป็นประเทศ | น่าอยู่ | ผู้อาศัย |
อยู่กันแล้ว | ไปกันเล่า | ไม่เข้าใจ |
ไม่มีใคร | พ้นทุกข์ | สุขสักคน |
หลวงปู่ผาง | ท่านได้วาง | ทางไว้ชัด |
เพื่อขจัด | กองกิเลส | ด้วยเหตุผล |
เข้ามาแล้ว | ต้องชำระ | กันทุกคน |
กิเลสตน | มากมาย | ให้คลายลง |
แต่บัดนี้ | พระสงฆ์ | องค์อาศัย |
ท่านมิได้ | ปฏิบัติ | ดูขัดสน |
กิเลสหนา | พาไป | น่าอายคน |
ดูอับจน | ปัญญา | ระอาใจ |
น่าสงสาร | หลวงปู่ | ผู้ประเสริฐ |
ท่านก่อเกิด | วัดวา | ให้อาศัย |
ไว้เป็นที่ | พักพิง | ทั้งกายใจ |
ลูกศิษย์ไซร้ | ไม่ทำ | ตามเจตนา |
ธรรมะ จากการทำวัตร
พระพุทธรูป | องค์ใหญ่ | ในศาลา |
งามสง่า | น่าเคารพ | เมื่อพบเห็น |
ท่านสงบ | อยู่บนฐาน | อันเยือกเย็น |
ใครได้เห็น | ต้องก้มกราบ | ประทับใจ |
เสียงพระสงฆ์ | สวดมนต์ | ดลให้คิด |
ทุกชีวิต | เกิดมา | น่าใจหาย |
เรามีกรรม | เป็นของตัว | ใช่อื่นไกล |
เราทำไว้ | ต้องได้รับ | ตามกฎเกณฑ์ |
ท่านว่ากรรม | เป็นเผ่าพันธุ์ | นั้นก็ถูก |
เรามีลูก | มีทั้งหลาน | และโหลนเหลน |
จึงเกิดมา | ร่วมรับกรรม | นำใช้เวร |
ดังจะเห็น | เช่นตัวเรา | น่าเศร้าใจ |
เป็นเพราะกรรม | ทำมา | พาให้เกิด |
จะประเสริฐ | หรือทุกข์ | สุขไฉน |
เป็นเพราะเรา | ได้ทำมา | หาใช่ใคร |
ท่านว่าไว้ | ทุกชนิด | กรรมติดตาม |
ท่านว่ากรรม | เป็นที่ตั้ง | ฟังไว้เถิด |
พาก่อเกิด | เป็นตัวตน | ล้นสยาม |
บางคนทุกข์ | บางคนสุข | ก็เพราะกรรม |
จะขาวดำ | สูงต่ำ | กรรมพาเป็น |
เสียงพระสวด | ปลงสังขาร | พลันให้คิด |
ทุกชีวิต | มีแต่ทุกข์ | สุขไม่เห็น |
มีอาการ | สามสิบสอง | ต้องลำเค็ญ |
ต้องเจ็บเป็น | ป่วยไข้ | แล้วตายลง |
บางท่านสวด | เป็นประจำ | ขำสักหน่อย |
สวดบ่อยบ่อย | ไม่เข้าใจ | กลับใหลหลง |
กลับยึดติด | หลงกัน | อย่างมั่นคง |
สวดแล้วปลง | ไม่ได้ | น่าอายจริง |
กรรมเป็นที่ | พึ่งอาศัย | ก็ใช่อีก |
จะหลบหลีก | ไปไม่ได้ | ทั้งชายหญิง |
กรรมดีชั่ว | กรรมดีชั่ว | เข้าพักพิง |
ทั้งชายหญิง | ต้องรับกรรม | ที่ทำมา |
กรรมที่เป็น | ทายาท | ขาดไม่ได้ |
สืบต่อไป | ทุกทุกชาติ | อย่ากังขา |
คิดถึงกรรม | ต่างต่าง | ช่างระอา |
เราเกิดมา | ต้องรับกรรม | ทำไว้จริง |
ทำวัตรเย็น | เราเห็น | ว่าประเสริฐ |
ไตร่ตรองเถิด | ท่านทั้งหลาย | ทั้งชายหญิง |
ทุกทุกบท | เป็นสัจธรรม | นำสุขจริง |
หากชายหญิง | ท่านใด | ได้ใคร่ครวญ |
แล้วน้อมนำ | ทำจิต | ให้คิดตาม |
พยายาม | ตรองให้เห็น | อย่าเหหวน |
ว่าทุกสิ่ง | ที่เรามี | นี้แปรปรวน |
ไม่สมควร | ยินดี | มีสุขเอย |
สมาธิ
สมาธิ | นั้นเล่า | เฝ้าฝึกจิต |
ให้สนิท | ตั้งมั่น | ไม่หวั่นไหว |
มีสติ | คอยระวัง | ไม่ห่างไกล |
ควบคุมไว้ | ให้จิต | คิดอย่างเดียว |
อยู่กับบท | ภาวนา | ว่าอย่างไร |
แล้วแต่ใคร | เรียนมา | อย่าเฉลียว |
จะพุทโธ | ก็พุทโธ | แต่อย่างเดียว |
ไม่ท่องเที่ยว | อยู่กับที่ | ดีทุกคน |
การทำจิต | ให้สงบ | พบความสุข |
จะคลายทุกข์ | ปัจจุบัน | ทันเหตุผล |
จิตสงบ | ไม่ฟุ้งซ่าน | อย่างแยบยล |
หมั่นฝึกตน | ให้แน่วแน่ | ดีแท้เอย |
ปัญญา
อันปัญญา | นั้นหรือ | คือความรู้ |
คอยตรวจดู | จิตตน | เร่งขวนขวาย |
ว่าทุกข์สุข | เกิดขึ้น | เพราะเหตุใด |
จงใส่ใจ | ค้นคิด | พินิจดู |
ปัญญามี | ก็จะเห็น | เช่นท่านว่า |
ทำชั่วช้า | แสนรันทด | น่าอดสู |
มีความทุกข์ | จิตก็ทราม | ไม่น่าดู |
จิตหดหู่ | ไร้ทั้งทรัพย์ | อับปัญญา |
ใครทำดี | ก็ได้ดี | มีความสุข |
ไม่มีทุกข์ | ทั้งชาตินี้ | และชาติหน้า |
เป็นเพราะกฎ- | แห่งกรรม | เราทำมา |
มีปัญญา | รู้เท่าทัน | นั่นความจริง |
ทำปัญญา | ให้รู้แจ้ง | แทงให้ชัด |
กรรมนำสัตว์ | มาให้เกิด | ทั้งชายหญิง |
จงใคร่ครวญ | ให้เป็น | จะเห็นจริง |
ทั้งชายหญิง | กิเลสหนา | พาวนเวียน |
ผู้ใดมี | ปัญญา | ท่านว่าไว้ |
ก็ใส่ใจ | ในพระธรรม | นำขีดเขียน |
หาวิชา | ความรู้ | ด้วยการเรียน |
มีความเพียร | ประพฤติธรรม | ตามครรลอง |
นำธรรมะ | มาชำระ | ซึ่งกิเลส |
มันเป็นเหตุ | ให้จิตเรา | ต้องเศร้าหมอง |
มีสติ | ตั้งมั่น | คอยประคอง |
ปัญญาต้อง | รู้ทัน | นั่นอารมณ์ |
โลภโกรธหลง | คงอยู่ | คู่กับสัตว์ |
ให้อึดอัด | ในอุรา | น่าขื่นขม |
มีแต่ทุกข์ | สุขไม่ได้ | ให้ระทม |
ต้องตรอมตรม | ทุกทุกชาติ | ขาดปัญญา |
ป่าไม้ ธรรมชาติ
ป่าไม้ใหญ่ | มีต้นไม้ | หลายชนิด |
มาครุ่นคิด | ถึงผล | ต้นทั้งหลาย |
บางต้นดี | มีประโยชน์ | อยู่มากมาย |
บางต้นไร้ | คุณค่า | ไม่น่าชม |
คนที่ชั่ว | เหมือนต้นไม้ | ที่ไร้ค่า |
ทำชั่วช้า | พาผู้อื่น | เขาขื่นขม |
ขาดคุณธรรม | ทำชั่ว | ตัวระทม |
ไม่เหมาะสม | จะให้อยู่ | คู่ฟ้าดิน |
คนที่ดี | เหมือนต้นไม้ | ที่มีค่า |
เขาเกิดมา | ไม่ทำชั่ว | ตัวมีศีล |
ทั้งให้ทาน | ทั้งภาวนา | เป็นอาจิณ |
ชีวิตสิ้น | ก็เป็นสุข | ทุกชาติไป |
ต้นไม้ใด | ไม่ต้องการ | พลันตัดทิ้ง |
ตัดทั้งกิ่ง | ขุดทั้งราก | หายากไม่ |
แต่คนชั่ว | อยู่กับเรา | น่าเศร้าใจ |
หนีไม่ได้ | ไปไม่พ้น | ทนรำคาญ |
มาเบียดเบียน | ให้เรา | ต้องเศร้าโศก |
เหมือนมีโรค | เรื้อรัง | ในสังขาร |
ต้องเหน็ดเหนื่อย | เมื่อยล้า | น่ารำคาญ |
เหมือนมีมาร | มาขัดขวาง | ทางเจริญ |
ต้นไม้ใหญ่ | กิ่งใบแยก | แตกสาขา |
เปรียบเหมือนคน | มีปัญญา | น่าสรรเสริญ |
เราอยู่ใกล้ | ก็ทำให้ | เราเจริญ |
จะขาดเกิน | ท่านคอยช่วย | ด้วยเมตตา |
ขอทุกท่าน | ตรองดู | รู้แก่จิต |
ท่านใกล้ชิด | ผู้ใด | กันเล่าหนา |
ใกล้คนชั่ว | ตัวท่าน | จะอัปรา |
จงนำพา | คบคนดี | มีสุขเอย |
อาการ ๓๒
อันเกศา | นั้นหรือ | คือเส้นผม |
คนนิยม | ว่าสวย | เป็นหนักหนา |
มันไม่เที่ยง | ซ้ำเป็นทุกข์ | เป็นอนัตตา |
มีปัญญา | รู้เท่าทัน | นั้นเห็นจริง |
มันเกิดขึ้น | ตั้งอยู่ | แล้วดับไป |
ไม่ว่าใคร | จะเป็นชาย | หรือเป็นหญิง |
มันยิ่งยาว | ยิ่งรก | สกปรกจริง |
มันเป็นสิ่ง | น่ารำคาญ | ท่านตรองดู |
เส้นเล็กเล็ก | ตามตัวนั้น | ท่านว่าขน |
ทั่วตัวคน | ชื่อโลมา | นั้นมีอยู่ |
ชนทุกชั้น | ใช้ปัญญา | ไตร่ตรองดู |
แล้วจะรู้ | ว่ามีมาก | ยุ่งยากจริง |
แล้วต่อมา | คือทันตา | เรียกว่าฟัน |
สามสิบสองอัน | นั้นมี | ทั้งชายหญิง |
มันไม่เที่ยง | เลี่ยงไม่ได้ | เสียดายจริง |
มันหลุดทิ้ง | จนหมด | รันทดใจ |
อีกตโจ | นั้นหรือ | ก็คือหนัง |
ห่อทั่วร่าง | ของเรา | ทุกส่วนไว้ |
เมื่อแก่แล้ว | ก็ต้องแห้ง | เหี่ยวลงไป |
ไม่มีใคร | หลีกพ้น | สักคนเดียว |
ทั้งมังสัง | นั้นหรือ | ก็คือเนื้อ |
มันเอื้อเฟื้อ | อยู่ในร่าง | อย่าเฉลียว |
เมื่อยังหนุ่ม | เต่งตึง | ดูงามเชียว |
แก่แล้วเหี่ยว | หย่อนยาน | พานไม่งาม |
นหารู | นั้นหรือ | คือเส้นเอ็น |
ทุกทุกเส้น | ร้อยรัด | อยู่ทั่วร่าง |
แม้เส้นหนึ่ง | เส้นใด | ต้องขาดกลาง |
ก็ครวญคราง | ไร้สุข | ทุกข์ตามมา |
อันนะขา | ท่านว่าไว้ | ใช่แล้วเล็บ |
ยาวแล้วเจ็บ | เน่าเปื่อย | อย่ากังขา |
มันไม่เที่ยง | เป็นทุกข์ | เป็นอนัตตา |
มีปัญญา | ก็จะเห็น | ว่าเป็นจริง |
อันอัฎฐิ | คือกระดูก | อยู่ในร่าง |
เป็นท่อนบ้าง | เป็นข้อบ้าง | ร่างชายหญิง |
ต่อกันอยู่ | ทั่วร่าง | ไม่อ้างอิง |
เจ็บปวดยิ่ง | เมื่อต้องหัก | จากกายา |
อัฎฐิมิญชัง | คือเยื่อใย | ในกระดูก |
ไม่เป็นลูก | แต่เป็นใย | และไม่หนา |
ประกอบกัน | ในกระดูก | ชิ้นนานา |
ในกายา | แม้นขาดมัน | ทุกข์ทันใด |
วักกังไต | เป็นคู่ | อยู่ด้านหลัง |
ต้องระวัง | แม้นอักเสบ | เจ็บเหลือหลาย |
ขาดทั้งคู่ | ท่านจงรู้ | ว่าต้องตาย |
สูญสลาย | มอดม้วย | ไปด้วยกัน |
หะทะยัง | คือหัวใจ | ใครก็รู้ |
เกิดอยู่คู่ | กับกาย | ที่หมายมั่น |
มีหน้าที่ | สูบฉีดเลือด | อยู่ทุกวัน |
ช่วยผลักดัน | อยู่ในตัว | อย่ามัวเพลิน |
อีกทั้งปอด | และม้าม | มันสมอง |
มันมากอง | อยู่ในร่าง | ไม่ห่างเหิน |
นับวันเสื่อม | เรื่อยไป | ไม่เจริญ |
แม้นขาดเขิน | ก็เจ็บป่วย | ม้วยชีวัน |
ปิตตังน้ำดี | มีเป็นถุง | ก็ยุ่งยาก |
ทั้งเหงื่อมาก | ก็เป็นทุกข์ | ไม่สุขสันต์ |
เสลดมาก | ทำให้ไอ | ได้เหมือนกัน |
ส่วนเลือดนั้น | ก็กระจาย | ในกายคน |
อันน้ำมูก | น้ำตา | และน้ำลาย |
มันวุ่นวาย | ไหลออกมา | น่าขื่นขม |
ทั้งน้ำมูตร | อยู่ในกาย | ให้ระทม |
ช่างโสมม | จริงนะเรา | น่าเศร้าใจ |
น้ำมันเหลว | น้ำมันข้น | ปนในร่าง |
บางที่บาง | บางที่หนา | อย่าสงสัย |
มันติดอยู่ | ตามตัว | เราทั่วไป |
เห็นได้ง่าย | คนที่อ้วน | ล้วนไขมัน |
ขอทุกท่าน | ตรองดู | รู้แก่จิต |
ทุกชีวิต | ต้องเป็นทุกข์ | ไม่สุขสันต์ |
แม้นจะมี | ทั้งสามสิบสอง | ต้องครบครัน |
ต้องแปรผัน | แล้วก็ตาย | วายชีวี |
มีอะไร | บ้างเล่า | ที่เข้าท่า |
ที่ว่ามา | ล้วนเป็นทุกข์ | ไม่สุขี |
ทั้งตัวตน | ก็ไม่พ้น | เป็นธุลี |
ไม่มีดี | มายึดมั่น | กันทำไม |
พระพุทธองค์ | ทรงสอน | ก่อนสิ้นสุด |
ให้มนุษย์ | ใช้ปัญญา | มาแก้ไข |
อันความทุกข์ | ต่างต่าง | ให้หมดไป |
เพื่อจะได้ | มีความสุข | กันทุกคน |
พิจารณา | ให้เห็น | เป็นความทุกข์ |
อย่าสนุก | เพลิดเพลิน | เกินเหตุผล |
รู้เวลา | รู้กาละ | อย่าปะปน |
รู้จักตน | รู้ประมาณ | นะท่านเอย |
สายฟ้า สายฝน
สายฝนหลั่ง | จากฟ้า | นภาฉ่ำ |
เสียงครวญคร่ำ | ของสายฟ้า | น่าใจหาย |
ดังเปรี้ยงปร้าง | ครืนครัน | พลันหายไป |
เป็นเครื่องหมาย | บอกให้รู้ | ฤดูกาล |
ชีวิตสัตว์ | หมุนเวียนไป | ใครเคยคิด |
ใครยึดติด | ต้องเวียนว่าย | ในสงสาร |
เหมือนสายฝน | หล่นจากฟ้า | สุธาธาร |
ฤดูกาล | มันหมุนเวียน | และเปลี่ยนแปลง |
ฤดูฝน | วนมา | หาอีกครั้ง |
สายฝนหลั่ง | พาเป็นสุข | ทุกหนแห่ง |
ทั้งต้นไม้ | และหมู่สัตว์ | ไม่ขาดแคลน |
ทั่วดินแดน | สดชื่น | รื่นฤดี |
เปรียบเหมือนเรา | ได้รับ | รสพระธรรม |
แล้วจดจำ | ทำตามได้ | คลายหมองศรี |
ละความชั่ว | ประพฤติตัว | เป็นคนดี |
ในชาตินี้ | และชาติหน้า | พาสุขใจ |
ฤดูหนาว | ผ่านเข้ามา | หาเราอีก |
จะหลบหลีก | ความหนาว | ได้ที่ไหน |
เปรียบเหมือนคน | ไม่มี | หนีความตาย |
หนีไม่ได้ | ถึงเวลา | พาสิ้นลง |
ฤดูร้อน | ย้อนมาอีก | ใครหลีกได้ |
ร้อนทั้งกาย | ร้อนทั้งใจ | เพราะใหลหลง |
เปรียบเหมือนคน | กิเลสหนา | พางวยงง |
เพราะลุ่มหลง | แต่ตัณหา | พามืดมน |
ฤดูฝน | ฤดูหนาว | ฤดูร้อน |
หากเราย้อน | ดูกายใจ | ไม่ฉงน |
มีปัญญา | วางจิตไว้ | ให้แยบยล |
ก็จะพ้น | สามฤดู | สู่นิพพาน |
อายตนะ ( สิ่งต่อเนื่อง)
อายตนะ | ภายนอก | และภายใน |
ท่านสอนไว้ | เป็นสิ่งต่อ | ให้ก่อผล |
ตาเห็นรูป | เกิดพอใจ | ในบัดดล |
เกิดวกวน | อยากได้ | ไปเอามา |
ตาเห็นรูป | ไม่สวย | ช่วยไม่ได้ |
ไม่พอใจ | ก็โกรธ | เกิดโทสา |
รีบขจัด | ปัดเป่า | อย่าเข้ามา |
มีปัญญา | จะดูออก | นอกและใน |
อันว่ารส | นั้นหรือ | คืออาหาร |
มีมานาน | เป็นภายนอก | ท่านบอกไว้ |
เวลากิน | ลิ้นรู้รส | เรียกภายใน |
ต่อกันไว้ | เช่นนี้ | มีมานาน |
เมื่อลิ้นได้ | ลิ้มรส | อดไม่ได้ |
เกิดพอใจ | มีความสุข | ในอาหาร |
มีเงินทอง | ไปซื้อหา | มารับประทาน |
แสนสำราญ | ในอารมณ์ | สมดั่งใจ |
กินอาหาร | ไม่อร่อย | พลอยหงุดหงิด |
กลับไปคิด | ว่าคนทำ | ใช้ไม่ได้ |
เกิดโมโห | โกรธา | ด่าเรื่อยไป |
ไม่พอใจ | ก็เททิ้ง | แม้สิ่งดี |
อันว่ากลิ่น | นั้นหรือ | คือภายนอก |
มันเข้าออก | ทางจมูก | ไม่มีสี |
เป็นกลิ่นหอม | นั้นเล่า | ก็เข้าที |
เกิดยินดี | พอใจ | ในอารมณ์ |
จมูกเป็น | ภายใน | ได้กลิ่นเหม็น |
ดังเฉกเช่น | ของเน่า | เจ้าขื่นขม |
ไม่พอใจ | ในกลิ่น | สิ้นอารมณ์ |
ไม่ชื่นชม | กลิ่นเหม็น | เป็นทุกคน |
อันว่าเสียง | เป็นสำเนียง | ที่เปล่งออก |
มันย้อนยอก | กรอกหู | ดูสับสน |
เสียงอะไร | ใครชอบ | แต่ละคน |
แต่ชอบกล | แม้แต่เสียง | ยังเถียงกัน |
อีกทั้งหู | รับเอาเสียง | เรื่องต่างต่าง |
ชอบเข้าข้าง | เสียงที่ชอบ | ก็ตอบขาน |
เกิดพอใจ | ก็จดจำ | เอาไว้นาน |
สุขสำราญ | ในอารมณ์ | สมดั่งใจ |
แม้นเสียงใด | ไม่ไพเราะ | เสนาะโสต |
เกิดความโกรธ | ในเสียงนั้น | ดูหวั่นไหว |
เกิดอารมณ์ | บูดเบี้ยว | ขึ้นทันใด |
ไม่พอใจ | จะฟัง | ช่างรำคาญ |
จะขอกล่าว | ถึงกาย | ใช้กระทบ |
ได้ประสบ | สิ่งใด | ถูกกายท่าน |
ไม่พอใจ | เร่าร้อนนัก | ชักรำคาญ |
พระองค์ท่าน | เรียกสัมผัส | ดูชัดเจน |
กายสัมผัส | อ่อนแข็ง | แรงกระทบ |
ไม่สงบ | ในร่างกาย | เราได้เห็น |
เป็นภายนอก | บอกไว้ | ได้ชัดเจน |
เราจะเห็น | ได้ว่า | มาต่อกัน |
เมื่อยามนอน | เป็นสุข | บนฟูกใหญ่ |
นอนไม่ได้ | ไม่มีฟูก | ทุกข์มหันต์ |
มันเจ็บปวด | กายา | น่ารำคาญ |
ไม่สุขสันต์ | หงุดหงิด | เพราะติดมัน |
อันว่าใจ | นั้นหรือ | คือภายใน |
มีสิ่งใด | มาให้คิด | จิตยึดมั่น |
เกิดอารมณ์ | ต่างต่าง | เป็นบางวัน |
นั่นแหละท่าน | เรียกว่า | ธรรมารมณ์ |
อันภายนอก | นั้นหรือ | คือธรรมชาติ |
ใครฉลาด | รู้ทัน | นั่นเหมาะสม |
มีเรื่องราว | ต่างต่าง | เป็นอารมณ์ |
มันสะสม | กันไว้ | ในใจตน |
อันรูปรส | กลิ่นเสียง | และสัมผัส |
มันเด่นชัด | อยู่ในใจ | ไม่สับสน |
ตาหูจมูก | ลิ้นกายใจ | ในตัวคน |
มันวกวน | ไม่เที่ยงแท้ | แปรเปลี่ยนไป |
พระพุทธองค์ | ท่านทรง | ตรัสสอนไว้ |
ให้ใส่ใจ | ดูตน | เร่งขวนขวาย |
อายตนะ | ภายนอก | และภายใน |
มันต่อไว้ | ให้ทุกข์ | ไม่สุขเอย |
มองให้เห็นเป็นธรรมะ
อันถ้วยชาม | ที่เราใช้ | ให้น่าคิด |
หลายชนิด | มีทั้งบาง | และทั้งหนา |
กินแล้วล้าง | ล้างแล้วกิน | ทุกเวลา |
แสนระอา | น่าเบื่อ | เหลือจะทน |
บางชนิด | แตกง่าย | เสียดายยิ่ง |
ก็ต้องวิ่ง | ซื้อใหม่ | ให้สับสน |
ใช้ประโยชน์ | ได้น้อย | ไม่ค่อยทน |
เปรียบเหมือนคน | เกิดไม่นาน | พลันต้องตาย |
ยังมิได้ | ศึกษา | และปฏิบัติ |
เพื่อกำจัด | ขัดเกลา | กิเลสหาย |
ไม่ทำดี | ไม่ทำชั่ว | ตัวมาตาย |
แสนเสียดาย | มิได้ทำ | กรรมที่ดี |
บางชนิด | เนื้อหนา | ราคาแพง |
ใส่ทั้งแกง | ใส่ทั้งต้ม | สมศักดิ์ศรี |
เปรียบเหมือนคน | เกิดมา | ปัญญาดี |
กิเลสมี | ก็ชำระ | ชนะมัน |
บางชนิด | เนื้อหนา | ราคาถูก |
แต่ละลูก | สนิมหนา | น่าขบขัน |
จะขัดล้าง | อย่างไร | ไม่ได้การ |
ต้องพบพาน | ความดำด่าง | อย่างมืดมน |
เปรียบเหมือนคน | กิเลสหนา | ปัญญาน้อย |
เหมือนคนถ่อย | สอนอย่างไร | ก็ไม่สน |
มีสันดาน | ชั่วช้า | หาใช่คน |
จะฝึกฝน | อย่างไร | ไม่ได้ดี |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า | เหมือนถ้วยชาม | บ้างไหมนี่ |
ถ้าจะเหมือน | ก็ให้เหมือน | ชามที่ดี |
ดุจคนดี | มีคุณธรรม | นำสุขเอย |
เรือน ๓ น้ำ ๔
เรือนทั้งสาม | น้ำทั้งสี่ | ที่มีอยู่ |
มันเกิดอยู่ | คู่กับสัตว์ | อย่าสงสัย |
เรือนทั้งสาม | น้ำทั้งสี่ | มีอะไร |
จะบอกให้ | สักนิด | แล้วคิดดู |
เรือนที่หนึ่ง | คือที่พัก | ที่อาศัย |
สร้างเอาไว้ | เพื่อให้ตน | เป็นคนอยู่ |
เราต้องทำ | สะอาดไว้ | ให้น่าดู |
สบายหู | สบายตา | น่าพักพิง |
แม้นผู้ใด | ทำให้ | สกปรก |
จนเป็นโรค | ไม่ว่าใคร | ทั้งชายหญิง |
คนไปหา | เห็นเข้า | เขาท้วงติง |
น่าเกลียดยิ่ง | เป็นตัวอย่าง | ทางไม่ดี |
ทั้งยังต้อง | รักษา | ดูแลไว้ |
อย่าปล่อยให้ | ผุพัง | ยังคงที่ |
แม้นที่ใด | เสื่อมโทรม | ซ่อมให้ดี |
เพราะเป็นที่ | พำนัก | พักร่างกาย |
เรือนที่สอง | คือกายเรา | เฝ้ารักษา |
หาเสื้อผ้า | เครื่องนุ่งห่ม | มาสวมใส่ |
คอยระวัง | อย่าให้ | เจ็บป่วยกาย |
ไม่สบาย | ก็ต้องหา | ยามากิน |
ทั้งยังต้อง | ทำสะอาด | อยู่เสมอ |
อย่าพลั้งเผลอ | ปะปน | คนติฉิน |
ต้องอาบน้ำ | ล้างหน้า | เป็นอาจิณ |
อย่าให้กลิ่น | เหม็นออกมา | มันน่าอาย |
ต้องสำรวจ | ตรวจดู | กันให้ดี |
ว่ากายนี้ | ทำชั่ว | บ้างหรือไม่ |
จงทำดี | เพื่อให้ตัว | อยู่สบาย |
ไม่อับอาย | ผู้อื่น | เขาชื่นชม |
เรือนที่สาม | คือเรือนใจ | ใครเคยคิด |
ว่าดวงจิต | ของเรา | เฝ้าขื่นขม |
เพราะกิเลส | มันอาศัย | ให้ระทม |
จึงตรอมตรม | อยู่ทุกวัน | แทบบรรลัย |
จำเป็นต้อง | ทำใจ | ให้สะอาด |
ต้องกำจัด | กิเลส | อย่าสงสัย |
หาพระธรรม | คำสอน | ช่วยผ่อนคลาย |
ให้เรือนใจ | คลายทุกข์ | สุขน่ายล |
น้ำ ๔
น้ำที่หนึ่ง | คือน้ำใจ | ใสสะอาด |
เพราะไม่ขาด | เมตตา | มหากุศล |
คือเอื้อเฟื้อ | เผื่อแผ่ | แก่ทุกคน |
นั้นแหละคน | ที่ดี | มีน้ำใจ |
หากผู้ใด | ไร้เมตตา | น่าอนาถ |
เป็นคนขาด | คุณธรรม | อย่าสงสัย |
เป็นคนชั่ว | เห็นแก่ตัว | ไร้น้ำใจ |
อย่าเข้าใกล้ | น่ารังเกียจ | ตัวเบียดเบียน |
ขอทุกท่าน | จงสำรวจ | ตรวจให้เห็น |
ใจเราเป็น | อย่างไร | ที่ได้เขียน |
ขาดน้ำใจ | ก็จำไว้ | เป็นบทเรียน |
คอยติเตียน | ใจท่าน | นั้นแหละดี |
อันน้ำคำ | เป็นที่สอง | รองลงมา |
ใช้วาจา | พูดคำชั่ว | ตัวหมองศรี |
ขาดหิริ | ความละอาย | ใช่คนดี |
ไม่ควรที่ | จะคบค้า | สมาคม |
คนที่ดี | มีวาจา | อันไพเราะ |
พูดก็เพราะ | มีเหตุผล | อันเหมาะสม |
มีหิริ | โอตตัปปะ | น่านิยม |
ขอกล่าวชม | ว่าท่าน | นั้นคนดี |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าวาจา | ที่เราใช้ | ถูกไหมนี้ |
จงไตร่ตรอง | ก่อนจะพูด | สุดจะดี |
จะไม่มี | อันตราย | กับกายเรา |
น้ำที่สาม | คือน้ำแรง | แข็งขยัน |
ใช้แรงงาน | ทางที่ผิด | จิตโง่เขลา |
ใช้แรงกาย | ทำความชั่ว | ไม่สร่างเซา |
โทษหนักเบา | ไม่เคยคิด | จิตมืดมน |
อันคนดี | มีสติ | ระลึกได้ |
การจะใช้ | แรงช่วย | ด้วยเหตุผล |
ช่วยผู้อื่น | แม้จะเหนื่อย | ก็ต้องทน |
งานของตน | ก็พยายาม | ทำอย่างดี |
ขอทุกท่าน | ก่อนจะใช้ | โปรดได้คิด |
แม้นใช้ผิด | ทำความชั่ว | ตัวหมองศรี |
หากใช้ถูก | ก็จะเกิด | แต่ผลดี |
ทั้งชีวี | ไร้ทุกข์ | สุขตามมา |
อันน้ำสี่ | คือน้ำดื่ม | และน้ำใช้ |
ขาดไม่ได้ | แม้นไม่มี | ก็ต้องหา |
ทั้งใช้ดื่ม | ใช้อาบ | ล้างกายา |
ทั้งหุงหา | อาหาร | นั้นมากมาย |
ต้องทำน้ำ | ก่อนจะใช้ | ให้สะอาด |
โรคระบาด | อยู่ในน้ำ | ก็มากหลาย |
ดื่มหรือใช้ | จะเกิดโทษ | ต่อร่างกาย |
จะวุ่นวาย | เจ็บไข้ | ได้เหมือนกัน |
อีกเมรัย | หาใช่เรียก | ว่าน้ำดื่ม |
ใครหลงลืม | ดื่มเข้าไป | ไม่สุขสันต์ |
เสียทรัพย์สิน | เงินทอง | ของสำคัญ |
เสียชีวัน | ต้องมอดม้วย | ด้วยน้ำเมา |
เรือนทั้งสาม | น้ำทั้งสี่ | มีประโยชน์ |
จะเกิดโทษ | เฉพาะตน | คนโง่เขลา |
ใช้ปัญญา | ไตร่ตรอง | ที่ตัวเรา |
จะคลายเศร้า | เพราะใช้ถูก | เป็นสุขเอย |
วัยของมนุษย์
วัยที่หนึ่ง | ปฐมวัย | ได้แก่เด็ก |
เธอยังเล็ก | จิตของเจ้า | เฝ้าใฝ่ฝัน |
ถึงเรื่องกิน | เรื่องเล่น | เป็นปัจจุบัน |
ไม่เกี่ยวพัน | เรื่องใดใด | ที่ไกลตัว |
จิตของเจ้า | ยังห่างไกล | ไร้เดียงสา |
จะพูดจา | น่าชัง | ทั้งดีชั่ว |
ตัวเจ้าน้อย | กิเลสน้อย | ไม่น่ากลัว |
ความดีชั่ว | ยังไม่เห็น | เล่นอย่างเดียว |
แล้วต่อมา | ปรากฏเห็น | เป็นสาวหนุ่ม |
เริ่มจะกลุ้ม | เรื่องความรัก | ชักหวาดเสียว |
เริ่มรักสวย | รักงาม | ความปราดเปรียว |
อยากท่องเที่ยว | ให้ไกล | ตามวัยตน |
เธอคิดถึง | อนาคต | อันสดใส |
เธอใส่ใจ | ในคู่ครอง | เริ่มหมองหม่น |
อยากอยู่ใกล้ | ได้เห็น | เป็นของตน |
เริ่มวกวน | เพราะตัณหา | พาเธอไป |
มัชฌิมาวัย | กลางคน | ดิ้นรนมาก |
มีความอยาก | เพราะกิเลส | เป็นเหตุใหญ่ |
หลงลาภยศ | สรรเสริญ | เพลินกันไป |
ในหัวใจ | กิเลสหนา | พามืดมน |
ได้มาแล้ว | ก็หลงว่า | ข้าเป็นสุข |
ใครจะทุกข์ | อยู่ที่ใด | ข้าไม่สน |
ขอให้ข้า | มีมากกว่า | ทุกทุกคน |
เห็นแก่ตน | ลืมความตาย | น่าอายจริง |
บางคนเข้า | วัยนี้ | มีปัญญา |
แสวงหา | พระธรรม | นำทุกสิ่ง |
ไม่หลงลาภ | หลงยศ | ปรากฏจริง |
สงบนิ่ง | ออกบวช | สำรวจตน |
นำพระธรรม | มาศึกษา | หาสาเหตุ |
ว่ากิเลส | อยู่ในใจ | ใฝ่ฝึกฝน |
ไม่ยึดมั่น | ถือมั่น | นั่นตัวตน |
เกิดเป็นคน | ไม่มีสุข | ทุกข์มากมาย |
เร่งศึกษา | ปฏิบัติ | ขจัดออก |
กิเลสนอก | กิเลสใน | น่าใจหาย |
มันหมักดอง | ในสันดาน | นั้นมากมาย |
เธอใส่ใจ | ชำระ | ชนะมัน |
ชนะใด | ไหนจะเท่า | เฝ้าฝึกฝน |
ชนะตน | นั้นประเสริฐ | เลิศมหันต์ |
มีปัญญา | เหมือนมีเกราะ | คอยป้องกัน |
ทุกคืนวัน | ไร้ทุกข์ | สุขสบาย |
ปัจฉิมวัย | ย่างเข้ามา | ยิ่งน่าคิด |
ตลอดชีวิต | ผ่านมา | น่าใจหาย |
หลงรูปรส | กลิ่นเสียง | แม้ใกล้ตาย |
น่าเสียดาย | เกิดเสียชาติ | ขาดปัญญา |
ชอบทำตน | เป็นปู่โสม | คอยเฝ้าทรัพย์ |
คอยนั่งนับ | เพราะกลัว | มีปัญหา |
ทรัพย์สมบัติ | ใดใด | ที่ได้มา |
เป็นของข้า | มิให้ใคร | เก็บไว้ดู |
บางคนแก่ | ลงไป | ไร้สติ |
กิเลสซิ | พาเจ้าบ้า | น่าอดสู |
แก่ลงแล้ว | มีอะไร | ที่น่าดู |
หลงเชิดชู | ลาภยศ | จนหมดลม |
บางคนแก่ | ที่ดี | มีปัญญา |
รู้ตัวว่า | ใกล้ตาย | ให้ขื่นขม |
รีบเข้าวัด | เพื่อขจัด | ซึ่งอารมณ์ |
ที่หลงชม | กับกิเลส | สังเวชใจ |
หาพระธรรม | นำมา | ปฏิบัติ |
เพื่อขจัด | จิตเศร้าหมอง | ให้ผ่องใส |
ไม่ว่ารูป | รสกลิ่นเสียง | สัมผัสใด |
ปัญญาไว | เห็นว่าทุกข์ | ไม่สุขเลย |
ทั้งสามวัย | ผ่านมา | ก็น่าคิด |
ตลอดชีวิต | ทั้งสามวัย | ไม่นิ่งเฉย |
ทำทั้งดี | ทำทั้งชั่ว | ตัวเราเคย |
ไฉนเลย | จะหลุดพ้น | จากวนเวียน |
มองเขา – มองเรา
ความมืดจาง | สว่างมา | ตีห้าเศษ |
แสนสังเวช | หมู่สัตว์ | ในสงสาร |
ต้องรีบตื่น | ลุกขึ้นมา | น่ารำคาญ |
หาอาหาร | เพื่อเลี้ยงกาย | วุ่นวายจริง |
ทั้งพระสงฆ์ | ก็ทำกิจ | มิได้ขาด |
เพราะท่านขาด | ปัจจัย | ในทุกสิ่ง |
ตื่นแต่เช้า | เฝ้าถือบาตร | องอาจจริง |
ไม่อยู่นิ่ง | เพราะต้องฉัน | พลันต้องไป |
แม้นองค์ใด | มีปัญญา | ท่านก็คิด |
เดินเป็นนิตย์ | ทั้งไปมา | น่าใจหาย |
เป็นอย่างนี้ | ทุกทุกวัน | จนวันตาย |
เกิดเบื่อหน่าย | อยากจะพ้น | จากวนเวียน |
ควรค้นคว้า | หาพระธรรม | คือคำสอน |
ไม่นั่งนอน | รีบไปหา | มาขีดเขียน |
แล้วจดจำ | ทำให้ได้ | ตั้งใจเรียน |
คอยติเตียน | ตัวเราเอง | อย่าเกรงใจ |
สำรวจดู | อยู่ทุกวัน | อันกิเลส |
สามประเภท | โลภโกรธหลง | อย่าสงสัย |
รีบหาทาง | ขจัด | ปัดออกไป |
นี่แหละใช่ | ทางที่พ้น | จากวนเวียน |
หากองค์ใด | ไร้ปัญญา | หาได้คิด |
เธอกลับติด | ในรูปรส | และกลิ่นเสียง |
กลับขวนขวาย | หาให้ได้ | มาใกล้เคียง |
ความไม่เที่ยง | เธอไม่เห็น | ว่าเป็นจริง |
อันกิเลส | นั้นเธอเห็น | เป็นธรรมชาติ |
เพราะเธอขาด | ปัญญาชาญ | การทุกสิ่ง |
หลงลาภยศ | สรรเสริญ | เพลินเสียจริง |
เห็นทุกสิ่ง | ที่ชั่วช้า | น่ากระทำ |
ทั้งพระธรรม | พระวินัย | เธอไม่คิด |
กลับยึดติด | ว่าตัวข้า | มันน่าขำ |
ขาดความคิด | ว่าสิ่งใด | เราควรจำ |
เธอกลับทำ | ตามกิเลส | สังเวชใจ |
ทั้งแม่ขาว | สาวแก่ | แย่ซักหน่อย |
เพราะต้องคอย | ทำอาหาร | เป็นการใหญ่ |
ถึงตีสาม | ลุกขึ้นมา | น่าเศร้าใจ |
หมุนเวียนไป | อยู่อย่างนี้ | ทุกวี่วัน |
หากคนใด | มีปัญญา | คงน่าเบื่อ |
เพราะเธอเชื่อ | ว่านี่ทุกข์ | ไม่สุขสันต์ |
ความไม่เที่ยง | เกิดทุกข์ | อยู่ทุกวัน |
มารวมกัน | ก็ยิ่งเห็น | เป็นอนัตตา |
แต่บางคน | ใส่ชุดขาว | ขาวแต่ผ้า |
กิเลสหนา | โง่เขลา | เจ้าปัญหา |
อันผ้าขาว | ห่อเจ้า | เพียงกายา |
ใจเธอหนา | มืดดำ | น่าขำจริง |
เราได้เห็น | เป็นอย่างนี้ | มาปีเศษ |
ให้สังเวช | ในใจ | ในทุกสิ่ง |
มาอยู่วัด | ก็ประสบ | พบความจริง |
ทั้งชายหญิง | อาศัยวัด | ขาดคุณธรรม |
ทั้งพระสงฆ์ | องค์เณร | เถรและชี |
ในวัดนี้ | กิเลสหนา | ช่างน่าขำ |
หลวงปู่ท่าน | สอนไว้ | ก็ไม่จำ |
มิหนำซ้ำ | ยังทำลาย | น่าอายจริง |
ข้าพเจ้า | เข้ามา | ในวัดนี้ |
ก็เพราะมี | ความสุข | ทุกทุกสิ่ง |
แต่เห็นว่า | ไม่ใช่สุข | ที่แท้จริง |
เห็นทุกสิ่ง | ว่าเป็นทุกข์ | สุขไม่มี |
จึงน้อมใจ | ไขว่คว้า | หาพระธรรม |
เพื่อน้อมนำ | ชำระจิต | ให้ผ่องศรี |
อันกิเลส | ข้อใด | ที่ยังมี |
เรายินดี | จะชำระ | ชนะมัน |
ขอหลวงปู่ | ผู้เลิศ | ประเสริฐล้น |
อีกหลายคน | ยังเป็นทุกข์ | ไม่สุขสันต์ |
จิตมืดมน | ขอให้พ้น | จากมืดพลัน |
คิดสร้างสรรค์ | มองเห็นทาง | สว่างเอย |
ชีวิตอุทิศธรรม
เราป่วยกาย | ต้องพา | ไปหาหมอ |
ก็เพื่อพอ | บรรเทา | เราใช่ไหม |
เดี๋ยวเจ็บนี่ | ปวดนั่น | มันวุ่นวาย |
ไม่สบาย | เป็นมนุษย์ | สุดลำเค็ญ |
ตั้งแต่เกิด | จนแก่ | เป็นแง่คิด |
สำรวจจิต | มีแต่ทุกข์ | สุขไม่เห็น |
ทุกข์ทั้งกาย | ทุกข์ทั้งใจ | ใครอยากเป็น |
แต่ไม่เห็น | มีใครพ้น | สักคนเดียว |
ถึงกระนั้น | ท่านทั้งหลาย | ไม่วายติด |
ขาดความคิด | ในหัวใจ | ไม่เฉลียว |
หลงลาภยศ | สรรเสริญ | แต่อย่างเดียว |
จิตท่องเที่ยว | อยู่ในกาม | ไม่งามเลย |
อันรูปรส | กลิ่นเสียง | และสัมผัส |
เห็นเด่นชัด | พามัวเมา | เราท่านเอย |
เราหลงผิด | คิดว่า | น่าชมเชย |
ไฉนเลย | มีแต่ทุกข์ | สุขไม่จริง |
วันเวลา | ผ่านมา | ห้าสิบปี |
ตัวเรามี | ดีและชั่ว | มั่วทุกสิ่ง |
แต่เดี๋ยวนี้ | เราเข้าใจ | ในความจริง |
ว่าทุกสิ่ง | ที่เราเห็น | นั่นเป็นกรรม |
เกิดละอาย | เกรงกลัว | ชั่วเกิดขึ้น |
จึงต้องฝืน | สร้างกรรมดี | ทุกเช้าค่ำ |
แล้วละชั่ว | ประพฤติดี | เป็นประจำ |
ค่อยค่อยทำ | ค่อยค่อยคิด | เว้นผิดลง |
เคยทำชั่ว | ทางกาย | ก็ให้เว้น |
ไม่จำเป็น | ก็อย่าทำ | ตามประสงค์ |
ละให้ได้ | เว้นให้ขาด | อย่างอาจอง |
แม้นตายลง | กายนี้ไซร้ | ไร้มลทิน |
เคยทำชั่ว | ทางวาจา | ที่น่าเกลียด |
เลิกเบียนเบียด | ด้วยวาจา | น่าติฉิน |
ตั้งสัจจะ | วาจา | เป็นอาจิณ |
เว้นให้สิ้น | วาจาชั่ว | อย่ามัวเพลิน |
เคยคิดชั่ว | ทางใจ | ไร้ปัญญา |
จิตของข้า | น่ารำคาญ | ไม่สรรเสริญ |
เลิกคิดชั่ว | ชำระใจ | ให้เจริญ |
ขอดำเนิน | ชีวิตตาม | พระธรรมเอย |
เรื่อง ความซื่อสัตย์ (ในคุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ)
ต้องมีคุณธรรมประจำใจ คือ มีสัจจะ มีความเป็นธรรม ไม่มีอคติ
ความซื่อสัตย์ | จะต้องถือ | คือสัจจะ |
จำต้องละ | พูดปด | งดพูดชั่ว |
ต้องพูดจริง | ทำจริง | ไม่เมามัว |
ไม่คิดชั่ว | ไม่ทำชั่ว | ไม่กลัวใคร |
ความเป็นธรรม | หมายถึง | ใจเป็นกลาง |
ไม่เข้าข้าง | ออกข้าง | ทางฝ่ายไหน |
ต้องส่งเสริม | ผู้ทำดี | มีต่อไป |
จงใส่ใจ | เร่งกระทำ | แต่ความดี |
ไม่มีอคติ | หมายถึง | ไม่ลำเอียง |
ไม่ลำเอียง | เพราะรัก | ในศักดิ์ศรี |
ไม่ลำเอียง | เพราะเกลียด | นั้นไม่ดี |
รักศักดิ์ศรี | ของตน | เป็นคนกลาง |
ไม่ลำเอียง | เพราะกลัว | อิทธิพล |
มีเหตุผล | ความถูกผิด | คิดสะสาง |
จะตัดสิน | ความข้อใด | ใจเป็นกลาง |
ไม่ละวาง | ความซื่อสัตย์ | มัดใจคน |
ไม่ลำเอียง | เพราะโง่เขลา | เบาปัญญา |
พิจารณา | ให้รอบคอบ | ด้วยเหตุผล |
ไม่หูเบา | เชื่อคนง่าย | ทำลายตน |
ไม่มืดมน | มีปัญญา | พาสุขใจ |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า | มีคุณธรรม | นี้หรือไม่ |
ถ้ามีแล้ว | จงส่งเสริม | กันต่อไป |
ไม่มีไซร้ | แสวงหา | มาใส่ตน |
คิดดี พูดดี ทำดี
คิดดี
เมื่อจิตดี | ย่อมคิดดี | มีประโยชน์ |
ไม่มีโทษ | ต่อตนเอง | และผู้อื่น |
เมื่อไตร่ตรอง | เรื่องที่คิด | จิตสดชื่น |
สติตื่น | พร้อมปัญญา | พาคิดดี |
ผู้คิดดี | เพราะมีธรรม | ประจำจิต |
เฝ้าแต่คิด | ให้ทุกคน | พ้นหมองศรี |
มีความสุข | ทุกคืนวัน | ตลอดปี |
เป็นคนดี | พร้อมมูล | ด้วยคุณธรรม |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า | เคยคิดดี | บ้างหรือไม่ |
คิดดีแล้ว | ก็จงคิด | ติดต่อไป |
ไม่เคยไซร้ | จงไตร่ตรอง | ลองคิดดู |
พูดดี
เมื่อพูดดี | จะเป็นศรี | สง่าหน้า |
ใช้วาจา | อันไพเราะ | เสนาะหู |
เรื่องที่ดี | ก็ไม่มี | แม้ศัตรู |
ผู้ฟังรู้ | เกิดปัญญา | พาสุขใจ |
ให้พระธรรม | คำสอน | วอนให้เกิด |
ปัญญาเลิศ | รู้ในธรรม | นำสดใส |
จิตที่ดี | วาจาดี | ไม่มีภัย |
วาจาใจ | ล้วนประเสริฐ | เลิศอนันต์ |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พินิจดู |
จะได้รู้ | ว่าคุณค่า | วาจาฉัน |
ดีหรือชั่ว | ไตร่ตรองดู | รู้เร็วพลัน |
แล้วจัดการ | แก้ไข | ให้พูดดี |
ทำดี
ทำความดี | ทางกาย | พาให้เกิด |
สิ่งประเสริฐ | คือจริยธรรม | นำสดใส |
มีทั้งศีล | มีทั้งธรรม | ประจำกาย |
ชีวิตวาย | ก็เป็นสุข | ทุกข์ห่างไกล |
เมื่อคิดดี | พูดดี | และทำดี |
แล้วจะมี | ความชั่ว | ได้ไฉน |
เป็นคนดี | ทั้งกาย | วาจาใจ |
คุณธรรมไซร้ | ท่วมท้น | ล้นชีวี |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า | มีทั้งสาม | อร่ามศรี |
สุขทั้งกาย | สุขทั้งใจ | ในความดี |
ไม่เสียที | ที่ประสบ | พบพระธรรม |
คุณธรรม
คุณธรรม | คือความดี | มีที่จิต |
เฝ้าแต่คิด | ถึงบาปบุญ | คุณและโทษ |
คิดแต่สิ่ง | ที่ดีดี | มีประโยชน์ |
ไม่มีโทษ | ต่อจิต | เพราะคิดดี |
ถ้าคิดชั่ว | มัวเมา | ในอำนาจ |
ทำให้ขาด | คุณธรรม | นำหมองศรี |
ใช้อำนาจ | ในทางผิด | คิดไม่ดี |
ไม่ผ่องศรี | จิตเศร้าหมอง | ครองใจตน |
ถ้าคิดชั่ว | มัวเมา | ในลาภยศ |
ทำให้หมด | คุณธรรม | จำขื่นขม |
จิตวิตก | ถึงลาภยศ | หมดอารมณ์ |
จิตตรอมตรม | ว่าเมื่อไร | จะได้มา |
ได้มาแล้ว | ก็กลัวเสีย | ละเหี่ยจิต |
เฝ้าแต่คิด | หวงแหน | แน่นหนักหนา |
แม้นเสียไป | เราคงตาย | วายชีวา |
คิดขึ้นมา | ก็เกิดทุกข์ | ไม่สุขใจ |
ขอทุกท่าน | โปรดจงคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า |
มีคุณธรรม | บ้างหรือไม่ |
ถ้ามีแล้ว | จงสร้างเสริม | กันต่อไป |
ไม่มีไซร้ | จงใฝ่หา | พาสุขเอย |
จริยธรรม
จริยธรรม | คือความดี | ที่มีอยู่ |
ทางกายรู้ | วาจารู้ | อยู่เสมอ |
มีสติคุม | กายวาจา | อย่าเผอเรอ |
นั่นแหละเธอ | คือผู้ดี | มีจริยธรรม |
ถ้าผู้ใด | หลงตน | คือคนผิด |
มักยึดติด | ในกายา | น่าขบขัน |
ว่าข้าดี | ข้าสวย | รวยแข่งกัน |
ไม่มีวัน | จะมีสุข | ทุกข์ไม่คลาย |
การแสดงออก | ทางกายา | ก็น่าเกลียด |
ชอบเบียนเบียด | ผู้อื่น | ให้เสียหาย |
เห็นแก่ตัว | มัวเมา | วาจากาย |
หลงทำลาย | ตัวเอง | ไม่เกรงกลัว |
ไม่รู้ว่า | บาปบุญ | คุณหรือโทษ |
ได้ประโยชน์ | ข้าก็ทำ | แม้ความชั่ว |
จะเกิดทุกข์ | กับใคร | ข้าไม่กลัว |
ทั้งรวมหัว | โกงกินชาติ | อนาถใจ |
ขอทุกท่าน | โปรดจงคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า | มีจริยธรรม | บ้างหรือไม่ |
ถ้ามีแล้ว | จงสร้างเสริม | กันต่อไป |
ไม่มีไซร้ | จงใฝ่หา | พาสุขเอย |
สามัคคีธรรม
สามัคคี | เกิดขึ้นได้ | ใจเป็นธรรม |
ต้องน้อมนำ | เอาเมตตา | มาส่งเสริม |
มีความรัก | ความปราณี | เข้าเพิ่มเติม |
ช่วยส่งเสริม | ให้จิต | คิดเมตตา |
คอยช่วยเหลือ | เอื้ออาทร | ผ่อนหนักเบา |
ช่วยเหลือเขา | เฝ้าดูแล | แก้ปัญหา |
ปรารถนาดี | ต่อทุกคน | ด้วยเมตตา |
เฝ้าภาวนา | ให้ทุกคน | พ้นทุกข์ไป |
สัมมาทิฏฐิ | หมายถึง | ความคิดเห็น |
แม้ลำเค็ญ | ก็อย่าคิด | ผิดกฎหมาย |
คิดให้ถูก | ทำให้ถูก | ทั้งใจกาย |
ตั้งใจไว้ | ให้ถูกต้อง | ครรลองธรรม |
วัฒนธรรม | จารีต | ประเพณี |
สิ่งที่ดี | ควรรักษา | และสร้างสรรค์ |
สามัคคี | ในสังคม | ชื่นชมกัน |
ความสุขสันต์ | เกิดขึ้นจริง | ทั้งหญิงชาย |
ความเป็นธรรม | หมายถึง | ใจเป็นกลาง |
ยอมรับฟัง | ความคิดเห็น | ผู้อื่นได้ |
แม้มีความ | แตกต่าง | บางอย่างไป |
ก็เข้าใจ | ทุกประเด็น | ด้วยเป็นธรรม |
ขอทุกท่าน | จงมี | ไมตรีเถิด |
จะได้เกิด | ผลบุญ | อุปถัมภ์ |
จะอยู่ดี | มีสุข | ก็เพราะกรรม |
ทุกคนทำ | แต่กรรมดี | มีสุขเอย |
เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ
รู้เหตุ รู้ผล
ผู้รู้เหตุ | หมายถึง | ซึ่งความจริง |
ที่ใหญ่ยิ่ง | ในชีวิต | คิดสับสน |
ต้องเข้าใจ | ในเหตุเถิด | เกิดกับตน |
จะส่งผล | ให้เป็นสุข | หรือทุกข์ใจ |
อะไรเป็นเหตุ | ให้เกิดสุข | สนุกสนาน |
จงสร้างสรรค์ | ไว้เถิด | เลิศสดใส |
จงคิดดี | พูดดี | ทั้งกายใจ |
ความสุขไซร้ | ก็ส่งผล | ให้ตนสบาย |
ขอทุกท่าน | จงคิด | พิจารณา |
ว่าตัวข้า | เป็นผู้รู้ | จริงหรือไม่ |
เมื่อรู้แล้ว | จงปฏิบัติ | สืบต่อไป |
ไม่รู้ไซร้ | รีบศึกษา | อย่าละเลย |
รู้ตน รู้ประมาณ
รู้จักตน | รู้ประมาณ | กาลเวลา |
รู้คุณค่า | ของตน | เป็นไฉน |
ว่าตนเอง | อยู่ใน | ฐานะใด |
ต้องใส่ใจ | ฝึกฝน | เป็นคนดี |
ชาติตระกูล | ยศถา | บรรดาศักดิ์ |
ก็รู้จัก | รักษาไว้ | ให้ผ่องศรี |
ไม่ทำตัว | มัวเมา | เคล้าโลกีย์ |
รู้จักดี | ว่าตน | จนหรือรวย |
รู้จักประมาณ | ในการ | ใช้ทรัพย์ |
จะหยิบจับ | ใช้สอย | ก็พอสวย |
รู้ประมาณ | การกิน | ไม่สำรวย |
แม้ความสวย | ประหยัดไว้ | อย่าให้เกิน |
แม้นมีมาก | ใช้มาก | เรื่องเงินตรา |
ก็จะพา | หมดตัว | ไม่สรรเสริญ |
รู้จักเหตุ | รู้จักผล | ไม่ขาดเกิน |
รู้ประเมิน | ในตน | เป็นคนดี |
ขอทุกท่าน | จงเพ่งพิศ | จิตกุศล |
ให้รู้ตน | รู้ประมาณ | กับทุกที่ |
ประพฤติตน | ให้เหมาะสม | เป็นการดี |
ก็จะมี | ความสุข | ไร้ทุกข์เอย |
ความรัก ของแม่
เมื่อแม่รู้ | ว่าในท้อง | มีลูกน้อย |
แม่เฝ้าคอย | ลูกรัก | ปักใจห่วง |
อยากเห็นหน้า | ถ้าได้อุ้ม | ประทับทรวง |
ทั้งหวงห่วง | ผู้เป็นบุตร | สุดดวงใจ |
แม่นั่งนอน | ยืนเดิน | ไม่เพลินนัก |
กลัวลูกรัก | จะสะเทือน | เมื่อเคลื่อนไหว |
เมื่อลูกน้อย | หิวอาหาร | ชนิดใด |
แม่รีบไป | หามาไว้ | ให้ลูกทาน |
ลูกบางคน | อยู่ในท้อง | แม่ต้องแพ้ |
ไม่ท้อแท้ | แม้เจ็บป่วย | ด้วยสังขาร |
ทั้งอาเจียน | ทั้งมืดหน้า | พารำคาญ |
ทั้งการงาน | ทำไม่ไหว | แต่ใจดี |
เมื่อลูกน้อย | คล้อยเคลื่อน | ออกจากครรภ์ |
สิ่งที่ฝัน | เมื่อเห็นบุตร | สุดผ่องศรี |
กอดลูกน้อย | ในอ้อมแขน | แสนเปรมปรีดิ์ |
ในฤดี | แสนสนุก | เป็นสุขใจ |
จะมี | สิ่งใดเล่า | ในโลกนี้ |
จะยินดี | เท่ามีบุตร | สุดขานไข |
ความรักแม่ | มีให้บุตร | สุดดวงใจ |
เหนือสิ่งใด | ในโลกนี้ | ไม่มีเลย |
ลูกทุกคน | ควรคำนึง | ถึงความรัก |
เมื่อประจักษ์ | อย่าประวิง | หรือนิ่งเฉย |
ควรทดแทน | บุญคุณ | แม้ไม่เคย |
อย่าละเลย | พระคุณท่าน | นั้นไม่ดี |
จงใคร่ครวญ | และตระหนัก | รักของแม่ |
เป็นรักแท้ | บริสุทธิ์ | ดุจรัศมี |
ของดวงจันทร์ | อันเจิดจ้า | ไร้ราคี |
สมควรที่ | เทิดทูนไว้ | ใส่ใจเอย |
บทกลอนพิเศษ (ความพอเพียง)
มีสลึง | พึงบรรจบ | ให้ครบบาท |
อย่าให้ขาด | สิ่งของ | ต้องประสงค์ |
มีน้อย | ใช้น้อย | ค่อยบรรจง |
อย่าจ่ายลง | ให้มาก | จะยากนาน |
บทกลอนพิเศษ (ความไม่พอเพียง)
มีสลึง | พึงบรรจบ | ให้ครบบาท |
ไปตลาด |
ฟาดให้เหี้ยน | เตียนกระเป๋า |
ถ้าไม่มี |
ก็หยิบยืม | ผู้อื่นเอา |
เกิดความเศร้า |
เมื่อไม่มี | ใช้หนี้คืน |